หนังสือ พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

อ่านหนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี ที่นี่

อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๑ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๒ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๓ ที่นี่

กัณฑ์ ๑-๒ สัมมาสัมพุทโธ

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สัมมา สัมพุทโธ แปลตามศัพท์ว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ หรือนัยหนึ่งว่า ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง หรือพูดให้สั้นก็ว่า รู้ถูกเอง เพื่อให้ใกล้กับภาษาสามัญที่ใช้กันว่า รู้ผิด รู้ถูก ได้แก่ คำที่พูดติเตียน คนที่ทำอะไรผิดพลาดไปว่า เป็นคนไม่รู้ถูก รู้ผิด ทำไปอย่างโง่ๆ ดังนี้ เป็นต้น แต่แท้จริง พุทฺโธ คำนี้ เมื่อพิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปตามรูปศัพท์แล้ว มีความหมายลึกซึ้งมาก ต่างกันไกลกับคำว่า ชานะ หรือ วิชานะ ซึ่งแปลว่า รู้แจ้งนั้น ดังนั้น พุทฺโธ จึงได้แปลกันว่า ตรัสรู้ ไม่ใช่ รู้ เฉยๆ เติมคำว่า ตรัส นำหน้า รู้ ซึ่งสะกิดให้สนใจว่า รู้ กับ ตรัสรู้ ๒ คำนี้ มีความหมายลึกตื้นกว่ากันแน่ โดยมิสงสัย …

กัณฑ์ ๑-๒ สัมมาสัมพุทโธ Read More »

กัณฑ์ ๑-๑๑ เพียรเถิดจะเกิดผล ตนเป็นที่พึ่งของตน การรักษาไตรทวาร

เพียรเถิดจะเกิดผล (วิสุทธิวาจา ๓ ความเพียร) ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอทำเนืองๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไปอย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่งไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง . ตนเป็นที่พึ่งของตน นี่หมายความว่ากระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปํ อนตฺตา ก็แปลกันว่า นามและรูปไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าจะเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้น ก็เรียกว่า นามรูป โดยเอากองรูปคงไว้ ส่วนกองเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันสี่กอง นี้เรียกว่า นาม ฉะนั้นที่ว่า นามรูป ก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง …

กัณฑ์ ๑-๑๑ เพียรเถิดจะเกิดผล ตนเป็นที่พึ่งของตน การรักษาไตรทวาร Read More »

กัณฑ์ ๑-๓ วิชชาจรณะสัมปันโน

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน คำว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ คุณวิเศษของพระองค์ในที่นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑ วิชชา ๒ จรณะ อะไรเรียกว่า วิชฺชา วิชฺชาในที่นี้ หมายเอาความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูกหรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมนไม่รู้ไม่เห็นของจริง คือนิพพาน ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่า ยึดมั่น คือยึดมั่นในขันธ์ ๕ ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื๊ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้ มีนิพพานเป็นที่ไป ในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ ก็ว่าเมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า อวิชชาที่แปลว่าไม่รู้นั้น …

กัณฑ์ ๑-๓ วิชชาจรณะสัมปันโน Read More »

กัณฑ์ ๑-๔ สุคโต

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ สุคโต แปลได้เป็นหลายนัย เช่นว่า ไปดีแล้ว ไปสู่ที่ดี หรือทรงพระดำเนินงาม ที่ว่าไปดีแล้ว หมายถึงว่า พระองค์ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ คือ กายเป็นสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต ประพฤติสม่ำเสมอมาเป็นอเนกชาติ ดับขันธ์จากชาติหนึ่ง ก็ไปสู่สุคติ ทุกชาติ ไม่ไปสู่ทุคติเลย อย่างนี้ก็เรียกว่า สุคโต ไปดีแล้ว . นัยหนึ่งพระองค์ดำเนินกาย วาจา ใจ ไปในแนวอริยมรรคได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ซึ่งย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์เดินทางศีลเป็นเบื้องต้น ศีลมีประเภทจำแนกละเอียดไว้มากมาย รวมเข้าเป็นวินัยปิฎกถึง ๕ พระคัมภีร์ รวมยอดเข้าเป็นปฐมมรรค ปฐมมรรคเป็นดวงใสอยู่ในกึ่งกลางกายนั้นแหละ รวมยอดมาจากศีล นี่แหละตัวศีล สุคโตในทางศีล พระองค์เดินทางใจ ไปหยุดอยู่ตรงดวงปฐมมรรคนั้น . …

กัณฑ์ ๑-๔ สุคโต Read More »

กัณฑ์ ๑-๕ โลกวิทู

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โลกวิทู โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งซึ่งโลก โลกแบ่งออกเป็น ๓ คือ สังขารโลก สัตว์โลก โอกาสโลก โลกทั้ง ๓ นี้ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรู้แจ้งหมด รู้ถึงความเป็นไปของโลกเหล่านี้โดยละเอียดด้วย จึงได้พระนามว่า โลกวิทู คำว่า โลก หมายความว่า เป็นที่ก่อแห่งสัตว์ หรือนัยหนึ่งว่า เป็นที่ก่อผลแห่งสัตว์ ซึ่งว่าเป็นที่ก่อแห่งสัตว์ก็คือ เป็นที่เกิด ที่อยู่แห่งสัตว์ ที่ว่าเป็นที่ก่อผลแห่งสัตว์ก็คือ เป็นที่ซึ่งสัตว์ได้อาศัย ก่อกุศลและอกุศล ว่าโดยเฉพาะโลกมนุษย์ เป็นที่มนุษย์อาศัยสร้างบุญ แล้วก็ได้ผลไปบังเกิดในสวรรค์ หรือบำเพ็ญบารมี แล้วส่งผลไปสู่นิพพาน ดั่งเช่น องค์สมเด็จพระศาสดา ถ้าสร้างบาปแล้ว ก็เป็นผลให้ไปเกิดในนรก สังขารโลก คือ โลกที่มีอาหาร เป็นปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ คำว่า อาหารฏฺฐิติกา สัตว์อยู่ได้เพราะอาหารปรนปรือ อาหาร แปลว่า ประมวลมา หรือเครื่องปรนปรือ …

กัณฑ์ ๑-๕ โลกวิทู Read More »

กัณฑ์ ๑-๖ อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ พระคุณข้อนี้หมายความว่า พระองค์ก็เปรียบเสมือนสารถีผู้ฝึกสอนคนเป็นอย่างดี หาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ ว่าโดยย่อก็คือ พระองค์มีพระปรีชาญาณเฉลียวฉลาดในอันที่จะฝึกสอนคนให้เป็นคนดี ได้ว่าโดยที่สุดก็คือ ให้สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ย่นคำสอนของพระองค์ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่พระองค์มีอุบายสอนต่างๆนานาสุดแล้วแต่จะทรงพิจารณา เห็นว่าบุคคลจำพวกใดมีนิสัยอย่างไร ก็ทรงใช้อุบายสอนให้ต้องกับนิสัย เช่น พระนันทกุมารมีนิสัยหนักไปในทางราคจริต พระองค์ทรงเนรมิตเป็นรูปนางฟ้าเข้าล่อ จนพระนันทกุมารเห็นว่า สวยกว่านางคู่รักของเธอแล้ว ก็ทรงยักเยื้องวิธี จนพระนันทกุมารเบื่อหน่ายในรูป . ในบางกรณีเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาพระองค์ทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ ดังเช่นเรื่อง อุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น ซึ่งมีเรื่องว่า ครั้งเมื่อพระองค์คิดจะทรงปลูกฝังพระศาสนาให้เป็นปีกแผ่นในกรุงราชคฤห์ แต่มีคณาจารย์คนสำคัญอยู่ที่นั่นชื่อ อุรุเวลกัสสปะ ซึ่งมีคนนับถือมาก ถ้าปราบอุรุเวลกัสสปะเสียได้ พระพุทธศาสนาจึงจะรุ่งเรือง พระองค์จึงเสด็จไปยังอาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปะ ตรัสขออาศัยพักสักราตรีหนึ่งที่โรงเพลิง อุรุเวลกัสสปะว่า ที่นั่นมีพญานาคพิษร้ายอยู่ตัวหนึ่ง พระองค์ว่าไม่เป็นไรก็เสด็จประทับอยู่ที่นั่น ครั้นตกเวลากลางดึก พญานาคสำแดงพิษ หรือเรียกว่าพ่นพิษทำร้ายพระองค์ แต่พระองค์ทรงดำรงพระสติเฉพาะหน้า ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนานุโยคประมวลมา ซึ่งอิทธาภิสังขาร สำแดงเตโชกสิณสมาบัติ บันดาลให้เป็นเปลวเพลิง ยังพญานาคให้พ่ายแพ้ ด้วยฤทธิ์ของพระองค์ แล้วให้ขดตัวอยู่ในบาตร …

กัณฑ์ ๑-๖ อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ Read More »