หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน

หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน หน้า ๙๐๗

*ทางพระพุทธศาสนามี วิชชา ๒ อย่างนี้เป็นข้อสำคัญนัก บัดนี้ท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลามา ก็เพื่อมาเรียนสมถวิปัสสนาทั้งสองอย่างนี้

สมถะเป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือ แปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่าสมถะ

วิปัสสนาเป็นขั้นสูงกว่าสมถะ ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา

สมถะวิปัสสนา ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา

ผู้พูดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียว เรียนสมถะทีเดียว ไม่ได้หยุดเลย จนกระทั่งถึงบัดนี้

บัดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถะวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้
สมถะมีภูมิแค่ไหน
สมถะ มีภูมิ ๔๐ คือ
กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐
อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑
อรูปฌาน ๔
ทั้ง ๔๐ นี้ เป็นภูมิของสมถะ

วิปัสสนามีภูมิ ๖
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒
อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันดับไป

นี้เป็นภูมิของวิปัสสนา ภูมิสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ นี้ เป็นตำรับตำราในทางพระพุทธศาสนาได้ใช้กันสืบมา

แต่ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุด จึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้

สมถะ เขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรานะ
อะไรที่เรียกว่าใจ ?
เห็นอย่างหนึ่ง
จำอย่างหนึ่ง
คิดอย่างหนึ่ง
รู้อย่างหนึ่ง
๔ อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่นแหละเรียกว่า ใจ

อยู่ที่ไหน ? อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ
ความเห็น อยู่ที่ท่ามกลางกาย
ความจำ อยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ
ความคิด อยู่ท่ามกลางดวงจิต
ความรู้ อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณ
เห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้ หมดทั้งร่างกาย

ส่วนเห็น เป็นต้นของรู้
ส่วนจำ เป็นต้นของเนื้อหัวใจ
ส่วนคิด เป็นต้นของดวงจิต
ส่วนรู้ เป็นต้นของดวงวิญญาณ
ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในอยู่ในกลางดวงจิต
ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอกอยู่ในกลางเนื้อหัวใจ
ดวงจำ กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่งเท่าดวงตาทั้งหมด
ดวงเห็น อยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป นั่นเป็นดวงเห็น
ดวงเห็นนั่นแหละ ธาตุเห็นมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละ
เรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น
ดวงจำ ธาตุจำมันอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงคิด ธาตุคิดมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงรู้ ธาตุรู้อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ

ของยากอย่างนี้ เห็นไหมล่ะคำที่เรียกว่า ใจ นั่นแหละเวลานี้เรานั่งอยู่นี่ สอดไปถึงบ้านก็ได้ สอดไปถึงนรกก็ได้ สอดไปถึงสวรรค์ก็ได้ สอดไปถึงนิพพานก็ได้ สอดใจไปได้ มันลึกซึ้งอย่างนี้เห็นไหมล่ะ ใจนี้เป็นของลึกซึ้ง
ถ้าว่ารู้แคบ ก็สอดไปได้แคบ
ถ้ารู้กว้าง ก็สอดไปได้กว้าง
ถ้ารู้ละเอียด ก็สอดไปได้ละเอียด
ถ้ารู้หยาบ ก็สอดไปได้หยาบ
แล้วแต่ความรู้ของมัน ความเห็นของมัน สำคัญนัก
คำที่เรียกว่า ใจ นี่แหละเราต้องบังคับให้หยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ ต้องมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอยู่กลางกายมนุษย์
มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กข้างใน สะดือทะลุหลังเป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้าย เป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่งตึงตรงกัน ตึงทั้ง ๒ เส้น ตรงกลางจรดกัน ที่กลางจรดกันนั้นแหละเรียกว่า กลางกั๊ก

กลางกั๊กนั้นแหละ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ถูกกลางดวงพอดี ที่สอนให้เอาพระของขวัญไปจรดไว้ที่กลางดวง นั้นคือกลางกั๊กนั่นแหละ เราเอาใจของเราไปจรดที่กลางกั๊กนั้น

เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างจรดอยู่กลางกั๊กนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มีที่ตั้งแห่งเดียวเท่านั้น
ใจ ที่เขาบอกว่า ตั้งใจ นะ เราจะต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นทีเดียว ถึงจะถูกเป้าหมายใจดำ เขาบอกว่าตั้งใจ
เวลานี้เองจะทำบุญทำกุศล เราก็ต้องตั้งใจตรงนั้น
บัดนี้เราจะรักษาศีล ก็ต้องตั้งใจตรงนั้น
บัดนี้เราจะเจริญภาวนา เราก็ต้องตั้งใจตรงนั้นเหมือนกัน
ต้องเอาใจไปหยุดตรงกลางนั้น เมื่อเอาใจไปหยุดอยู่กลางนั้นได้แล้วก็ ใช้สัญญาจำให้มั่นหยุดนิ่งบังคับให้นิ่งเชียว ถ้าไม่นิ่งก็ต้องใช้บริกรรมภาวนาบังคับไว้ บังคับให้ใจหยุด บังคับหนักเข้า หนักเข้า หนักเข้า
พอถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่ง ใจหยุด หยุด พอใจหยุดเท่านั้นแหละถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะ
หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ ทั้งทางโลกและทางธรรมสำเร็จหมด
โลกที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของโลก
ธรรมที่จะได้รับความสุข ต้องหยุดตามส่วนของธรรม
ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลี ว่า
นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่ง ไม่มี
สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่ง ไม่มี
หยุดอันนั่นเองเป็นตัวสำคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทำใจให้หยุด เมื่อใจของเราหยุดแล้ว เราก็ต้องหยุดในหยุด หยุดในหยุด ไม่มีถอยหลังกลับ ไม่มีถอยหลัง หยุดในหยุด หยุดในหยุด หยุดในหยุด อยู่นั่นเอง
ใจที่หยุดต้องถูกกลางนะ ถ้าไม่ถูกกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์ เข้าส่วน ถูกสิบ ถูกศูนย์ ถูกส่วน
ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิบเท่านั้นไม่ช้าจะเข้าถึงศูนย์ พอถูกสิบแล้วก็จะเข้าถึงศูนย์ทีเดียว

โบราณท่านพูดกันว่า

เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา
เที่ยงแท้แน่นักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ
จุติแล้วปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
สังขาราไม่ยืนยิน ราคีสิ้นเป็นตัวมา

นี่สิบ ศูนย์นี้ เป็นตัวสำคัญนัก

สัตว์โลกจะเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยเข้าสิบแล้วตกศูนย์ จึงเกิดได้
ถ้าเข้าสิบไม่ตกศูนย์แล้ว เกิดไม่ได้
นี่โลกกับธรรมต้องอาศัยกันอย่างนี้
ส่วนทางธรรมเล่าก็ต้องเข้าสิบ เข้าสิบแล้วก็ตกศูนย์
ตกศูนย์ คือ ใจหยุด
พอใจหยุดเรียกว่าเข้าสิบ
เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น นั่นตกศูนย์แล้ว เข้าสิบแล้ว เห็นศูนย์แล้ว เรียกว่า เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์
พอเห็นศูนย์ ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้นแหละ กลางดวงใสเท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้น ดวงนั้นแหละเรียกว่า ดวงธรรมานุปัสสนา-สติปัฏฐาน หรืออีกนัยหนึ่งดวงนั้นแหละเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องเข้ากลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้ ทางเดียวทางอื่น ไม่มี

เมื่อเข้ากลางดวงศูนย์นี้ได้แล้วเรียกว่า ปฐมมรรคนัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่งดวงนั้นแหละเรียกว่า เอกายนมรรค แปลว่าหนทางเอก ไม่มีโท สองไม่มี แปลว่า หนทางหนึ่ง สองไม่มี หนึ่งทีเดียว
ดวงนั้นแหละเรียกว่าดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหมดในสากลโลกในสากลธรรม
พระพุทธเจ้า พระอรหันต์จะเข้าไปสู่นิพพาน ต้องไปทางนี้ทางเดียวทางไม่ช้ำกัน ไม่มีทางแตกแยกจากกัน ไปแนวเดียวทางเดียวกันหมด แต่ว่าการไปนั้น บางท่านเร็ว บางท่านช้า ไม่เหมือนกัน

คำที่ว่าไม่เหมือนกันนี้แหละ ถึงจะได้ชื่อว่าไม่ซ้ำกัน ว่าไม่ซ้ำกันน่ะ เพราะเร็วกว่ากันช้ากว่ากัน แล้วแต่นิสัยวาสนาของตัวที่สั่งสมอบรมไว้
แต่ว่า ทางไปนั้นเป็นทางเดียวกันหมด เป็นเอกายนมรรค หนทางเส้นเดียว เมื่อจะไปต้องหยุด นี่ก็แปลก
ทางโลกเขาไปต้องเร็วเข้า ขึ้นเรือบินเรือยนต์ รถยนต์ไป จึงจะเร็วจึงจะถึง
แต่ทางธรรมไม่ใช่เช่นนั้น เมื่อจะไปต้องหยุด ถ้าหยุดจึงจะเร็วจึงจะถึง นั่นแปลกอย่างนี้ ต้องเอาใจหยุดจึงจะเร็วจึงจะถึง นี่แปลกอย่างนี้ ต้องเอาใจหยุดจึงจะเร็ว จึงจะถึง

หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนก็เห็นดวงใส ดวงใสนั้นแหละเรียกว่า เอกายนมรรค
หรือเรียกว่าปฐมมรรค
หรือเรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใจก็หยุด นิ่งอยู่กลางดวงนั้น
พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้าเท่านั้น หยุดในหยุด หยุดในหยุด หยุดในหยุด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด หยุดในหยุด กลางของหยุดเรื่อยเข้า เห็นดวงอีกดวงหนึ่งเท่า ๆ กัน อยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เรียกว่า ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอีกดวงหนึ่งเท่าๆ กัน เรียกว่า ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงปัญญา ดวงเท่า ๆ กัน
หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงวิมุตติ ใส ละเอียด หนักลงไป
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น อยู่ที่เดียวกันถูกส่วนเข้า เห็นตัวกายมนุษย์ของเราที่นอนฝันออกไป ที่ไปเกิดมาเกิด เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด
พอเราไปเห็นเข้าเท่านั้นเรา ก็รู้ได้ทีเดียวว่า อ้อ กายนี้เวลาฝันเราเคยเห็นเคยไปกับมันในเวลาทำกิจหน้าที่ฝัน เวลาตื่นแล้วไม่รู้มันไปอยู่ที่ไหน บัดนี้เรามาเห็นแล้ว อยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นเอง
เมื่อเห็นแล้วก็ให้กายมนุษย์ละเอียดนั่น นั่งเข้าเหมือนกายมนุษย์หยาบข้างนอกนี่ มันก็นั่ง เมื่อนั่งถูกส่วนเข้าแล้ว ใจมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด
พอถูกส่วนเข้า หยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงธรรมานุ- ปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ ดวงเท่าๆ กัน
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายทิพย์

ให้กายทิพย์นั่งแบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียดนั่น ใจของกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด

ใจกายทิพย์ละเอียด ก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายรูป-พรหม

ใจกายรูปพรหม ก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
พอถูกส่วนเข้าเห็น ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจกายรูปพรหม
เมื่อหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายรูป-พรหมละเอียด

ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายอรูปพรหม

ใจกายอรูปพรหม ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด

ใจกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน หน้าตักเท่าไหนดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็โตเท่านั้น กลมรอบตัวอยู่กลางกายธรรมกายนั่น
ธรรมกายเป็นตัวพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ

ใจพุทธรัตนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย
พอหยุดถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่ากับดวงธรรมหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายธรรมละเอียด โตกว่าธรรมกายที่เห็นแล้วนั้น ๕ เท่า โตกว่า ๕ เท่า

ใจกายธรรมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขยายส่วนโตหนักขึ้นไป
ใจก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายธรรม พระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

ใจกายธรรมพระโสดา ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หน้าตัก ๑๐ วา

ใจของพระโสดาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธรรมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกาย-พระสกิทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

ใจพระสกิทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระสกิทาคา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายพระสกิทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

ใจของพระสกิทาคาละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระสกิทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

ใจของพระอนาคา ก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระ อนาคา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระ อนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

ใจของพระอนาคาละเอียด ก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ก็ ๒๐ วา กลมรอบตัว

ใจพระอรหัต ก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทาให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงศีล วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงสมาธิ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงปัญญา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณ-ทัสสนะ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายพระอรหัตละเอียด สวยงามมาก นี่เป็นกายที่ ๘
เมื่อถึงพระอรหัตนี้แล้ว หลุดกิเลสหมด ไม่มีกิเลสเลย
เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา ทั้งสมถวิปัสสนา

ตลอดตั้งแต่ กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่า ขั้นสมถะ
ตั้งแต่ กายธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต ทั้งหยาบ ทั้งละเอียดนี้ ขั้นวิปัสสนา
ทั้งนี้ที่เรามาเรียนสมถวิปัสสนาวันนี้ ต้องเดินแนวนี้ ผิดแนวนี้ไม่ได้ และก็ต้องเป็นอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ไปไม่ได้ ผิดอย่างนี้ไปก็เลอะเหลว ต้องถูกแนวนี้
เราจะต้องยึด กายมนุษย์นี่เป็นแบบ เข้าไปถึง กายมนุษย์ละเอียด
ยึดกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นแบบ เข้าไปถึง กายทิพย์
ต้องยึดกายทิพย์นั่นเป็นแบบ เข้าไปถึง กายทิพย์ละเอียด
ต้องยึดกายทิพย์ละเอียดเป็นแบบ จะโยกโย้ไปไม่ได้ เข้าไปถึง กายรูปพรหม
ต้องยึดกายรูปพรหมเป็นแบบ เข้าไปถึง กายรูปพรหมละเอียด
ต้องยึดกายรูปพรหมละเอียดเป็นแบบไป เข้าไปถึง กายอรูป-พรหม
ยึดกายรูปพรหมเป็นแบบ เข้าไปถึง กายอรูปพรหมละเอียด
ยึดกายอรูปพรหมละเอียดเป็นแบบ เข้าถึง กายธรรม
ยึดกายธรรมเป็นแบบ รูปเหมือนกับพระปฏิมากร ที่เขาปั้นไว้ในโบสถ์วิหารการเปรียญ เขาทำแบบไว้อย่างนั้น เข้าไปถึง กายธรรม-ละเอียด
ยึดกายธรรมละเอียดเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระโสดา
ยึดกายธรรมพระโสดาเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระโสดาละเอียด
ยึดกายธรรมพระโสดาละเอียดเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรม-พระสกิทาคา
ยึดกายธรรมพระสกิทาคาเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระ- สกิทาคาละเอียด
ยึดกายธรรมพระสกิทาคาละเอียดเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระอนาคา
ยึดกายธรรมพระอนาคาเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระ-อนาคาละเอียด
ยึดกายธรรมพระอนาคาละเอียดเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรม-พระอรหัต
ยึดกายธรรมพระอรหัตเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระอรหัตละเอียด
ยึดกายธรรมพระอรหัตละเอียด เป็นแบบนี้เป็นหลักฐานในพุทธศาสนา ในหนังสือที่ได้รับแจกกันทั่ว ๆ หน้านั้น ๑๘ รูป หน้าปกที่อธิบายมานี้นับดูได้ ตั้งแต่

๑. กายมนุษย์
๒. กายมนุษย์ละเอียด
๓. กายทิพย์
๔. กายทิพย์ละเอียด
๕. กายพรหม
๖. กายพรหมละเอียด
๗. กายอรูปพรหม
๘. กายอรูปพรหมละเอียด
๙. กายธรรม
๑๐. กายธรรมละเอียด
๑๑. กายพระโสดา
๑๒. กายพระโสดาละเอียด
๑๓. กายพระสกทาคา
๑๔. กายพระสกทาคาละเอียด
๑๕. กายพระอนาคามี
๑๖. กายพระอนาคามีละเอียด
๑๗. กายพระอรหัต
๑๘. กายพระอรหัตละเอียด

ที่ได้อธิบายมาแล้วนี้หน้าปกที่แจกไปแล้วทุกคน นี่แหละหลักปฏิบัติของพุทธศาสนา ต้องแน่นอนจับตัววางตายอย่างนี้ไม่เลอะเลือนเหลวไหล
แต่ว่าจะไปทางนี้ต้อง หยุด ทางธรรมเริ่มต้นต้องหยุดตั้งแต่ต้นจน กระทั่งพระอรหัต ถ้าไม่หยุดมันก็ไปไม่ได้ ชัดทีเดียว แปลกไหมล่ะ
ไปทางโลกเขาต้องไปกันปราดเปรียว ว่องไว คล่องแคล่ว ต้องเล่าเรียนกันมากมาย จนกระทั่งรู้เท่าทันเหลี่ยมครูผู้คนตลอดสาย จึงจะปกครองโลกให้รุ่งเรือง เจริญได้
แต่ว่าจะไปทางธรรมนี่แปลก หยุด เท่านั้นแหละไปได้ หยุดอันเดียวเท่านั้น

เรื่องนี้พูดเอาเองหรือมีตำรับตำราอย่างไร ?
มีตำรับตำรา เมื่อครั้งพระบรมศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ ในเมืองสาวัตถี มีพราหมณ์ปุโรหิต และนางพราหมณีเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล คลอดบุตรออกมาคนหนึ่ง เวลาคลอดออกมาแล้วกลางคืน ศัสตราอาวุธในบ้านมันลุกเป็นไฟไปหมด พ่อเป็นพราหมณ์เฒ่าด้วย เป็นพราหมณ์ครูพระเจ้าแผ่นดินด้วย ตระหนกตกใจนี่มันเรื่องอะไรกัน ตรวจดูตาราก็รู้ได้ทันทีว่า ลูกชายเราที่เกิดมานี่จะเป็นคนร้ายจะเป็นโจรร้าย จะฆ่ามนุษย์มากมาย รู้ทีเดียวด้วยตำราของเขา มีโอกาสไปทูลพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธเจ้าข้า ลูกของ ข้าพระพุทธเจ้าที่คลอดออกมานี้ จะต้องเป็นคนฆ่ามนุษย์เสียแล้ว จะฆ่ามนุษย์มากด้วย จะควรเอาไว้หรือปลงชีวิตเสียเป็นประการใด ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบถวายชีวิตบุตรของข้าพระพุทธเจ้าแต่พระองค์ ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลก็คิดว่า ไอ้เด็กเล็กนิดเดียวจะเป็นอะไรไปล่ะ แต่ว่าเกรงใจพราหมณ์ เคารพพราหมณ์นับถือพราหมณ์ด้วย ก็จะเอาใจพราหมณ์ด้วย ก็รู้เหมือนกันว่าพราหมณ์พูดแล้วไม่ค่อยจะผิด ก็ตะขิดตะขวงใจอยู่เหมือนกัน เอาไว้ดูก่อนนะท่านพราหมณ์ เด็กคนเดียว ถ้าว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราจะฆ่ามันเมื่อไร ฆ่าได้ มันจะไปไหน ฉันปกครองคนทั้งประเทศ พูดให้พราหมณ์ดีใจสักหน่อย พราหมณ์ก็ตามพระทัยเอาไว้ โตขึ้น

เมื่อพราหมณ์รู้ว่า ไอ้นี่มันจะฆ่าคน เบียดเบียนสัตว์มากนัก จะทำอย่างไร ก็เลยให้ชื่อว่าอหิงสกุมาร กุมารไม่เบียดเบียนใคร และจริง อย่างนั้นด้วย ตั้งแต่เล็กมาดีนักหนาทีเดียว พ่อแม่ก็รักใคร่ พระเจ้า ปเสนทิโกศลก็รักใคร่ ร่ำเรียนวิชาความรู้ในทางราชการในทางบ้านเมืองเขานะ ไม่แพ้ใคร ปัญญาดีเฉลียวฉลาดว่องไว เรียนศัสตราอาวุธ เรียนมวยไม่แพ้ใคร เฉลียวฉลาดดีนัก เมื่อได้วิชาสมควรแล้วต่อไปจะต้องเป็นคนใช้ของพระราชา เพราะพ่อเป็นปุโรหิตของพระราชาอยู่แล้ว ต้องไปเรียนวิชาให้สูง เรียกว่าวิชาปกครองแผ่นดิน ปกครองประเทศ ส่งไปเรียนกับ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีลูกศิษย์ถึง ๕๐๐ คน พราหมณ์ปุโรหิตผู้นี้ เมื่อส่งลูกไปเรียนเช่นนั้นก็มอบให้กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ทิศาปาโมกข์อาจารย์ได้รับอหิงสกุมารไว้ ก็สอนเป็นอันดิบอันดียังกับลูกกับ เต้า ได้ใกล้เคียงอหิงสกุมาร อหิงสกุมารฉลาดฉอเลาะดีนักทีเดียว เข้าใกล้ครูละก็ทุกอย่าง ทั้งกายทั้งวาจา ทั้งใจหาที่ติไม่ได้ ฉอเลาะดีนัก อาจารย์รักใคร่ เรียนวิชาก็ไม่แพ้ใครเฉลียวฉลาดทุกอย่าง กำลังร่างกายก็ดี สวยงามก็สวยงาม แต่ว่าอาจารย์หลง ทั้ง ๕๐๐ คน รักอหิงสกุมารมากกว่าใคร ๆ ลูกศิษย์ทั้ง ๔๙๙ คน คิดว่าไม่ได้การ เราไม่ฆ่าอหิงสกุมารเสีย พวกเราโงหัวไม่ขึ้นแน่ มันกดหัวเราจมหมด เราจะต้องฆ่ามันเสีย เอาไว้ไม่ได้ คนโน้นบ้างคนนี้บ้าง ช่วยกันหาเรื่องใส่เจ้าบ้าง ยั่วเจ้าบ้างเย้าเจ้าบ้าง พอเจ้าเกะกะเข้าฟ้องอาจารย์ ฟ้องอาจารย์หาว่าเกะกะ หนักเข้าๆ มันมากเรื่องหนักเข้า อาจารย์เห็นด้วยว่ามันดีแต่ต่อหน้าเรา พ้นเราไปมันข่มเหงเขาอย่างนี้ รุกรานเขาอย่างนี้ แท้ที่จริงมันไปแหย่ขึ้น มันปั่นขึ้น มันปลุกขึ้น มันแก้ไขให้ชั่วมันก็ฟ้องอาจารย์อยู่เสมอ มันหนาหูเข้าแล้ว ลงท้ายจนกระทั่งอ้ายลูกศิษย์คนนี้เอาไว้ไม่ได้ อาจารย์คิดว่าไอ้ลูกศิษย์นี้เอาไว้ไม่ได้แล้วเดือดร้อนนัก เมื่อเอาไว้ไม่ได้อาจารย์จะต้องฆ่า อาจารย์ฆ่าจะทำอย่างไร อาจารย์ฆ่าลูกศิษย์เสียชื่อทิศาปาโมกข์อาจารย์ ลูกศิษย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินก็มีมากมาย พวกเหล่านั้นเป็นกษัตริย์ก็มากที่มาเรียนวิชา ถ้าว่าฆ่าลูกศิษย์ก็เสียชื่อครูทีเดียว จะทำอย่างไรดี ฆ่าทางอ้อม เรียนวิชาไปพอถึงวิชาบทหนึ่งปิดหน้าสมุดเลยทีเดียว ปิดหน้าตำรำ ลูกศิษย์ก็ถามว่า ทำไมต้องปิดเสียท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาต่อไป ไม่ได้ล่ะแกเรื่องนี้ตรงนี้มันเป็นวิชาเรียนเข้าแล้ว เมื่อสำเร็จแล้วจะเป็นเจ้าโลกทีเดียว จึงพูดว่าถ้าจะเรียนกันจริงๆ ต้องเอานิ้วมือของมนุษย์มา ๑,๐๐๐ องคุลีจึงจะเรียนได้ นี่จะหาอุบายฆ่าลูกศิษย์ละนะ ๑,๐๐๐ องคุลีจึงจะเรียนได้ ลูกศิษย์ก็หมดท่าต้องหยุดเรียน ก็พูดกัน ยังไงท่านจะหาองคุลีมาสักพันองคุลีได้ไหมล่ะ? ก็พูดกัน ถ้าต้องได้ก็ต้องฆ่ามนุษย์กัน ฆ่ามนุษย์ไป ฆ่าไป ไม่ทันถึงพันหรอกมนุษย์คนใดคนหนึ่งมันก็ต้องฆ่าตัวเสียบ้าง มันจะเอาไว้ทำไม มนุษย์มันมากด้วยกันนี่ สำเร็จแน่ อาจารย์นึกว่าไอ้นี่ต้องถูกฆ่าแน่ละ ใช้มือคนอื่นฆ่าเถอะ นี่เหลี่ยมของครูฆ่าลูกศิษย์ อหิงสกุมารนั่งคอตก เราเกิดมาในสกุลพราหมณ์ เป็นครูสอนเขามา บาปกรรมไม่ได้ทำเลย มีศีลบริสุทธิ์ตลอดมา ตั้งแต่เกิดจนถึงบัดนี้ ความชั่วนิดหน่อยไม่ได้ กระทำ คราวนี้เรามาเรียนวิชาคราวนี้จะต้องฆ่ามนุษย์เสียแล้ว ถ้าไม่ฆ่ามนุษย์ วิชาของเราก็ไม่สำเร็จ ก็พูดกับอาจารย์ว่าตกลง ถ้าจะต้องฆ่ามนุษย์ให้ได้องคุลีมาพันหนึ่งจึงจะ เรียนสำเร็จ ตกลงรับปากท่านอาจารย์ ร้องไห้เสียใจ เศร้าโศกเสียใจ ต้องเป็นคนลามกเลวทราม ฆ่ามนุษย์เป็นคนใจบาปหยาบช้า เสียอกเสียใจร้องไห้พิไรรำพันนัก ถึงอย่างใด ถ้าว่าไม่เอานิ้วมือมาให้อาจารย์พันหนึ่ง ท่านก็จะไม่บอกวิชาสำเร็จให้เรา เมื่อเราเรียนวิชาไม่สำเร็จเราก็เป็นคนชั้นสูงไม่ได้ เป็นเจ้าโลกไม่ได้ ต้องเรียนวิชาให้สำเร็จจึงเป็นเจ้าโลกได้เพราะฉะนั้น การเรียนวิชาใด ๆ เราต้องใช้วิชานั้น ๆ ได้นะ ถ้าเรียนแล้วใช้วิชานั้นๆ ไม่ได้จะเรียนทำไมเสียเวลาเปล่าๆ เสียข้าวสุก ต้องเรียนวิชาไหนต้องใช้วิชานั้นได้ เอาละพึ่งได้ เอาละวิชานั้นใช้ได้ เหมือนยังกับเราเรียนวิชาวันนี้ เราจะต้องเรียนจริงทำจริง ต้องพึ่งวิชาที่เราเรียนนี้ให้ได้ ให้ศักดิ์สิทธิ์ทีเดียว ครูใช้ได้อย่างไร เราก็ต้องใช้ได้เหมือนครู อย่างนี้เรียกว่าคนมีปัญญา เรียกว่าคนฉลาด เหมือนองคุลีมาลโจร เมื่อเวลาอหิงสกุมารตกลงต้องเรียนแน่ ก็รับอาจารย์ว่าเอา ผมจะยอมเรียน ยอมหาองคุลีมนุษย์มาให้พันหนึ่ง อาจารย์ก็ส่งฟ้าฟื้นให้ ดาบเล่มหนึ่งถนัดมือเลยเชียว นี่เอาไป

ท่านอหิงสกุมารก็หยักรั้งตั้งท่าเลยที เดียว ออกจากอาจารย์แล้วก็หาเครื่องร้อย เครื่องแทงนิ้วติดตัวไป พอออกจากท่านอาจารย์เมื่อพบใครก็ช่างเถอะ เปรี๊ยะคอขาด เปรี๊ยะแขนขาด ขาดครึ่งตัว ตัดเอาองคุลีไปองคุลีหนึ่งๆ ใครขวางไม่ได้ พบไม่ได้เลย ไม่ว่าคนไหนเลยทีเดียว ไม่ว่ามนุษย์คนใด ไม่ว่าชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำทรุดหมด ฆ่าเสียจนกระทั่งเล่าลือระบือลือเลื่องไปว่าในเมืองสาวัตถีนั้น มีโจรสำคัญ คือองคุลีมาลโจร ที่ชื่อองคุลีมาลโจรนั้นก็เพราะนิ้วมือ
ได้มาร้อยคอตากแห้งไป เหมือนวนิพก นับนิ้วเรื่อย จนกว่าจะครบพัน ได้ ๙๙๙ นิ้วแล้ว
เรื่องถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้กรีฑาทัพยกไปปราบองคุลีมาลโจร ธรรมเนียมกษัตริย์โบราณ เมื่อกษัตริย์ต่อกษัตริย์ไปพบกันต้อง รำทวนกัน กษัตริย์ต่อกษัตริย์ด้วยกันต้องรำกระบี่รำทวนกัน ต้องฟาดฟันกันเอง ใครดีก็ดีไป ใครไม่ดีก็คอขาดไป ไม่ใช่ใช้ทหารรบเหมือนธรรมดาในบัดนี้นะ เมื่อเจอะเข้าต้องรำทวนเองทั้งนั้น เอาฝีมือกษัตริย์ทั้งนั้น เอาฝีมือตัวเองทั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ท้อพระทัย เอ๊ะ…นี่เราไปปราบองคุลีมาลโจรตอนนี้ จะต้องไปรำกระบี่กับมัน ต้องไปรำทวนกะมัน เมื่อมันเกิดมาศัสตราอาวุธมันก็ลุกเป็นฟืนเป็นไฟ ไอ้เราไม่มีอัศจรรย์เหมือน อย่างกะมันนี่ เมื่อไปรำทวนเข้าแล้ว คอเราจะขาด หรือคอมันจะขาดเราก็ยังไม่รู้ ไม่แน่พระทัย ก็ท้อพระทัย
รุ่งเช้าจะยกทัพไปคิดว่า เมื่อยกทัพไปแล้วไม่ตรงไปเลยทีเดียวไป พักอยู่ใกล้ๆ วิหารเชตวันก่อน ไปทูลพระพุทธเจ้าเสียก่อน

*นางพราหมณีผู้เป็นมารดา พอรู้ว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลจะยกทัพไป ว่าตัวจะล่วงหน้าไปเสียก่อน จะไปบอกลูกชายให้หนีไปเสีย ไม่เช่นนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจะฆ่าเสีย พระพุทธเจ้ารู้ ถ้านางพราหมณีไป องคุลีมาลโจรเห็นเข้า ก็จะ ฆ่านางพราหมณี ฆ่าแม่เสียเอานิ้วอีก ถึงจะเป็นพ่อเป็นแม่ไม่เข้าใจ ใกล้ละเป็นฆ่าเลยทีเดียว จะเอานิ้ว จะมุ่งเรียนแต่วิชาเท่านั้น แกไม่ได้มุ่งอะไร
พระพุทธเจ้าก็รู้ องคุลีมาลโจรนี้เป็นอสีติมหาสาวกองค์สุดท้ายของเรา ถ้าหากฆ่ามารดาเสียแล้ว เป็นอภัพสัตว์ไม่ได้มรรคผลในชาตินี้ เราขาดอัครสาวกผู้ใหญ่ไปไม่ครบ ๘๐ ได้ ๗๙ เท่านั้น เราจำเป็นที่จะต้องไปทรมานองคุลีมาลโจร สอดส่องด้วยพระญาณทราบชัดก็เสด็จไปก่อนใครๆ ทั้งหมด ไปถึงองคุลีมาลโจร
องคุลีมาลโจรพอเห็นเข้าเท่านั้น แหมนิ้วมันงามจริง วิชาเราเป็นเจ้าโลกแน่ สำเร็จแน่ พอเห็นพระศาสดาทั้งพระรูป ทั้งพระรัศมี ทั้งงด ทั้งงาม ดูไม่เบื่อ น่าเลื่อมใส น่าไหว้น่าบูชาทั้งนั้น ก็คาดว่าสำเร็จแน่ ก็รี่เข้าใส่ทีเดียว คว้าดาบฟ้าฟื้นก็รี่ใส่ปราดเข้าฟัน พอปราดเข้าฟัน พรืด ห่างออกไป ๒๐-๓๐ วา เอาละซิตอนนี้ห่างออกไปเสียแล้ว วิ่งอีก องคุลีมาลโจรก็ตามใหญ่ วิ่งตึก ๆ ๆ ไม่ได้รอละ จี๋เชียว แล้วก็โจนฟัน พรืดไปอีกแล้ว ห่างตั้ง ๔๐-๕๐ วา ไปใหญ่เชียว ห่างหนักขึ้นทุกทีพอวิ่งหนักเข้าๆ ใกล้จะทันวิ่งช้าๆ ใกล้จะทันละ พอใกล้จะทัน พอจะฟัน ก็พรืดห่างไปเสียกว่านั้นอีกแล้ว เท่าไรๆ ก็ฟันไม่ได้ ฟันไม่สำเร็จ เมื่อฟันไม่สำเร็จ จนกระทั่งหืดขึ้นคอ เหนื่อยเต็มที่ พอเหนื่อยเต็มที่ทำไง? คิดว่านี่เขาเป็นเจ้าโลกก่อนเรา เราไม่ใช่เจ้าโลกแน่ เห็นจะเป็นไม่ได้ บุญไม่เท่าทันเขาแล้ว คิดว่านี่เขาเป็นเจ้าโลกก่อนเรา เราไม่ใช่เจ้าโลกแน่ เห็นจะเป็นไม่ได้ บุญไม่เท่าทันเขาแล้ว ท้อในใจ พอท้อใจ ใจมันก็ลดหมดทิฏฐิมานะยอมจำนนพระองค์

เมื่อยอมจำนนพระองค์แล้วก็เปล่งวาจาว่า สมณะหยุดๆ
พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาตรัสว่า สมณะหยุดแล้ว ท่าน ไม่หยุด
คำว่าหยุดอันนี้แหละ ถูกตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหัต คำว่าหยุด
เพราะฉะนั้นต้องเอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนั่นแหละถูกเป้าหมายใจดำ ถูกโอวาทของพระบรมศาสดา
ถ้าไม่หยุดจะปฏิบัติศาสนาสัก ๔๐–๕๐ปีก็ช่าง ที่สุดจะมีอายุสัก ๑๐๐ปี หรือ ๑๒๐–๑๓๐ปี ถ้าใจหยุดไม่ได้ ไม่ถูกศาสนาสักที หยุดเข้าสิบเข้าศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไม่ได้ ไม่ถูกศาสนาสักที

ต่อเมื่อใดหยุดได้ ก็ถูกศาสนาทีเดียว ถูกพระโอษฐ์ของพระศาสดาทีเดียว ให้จำให้แม่นอย่างนี้ เพราะเราปฏิบัติไปแล้วยังไม่ถูก เข้าร่องรอยศาสนายังไม่ถูก
วันนี้จะเข้าร่องรอยพระศาสนา จะเรียนสมถะ จะทำใจให้หยุด จะเข้าช่องนั้น วิธีทำใจให้หยุดดังแสดงแล้วนั้น ถ้าหยุดแล้วก็ถูกตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว นี้แหละทางไปของพระพุทธศาสนา

องคุลีมาลโจร พระองค์ก็ทรงแก้ไขแสดงธรรมะ องคุลีมาลโจรก็ได้สำเร็จมรรคผล พระองค์ก็นำเอามาบวชซะทีเดียว นำมาไว้ในพระวิหารเชตวัน
เวลาเช้า พระเจ้าปเสนทิโกศลกรีฑาทัพไป ยกทัพไปใกล้พระวิหารเชตวัน พักอยู่ข้างนอกวิหาร ตัวเข้าไปในพระวิหาร เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลลาพระบรมศาสดาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องอำลาไปปราบองคุลีมาลโจรละ ไปทูลพระบรมศาสดา
พระบรมศาสดาเรียกองคุลีมาลโจรมาบวชเสียแล้ว พอออกมา นี่หรือ? พระองค์จะทรงไปปราบองคุลีมาลโจรคนนี้ใช่ไหม
พระเจ้าปเสนทิโกศลพอเห็นเข้าเท่านั้น หัวเราะก๊ากตีปีกเชียว นี่แหละพระเจ้าข้า ตีปีกชอบอกชอบใจ ไม่ต้องไปปราบ พระองค์ไปปราบมาเสียแล้ว
ทำไมล่ะ ก็กลัวชีวิตเหมือนกัน เหตุนั้น นี้เป็นนัยที่พระองค์รับสั่งให้นัยคำเดียว ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ไม่ใช่คำลอยๆ คำมีหลักฐานอย่างนี้ จำไว้ให้มั่น
ต่อแต่นี้ไป ส่งเครื่องบูชาให้เขานำไปจุด จุดแล้วจะได้บูชากันต่อไป ฉันจะสอนให้บูชากันต่อไป

(วิธีบูชาพระ ว่าก่อนนั่งภาวนาทุกครั้ง)
ในอันดับต่อแต่นี้ไป ให้ท่านทั้งหลายพึงตั้งใจจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เมื่อเสร็จแล้วจะได้บูชากันต่อไป จะสอนให้ว่า ท่านทั้งหลายจงว่าตามดังนี้
ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง,
ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต(ชาย), คะตา(หญิง),
อิมินา สักกาเรนะ,
ตัง ภะคะวันตัง อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ, ซึ่งข้าพเจ้าถึง, ว่าเป็นที่พึ่ง, กำจัดทุกข์ได้จริง, ด้วยสักการะนี้
ยะมะหัง สะวากขาตัง,
ภะคะวะตา ธัมมังสะระณัง คะโต(ชาย), คะตา(หญิง),
อิมินา สักกาเรนะ,
ตัง ธัมมัง อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระธรรม, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว, ซึ่งข้าพเจ้าถึง, ว่าเป็นที่พึ่ง, กำจัดภัยได้จริง, ด้วยสักการะนี้
ยะมะหัง สุปะฏิปันนัง,
สังฆัง สะระณัง คะโต(ชาย), คะตา(หญิง),
อิมินา สักกาเรนะ,
ตัง สังฆัง อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี, ซึ่งข้าพเจ้าถึง, ว่าเป็นพึ่ง, กำจัดโรคได้จริง, ด้วยสักการะนี้

(ไหว้พระต่อไป)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
(กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆังนะมามิ
(กราบ)

(คำขอขมาโทษ)
บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เสร็จแล้ว ต่อแต่นี้ไปตั้งใจให้แน่แน่ว ขอขมาโทษงดโทษต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราได้พลาดพลั้งลงไปแล้ว ด้วยกายวาจาใจ ตั้งแต่เด็กเล็กยังไม่รู้จักเดียงสามา จนกระทั่งถึงบัดนี้
ขอขมาโทษงดโทษแล้ว กาย วาจา ใจ ของเราจะได้เป็นของบริสุทธิ์ สมควรเป็นภาชนะทองรองรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต สืบต่อไป แต่ก่อนจะขอขมาโทษงดโทษพระรัตนตรัย พึงนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยปณามคาถา คือ นะโม ๓ หน
หนที่หนึ่ง นอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในอดีต
นะโมหนที่สอง นอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในปัจจุบัน
นะโมหนที่สาม นอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในอนาคต ทั้งหมดด้วยกัน ต่างคนต่างว่า นะโมดังๆ พร้อมกัน ๓ หน ได้ ณ บัดนี้
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน)
อุกาสะ, อัจจะโย โน ภันเต, อัจจัคคะมา, ยะถา พาเล, ยะถา มุฬ เห, ยะถาอกุสะเล, เย มะยัง กะรัมหา, เอวัง ภันเต มะยัง, อัจจะโย โน, ปะฏิคคัณหะถะ, อายะติง สังวะเรยยามิ
ข้าพระพุทธเจ้าขอวโรกาส ได้พลั้งพลาดด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เพียงไร แต่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนพาลคนหลง อกุศลเข้าสิงจิต ให้กระทำความผิดต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงงดความผิดทั้งหลายเหล่านั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระพุทธเจ้าจักขอสำรวมระวัง ซึ่งกาย วาจา ใจ สืบต่อไปในเบื้องหน้า
กาย วาจา ใจ ของเราเป็นของบริสุทธิ์ ต่อไปนี้จะได้อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เข้าสิงสถิต ในกาย วาจา จิต สืบต่อไป

(คำอาราธนา)
อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาสมเด็จพระพุทธเจ้า ที่ได้ตรัสรู้ล่วงไปแล้ว ในอดีตกาล มากกว่าเมล็ดทราย ในท้องมหาสมุทรทั้ง ๔ แลสมเด็จพระพุทธเจ้า อันจักได้ตรัสรู้ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า แลสมเด็จพระพุทธเจ้า ที่ได้ตรัสรู้ ในปัจจุบันนี้
ขอจงมาบังเกิด ในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระนพโลกุตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระนพโลกุตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า และพระนพโลกุตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในปัจจุบันนี้
ขอจงมาบังเกิด ในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดียวนี้เถิด
อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในปัจจุบันนี้
ขอจงมาบังเกิด ในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

(คำอธิษฐาน)
ขอเดชคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์เจ้า (ท่านผู้หญิงว่าคุณครูบาอาจารย์นะ) คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณมารดาบิดา คุณทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี
ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแต่ร้อยชาติพันชาติ หมื่นชาติแสนชาติก็ดี ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ระลึกได้ก็ดี มิระลึกได้ก็ดี ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาช่วยประคับประคองข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรคและผล ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
นิพพานะ ปัจจโย โหตุฯ

ที่มา http://7meditation.blogspot.com/2011/04/blog-post_5917.html

โอวาท พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

อ้างอิงเนื้อหา หนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
เพื่อการศึกษาและดำรงไว้ซึ่งคำสอน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *