หนังสือ คำตอบคุณครูไม่ใหญ่ 1

อ่านหนังสือ คำตอบคุณครูไม่ใหญ่เล่ม ๑ ที่นี่

ทำอย่างไรจึงไม่ประมาทในชีวิต

สาธุชน : ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ประมาทในชีวิต เพราะว่าเวลาไม่ประมาทในชีวิตแล้ว จะทำให้ขยันนั่งธรรมะ หลวงพ่อ : ให้เจริญมรณานุสสติ ให้นึกว่าแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระมหาสาวก พระอริยบุคคล ยังต้องละสังขารเข้าสู่นิพพาน ผู้ที่ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่เรียกว่า โคตรภูบุคคล หรือ ผู้เข้าถึงฌาน เป็นฌานลาภีบุคคลก็ยังต้องละสังขาร แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองทวีปทั้ง ๔ มีฤทธิ์ มี อานุภาพมาก มีรัตนะ ๗ โคจรไปในอากาศได้ก็ยังต้องละสังขาร พระราชา มหากษัตริย์ เศรษฐี มหาเศรษฐี ยาจก วณิพก ละสังขารหมด ให้นึกอย่างนี้ การนึกอย่างนี้เรียกว่า การเจริญมรณานุสสติ หรือถ้านึกอย่างนี้ รู้สึกมันยาวเกินไป ก็มี ๒ คำ จำง่าย ๆ เคยเห็นไหม เวลารถพยาบาลผ่านมา เขาบรรทุกคนเจ็บ แล้วเขาก็ เปิดหวอลั่นไปบนท้องถนนนะ ฟังให้ดีนะ เสียงมันคล้าย ๆ ตายแน่ ตายแน่ ตายแน่ …

ทำอย่างไรจึงไม่ประมาทในชีวิต Read More »

สมาธิเป็นของสากล

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : Peace Revolution คือ กลุ่มเยาวชนชาวต่างชาติจากนานาประเทศ ที่สนใจการปฏิบัติธรรม ได้เข้าร่วมโครงการ Peace Revolution ร่วมทำกิจกรรมอย่างตลอดต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับคัดเลือกให้มาปฏิบัติธรรมร่วมกันในประเทศไทย และได้มีโอกาสถามปัญหาหลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ซึ่งท่านเมตตาตอบคำถามผ่านทางจานดาวธรรม (จานดาวเทียม) ในรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ช่อง DMC)) เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : ถ้าจะทำสมาธิให้ได้ดี เราจำเป็นต้องเป็นคนมีศาสนาหรือเชื่อมั่นในศาสนาหรือไม่ หลวงพ่อ : ไม่จำเป็น ขอแค่ให้เป็นมนุษย์ที่ไม่บ้า ไม่สูญเสียระบบ ประสาทการรับรู้ จะนับถืออะไรก็ได้ เพราะสมาธิเป็นของกลาง เป็นของสากลที่ทุกคนทำได้ เหมือนลมหายใจที่ทุกคนหายใจได้ หรือเหมือนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ที่ทุกคนเห็นได้ ไม่ว่าจะมีศาสนา หรือไม่มีศาสนาก็ตาม ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา คำตอบคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม ๑ https://www.dhamma01.com/book/48 ๑๘ …

สมาธิเป็นของสากล Read More »

ความแตกต่างระหว่างสมาธิกับศาสนา

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างสมาธิกับศาสนา หลวงพ่อ : ศาสนา คือ ความรู้หรือความเชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ในครอบครัวหรือในตระกูล เมื่อเราเกิดมาในตระกูลนั้น เราก็ต้อง ศึกษาเรื่องนั้น เรียนรู้เรื่องนั้น เมื่อศึกษาเรียนรู้แล้วเราชอบ เราก็ เชื่อเรื่องนั้น ซึ่งมันคนละเรื่องกับสมาธิ สมาธิ เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องใช้ทุกวัน แม้จะมีศาสนาหรือ ไม่มีศาสนาก็ตาม หรือไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาใดก็ตาม เราต้อง ใช้สมาธิในการทำทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร พูดคุย การศึกษาเล่าเรียน การทำมา หากิน ทำมาค้าขาย บริหารธุรกิจการงาน ทุกกิจกรรมล้วนต้องใช้ สมาธิทั้งสิ้น คือใจต้องมุ่งมั่นตั้งใจทำสิ่งนั้นไม่ให้มันวอกแวกฟุ้งซ่าน ไปในเรื่องอื่น การมีสมาธิจะทำให้การวินิจฉัยหรือการตัดสินใจ ไม่ผิดพลาด อีกประการหนึ่ง สมาธิจะทำให้เรามีความสุขภายใน และ เป็นรากฐานที่จะทำให้เรามีความรอบรู้ เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ อีก ทั้งจะดึงดูดสิ่งดี ๆ มาหาตัวเราด้วย …

ความแตกต่างระหว่างสมาธิกับศาสนา Read More »

สมาธิเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : ในวัฒนธรรมตะวันตก คนเก่งมักจะเป็นคนที่มีการศึกษา สามารถใช้ปัญญาวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ แต่สมาธิกลับบอกให้หยุดคิด แล้วอย่างนี้สมาธิจะทำให้เกิดปัญญา และเป็นคนเก่งได้อย่างไร หลวงพ่อ : ความรู้ ความรอบรู้ และความเก่งนั้นมีหลายระดับ ระดับที่ ๑ ความรู้ที่เกิดจากการอ่าน การฟังจากท่านผู้รู้ สอน จากการถกเถียงซักถามกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ ระดับที่ ๒ ความรู้ที่เกิดจากความคิด คือ เราศึกษา เราอ่าน เราฟัง แล้วเราก็นำมาคิดต่อ ซึ่งมันก็มีถูกบ้าง ผิดบ้าง บางทีก็ผิด มากกว่าถูก บางทีก็ถูกมากกว่าผิด ชาวโลกเข้าใจความรู้แค่ ๒ ระดับนี้เท่านั้น แต่ยังมีความรู้ ระดับลึกอีกระดับหนึ่ง ที่ใจจะต้องไปอยู่ในตำแหน่งแห่งการ ปลอดความคิด เป็นความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้ง เหมือนเรา ลากของจากที่มืด ๆ ที่มองเห็นอะไรไม่ชัด เอามาอยู่กลางแจ้ง กลางแสงสว่าง ยังมีความลับของชีวิตอีกมากมาย ที่จากการอ่าน การฟัง การคิดไปไม่ถึง …

สมาธิเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา Read More »

สุขจากสมาธิแตกต่างจากสุขอื่นอย่างไร

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : สันติสุขภายใน และประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสมาธิ จะเกิดจากการทำสมาธิอย่างเดียวเท่านั้นหรือไม่ เราสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่น เพื่อให้ได้ผลเหมือนกันได้หรือไม่ หลวงพ่อ : การทำกิจกรรมอย่างอื่น แล้วจะให้ได้ประโยชน์และ สันติสุขภายในเหมือนกับการทำสมาธินั้น ไม่มี ไม่ว่าเราจะใช้ วิธีการใดก็ตาม ก็ไม่ได้ความสุขภายในเท่ากับการทำสมาธิ จะไป เที่ยวเตร่ ไปดูทิวทัศน์ ได้พูดคุยกับคนที่ถูกใจ หรือจะไปทำอะไรก็ แล้วแต่ มันได้แค่สุขหรือสนุกเล็ก ๆ น้อย ๆ พอเพลิน ๆ เท่านั้นเอง หรือแม้กระทั่งประสบความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการงาน การ ศึกษาเล่าเรียน สุขก็ยังไม่ได้เท่ากับสมาธิ มันได้แค่ปลื้มเล็ก ๆ ประเดี๋ยวเดียว แล้วก็จางหายไป การทำสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะได้สันติสุขภายใน ที่มั่นคง และมีปริมาณความสุขมากกว่า ความสุขที่ได้จากวิธี การอื่นได้แค่สุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ปลื้มเล็ก ๆ แล้วก็จางหายไป ไม่ยั่งยืน ๑๗ กุมภาพันธ์ …

สุขจากสมาธิแตกต่างจากสุขอื่นอย่างไร Read More »

ความสงบภายในดีอย่างไร

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : ความสงบภายใน มีผลอย่างไรต่อระบบความคิด และกลไกการทำงานของร่างกาย หลวงพ่อ : เราสังเกตดู เวลาที่ใจเราขุ่นมัว เร่าร้อน หงุดหงิด เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม เวลาที่เรารู้สึกขัดใจ ลมหายใจมันจะติดขัด จะ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายกาย เพราะฉะนั้นเมื่อเราไม่สบายใจ ร่างกาย เราจะไม่สบายตามไปด้วย ใบหน้าที่สวย ๆ หล่อ ๆ ก็เริ่มไม่สวย ไม่หล่อ นอกจากนั้นยังทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอลงไป ด้วย ถ้าใจไม่สบาย แล้วสูญเสียความสงบของใจ อย่างน้อยอย่างนี้ ที่เราพอจะเข้าใจง่าย ๆ อย่าลืมว่า ร่างกายเป็นประดุจคนรับใช้ของนาย ใจคือนาย กายคือบ่าว เราสังเกตในที่ทำงาน ถ้าวันไหนเจ้านายไม่สบาย ขุ่นมัว ลูกน้องก็ขุ่นมัวตามไปด้วย ถ้าวันไหนเจ้านายอารมณ์ดี ลูกน้องก็อารมณ์ดีด้วย ใจก็เช่นเดียวกันเหมือนเจ้านาย ร่างกายก็ เหมือนลูกน้อง มันจะเกี่ยวข้องกัน เพราะอยู่ด้วยกัน การที่เรามีชีวิตอยู่ เพราะเรามีร่างกายและจิตใจ …

ความสงบภายในดีอย่างไร Read More »

หลุมหลบภัยที่แท้จริง

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : เราจะพบสันติสุขได้อย่างไร ถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากและเลวร้าย หลวงพ่อ : ก็ต้องหาหลุมหลบภัยที่อยู่ในกลางกายของเราให้เจอ ถ้าใจเราอยู่ตรงนั้น กลางดวงสว่าง กลางดวงใส ๆ หรือกลางอะไร ที่เราเห็นใส ๆ สว่าง ๆ ความทุกข์ไม่มีในนั้น แม้ปัญหาข้างนอกมี แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา เหมือนจุดเย็นกลางเตาหลอม ซึ่งเป็น ประดุจหลุมหลบภัยอยู่กลางกายของเรา การทำสมาธิ คือการที่เรากำลังหาหลุมหลบภัยให้กับตัวเรา เพราะนอกหลุมมีแต่ภัยทั้งสิ้น และภัยที่แท้จริง ไม่ใช่ภัยภายนอกเลย แต่ภัยที่แท้จริงคือ ทำไมใจเราถึงไม่หยุดสักที จึงไม่เจอหลุมหลบภัย สักที อันนี้คือภัยที่แท้จริงและสำคัญมาก เพราะหลุมหลบภัย ตรงนี้ ไม่เจอไม่ได้ ส่วนภัยภายนอก ฝนตก รถติด เศรษฐกิจตกต่ำ หรือภัยต่าง ๆ ภายนอกนั้นล้วนเป็นเรื่องเล็ก ๆ ถ้าใจเราหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสว่าง ใส ๆ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ได้ แม้มีปัญหา แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะที่ตรงนั้นจะมีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจเรา …

หลุมหลบภัยที่แท้จริง Read More »

ความรักกับสมาธิ

เยาวชนจากโครงการ Peace Revolution : ความรักเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการทำสมาธิหรือไม่ หลวงพ่อ : ขึ้นอยู่กับว่า รักอะไร ถ้าเป็นความรักความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ อย่างนี้เป็นความรักสากล เป็นความรักบริสุทธิ์ หัวใจขยาย อย่างนี้ดี แต่ดีที่สุด คือการปล่อยวางจากอารมณ์ต่าง ๆ จะเป็น ประโยชน์ต่อการทำสมาธิมากกว่า ปล่อยวางอารมณ์ คือ คลายความผูกพันจากคนสัตว์สิ่งของ ทำประหนึ่งว่า เราอยู่คนเดียวในโลก ส่วนความรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ทั้งหลาย อยากให้เขามีความสุข เบิกบาน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่างนี้เขาเรียกว่า “แผ่เมตตา” ปรารถนาให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข อย่างนี้ดี จะช่วยส่งเสริมการทำสมาธิ หลวงพ่อก็ทำความรักประเภทนี้ รักและปรารถนาดี ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้เขาอยู่เย็นเป็นสุข แล้วก็ทำสมาธิ ปล่อยวางอารมณ์ คือ ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง นิ่งอย่างเดียว อย่างนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำสมาธิมากกว่า ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) …

ความรักกับสมาธิ Read More »

เมื่อความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจ

ธรรมทายาทหญิง : เมื่อความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจเราจะจัดการอย่างไร หลวงพ่อ : เวลาอกุศลกรรมเกิดขึ้น ต้องมีสติกับปัญญา ให้มีสติ รับรู้ว่า ตอนนี้จิตเป็นอกุศลแล้ว เราก็ใช้ปัญญาเอาชนะมัน บอก “ไม่ได้” ถ้าขืนคล้อยตามไปชีวิตจะเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นเราจะ ไม่คล้อยตามในสิ่งที่อกุศลจิตแนะนำเราอยู่ ส่วนความคิดใดที่เป็น กุศลธรรม พอแนะนำในใจเรา เราก็ทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป 00 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา คำตอบคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม ๑ https://www.dhamma01.com/book/48 ๐๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

นั่งธรรมะเห็นหน้าคู่อริ

สาธุชน : หลวงพ่อครับ ผมนั่งแล้วเห็นหน้าคู่อริเก่า ๆ ควรทำอย่างไรดีครับ หลวงพ่อ : ก็ต้องสร้างนิสัยใหม่ มองทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข ์ เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกับเราหมดทั้งสิ้น ทุกคนไม่อยากทำในสิ่ง ที่เราไม่ชอบหรอก เพราะทุกคนมีความรักตัวอยู่ เขาก็ไม่อยากจะ ทำความผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นให้เราทุกข์ใจ และใคร ๆ ก็ไม่อยาก ให้เขาทำ แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่บังคับอยู่ในใจเขา เขาสู้ไม่ได้ มันแพ้ทุกที เขาก็เลยพลาดพลั้งทำอย่างนั้น หน้าที่ของเรา ในฐานะที่มาถึงแสงสว่างก่อน เรารู้ว่าสิ่งนี้ ไม่ดี เราก็ให้อภัยเขาก็จบกันไป สิ่งที่เธอทำกับฉัน ฉันให้อภัยเธอ ฉันไม่ถือ ไม่ถือก็ไม่หนักนะ ถ้าถือที่มือก็หนักที่มือ ถือที่บ่าก็หนัก ที่บ่า ถ้าถือที่ใจก็หนักที่ใจ ถ้าวางที่มือก็ไม่หนักมือ วางที่บ่ามันก็ ไม่หนักบ่า วางที่ใจก็ไม่หนักใจก็แค่นั้นแหละ แล้วเราจะได้มานั่ง อย่างมีความสุข ช่วงที่นั่ง สิ่งที่ควรคิด คือนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าไปนึกถึงเขา นึกแล้วไม่เกิดประโยชน์ นึกถึงองค์พระใส ๆ นึกถึง ดวง นึกถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุข ทำอย่างนี้บ่อย …

นั่งธรรมะเห็นหน้าคู่อริ Read More »

นั่งสมาธิแล้วปวดตา

ธรรมทายาทหญิง : ช่วงหลังลูกนั่งธรรมะแล้วปวดตามากเจ้าค่ะ หลวงพ่อ : อย่ากลัวว่า ไม่เห็น อย่ากลัวว่า จะเห็นช้า อย่าอยากเห็น เร็ว ๆ เพราะความอยากจึงทำให้เราตั้งใจมาก เพราะกลัวจะเห็น ช้า เลยเร่ง จึงทำให้เกิดการเพ่ง พอเพ่ง ร่างกายก็ฟ้องว่า ไม่ถูกวิธี แต่วิธีบอก เขาพูดเป็นภาษาไม่ได้ เขาพูดด้วยอาการ โดยการตึง นั่นแหละว่า อย่างนี้ไม่ถูกวิธี อย่าฝืน ให้ผ่อนคลาย เพราะฉะนั้น วิธีแก้ก็คือ ทำให้ถูกวิธี วิธีที่ถูก หลวงพ่อวัด ปากน้ำท่านบอกว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ท่านไม่ได้บอกว่า อยาก เป็นตัวสำเร็จ แต่เราไปเข้าใจว่า อยากเป็นตัวสำเร็จ เราจึงเอาอยาก เดินหน้า ภาวนาตามหลัง ก็เลยตึง แก้ใหม่นะลูกนะ เดี๋ยวได้แน่นอน ขอให้ทำถูกวิธี อย่าท้อเสียก่อนก็แล้วกัน ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) …

นั่งสมาธิแล้วปวดตา Read More »

“จริงเท่าชีวิต” หมายความว่าอย่างไร

ธรรมทายาทหญิง : คำว่า “จริงเท่าชีวิต” ในนัยของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีความหมายว่าอย่างไร หมายความว่า เราต้องนั่งจนกว่าจะเห็นธรรม ถึงจะเลิกนั่งหรือเปล่าเจ้าคะ หลวงพ่อ : นั่นสำหรับผู้มีบารมีแก่แบบพระโพธิสัตว์ เป็นอย่างนั้น ซึ่งก็หายาก ไม่ใช่หาง่ายหรอก จริงของท่านจริงแบบพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ตัดสินใจว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าหนทางพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นท่านจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ทำหยุดนิ่งอย่างเดียว ถ้าไม่พบหนทางก็ปล่อยชีวิตเลย สำหรับผู้มีบารมีมากนะ แต่สำหรับเรา ให้จริงในระดับที่ผ่อนมาหน่อยหนึ่ง คือ ทำทุกวันทุกคืน ทำจริง ๆ จัง ๆ ไม่ใช่ว่า ทำ ๑ วัน หยุดไป ๕ วัน ทำ ๕ วัน หยุด ๑ เดือน ทำ ๑ เดือน หยุดไป ๕ เดือน อย่างนี้ ไม่จริง แต่ถ้าทำทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ อย่างนี้จริงในระดับที่ผ่อน …

“จริงเท่าชีวิต” หมายความว่าอย่างไร Read More »

วิธีรักษาใจหลังจบการอบรม

ธรรมทายาทหญิง : เมื่อลูกออกจากการอบรมไปแล้ว นอกจากรักษาศีลและมาวัดสม่ำเสมอแล้ว จะมีวิธีการรักษาใจอย่างไรคะ หลวงพ่อ : ต้องฝึก ต้องให้มีฉันทะ มีความรักในการปฏิบัติธรรม แล้วก็ให้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมว่า ทางนี้เป็นทางเดียว เท่านั้นที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์ แล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่มีวิธี อื่นใดเลย หมั่นนั่งทุกวันจนกระทั่งติดเป็นนิสัยเหมือนอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน อีกหน่อยเราก็จะนั่งได้โดยที่เราไม่ต้องฝืน เป็นธรรมชาติ เป็นอัตโนมัติเลย แล้วก็มีความสุขกับการนั่ง การนั่ง ทุกครั้งถ้าหากใจหยุดนิ่งมีความสุข ต่อไปก็จะอยากนั่งด้วยตัวเอง ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องพยายาม อย่างนี้ความสม่ำเสมอก็จะเกิดขึ้น พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา คำตอบคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม ๑ https://www.dhamma01.com/book/48 ๐๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

ทำไมต้องนั่งสมาธิ

ตำรวจ : กราบนมัสการหลวงพ่อ นี่เป็นการปฏิบัติครั้งแรกของผมครับ มีความรู้สึกยังกำหนดจิตของตัวเองไม่ได้ มีภาพเก่า ๆ ในอดีตที่เคยผ่านชีวิตมาวนเวียนตลอด ทำให้จิตไม่สงบเท่าที่ควร ก็จะพยายามฝึกปฏิบัติในโอกาสต่อไปครับ หลวงพ่อ : สำคัญนะ ในขณะที่ร่างกายเรายังแข็งแรงอยู่ ยังมี ภาพเก่า ๆ จากประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมาวนเวียนอยู่ในใจ ตลอดเวลา แล้วเราบังคับไม่ได้ จะเลือกอยู่ในภาพใดภาพหนึ่งไม่ได้ หรือไม่ต้องการภาพนั้น จะขับไล่ภาพนั้นออกไปก็ยังไม่ได้ ขนาดเรา แข็งแรงอยู่ ยังเป็นอย่างนี้ ตอนป่วยจะยิ่งกว่านี้ ตอนนั้นทั้งร่างกาย และจิตใจอ่อนแอหมด เมื่อมันอ่อนแอ ภาพต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตลอด เวลา แล้วเราควบคุมไม่ได้ ตรงนี้อันตราย อันตรายสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคนในโลก เพราะตัดสิน กันที่ภาพสุดท้ายก่อนที่เราจะหลุดจากกายหยาบ ตรงนี้สำคัญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักว่า ทางที่จะไปมีอยู่ ๒ ทาง อบายทางหนึ่ง สุคติทางหนึ่ง ภาพที่สดใส บริสุทธิ์ นึกแล้วปีติ ภาคภูมิใจ ภาพแห่งความดีปรากฏเห็นชัดเจน เกาะภาพนั้นก็ไปสุคติ แต่ถ้าเป็นภาพที่ไม่ดี เกาะภาพนั้นก็ไปอบาย ทีนี้ …

ทำไมต้องนั่งสมาธิ Read More »

คนมีงานน้อยจะนั่งธรรมะได้ดีกว่าไหม

ตำรวจ : คนที่มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบน้อย ๆ จะทำ สมาธิได้เร็วและดีกว่าคนที่มีภาระความรับผิดชอบ มากหรือไม่ครับผม หลวงพ่อ : ไม่จำเป็นว่า ใครมีภาระรับผิดชอบน้อยจะนั่งได้ ดีกว่า ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับว่าฝึกอย่างสม่ำเสมอหรือเปล่า ถ้าทำ สม่ำเสมอทุกวัน ไม่ขาดเลยแม้แต่วันเดียว ทั้งที่เรามีความรู้สึก เหมือนนั่งแล้วไม่ได้อะไรเลย หลับบ้าง ฟุ้งบ้าง เมื่อยบ้าง ง่วงบ้าง แต่ว่าเวลาที่ใจรวมลงได้ มันประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่แน่นะ บางทีมีภารกิจมาก แต่จิตก็รวมลงได้ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา คำตอบคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม ๑ https://www.dhamma01.com/book/48 ้ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑