ธรรมะเพื่อประชาชน

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – โทษของการเป็นผู้ว่ายาก

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – โทษของการเป็นผู้ว่ายาก สังคมที่อบอุ่นที่เต็มไปด้วยความสุข และความเข้าใจ เป็นสังคมในอุดมคติของชาวโลกทั้งหลาย ยิ่งสภาวะแห่งโลกในปัจจุบันนี้ ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรน แก่งแย่งชิงดีกัน ทำให้ในสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ เต็มไปด้วยคู่แข่งและคู่แค้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ชีวิตของนักสร้างบารมี เมื่อเกิดมาแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ที่จะสร้างสิ่งที่ดีงามให้บังเกิดขึ้นกับโลก นี่คือชีวิตจริงและหน้าที่ที่ทุกท่านพึงปฏิบัติ สิ่งที่ดีๆจะได้เกิดขึ้น ขอเพียงเรามีใจที่ใสบริสุทธิ์ มีความปรารถนาดีต่อโลก มีใจที่หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่องทุกอนุวินาที กระแสแห่งความบริสุทธิ์จากตัวเราก็จะแผ่ขยายออกไป เป็นกระแสที่รุกเงียบไปในบรรยากาศ สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขโลกนี้ให้สะอาดบริสุทธิ์เป็นโลกแก้วได้ มีคำสุภาษิตที่ผู้รู้ได้กล่าวไว้ที่ใน มิคาโลปชาดก ว่า… เอวมฺปิ อิธ วุฑฺฒานํ โย วากฺยํ นาวพุชฺฌติ อติสีมํ จโร ทิตฺโต คิชฺโฌ วาตีตสาสโน สพฺเพ พฺยสนํ ปปฺโปนฺติ อกตฺวา พุทฺธสาสนํ ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอนของผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลยขอบเขตก็เดือดร้อน ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะถึงความพินาศ เหมือนแร้งที่ฝ่าฝืนคำสอนของพ่อฉะนั้น การที่เรามีใครสักคนคอยว่ากล่าวตักเตือนนั้น ไม่ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ เพราะผู้ที่จะมีความปรารถนาดีอย่างนั้น จะต้องมีหัวใจของยอดกัลยาณมิตร …

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – โทษของการเป็นผู้ว่ายาก Read More »

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ผลแห่งการฟังธรรม

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ผลแห่งการฟังธรรม ตลอดระยะเวลาอันยาวนานมวลมนุษยชาติ ต่างปรารถนาให้โลกมีสันติสุขที่แท้จริง แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าสันติสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน จะเข้าถึงได้อย่างไร จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบว่า การที่สันติสุขที่แท้จริงจะบังเกิดขึ้นได้นั้น มนุษย์ทุกคนจะต้องปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงสันติสุขภายใน คือ เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขที่แท้จริง พระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่าง กันด้านเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ หากได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกวิธี ก็จะสามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใส เหมือนห้วงน้ำที่มีความลึก เป็นห้วงน้ำใสสะอาด ไม่มีความขุ่น ฉะนั้น การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกชีวิต สำคัญยิ่งกว่าความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมา เพราะจะทำให้เกิดดวงปัญญาสว่างไสว ปัญญาจากการฟังธรรม จะนำไปสู่การรู้แจ้ง ทำให้จิตใจผ่องใสสามารถพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง ตรงไปตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะ ผิดชอบชั่วดี เป็นปัญญาที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข …

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ผลแห่งการฟังธรรม Read More »

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นโลกแห่งการสั่งสมบุญบารมี เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำควบคู่กันไปกับการสร้างบารมี คือ การรักษาใจให้หยุดนิ่งอยู่ที่กลางกาย ส่วนร่างกายจะเคลื่อนไหว เพื่อทำกิจกรรมอะไรก็ทำไป แต่ใจต้องให้หยุดนิ่งอยู่ภายในตลอดเวลา เหมือนคลื่นที่เคลื่อนไหวบนผิวน้ำ แต่ภายใต้ท้องทะเลกลับสงบนิ่ง เราจึงควรทำทั้งสองสิ่งนี้ควบคู่กันไป ถ้าทำได้เช่นนี้ บุญบารมีย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งบุญหยาบและบุญละเอียด เราจะเป็นยอดนักสร้างบารมีตัวอย่างของโลก จะมีความสุขกายสุขใจ ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น ทั้งนั่งนอนยืนเดิน เมื่อถึงคราวปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ใจก็จะหยุดนิ่งได้ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป ฉะนั้นการรักษาใจให้สะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่งให้ได้ตลอดเวลา จึงมีอานิสงส์ใหญ่ ทำให้เข้าถึงพระรัตนตรัยได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน คาถาธรรมบท ว่า… น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมไปสู่ทิศ คือ พระนิพพานที่ยังไม่เคยไป ได้ด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว ทรมานดีแล้วเท่านั้น ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศ คือ พระนิพพานที่ยังไม่เคยไป …

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ Read More »

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ฟังธรรมตามกาล เวลาแห่งการเจริญสมาธิภาวนา เป็นเวลาที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะเราจะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสัจธรรมนำพาชีวิตให้เข้าถึงความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ปัจจุบันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่า เกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอยู่ในกระแสแห่งความทุกข์ เหมือนถูกตรึงด้วยเครื่องพันธนาการ เมื่อใดได้ฟังธรรม และปฏิบัติธรรม ก็จะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต แล้วมุ่งแสวงหาสาระอันแท้จริง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวงได้ในที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยกาลสูตร ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลเวลาที่ทรงคุณค่า อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ และให้เป็นไปโดยชอบแล้ว ย่อมทำให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ เวลาที่ทรงคุณค่า ๔ อย่างคือ เวลาฟังธรรมตามกาล เวลาสนทนาธรรมตามกาล เวลาทำ ความสงบของใจ และเวลาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้แจ้ง การฟังธรรมเป็นมงคลอันสูงสุด ทำให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งมวล ทำให้ได้ยินได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง ได้ทบทวนความรู้ที่เคยได้ฟังมาแล้ว ทําให้คลายความสงสัยที่มีอยู่ในใจ และผู้ฟังธรรมเป็นประจำ ก็จะมีจิตใจผ่องใส เป็นการเพิ่มพูนสัมมาทิฏฐิให้มีความเห็นถูกต้อง เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์ อยากจะทำแต่ความดี ละเว้นจากบาปอกุศล ทั้งหลาย พระพุทธองค์ถึงตรัสเอาไว้ว่า กาเลน …

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – ฟังธรรมตามกาล Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เพียงพบเห็นก็เป็นมงคล

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เพียงพบเห็นก็เป็นมงคล ชีวิตเราจะเจริญรุ่งเรืองได้ เพราะมีต้นแบบที่ดีงาม และปฏิบัติตามแบบอย่างที่ดีนั้น เหมือนพระอริยสาวกได้แบบอย่างที่ดีจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้ ดังนั้น การได้เห็นสมณะผู้สงบจากกิเลสน้อยใหญ่ จึงเป็นอุดมมงคลของชีวิต เพราะกระแสแห่งความบริสุทธิ์จากความเป็นสมณะภายใน จะขยายออกสู่ภายนอก ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเกิดความปีติเลื่อมใส อยากเข้าใกล้ อยากจะฟังธรรม และเกิดแรงบันดาลใจ ทำตามคำสอน ให้ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี และทำใจให้ผ่องใสตามท่านไปด้วย เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้จักสมณะที่แท้จริงภายใน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำให้ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ฐานสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ว่า… ทสฺสนกาโม สีลวตํ สทฺธมฺมํ โสตุมิจฺฉติ วิเนยฺย มจฺเฉรมลํ ส เว สทฺโธติ วุจฺจตีติ ผู้ใดใคร่ในการเห็นผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิน คือความตระหนี่เสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีศรัทธา ผู้มีความศรัทธาจะยินดีในการเห็นสมณะ เพราะรู้ว่าสมณะเป็นต้นแบบที่ดีงามของชีวิต ท่านมีกัลยาณศีลที่งดงาม และมีธรรมะเป็นอาภรณ์ จึงเป็นผู้มีใจสงบจากกิเลส ท่านจะไม่ทำบาปทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา ทางใจ และเป็นผู้ที่ให้ความปลอดภัย …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เพียงพบเห็นก็เป็นมงคล Read More »

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – สละชีวิตเพื่อฟังธรรม

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – สละชีวิตเพื่อฟังธรรม สรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เหมือนดอกไม้ แต่เดิมเราเคยเห็นมันเป็นต้นเล็กๆ ไม่นานก็เจริญเติบโตขึ้น แตกใบ แผ่กิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกผล ให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต แต่ไม่นานดอกไม้ที่ดูสวยงามนั้น ก็เหี่ยวแห้งร่วงโรยไปตามกาลเวลา สังขารร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ได้คืบคลานเข้ามาหาเราทุกขณะ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกอนุวินาที โดยที่ตัวเราเองก็สังเกตไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๖๐ ปี จึงรู้ว่าเราแก่ลงทุกทีๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกันไปสู่ความเสื่อมสลาย ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ควรใช้วันเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวัน ด้วยการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้ เราก็จะได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุนำสุขมาให้ สุขา สทฺธมฺมเทสนา การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุนำสุขมาให้ พวกเราทั้งหลายที่ได้เกิดมาภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา มาอยู่ในยุคสมัยที่พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง ได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ซึ่งสอนให้เราละชั่ว ทำแต่ความดี และก็ทำใจให้ผ่องใส …

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – สละชีวิตเพื่อฟังธรรม Read More »

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม คลุกคลีด้วยอกุศลธรรม เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า พิจารณาโดยแยบคาย แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรม และการพิจารณาโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วยอกุศลธรรม สุขย่อมเกิดแก่เขา การประพฤติปฏิบัติธรรมทำใจให้หยุดนิ่ง เป็นหลักของการบำเพ็ญกุศล เพราะเป็นสิ่งที่จะอำนวยผลให้ผู้ปฏิบัติได้ อานิสงส์ไพบูลย์ การฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ๓ อย่างนี้เท่านั้น ที่เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันแท้จริงของพวกเราทั้งหลาย ดังนั้นเราทุกคนต้องตั้งใจปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงจุดนี้ให้ได้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธที่แท้จริงตามพุทธประสงค์ เมื่อเราปรารถนาอยากจะเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ ก็จะต้องเอาใจของเราที่โลดแล่นคิดไปในเรื่องราวต่างๆ นำมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เมื่อวางใจพอเหมาะพอดีถูกส่วนเข้า ไม่ช้าก็จะเห็นธรรมภายในไปตามลำดับ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกของเราได้อย่างแท้จริง มีวาระพระบาลีที่มาใน ทีฆนิกาย มหาวรรค ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม คลุกคลีด้วยอกุศลธรรม เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า พิจารณาโดยแยบคาย แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม …

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล – นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อน ท่านก็ทำอย่างนี้ คือ สร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน การที่เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในวัฏสงสาร จนกว่าจะไปถึงเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบสโพธิสัตว์ ได้กล่าวถึงความอดทนอันสูงสุดไว้ว่า บุคคล อดทนต่อถ้อยคำของคนผู้เป็นใหญ่กว่าได้ เพราะความกลัว อดทนต่อถ้อยคำของผู้เสมอกันได้ เพราะการแข่งดีเป็นเหตุ ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ อดทนต่อถ้อยคำของผู้ต่ำกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนของ ผู้นั้นสูงสุด พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญความอดทน ทรงสอนไม่ให้ก่อเวร แต่ให้อดทนด้วยสติปัญญา ที่จะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเอง ต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ ทำใจให้อยู่เหนือปัญหา อยู่เหนือการล่วงเกินของใครๆ เพราะเมื่อใจเราอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ เราย่อมไม่หวั่นไหวหรือรู้สึกขุ่นมัวกับสิ่งใด ใจจะสงบ สะอาด บริสุทธิ์ และผ่องใส ดังเช่นบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แม้ถือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ยังมีจิตใจสูงส่งเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม คือความอดทน แม้จะถูกประทุษร้ายจากผู้อื่น หรือทำสิ่งไม่น่าชอบใจให้ ก็ไม่คิดทำร้ายตอบ แต่กลับมีความเอ็นดู สงสาร ให้อภัยต่อผู้อื่นเสมอ เพราะมีใจเปี่ยมด้วยความเมตตาปรารถนาดี หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ วันคืนล่วงไปๆ สรรพสิ่ง และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ รถยนต์ รถรา บ้านช่อง คน สัตว์ สิ่งของทั้งหมด ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เหมือนต้นไม้ที่แต่เดิมเราเคยเห็นมันเป็นต้นเล็กๆ จากนั้นก็เจริญเติบโตขึ้น แผ่กิ่งก้านสาขา แตกใบผลิดอกออกผล ให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต แต่ไม่นานดอกไม้ที่ดูสวยสดงดงามนั้น ก็เหี่ยวแห้งร่วงโรยไปตามกาลเวลา ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย เราจึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต แต่ควร รีบเร่งแสวงหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร เป็นสาระที่แท้จริงของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เวปจิตติสูตร ว่า บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงคราม ที่ชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น ชื่อว่าได้ประพฤติประโยชน์ ให้เกิดขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย โทสะ คือ ความโกรธมีโทษร้ายแรงยิ่งกว่ากองไฟที่ลุกไหม้เผาผลาญทรัพย์สิน เพราะไฟแห่งโทสะ ย่อมเผาลนจิตใจให้ไหม้เกรียม แล้วยังแผ่เปลวแห่งความร้อนแผดเผาบุคคลรอบข้าง ให้ได้รับความรุ่มร้อนทุกข์ทรมานอีกด้วย บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ผูกโกรธ แต่เป็นผู้มากด้วยความเมตตากรุณา เมื่อใครทำให้โกรธก็ไม่โกรธตอบ มีสติสอนตนเองได้ คนที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญว่า …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม ตัวของเรา บุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง คือ ไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และสูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะฉะนั้น เราควรแสวงหาของจริง ที่จะนำความสุขที่แท้จริงมาให้แก่ตัวเรา คือ ธรรมกาย ที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี โดยอาศัยความเพียรและขันติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต่างทรงสรรเสริญขันติธรรมว่า เป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง สำหรับชีวิตนักสร้างบารมี ดังที่ทรงแสดงไว้ใน โอวาทปาติโมกข์ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยอดเยี่ยม ตลอดชีวิตการสร้างบารมีของพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยขันติธรรมอันเลิศเรื่อยมาทุกภพทุกชาติ *ดังเช่นครั้งที่บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ในวันที่พระองค์ประสูติ พระราชามีรับสั่งให้พราหมณ์มาพยากรณ์พระโอรส เมื่อพราหมณ์เห็นลักษณะอันสมบูรณ์ของพระโอรส จึงกราบทูลว่า ทั่วพื้นปฐพีนี้จะหาบุรุษผู้เลิศอย่างนี้ ย่อมไม่มี พระโอรสทรงพระรูปโฉมงดงาม มีพระวรรณะประดุจทองคำ ทรงเปี่ยมด้วยบุญญาบารมี จะเป็นผู้นำสันติสุขมาสู่ปวงประชาในมหาทวีปทั้ง ๔ พระราชาได้สดับคำพยากรณ์ของพราหมณ์ ทรงดีพระทัยยิ่งนัก …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด Read More »

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – นกแขกเต้า ทุ่มเทชีวิตตอบแทนคุณ

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – นกแขกเต้า ทุ่มเทชีวิตตอบแทนคุณ ผู้ที่หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เนืองนิตย์ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรมนั้น ย่อมเป็นที่ปรารถนาของทุกๆ คน เพราะเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อโลกและสรรพสัตว์ทั้งหลาย คุณธรรมความดีในตัวของเราจะมีขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากกาย วาจา ใจ ที่สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน กาย วาจาจะบริสุทธิ์ได้ต้องเริ่มมาจากใจ ใจที่ได้รับการอบรมด้วยการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว ย่อมเป็นใจที่ตั้งมั่นผ่องใส เป็นสมาธิได้ง่าย สามารถรองรับคุณธรรมรองรับธรรมะอันละเอียดลุ่มลึกยิ่งขึ้นไปได้ และเป็นพลวปัจจัยให้เข้าถึงต้นแหล่งแห่งคุณธรรมความดี คือพระธรรม-กาย ได้เป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสในที่สุด มีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ มีวาระพระบาลีที่กล่าวไว้ใน อัพภันตรชาดก ว่า บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่บิดามารดา และนายของตน บุคคลนั้นย่อมไปบังเกิดในเทวโลกเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกำเนิดเดียรัจฉานนี้แล้ว จักไปบังเกิดในเทวโลกเท่านั้น นี่เป็นวาจาที่เปล่งออกมาด้วยความองอาจของลูกนกแขกเต้า ซึ่งก็คือภพชาติในอดีตของราหุลสามเณร สมัยนั้นแม้จะเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉานธรรมดาๆ แต่ได้ประกาศถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการที่จะทำภารกิจอันใหญ่หลวงของผู้มีพระคุณให้สำเร็จลุล่วงถึงขั้นยอมสละชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นถ้อยคำที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ ผู้ที่กล้ากล่าวถ้อยคำเช่นนี้ได้ แสดงว่าได้เห็นคุณค่าของความกตัญญู รู้ซึ้งถึงผลที่จะบังเกิดในอนาคตว่า ถ้าประกอบเหตุเช่นนี้แล้ว อานิสงส์แห่งความกตัญญูที่จะบังเกิดขึ้น จะส่งผลให้เป็นผู้มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปอย่างแน่นอน *ดังเรื่องของสามเณรราหุลผู้มีความกตัญญู แม้ท่านจะออกบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ยังหาโอกาสตอบแทนพระคุณของพระมารดา ทดแทนค่าน้ำนมที่เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ในวันหนึ่ง ราหุลสามเณรได้ไปเยี่ยมพระชนนี ซึ่งบัดนี้ได้บวชเป็นพระเถรี …

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – นกแขกเต้า ทุ่มเทชีวิตตอบแทนคุณ Read More »

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – คุณสมบัติของคนดี

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – คุณสมบัติของคนดี ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงต่อภัยรอบด้าน หากผู้ใดรู้จักใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นสร้างบุญบารมี ก็จะมีบุญหนุนนำชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง บุญเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าอัญมณีใดๆ ในโลก บุญจะติดตามตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง และทุกภพทุกชาติ จะคอยส่งผลดีให้กับชีวิตของเราตลอดเวลา และกีดกันบาปอกุศลสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้ห่างไกลตัวเรา ยิ่งเรามีความบริสุทธิ์มาก บุญก็จะยิ่งมาก และให้ผลได้เต็มที่ โดยไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรคขวางกั้น ดังนั้นเราควร ใช้วันเวลาที่ผ่านไป ด้วยการสั่งสมบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ให้ได้ตลอดทั้งวัน บุญจะได้ตามหล่อเลี้ยงให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตยิ่งๆขึ้นไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยสิคาลกสูตร ว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว เอวํ สิกฺขิตพฺพํ กตญฺญุโน ภวิสฺสาม กตเวทิโน น จ โน อมฺเหสุ อปฺปกมฺปิ กตํ วินสฺสิสฺสติ เอวํ หิ โว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพํ เพราะเหตุดังนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้กตัญญู เราจักเป็นผู้กตเวที อุปการะแม้น้อยที่บุคคลกระทำแล้วในพวกเรา จักไม่เสื่อมหายไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย …

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – คุณสมบัติของคนดี Read More »

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – อภิชาตบุตรยอดกตัญญู

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – อภิชาตบุตรยอดกตัญญู ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลายในที่สุด เรามีเวลาสร้างบารมีอยู่ในโลกนี้อย่างจำกัด จึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต บัณฑิตทั้งหลายจึงรีบสั่งสมบุญ บุญเป็นบ่อเกิดของความสุข ความสุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง เป็นความสุขที่แท้จริง จะเอาทรัพย์สมบัติแก้ว แหวน เงิน ทองมาทดแทนก็ไม่ได้ ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะใครทำ คนนั้นก็ได้ เป็นความสุขที่คู่กับความบริสุทธิ์ และความรู้แจ้งภายใน ถ้าหากเราตั้งใจลงมือปฏิบัติในวันนี้ ทำใจให้หยุดนิ่งได้เดี๋ยวนี้ ก็จะเข้าถึงได้เดี๋ยวนี้ในทันที พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมเทวสูตร ว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจาอ่อนหวาน กล่าวคำสมานไมตรี ละคำส่อเสียด ประกอบในอุบายเป็นเครื่องกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นสัตบุรุษหรือคนดีไว้มากมาย ตั้งแต่เป็นผู้ปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการบ้าง ประพฤติตามหลักของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และอริยมรรคมีองค์ ๘ บ้าง เป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ว่าเป็นสัตบุรุษ …

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – อภิชาตบุตรยอดกตัญญู Read More »

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – ผู้คู่ควรแก่ความกตัญญู

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – ผู้คู่ควรแก่ความกตัญญู บุคคลผู้ควรได้รับความกตัญญูนั้นมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเราได้รับรู้ประวัติของพระพุทธองค์อย่างแจ่มแจ้ง เราจะเกิดความซาบซึ้ง เกิดความปีติใจ และภาคภูมิใจว่า เราได้มาอยู่ใต้ร่มเงาบารมีธรรมของพระองค์ ได้อาศัยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การเห็นความทุกข์ของชีวิต ต้นเหตุของความทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์ ด้วยการหยุดใจจนกระทั่งเข้าถึงความสุขที่แท้จริง อันจะทำให้ความสมหวัง และความสมปรารถนาบังเกิดในชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ บุคคลรู้แจ้งธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟฉะนั้น *การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก และเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือความนึกคิดของปุถุชน พระองค์ทรงบังเกิดขึ้นมาเพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง กว่าจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น พระองค์ทรงสร้างบารมีสร้างความดีมายาวนาน นับภพนับชาติไม่ถ้วน ตั้งแต่ชาติที่เป็นหนุ่มน้อยคนหนึ่งผู้ซึ่งแบกมารดาไว้บนบ่า ในขณะที่ว่ายน้ำอยู่กลางทะเล เพราะพายุโหมกระหน่ำจนเรือสินค้าอัปปาง ในขณะที่ว่ายน้ำอยู่กลางทะเลนั้น ใจของท่านเกิดมหากรุณา เกิดความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ คือปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรารถนาที่จะสร้างความดีให้บรรลุธรรม สามารถค้นพบวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายได้ด้วย ตัวท่านเอง เมื่อพบแล้ว …

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – ผู้คู่ควรแก่ความกตัญญู Read More »

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – พญากวางทอง ๑

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – พญากวางทอง ๑ เพชรกว่าจะมาเป็นอัญมณีวันล้ำค่า ต้องผ่านกาลเวลาหล่อหลอมมานับล้านๆ ปี เพชรแท้ไม่ใช่เพียงแต่ความงามเป็นเลิศเท่านั้น แต่ยังมีความแข็งแกร่งยิ่งกว่าอัญมณีใดๆ ในโลกอีกด้วย ผู้ที่จะประสบความสุขและความสำเร็จ ต้องมีดวงใจที่ใสบริสุทธิ์ประดุจเพชร ต้องผ่านการหล่อหลอมคุณธรรมจากการสร้างบารมีทุกรูปแบบ การดำรงชีวิตอยู่จึงจำเป็นต้องสร้างบารมี เอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อ แม้จะต้องใช้เวลายาวนานก็ตาม หากยามใดที่เหนื่อยล้าอย่าเพิ่งท้อถอย ขอให้เราอดทนและเข้มแข็งเอาไว้ ขับไล่ความท้อให้ถอยออกไป นำกำลังใจกลับคืนมาใหม่ แล้วสู้ต่อไปด้วยความมุ่งมั่นกล้าหาญ ดุจดั่งเพชรที่ทนต่อสภาวะความกดดันของธรรมชาติ เราจะอดทนรักษาใจให้ผ่องใส ทำใจให้หยุดนิ่ง อย่างสงบ สบาย เยือกเย็น เมื่อใดที่ใจเราใสเหมือนเพชร ใจของเราจะมีพลัง สามารถที่จะเอาชนะกิเลสที่อยู่ในใจได้ มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน สีลวนาคชาดก ว่า “อกตญฺญุสฺส โปสสฺส    นิจฺจํ วิวรทสฺสิโน สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา    เนว นํ อภิราธเย ถึงหากจะให้แผ่นดินทั้งหมด แก่คนอกตัญญู ผู้คอยมองหาช่องอยู่เป็นนิตย์ ก็ไม่ทำให้เขาพอใจได้” คนอกตัญญู แม้จะทำดีด้วยอย่างไร ก็ไม่รู้คุณคน มิหนำซ้ำยังก่อโทษให้อีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่องของพระเทวทัตที่ไม่รู้จักมหากรุณาธิคุณของพระองค์ …

มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู – พญากวางทอง ๑ Read More »