krirk

บันทึกแผ่นศิลา จีน

บันทึกแผ่นศิลา จีน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา​ใน​จีน เป็นหลักฐานเหตุการณ์วันประสูติ​-​ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่ถูกบันทึก​โดย​ราชวงศ์จีน​ ​ใน​สมัยพุทธกาล​ – แผ่นดินพระเจ้าโจวเจา เกิดแผ่นดินไหว มีแสงหลากสี พวยขึ้นบนท้องฟ้า ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 – โหราจารย์กราบทูลว่า ณ เวลานี้ มีพระบรมศาสดาบังเกิดขึ้นในแผ่นดินด้านทิศตะวันตกของแผ่นดินจีน และอีก 1000 ปีข้างหน้าคำสอนของท่านจะมาเผยแผ่ในแผ่นดินจีน – เหตุการณ์ได้ถูกบันทึกบนแผ่นศิลา (ตามอรรถกโถจารย์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ที่อื่นไม่มีการบันทึก) – เพลงบันทึกแผ่นศิลา – ประวัติพระพุทธศาสนาในแผ่นดินจีน อ้างอิง​จาก​ ​ซื่อคู่​เฉวียนซู​ : ​จึปู้​ ​เล่มที่​ 21 ​ซึ่ง​เป็น​หนังสือชุดที่รวบรวมตำ​รา​ความ​รู้ของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์​โจว​ ​จน​ถึง​ ​ยุคราชวงศ์ชิง ที่มา www.dmc.tv

สถูปสาญจี อินเดีย

สถูปสาญจี อินเดีย – สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช มีพระอรหันต์อุปคุปต์เป็นผู้สอน หลังจากเข้าถึงธรรมแล้ว ทรงสร้างสถูปเจดีย์เพื่อระลึกถึงการปฎิบัติธรรม เป็นทรงโดม แทนตถาคตคัพภะ แทนสภาวะธรรมของพระพุทธองค์ที่อยู่ในท้อง (ความเป็นพระพุทธเจ้าที่อยู่ในท้อง) – เรียบเรียงจากการบรรยายของ นักเจดีย์วิทยา ป้าใส เกษมสุข ภมรสถิตย์ โดยมีที่มาจากหนังสืออโศกวัฒนะ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓) มหาสถูปสาญจี ๑ รัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดียพุทธศตวรรษที่ ๓-๑๒ เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ที่มา http://www.buddhiststudies.org.au/Downloads/Bulletins/Sanci.jpg มหาสถูปสาญจี ๓ รัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๓-๑๒ เชื่อกันว่าบรรจุพระธาตุพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ที่มา https://sladamibuddyzmu.files.wordpress.com/2010/11/sanci-222-res.jpg พัฒนาการของสถูป

ถ้ำพระพุทธเจ้าพันพระองค์ คิซิล ประเทศจีน

ถ้ำพระพุทธเจ้าพันพระองค์ คิซิล ประเทศจีน – วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิล สร้างขึ้นในยุคสมัยอาณาจักรกูชา อยู่ในมณฑลซินเจียง ของจีน ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓ – กูชา เป็นอาณาจักรพุทธโบราณตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูสาท บนเส้นทางสายไหมตอนเหนือ พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – กูชา เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๘ – อาณาจักรกูชาเป็นบ้านเกิดของพระภิกษุกุมารชีวะผู้มีคุณูปการมหาศาลแก่ประเทศจีนในด้านพระพุทธศาสนา – พระภิกษุเสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง) ได้เขียนบรรยายถึงอาณาจักรนี้ไว้ว่า “มีอารามกว่าร้อยแห่ง และมีพระสงฆ์กว่าห้าพันรูป ล้วนเป็นหินยานนิกายสรรวาสติวาทซึ่งมีคำสอนและวินัยคล้ายกับทางอินเดีย…มีพระพุทธรูปสูง ๙๐ ฟุต ประดิษฐานอยู่หน้าประตูเมืองด้านตะวันตก” – วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิล ประกอบด้วยถ้ำเล็กใหญ่ ๒๓๖ ถ้ำ ขุดเจาะเข้าไปในหน้าผายาวกว่า ๒ กิโลเมตร – จิตรกรรมภายในถ้ำเป็นเรื่องราวชาดกและอวทานของนิกายสรรวาสติวาท – เนื้อหาในคัมภีร์ที่พบที่กูชา ทำให้ทราบว่าหนึ่งในจิตรกรรมถ้ำที่คิซิลนั้น กษัตริย์ชาวโตคาเรียนทรงพระนามว่า เมนทเร มีรับสั่งให้วาดขึ้นภายใต้คำแนะนำของพระเถระชื่ออนันทวรมัน โดยฝีมือช่างเขียนชาวอินเดียชื่อนรวาหนทัตตะ กับอีกท่านมาจากซีเรียชื่อปรียรัตนะ และกษัตริย์โขตานทรงพระนามว่าวิชยวรธนะและมูร์ลิมิน ได้ส่งช่างมาเขียนภาพจิตรกรรมไว้ในอีกถ้ำหนึ่งด้วย วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิล อาณาจักรกูชา มณฑลซินเจียงของจีน …

ถ้ำพระพุทธเจ้าพันพระองค์ คิซิล ประเทศจีน Read More »

ถูปารามเจดีย์ ศรีลังกา

ถูปารามเจดีย์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา – เป็นสถูปแห่งแรกในศรีลังกา ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยมีพระมหินทเถระโอรสของพระเจ้าอโศกเสด็จมาเผยแผ่พุทธศาสนาในเกาะลังกา – เป็นศูนย์กลางของเถรวาท – เป็นสถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 4 พ.ศ.238

อภัยคีรีเจดีย์ ศรีลังกา

อภัยคีรีเจดีย์ (Abhayagiri Dagoba) อนุราธปุระ ศรีลังกา – สร้างในสมัยพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย (400ปี หลังปรินิพพาน) ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Abhayagiri_vihra ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Abhayagiri_vihra พระสถูปก่อนการบูรณะ ที่มา https://openresearch.anu.edu.au/about-open-research-anu

พุทธสถานถ้ำอชันตา

พุทธสถานถ้ำอชันตา ถ้ำอชันตาหมายเลข ๙ พุทธศตวรรษที่ ๖ ที่มา http://sjoneall.net/big-galleries/india-2012-big/05-ajanta/slides/in12_021512470_j_r.jpg หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)

พระพุทธรูปศิลปะมถุรา

พระพุทธรูปศิลปะมถุรา – เป็นพระพุทธรูปยุคแรก เป็นรูปปางต่างๆ แทนรูปกายของพระพุทธองค์ นิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ พระพักตร์คล้ายชาวอินเดียขึ้น ผ้าจีวรบางเป็นริ้วแนบสนิทพระวรกาย คลุมทั้งองค์ – มถุราคือชื่อเมืองอยู่ระหว่างทางจากกรุงเดลีไปเมืองอักรา เมืองนี้เป็นถิ่นกำเนิดพุทธศิลป์รุ่นแรกๆ https://en.wikipedia.org/wiki/Art_of_Mathura

เจดีย์ชเวดากอง เมียนมาร์

เจดีย์ชเวดากอง เมียนมาร์ – ตามตำนานเจดีย์ชเวดากองบันทึกว่าเป็นพระสถูปองค์แรกสุดในพุทธศาสนาของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า เป็นพระสถูปเพื่อรำลึกถึงพระพุทธองค์ ภายหลังถูกสร้างครอบด้วยเจดีย์ทรงอื่นๆ – เป็นพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ประทานพระเกศาให้พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ 3 เส้น เมื่อกลับมายังพม่าและได้สร้างรูปแบบที่ทรงตรัสแนะนำคือทรงบาตรคว่ำ ที่มา www.dmc.tv เจดีย์ชเวดากอง 1 เจดีย์ชเวดากอง 2

หุบเขาบามิยัน อัฟกานิสถาน

หุบเขาบามิยัน อัฟกานิสถาน ดินแดนคันธาระ – มีพระพุทธรูปประทับยืน 2 องค์สำคัญ คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า สูง 38 เมตร และพระไวโรจนพุทธเจ้า สูง 55 เมตร –  เริ่มมีการเจาะถ้ำในสมัยพระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ.500-600) – คนท้องถิ่นมีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง มีขนาดใหญ่และมีพระพักตร์อมยิ้มฝังอยู่ใต้ดิน เป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษ สอดคล้องกัน – มีนักโบราณคดีได้ขุดพบส่วนพระบาทของพระนอนเมื่อปี ค.ศ. 2005 จากคำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็น บันทึกพระถังซำจั๋ง “เนินเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวง [ของพามิยาน] มีพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลา สูง 140-150 เฉียะ สีทองอร่ามประดับด้วยอัญมณีมีค่า ด้านตะวันออกขององค์พระพุทธรูปมีอารามแห่งหนึ่งซึ่งอดีตพระราชาของแคว้นทรงสร้างขึ้น” ” มีพระพุทธรูปเหลืองอร่ามไปด้วยทองคำและมีพระภิกษุกว่า 1000 รูปจำวัดอยู่ ได้ยินเสียงสวดมนต์ ก้องกังวานไปทั่วทั้งหุบเขา” https://en.wikipedia.org/wiki/Buddhas_of_Bamiyan สารคดีการขุดค้นทางโบราณคดี https://youtu.be/-z6n3R0Wp1s สารคดีหุบเขาบามิยัน https://youtu.be/khD02eW-D8k คัมภีร์แห่งบามิยัน https://youtu.be/x89ufbKoJ-M

เหรียญกษาปณ์ พระเจ้ากนิษกะ

เหรียญกษาปณ์ พระเจ้ากนิษกะ – เหรียญกษาปณ์อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระสมณโคดมพุทธเจ้า บางเหรียญเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย์ – ผอบของพระเจ้ากนิษกะ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฝาผอบเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับบนดอกบัวพร้อมเทวดา ๒ องค์ – สถูปพระเจ้ากนิษกะ เมืองเปชวาร์,ปากีสถาน – มีการสังคายนาครั้งที่ 4 มีการสร้างวิหาร สถูป เจดีย์ เจาะถ้ำตามหน้าผาของหุบเขาบามิยัน แกะสลักพระพุทธรูป ทรงอาราธนาสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วเอเชียกลาง – หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖) ที่มาคณะวิจัย DIRI – พระเจ้ากนิษกะ Kanishka เป็นกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ (Kushan dynasty) แคว้นคันธาระ (พ.ศ.500-600) – พระเจ้ากนิษกะ เป็นผู้ทำให้พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหลังจากพระเจ้าอโศกถูกยึดอำนาจ – และพระเจ้ากนิษกะยังเป็นลูกศิษย์ของพระสรวาสติวาท และส่งผ่านพระพุทธศาสนาไปยังประเทศจีน – พระพุทธรูปศิลปะคันธาระก็เกิดขึ้นในยุคนี้ เรียบเรียงจากการบรรยายของนักเจดีย์วิทยา เกษมสุข ภมรสถิตย์ เหรียญ coin พระสถูป Stupa ผอบ casket ที่มา …

เหรียญกษาปณ์ พระเจ้ากนิษกะ Read More »

สถูปเจดีย์โพธินาถ กาฐมาณฑุ เนปาล

สถูปเจดีย์โพธินาถ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล – เป็นสถูปทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล – เจดีย์โพธินาถเป็นเจดีย์ทรงโอคว่ำ สูง 36 เมตร สร้างตามทฤษฎีของชินพุทธะ (ชินบัญชร) – ชินพุทธะ (ชินบัญชร) คือพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เขียนภาพดวงตาของ “พระไวโรจนะ” ทั้ง 4 ด้าน – พระไวโรจนพุทธะทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 4 สถิต ณ ศูนย์กลางของทวีปทั้ง 4 เรียบเรียงจากการบรรยายของนักเจดีย์วิทยา เกษมสุข ภมรสถิตย์ – ทวีปทั้ง 4 พระพุทธองค์กล่าวว่า เขาสิเนรุเป็นแกนกลางจักรวาล เป็นที่อยู่ของชาวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามไหล่เขาทั้ง ๔ ทิศ มีรัตนะทิศละอย่าง แสงแห่งรัตนะที่ไหล่เขา ฉายส่องจับพื้นดิน มหาสมุทร ตลอดจนต้นไม้ใบหญ้า ต่างมีสีสันที่แตกต่างกันออกไป ทางด้านทิศเหนือ ไหล่เขาเป็นทองคำ นํ้าในมหาสมุทร ท้องฟ้า ต้นไม้ใบไม้ในอุตตรกุรุทวีปจึงเป็นสีทอง ปุพพวิเทหทวีปซึ่งอยู่ทิศตะวันออก ตามไหล่เขาสิเนรุในทิศนี้ …

สถูปเจดีย์โพธินาถ กาฐมาณฑุ เนปาล Read More »