krirk

จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยทั่วไปแล้ว นักวิชาการทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาต่างยอมรับกันว่า จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นมีหลงเหลือมาถึงปัจจุบันใน ๖ รูปแบบ รวม ๓๓ รายการด้วยกัน คือ ๑) พระราชโองการที่จารึกบนก้อนศิลาจำนวน ๑๖ จารึก ๒) พระราชโองการที่จารึกบนแผ่นศิลาเล็ก ๓ จารึก ๓) พระราชโองการที่จารึกบนเสาศิลา ๘ จารึก ๔) พระราชโองการที่จารึกบนเสาศิลาน้อย ๓ จารึก ๕) จารึกบนหลักศิลาที่ไม่ใช่พระราชโองการ ๒ จารึก และจารึกบนผนังถ้ำ ๑ จารึก ตัวอย่างข้อความบันทึก ศิลาจารึกฉบับน้อย ตอนที่ ๑ จารึกฉบับเหนือ พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้ “นับเป็นเวลาเกินกว่าสองปีครึ่งแล้ว ที่ข้าฯ ได้เป็นอุบาสก แต่ตลอดเวลา ๑ ปี ข้าฯมิได้ทำความพากเพียรใด ๆ อย่างจริงจังเลยและนับเป็นเวลา ๑ ปีเศษแล้วที่ข้าฯ ได้เข้าหาสงฆ์ ข้าฯ จึงได้ลงมือทำความพากเพียรอย่างจริงจัง..” จารึกหลักศิลา ฉบับที่ …

จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช Read More »

พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ

พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ (Kanishka) – เป็นพระพุทธรูปในยุคถัดจากพระพุทธรูปศิลปะมธุรา – เป็นพระพุทธรูปเกิดขึ้นในยุคพระเจ้ากนิษกะ ซึ่งมีที่มาจากปลายเส้นทางสายไหมทิศตะวันตก (กรีก) – พระพักตร์คล้ายชาวตะวันตก (กรีก) ซึ่งต่างจากศิลปะมธุราที่มีความเป็นอินเดีย – มีมุ่นพระเกศา ที่มีเกศเปลวเพลิงก็เกิดขึ้นในยุคคันธาระ – มีความพยายามถ่ายทอดลักษณะมหาบุรุษ 32ประการ แต่เนื่องจากการเข้าถึงธรรมภายในได้เลือนหายไปแล้ว การถ่ายทอดจึงผิดเพี้ยนไป เรียบเรียงจากการบรรยายของนักเจดีย์วิทยา (เกษมสุข ภมรสถิตย์) ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Gandhara ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Gandhara

บั้งไฟพญานาคลุ่มแม่น้ำโขง

บั้งไฟพญานาคลุ่มแม่น้ำโขง – พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ ที่เมืองสังกัสสะ หลังโปรดพุทธมารดา เกิดพุทธานุภาพ พญานาคแถบลุ่มแม่น้ำโขงก็ได้เห็นพุทธานุภาพนั้นด้วย เป็นแรงบันดาลใจให้รักษาศีลช่วงเข้าพรรษา และถวายไฟเป็นพุทธบูชาเฉพาะในวันออกพรรษาเท่านั้น ทุกๆปี จนถึงปัจจุบันนี้ – การเกิดขึ้นของบั้งไฟพญานาค เป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เป็นสิ่งยืนยันเหตุการณ์การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากดาวดึงส์ ในพุทธประวัติ บั้งไฟพญานาคในพระไตรปิฎก บทความบั้งไฟพญานาค  เพลงเคยได้ยินบ้างไหม เพลงเคยได้ยินบ้างไหม (ลาว)  เพลงเคยได้ยินบ้างไหม (Chinese) เพลงบั้งไฟพญานาค (ลาว) เพลง Have you ever heard? ประวัติบั้งไฟพญานาค 1-1 ประวัติบั้งไฟพญานาค 1-2 ประวัติบั้งไฟพญานาค 2-1 ประวัติบั้งไฟพญานาค 2-2 ประวัติบั้งไฟพญานาค 2-3 พญานาคลุ่มแม่น้ำโขง 1 พญานาคลุ่มแม่น้ำโขง 2 กรณีศึกษาบั้งไฟพญานาค ภาพยนต์ประวัติการเกิดบั้งไฟพญานาค เหตุการณ์บั้งไฟพญานาคกว่า 100 ดวง ขึ้นที่พุทธอุทยานนานาชาติ โพนพิสัย หนองคาย 13 ต.ค. 62

พุทธสถานตันตันอูอิลิก

พุทธสถานตันตันอูอิลิก – เมืองเหอเถียน, แคว้นซินเจียง, ประเทศจีน เดิมคืออาณาจักรโขตาน (พุทธศตวรรษที่ ๖) ตั้งอยู่ในเส้นทางสายไหม ปรากฎในบันทึกของพระภิกษุฟาเสียน – อาณาจักรโขตานตั้งอยู่ตอนใต้ของแอ่งทาริม เชิงเขาคุนหลุน เป็นโอเอซิสที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำยูรุงกาชและการากาช จึงได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำ ๒ สาย – อาณาจักรโขตานเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่เริ่มรับพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๖ อย่างต่อเนื่อง จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – พระภิกษุจีนฝาเสี่ยน ผู้เคยเดินทางผ่านมา ได้บันทึกไว้ว่า “ประเทศนี้เจริญมั่งคั่งและมากไปด้วยประชากร ประชาชนทั้งหมดเป็นผู้ยึดมั่นเปี่ยมศรัทธาในธรรมะ และมักมีวิธีสันทนาการด้วยบทเพลงทางศาสนาพระสงฆ์ที่นี่มีหลายหมื่นรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหายาน” – ความนิยมทางฝ่ายมหายานที่นี่เป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเส้นทางแพรไหมตอนเหนือที่นิยมพระพุทธศาสนาสาวกยานมากกว่า – สถานที่สำคัญที่ค้นพบคัมภีร์โบราณทางตะวันออกเฉียงเหนือของโขตาน คือตันตันอูอิลิก ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการขุดค้นไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าไป ที่มา คณะนักวิจัย DIRI แหล่งค้นพบพุทธคัมภีร์โบราณ เส้นทางแพรไหมตอนเหนือ เช่น คิซิล กูชา ทูร์ฟาน เส้นทางแพรไหมตอนใต้ เช่น โขตาน นิยะ ตุนหวง ที่มา http://irfu.cea.fr/Sap/Phocea/Vie_des_labos/Ast/ast.php?id_ast=2615 พุทธโบราณสถานตันตันอูอิลิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของโขตาน …

พุทธสถานตันตันอูอิลิก Read More »

เสาหินพระเจ้าอโศก

เสาหินพระเจ้าอโศก ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล – สร้างหลังอภิเษกได้ 20ปี – จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราช โกลฮูอา (Kolhua Buddha Stupa) สถานที่ปลงอายุสังขาร ที่มา https://c1.staticflickr.com/9/8199/8163779028_91d44310bd.jpg หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)

การจารึกเป็นอักษรลงในใบลานครั้งแรก

การจารึกเป็นอักษรลงในใบลานครั้งแรก – พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย (สิงหล) กลับมากู้บัลลังก์อีกครั้งโดยปลงพระชนม์กษัตริย์ทมิฬ ทาฐิกะ เสด็จขึ้นครองราชย์ – เหล่าพระภิกษุสงฆ์พิจารณาเห็นความไม่มั่นคงของเหตุการณ์บ้านเมือง จึงร่วมกันสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว ได้จารึกเป็นอักษรลงในใบลานไว้เป็นหลักฐานตั้งแต่นั้น https://www.kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=3879 ต้นฉบับ

มิลินทปัญหา

มิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ (Menander) ชื่อในภาษากรีกเมนันดรอส (Menandros) ครองราชย์ปลายพุทธศตวรรษที่ ๔ ที่มา http://www.livius.org/source-content/the-milindapanha/ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔) มิลินทปัญหา

พระปฐมเจดีย์ นครปฐม

พระปฐมเจดีย์ นครปฐม – รูปแบบเจดีย์ทรงมูลดินหรือทรงบาตรคว่ำคือเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าดำริให้ใช้เป็นแบบในการสร้าง เพื่อระลึกถึงพระองค์ ซึ่งปรากฎในจดหมายเหตุการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง – จากรูปเขียนฝาผนังของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร แสดงให้เห็นว่า เจดีย์องค์ดั้งเดิมมีลักษณะเค้าโครงเป็นเจดีย์ทรงมูลดิน (ทรงบาตรคว่ำ) ถัดมาคือทรงโดมเหมือนสถูปสาญจิ ที่เห็นเป็นยอดสูงคือการสร้างครอบและต่อยอดให้สูงขึ้นไปโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ต่างๆในภายหลัง – เป็น 1 ใน 3 เจดีย์ที่พระอรหันต์อุปคุปตะ พาพระเจ้าอโศกซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อ 218ปีหลังพุทธปรินิพพาน มากราบพระเจดีย์ทั้ง 3 คือพระธาตุสีจอมทอง, พระปฐมเจดีย์ และเจดีย์ชเวดากอง – จึงเป็นเหตุผลว่าสถูปสาญจิ ที่พระเจ้าอโศกสร้างในอินเดีย จึงมีลักษณะคล้ายองค์เจดีย์ดั้งเดิมของพระปฐมเจดีย์ แต่เป็นเจดีย์ทรงโดมรูปครึ่งวงกลม เพื่อรำลึกถึงการเข้าถึงธรรมของพระเจ้าอโศก ซึ่งเป็นดวงกลม – และเป็นเหตุผลว่า เจดีย์ทั้ง 3 เกิดขึ้นก่อนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช – มีข้อสังเกตุว่า ปฐมเจดีย์ มีความหมายว่า เจดีย์องค์แรก (เรียบเรียงจากการบรรยายของนักเจดีย์วิทยา ป้าใส เกษมสุข ภมรสถิตย์ โดยมีที่มาจากหนังสืออโศกวัฒนะ) ภาพปัจจุบัน พระปฐมเจดีย์ ที่มา www.dmc.tv ศึกษาประวัติการบูรณะจากหนังสือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ที่มา …

พระปฐมเจดีย์ นครปฐม Read More »

หนังสือ 大唐西域记

หนังสือ 大唐西域记 – บันทึกเรื่องราวตลอดการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง (唐三藏)Táng sānzàng , – สมัยกษัตริย์ถังไท่จง พระพุทธศาสนามีความหลากหลาย พ.ศ.1172 พระถังซัมจั๋งอายุ 26 ปี เริ่มเดินทางมาอินเดีย ยุคพระเจ้าศีลาทิตย์ แม้จะมีคำสั่งห้ามจากทางการ เพื่อศึกษาหัวข้อธรรมพระพุทธศาสนาที่เป็นคำสอนดั้งเดิมและภาษาสันตกฤตที่นาลันทา – ศึกษาอยู่ 5 ปี เมื่อถึงเวลาอันควรจึงอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่จีน พ.ศ.1188 – ใช้เวลาอีก19 ปีแปลเป็นภาษาจีน ศาสนาตั้งมั่นแล้ว ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.1207 หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓) หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

หุบเขาบามิยัน อัฟกานิสถาน

หุบเขาบามิยัน อัฟกานิสถาน ดินแดนคันธาระ – มีพระพุทธรูปประทับยืน 2 องค์สำคัญ คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า สูง 38 เมตร และพระไวโรจนพุทธเจ้า สูง 55 เมตร –  เริ่มมีการเจาะถ้ำในสมัยพระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ.500-600) – คนท้องถิ่นมีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง มีขนาดใหญ่และมีพระพักตร์อมยิ้มฝังอยู่ใต้ดิน เป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษ สอดคล้องกัน – มีนักโบราณคดีได้ขุดพบส่วนพระบาทของพระนอนเมื่อปี ค.ศ. 2005 จากคำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็น บันทึกพระถังซำจั๋ง “เนินเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวง [ของพามิยาน] มีพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลา สูง 140-150 เฉียะ สีทองอร่ามประดับด้วยอัญมณีมีค่า ด้านตะวันออกขององค์พระพุทธรูปมีอารามแห่งหนึ่งซึ่งอดีตพระราชาของแคว้นทรงสร้างขึ้น” ” มีพระพุทธรูปเหลืองอร่ามไปด้วยทองคำและมีพระภิกษุกว่า 1000 รูปจำวัดอยู่ ได้ยินเสียงสวดมนต์ ก้องกังวานไปทั่วทั้งหุบเขา” https://en.wikipedia.org/wiki/Buddhas_of_Bamiyan สารคดีการขุดค้นทางโบราณคดี https://youtu.be/-z6n3R0Wp1s สารคดีหุบเขาบามิยัน https://youtu.be/khD02eW-D8k คัมภีร์แห่งบามิยัน https://youtu.be/x89ufbKoJ-M

พระพุทธรูปศิลปะมถุรา

พระพุทธรูปศิลปะมถุรา – เป็นพระพุทธรูปยุคแรก เป็นรูปปางต่างๆ แทนรูปกายของพระพุทธองค์ นิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ พระพักตร์คล้ายชาวอินเดียขึ้น ผ้าจีวรบางเป็นริ้วแนบสนิทพระวรกาย คลุมทั้งองค์ – มถุราคือชื่อเมืองอยู่ระหว่างทางจากกรุงเดลีไปเมืองอักรา เมืองนี้เป็นถิ่นกำเนิดพุทธศิลป์รุ่นแรกๆ https://en.wikipedia.org/wiki/Art_of_Mathura