หนังสือ พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

อ่านหนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี ที่นี่

อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๑ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๒ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๓ ที่นี่

วิธีเจริญภาวนา ๑

วิธีเจริญภาวนา ๑ หน้า ๙๒๕ ต่อแต่นี้ไปคอยตั้งใจฟัง เมื่อเราทำวัตรอาราธนาเสร็จแล้ว ก็จะบอก วิธีกระทำต่อไป วิธีทำสมถวิปัสสนา ต้องมีบริกรรมภาวนา กับบริกรรมนิมิตเป็นคู่กัน บริกรรมนิมิตให้กำหนดเครื่องหมายเข้า ดวงใสเหมือนกับเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าปากช่องจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม ใจของเราที่ยืดไปยืดมา แวบไปแวบมาให้เข้าไปอยู่เสียในบริกรรมนิมิต ปากช่องจมูกหญิงซ้ายชายขวา ข้างนอกดวงโตเท่าแก้วตา ข้างในดวงโตเท่าเมล็ดพุทธรักษา แต่ ว่าขาวใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้าแบบเดียวกัน หญิงกำหนดปากช่องจมูกซ้าย ชายกำหนดปากช่องจมูกขวา แล้วให้บริกรรมภาวนาประคองบริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า สัมมาอะระหัง ตรึกถึงดวงที่ใสใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส สัมมาอะระหัง ตรึกถึงดวงที่ใส ใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส สัมมาอะระหัง ตรึกถึงดวงที่ใสใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส นิ่งอยู่ที่นั่น นี่ฐานที่ ๑ ฐานที่ ๒ เลื่อนไปที่ เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวาตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วให้บริกรรมประคองเครื่องหมาย ที่เพลาตานั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้งแบบเดียวกัน แล้วเลื่อนเครื่องหมายตรงลำดับเพลาตาเข้าไป กลางกั๊กศีรษะข้างใน ไม่ให้ค่อนซ้ายขวาหน้าหลังล่างบน …

วิธีเจริญภาวนา ๑ Read More »

หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน

หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน หน้า ๙๐๗ *ทางพระพุทธศาสนามี วิชชา ๒ อย่างนี้เป็นข้อสำคัญนัก บัดนี้ท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลามา ก็เพื่อมาเรียนสมถวิปัสสนาทั้งสองอย่างนี้ สมถะเป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือ แปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่าสมถะ วิปัสสนาเป็นขั้นสูงกว่าสมถะ ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา สมถะวิปัสสนา ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา ผู้พูดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียว เรียนสมถะทีเดียว ไม่ได้หยุดเลย จนกระทั่งถึงบัดนี้ บัดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถะวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้ สมถะมีภูมิแค่ไหน สมถะ มีภูมิ ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูปฌาน ๔ ทั้ง …

หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน Read More »

โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ

โอวาท แสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ หน้า ๘๙๑ ๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ผู้เทศน์เกิดวันศุกร์ ปีวอก บวชมา ๕๐ พรรษา ค้นคว้าธรรมะเรื่อยมา การออกธุดงค์ ใจเป็นมรรคผล สงบสมาธิ เป็นทางรู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา(ไม่ใช่ธรรม) ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะ ผู้เทศน์รู้จักเกือบ ๕๐ ปี (ตำราไม่มี) โดยการค้นคว้าทางปฏิบัติ ดีที่สุดคือพระพุทธเจ้า ชั่วที่สุดคือมาร ผู้เทศน์มารู้ตัวเมื่อบวชแล้วว่า ต้นธาตุ (คือพระพุทธเจ้าองค์แรกขณะนี้อยู่ในอายตนนิพพาน) ใช้ให้จุติมาเกิด เพื่อปราบมาร(ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย) ถ้ามารไม่แพ้ ผู้เทศน์ยอมตายอยู่วัดปากน้ำ มารปล่อยสายมาปกครองมนุษย์ มนุษย์ตกเป็นบ่าวเป็นทาสของโลภะ โทสะ โมหะ (ผลคือความเสียหาย) มีแก่ มีเจ็บ มีตายเช่น สงครามที่แล้วมาเกิดจากโลภะ คือความโลภเป็นเหตุให้คนเจ็บ คนตาย ลูกชายหญิงมีความหลง โมหะว่าตัวเก่งแล้ว พ่อแม่ว่าไม่ได้ มีโทสะ โมโห โต้เถียง …

โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ Read More »

โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แสดงแก่พระภิกษุในอุโบสถ

โอวาท แสดงแก่พระภิกษุในอุโบสถ หน้า ๘๘๕ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ภิกษุสามเณรเมื่อบวชเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว ควรประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน แปลว่าประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เมื่อประพฤติสมควรแล้วต้องประพฤติขยับให้ยิ่งขึ้นไป อย่าให้หันหลังกลับได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน ประพฤติดียิ่งขึ้นไป ไม่ถอยหลังกลังกลับ อย่าให้เคลื่อนจากธรรมตามธรรมไว้เสมอ นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ภิกษุสามเณรเช่นนั้นได้ชื่อว่า สักการะ ได้ชื่อว่าเคารพ ได้ชื่อว่านับถือ ได้ชื่อว่าบูชาตถาคต ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปฏิปคฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประพฤติตามให้สมควรเป็นเช่นนี้แล้วตั้งใจให้แน่วแน่ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเป็นไฉน ? ภิกษุสามเณร สามเณรรักษาศีล๑๐ ไป ตั้งอยู่ในร่องของศีล๑๐ อย่าให้เคลื่อนร่องของศีล ๑๐ ไปให้อยู่ในรอยของศีล๑๐ ให้อยู่ในเนื้อหนังของศีล๑๐ ให้บริสุทธิ์สะอาดตามปกติ ตามความเป็นจริงของศีล๑๐ ส่วนภิกษุล่ะ ต้องประพฤติอยู่ในศีลเหมือนกัน ในศีลที่มีตนมีอยู่เป็นจำนวนเท่าไร ให้อยู่ในกรอบของศีล ไม่พ้นศีลไป ให้อยู่ในรอยของศีล ให้อยู่ในร่องของศีล ไม่พ้นร่องรอยของศีลไป ประพฤติปฏิบัติดังนี้ ได้ชื่อว่าถูกต้องร่องรอยทางของศีล …

โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แสดงแก่พระภิกษุในอุโบสถ Read More »

กัณฑ์ ๖๑ อริยธนคาถา

กัณฑ์ที่ ๖๑ อริยธนคาถา วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วยอริยธนคาถา วาจาเครื่องกล่าวถึงทรัพย์อันประเสริฐ พระคาถานี้ การย่อย่นเนื้อความแห่งธรรมเทศนาของพระรัตนตรัยยกไว้ในที่นี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการ …

กัณฑ์ ๖๑ อริยธนคาถา Read More »

กัณฑ์ ๖๒ ภารสุตตกถา

กัณฑ์ที่ ๖๒ ภารสุตตกถา นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ภารา ทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ นิกฺขิปิตฺวา ครุ ภารํ อัญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภ ซึ่งพระพุทธพจน์แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษาตามอัตตโนมตยาธิบาย เพราะว่าเราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมีภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่าง ๆ ก็เพราะอาศัยภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว …

กัณฑ์ ๖๒ ภารสุตตกถา Read More »

กัณฑ์ ๖๓ ทานวัตถุ-ฉากหลัง

กัณฑ์ที่ ๖๓ ทานวัตถุ-ฉากหลัง วันอังคารที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ อิทานา ตสฺส ภควโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปัฎฺฐาย เอกูนฺสตุตฺตรจตุสตาธิกานิ เทฺวสวจฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปนฺรกาลวเสน จิตฺตมาตสฺส ตติยํ ทินฺนํ วารวเสน ปน ภุมฺมวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโตปรินิพฺพานา สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพา สกฺกจฺจํ ธมฺโม โส ตพฺโพติฯ ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพาน แห่งองค์พระสมเด็จพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๔๙๙ พรรษา ปัจจุบันสมัยเมษายนมาส สุรทินที่ ๓ อังคารกาลของพุทธปรินิพพานอันกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ เบื้องหน้าแต่นี้จงตั้งสัมมนาหาระจิต ตามคำภาษิต ดังจะแสดงต่อไปนี้เถิดเทอญ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส(๓ …

กัณฑ์ ๖๓ ทานวัตถุ-ฉากหลัง Read More »

กัณฑ์ ๖๔ รัตนะ

กัณฑ์ที่ ๖๔ รัตนะ (วิสฺสาสปรมา ญาติ) วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ แสดงโดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ในสมัยที่ดำรงพระสมณศักดิ์เป็นที่ พระภาวนาโกศลเถร นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ทุลฺลภา จ ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภติ ฯ ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมมิกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นผู้มีสมานฉันท์ พร้อมใจซึ่งกันและกันด้วยมารดาและบุตร พร้อมด้วยวงศาคณาญาติ เนื่องด้วยสายโลหิต และเนื่องด้วยความคุ้นเคย เนื่องด้วยสายโลหิตเรียกว่า ” ญาติ” เนื่องด้วยความคุ้นเคยเรียกว่า “วิสฺสาสปรมา ญาติ” ญาติ ๒ จำพวกนี้พระองค์ทรงสรรเสริญ วิสฺสาส ปรมา ญาติ อยู่เหมือนกันว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง …

กัณฑ์ ๖๔ รัตนะ Read More »

กัณฑ์ ๖๕ โอวาทปาฏิโมกข์

กัณฑ์ที่ ๖๕ โอวาทปาฏิโมกข์ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) อุทฺทิฏฺฐํ โข เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน, โอวาทปาติโมกฺขํ ตีหิ คาถาหิ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ. อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต …

กัณฑ์ ๖๕ โอวาทปาฏิโมกข์ Read More »

กัณฑ์ ๖๖ หิริโอตตัปปะ ๑

กัณฑ์ที่ ๖๖ หิริโอตตัปปะ ๑ วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๙ อิทานา ตสฺส ภควโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปัฎฺฐาย เอกูนฺสตุตฺตรจตุสตาธิกานิ เทฺวสวจฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปนฺรกาลวเสน มาฆมาตสฺส ปญฺจวีสติมงฺ ทินฺนํ วารวเสน ปน โสรวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโตปรินิพฺพานา สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพา สกฺกจฺจํ ธมฺโม โส ตพฺโพติ ฯ ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพาน แห่งพระองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๔๙๙ พรรษา ปัจจุบันสมัยกุมภาพันธมาส สุรทินที่ ๒๕ โสระวาร (เสาร์) ขอพุทธปรินิพพานอันกำหนดนับ ศาสนันกาลจำเดิมแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีนัยอันกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ เบื้องหน้าแต่นี้จงตั้งสัมมนาหาระจิตฟังคำภาษิต ดังจะแสดงต่อไปนี้เถิดเทอญ นโม …

กัณฑ์ ๖๖ หิริโอตตัปปะ ๑ Read More »

กัณฑ์ ๖๗ หิริโอตตัปปะ ๒

กัณฑ์ที่ ๖๗ หิริโอตตัปปะ ๒ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) หิริโอตฺตปฺปสมฺ ปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร ติ ณ บัดนี้อาตมาภาพ จะได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยธรรมสำคัญในพระบวรพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงรับสั่ง หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา ให้ตั้งมั่น ตั้งมั่นพร้อมแล้วด้วยดีในหิริโอตตัปปะ มีความละอาย มีความสะดุ้งกลัว มั่นคงในความละอาย ในความสะดุ้งกลัว  สันโต เป็นผู้มีใจสงบระงับ วุจฺจเร อันนักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าว เทวธมฺมา ว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ โลเก ในโลกด้วยประการ ดังนี้ หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา ถึงพร้อมแล้วด้วยความละอาย ความสะดุ้งกลัว  สุกฺกธมฺมสมาหิตา รับรองว่า ตั้งอยู่แล้วในธรรมอันขาว สนฺโต เป็นธรรมเครื่องสงบระงับ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่าเป็นธรรมอันประเสริฐในโลก นี่เป็นหลักสำคัญ เมื่อเราเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคฤหัสถ์ บรรพชิต …

กัณฑ์ ๖๗ หิริโอตตัปปะ ๒ Read More »

กัณฑ์ ๕๖ การย่อย่นสกลพระพุทธศาสนา

กัณฑ์ที่ ๕๖ การย่อย่นสกลพระพุทธศาสนา ซึ่งมีมาในโอวาทปาฏิโมกข์ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) สุโข พุทฺธานุมุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโขติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย การย่อย่นสกลพุทธศาสนา ซึ่งมีมาในโอวาทปาฏิโมกข์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสทรงเทศนาว่า การ บังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าก็เป็นสุขนัก การแสดงธรรมของพระองค์เป็นสุข ความพร้อมเพรียงของหมู่ก็เป็นสุข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร้าร้อนของท่านผู้พร้อมเพรียงทั้งหลายก็เป็น สุข อีกเหมือนกัน ทั้งสี่ข้อนี้เป็นความสำคัญนัก ซึ่งเราท่านทั้งหลายจงตั้งใจจำไว้ให้มั่นคง จะได้ปฏิบัติตามให้ถูกต้องร่องรอยของพุทธประสงค์สมเจตนาที่ได้เสียสละเวลามา บวชเป็นภิกษุสามเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระบวรพุทธศาสนา ไม่ให้เสียเวลาล่วงไปเสียเปล่าปราศจากประโยชน์ ทำตนของตนให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนาเป็นลำดับไป เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสุข สุขา สทธมฺมเทสนา การแสดงสัทธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข …

กัณฑ์ ๕๖ การย่อย่นสกลพระพุทธศาสนา Read More »

กัณฑ์ ๕๗ สังคหวัตถุ

กัณฑ์ที่ ๕๗ สังคหวัตถุ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) ทานญฺจ เปยฺยวชฺชฌฺจ อตฺถจริยา จ ยา อิธ สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ เอเต โข สงฺคหา โลเก รถสฺสาณีว ยายโต เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ น มาตา ปุตฺตการณา ลเภถ มานํ ปูชํ วา ปิตา วา ปุตฺตการณา ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา ตสฺมา มหตฺตํ …

กัณฑ์ ๕๗ สังคหวัตถุ Read More »

กัณฑ์ ๕๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

กัณฑ์ที่ ๕๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา พาราณสียํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย ตตฺรโข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขุ อานมฺเตสิ เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน นเสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต ฯ เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ …

กัณฑ์ ๕๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร Read More »

กัณฑ์ ๕๙ อนุโมทนาคาถา

กัณฑ์ที่ ๕๙ อนุโมทนาคาถา วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๙๘ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถาติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา ในอนุโมทนาคาถา แก้ด้วยยถา ที่พระภิกษุท่านทำภัตตานุโมทนากับท่านอุบาสก อุบาสิกา อยู่เนืองนิจ ยถานี้เป็นมคธภาษา หาเป็นสยามภาษาไม่ วันนี้จะแปลความเป็นสยามภาษาตามมคธภาษา ให้ได้ความเป็นสยามภาษาสืบไป เริ่มต้นแห่งอนุโมทนาคาถา ตามวาระพระบาลีว่า ยถา วาริวหา …

กัณฑ์ ๕๙ อนุโมทนาคาถา Read More »