หนังสือ พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

อ่านหนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี ที่นี่

อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๑ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๒ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๓ ที่นี่

กัณฑ์ ๖๐ ภัตตานุโมทนาคาถา

กัณฑ์ที่ ๖๐ ภัตตานุโมทนาคาถา วันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) โภชนํ ภิกฺขเว ททมาโน ทายโก ปฏิคฺคาหกานํ ปญฺจ ฐานานิ เทติ กตมานิ ปญฺจ อายุ เทติ วณฺณํ เทติ สุขํ เทติ พลํ เทติ อายุ โข ทตฺวา อายุสฺสวิภาคินี โหติ ปญฺจ ฐานานิ เทตีติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถา เพราะว่าเราท่านทั้งหลายหญิงชายทุกถ้วนหน้าเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ก็มีการบริจาคทานกันอยู่เป็นธรรมดา เพราะทานนี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงพุทธศาสนาไว้ ถ้าปราศจากทานการให้แล้ว ศาสนาก็ไม่มีเครื่องหล่อเลี้ยง ทรงอยู่ไม่ได้ ต้องแตกสลายไป ดับไป หายไป …

กัณฑ์ ๖๐ ภัตตานุโมทนาคาถา Read More »

กัณฑ์ ๕๑ ของได้โดยยาก

กัณฑ์ที่ ๕๑ ของที่ได้โดยยาก ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จทุลฺลโภ ทุล์ลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงใน ทุลลภะ สิ่งที่หาได้โดยยาก ทั้ง ๔ ประการนี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติกาลลงโดยสมควรแก่เวลา เริ่มต้นใน ทุลฺลภา ทั้งสี่นี้ว่า ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความได้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยาก เป็นประการที่สอง ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัยเป็นของได้ยาก อย่างนี้เป็นประการที่สี่ ทุลลภะ ทั้งสี่ประการนี้ แปลเนื้อความของพระบาลีเป็นสยามได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายความเป็นลำดับไป ในอัตตภาพเป็นมนุษย์ที่ได้ยากนั้นเป็นไฉน เพราะความบังเกิดขึ้นของมนุษย์ …

กัณฑ์ ๕๑ ของได้โดยยาก Read More »

กัณฑ์ ๕๒ ภัตตานุโมทนากถา

กัณฑ์ที่ ๕๒ ภัตตานุโมทนากถา วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ อปฺปมตฺตา น มียนฺติเย ปมตฺตา ยถา มตา เอวํ วิเสสโต ฌตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตาติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เป็นภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นผู้มีสมานฉันท์พร้อมใจซึ่งกันและกัน มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์ปะขาว และท่านอาจารย์ที่ไปสอนภาวนาอยู่ สนับสนุนกับท่านเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดจันทร์ปะขาว และภิกษุอื่นอีก ที่เป็นอยู่วัดเดียวกัน พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาเป็นอันมาก มาบริจาคทาน ณ อารามวัดปากน้ำนี้ ถวายเป็นผ้าป่า มีผ้าไตรจีวร เป็นเครื่องหมาย เรียกว่า ผ้าป่า …

กัณฑ์ ๕๒ ภัตตานุโมทนากถา Read More »

กัณฑ์ ๕๓ พระพุทธภาษิต

กัณฑ์ที่ ๕๓ พระพุทธภาษิต ความไม่ประมาท ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ (๓ หน) ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต ปญฺญา ปาสาทมารุยฺหฺ อโสโก โสกินึ ปชํ ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขตีติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงพุทธภาษิต ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคประทานเทศนาไว้เป็นหลักฐาน เป็นประธานในสกลพุทธศาสนา พุทธภาษิตนี้พระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง เป็นภาษิตที่ล้ำลึกสุขุมคัมภีรภาพ แต่เทศนาเป็นอุปมาหรืออุปมัย ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต ปญฺญา ปาสาทมารุยฺหฺ อโสโก โสกินึ ปชํ ปพฺพตฏโฐว ภุมฺมฏเฐ ธีโร อเวกฺขติ แปลเนื้อความว่า …

กัณฑ์ ๕๓ พระพุทธภาษิต Read More »

กัณฑ์ ๕๔ อริยทรัพย์

กัณฑ์ที่ ๕๔ อริยทรัพย์ วันที่ ๒ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงในอริยทรัพย์ ซึ่งมีมาตามวาระพระบาลีในอริยธนคาถา จะคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติกาลลงโดยสมควรแก่เวลา จึงได้เริ่มต้นแห่งอริยธนคาถานี้ว่า …

กัณฑ์ ๕๔ อริยทรัพย์ Read More »

กัณฑ์ ๕๕ พุทธอุทานคาถา

กัณฑ์ที่ ๕๕ พุทธอุทานคาถา ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจายานํ อเวทิ ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติฯ ณ บัดนี้ …

กัณฑ์ ๕๕ พุทธอุทานคาถา Read More »

กัณฑ์ ๔๘ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ

กัณฑ์ที่ ๔๘ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ (๓ หน) เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตฺ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ …

กัณฑ์ ๔๘ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ Read More »

กัณฑ์ ๔๙ การแสดงศีล (สีลุทเทส)

กัณฑ์ที่ ๔๙ การแสดงศีล (สีลุทเทส) วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพนฺติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในสีลุทเทส แสดงเรื่อง ศีลเป็นเหตุ มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นอานิสงส์ ปัญญา เป็นต้นเหตุ อบรมจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในข้อนั้นท่านทั้งหลายพึงกระทำโดยความไม่ประมาทเถิดประเสริฐนัก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางตำรับตำราไว้ เป็นแบบแผนแน่นหนา ทรงตรัสเทศนาโปรดเวไนยสรรพสัตว์อยู่ …

กัณฑ์ ๔๙ การแสดงศีล (สีลุทเทส) Read More »

กัณฑ์ ๕๐ ปกิณกะ

กัณฑ์ที่ ๕๐ ปกิณกะ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ นานา โหติ อิโต คติ อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนา น หิ ธมฺโม อธมฺโม จอุโภ สมวิปากิโน อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ …

กัณฑ์ ๕๐ ปกิณกะ Read More »

กัณฑ์ ๔๖ โอวาทปาฏิโมกข์

กัณฑ์ที่ ๔๖ โอวาทปาฏิโมกข์ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตติฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา ซึ่งมีมาใน โอวาาทปาฏิโมกข์ บ้าง ในที่อื่นๆ บ้าง มาหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มาในโอวาทปาฏิโมกขคาถานั้น พระศาสดายกข้อสำคัญของพระพุทธศาสนาขึ้นประกาศแก่พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งเป็นปุราณกชฎิล ท่านเหล่านั้นที่จะประกาศพระศาสนาสืบต่อไป พระจอมไตรยกข้อสำคัญขึ้นให้ท่านที่มาประชุมนั้นเข้าเนื้อเข้าใจชัดเจน ว่าทางปฏิบัติหลีกลัดโดยตรงแต่คนละคน ไม่เชือนแชผิดทางไปได้ พระจอมไตรรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ขนฺตี ปรมํ ความอดทน ขันติ อันว่าความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือความอดใจ อดทนคืออดใจนั่นเอง …

กัณฑ์ ๔๖ โอวาทปาฏิโมกข์ Read More »

กัณฑ์ ๔๗ พุทธโอวาท

กัณฑ์ที่ ๔๗ พุทธโอวาท วันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) อพฺยาปชฺชํ สุขํ โลเก ปาณภูเต สุสญฺญโม สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม อสฺสมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขนฺติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วย พุทธโอวาท พระองค์ทรงประทาน เทศนาแก่บริษัททั้ง ๔ มีภิกษุบริษัทเป็นต้น พระทศพลทรงวางเนติแบบแผนตำรับตำราไว้ ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชุมชนในยุคโน้น ตลอดมา จนกระทั่งถึงประชุมชนในยุคนี้ เราท่านทั้งหลายผู้เกิดมาประสบพบพุทธศาสนา ก็ควรจะได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีว่า อพฺยาปชฺชํ สุขํ โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก ปาณภูเต สุสญฺญโม ความสำรวมระวังในสัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นเหตุให้รักษา สุขา …

กัณฑ์ ๔๗ พุทธโอวาท Read More »

กัณฑ์ ๔๑ ติลักขณาทิคาถา

กัณฑ์ที่ ๔๑ ติลักขณาทิคาถา ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา …

กัณฑ์ ๔๑ ติลักขณาทิคาถา Read More »

กัณฑ์ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา (ต่อ)

กัณฑ์ที่ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา (ต่อ) ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงในปกิณกเทศนาตามลำดับ ในสัปดาห์ก่อนมาที่แสดงไปแล้ว วันนี้จะเริ่มต้นในบัณฑิตชนละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น อนุสนธิต่อสัปดาห์ก่อนมา เมื่อละธรรมดำเสียแล้วจะยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น …

กัณฑ์ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา (ต่อ) Read More »

กัณฑ์ ๔๓ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้

กัณฑ์ที่ ๔๓ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขนฺติ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วย สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พึงแสวงหา ยิ่ง ใหญ่นัก ไม่มีใครปฏิเสธทุกทั่วหน้า สุขนี้สมเด็จพระบรมศาสดารับสั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อจะให้สัตว์แสวงหาสุขยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่สุขเล็กๆ น้อยๆ ให้ละสุขเล็กน้อยเสีย ให้ยึดเอาความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป นี่เพราะเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกทั่วหน้า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ทุกทั่วหน้าด้วยกันแสวงหาสุขทุกหมู่เหล่า แม้สัตว์เดียรัจฉาน เล่าก็ต้องแสวงหาสุขเหมือนกัน หลีกเลี่ยงจากทุกข์ แสวงหาสุขอยู่เนืองนิตย์อัตรา เพราะว่าสุขจะพึงได้สมเจตนานั้น ผู้แสวงหาเป็นจึงจะได้ประสบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าแสวงหาไม่เป็นก็ได้รับสุขเล็กๆ น้อยๆ หาสมควรแก่อัตภาพที่เป็นมนุษย์ไม่ เหตุนี้ตามวาระพระบาลีพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า …

กัณฑ์ ๔๓ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้ Read More »

กัณฑ์ ๔๔ สติปัฏฐานสูตร

กัณฑ์ที่ ๔๔ สติปัฏฐานสูตร ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ หน) อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติฯ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํฯ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติฯ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํฯ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติฯ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํฯ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติฯ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสนฺติฯ ณ …

กัณฑ์ ๔๔ สติปัฏฐานสูตร Read More »