โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ

โอวาท แสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ หน้า ๘๙๑

๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘

ผู้เทศน์เกิดวันศุกร์ ปีวอก บวชมา ๕๐ พรรษา ค้นคว้าธรรมะเรื่อยมา การออกธุดงค์ ใจเป็นมรรคผล สงบสมาธิ เป็นทางรู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา(ไม่ใช่ธรรม)
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะ ผู้เทศน์รู้จักเกือบ ๕๐ ปี (ตำราไม่มี) โดยการค้นคว้าทางปฏิบัติ
ดีที่สุดคือพระพุทธเจ้า
ชั่วที่สุดคือมาร
ผู้เทศน์มารู้ตัวเมื่อบวชแล้วว่า ต้นธาตุ (คือพระพุทธเจ้าองค์แรกขณะนี้อยู่ในอายตนนิพพาน) ใช้ให้จุติมาเกิด เพื่อปราบมาร(ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย)
ถ้ามารไม่แพ้ ผู้เทศน์ยอมตายอยู่วัดปากน้ำ
มารปล่อยสายมาปกครองมนุษย์ มนุษย์ตกเป็นบ่าวเป็นทาสของโลภะ โทสะ โมหะ (ผลคือความเสียหาย) มีแก่ มีเจ็บ มีตายเช่น สงครามที่แล้วมาเกิดจากโลภะ คือความโลภเป็นเหตุให้คนเจ็บ คนตาย ลูกชายหญิงมีความหลง โมหะว่าตัวเก่งแล้ว พ่อแม่ว่าไม่ได้ มีโทสะ โมโห โต้เถียง ไม่กลัวเกรง
ที่เป็นเช่นนี้เพราะนายโลภะ โทสะ โมหะ เขาปกครองเขาสั่งให้ทำเช่นนั้น เอาบ้านเมืองมาล่อ เอาความเจ็บความตายมาให้ ปราบมารเหล่านี้เสียได้ มนุษย์จะได้อยู่เป็นสุข เจ้าตัวมารเหมือนผีเที่ยวสิงบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งของเขา
เราต้องเข้าวิชชาธรรมกายจึงรู้ เห็นหมด เพราะธาตุธรรมไม่เหมือนกัน
วัดปากน้ำช่วยเหลือแก้คนป่วยไข้ ให้หายไม่ต้องกินยา มารมันยอมให้คนไข้หาย แต่มันไม่ยอมแพ้ มันแพ้หลอกๆ (ตามวิสัยของมาร)
มนุษย์ชายหญิง เป็นพระก็มาก เป็นมารก็มาก
เป็นธรรมกาย ดูเป็น รักษาตัวได้ เราจับสายธรรมะเสีย เขาก็ไม่รบกัน เก็บสมบัติให้หมด เก็บอาวุธให้หมดตามจุด เขาก็ไม่รบกัน(จับหรือเก็บในที่นี้หมายความว่าเก็บในทางปฏิบัติธรรมะ)
กวดกันอย่างนี้ ๒๕ ปีแล้ว แยกพระ แยกมาร ไม่ให้ปนกัน ไม่ให้กระทบกัน ต่างฝ่ายต่างเป็นสุข (เหมือนรัฐกันกระทบในมนุษย์โลก)
จะให้สัญญาไม่รังแกกัน ถ้าไม่ยอมก็เก็บฤทธิ์เสีย ที่ไม่ตกลงกัน เพราะเขาลองฤทธิ์กัน
ผู้เทศน์ปล่อยชีวิต (ยอมตายถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้า) ถึง ๒ คราวจึงได้พบ“ธรรมกาย” (พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของ)
ชายหญิงผู้ปฏิบัติธรรมะ ถึง“ธรรมกายโคตรภู”เท่ากับได้บวชข้างใน เป็นหญิงบวชใน เป็นชายบวชทั้งในทั้งนอกเป็น ๒ ชั้น
ความอยากเป็นเหตุให้เกิด เกิดเป็นผล
หยาบดับได้ ดับเป็นชั้นๆ ดับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบจนถึงธรรมกาย ความเกิดเป็นของจริง ละได้ก็เห็นดับ ดับนั้นเป็นนิโรธ นิโรธมีขึ้นได้เพราะศีล สมาธิ ปัญญา
ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปจนเป็นพระโสดา ตาดีก็เห็น ญาณดีก็รู้ มีบาลีรับรอง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย “ธรรมกาย” นั่นแหละเป็นผู้รักษาความสงบ”

(คัดจากหนังสือเรื่องธรรมกาย หน้า ธ-ป หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ สีลม พระนคร เมื่อเดือน กันยายน ๒๔๙๙ โดยนางแฉล้ม อุศุภรัตน์ เป็นผู้จัดพิมพ์)

โอวาท พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

อ้างอิงเนื้อหา หนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
เพื่อการศึกษาและดำรงไว้ซึ่งคำสอน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *