ธรรมะเพื่อประชาชน

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – อานุภาพพระปริตร

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – อานุภาพพระปริตร ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นอยู่กันเถิด ถ้าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ก็จงพากันเรียนพระปริตรนี้ ด้วยว่าพระปริตรนี้ จักเป็นเครื่องป้องกัน และจักเป็นกัมมัฏฐานสำหรับพวกเธอ ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ใจเป็นแกนกลางในการรักษาสมดุลของชีวิต ถ้าใจหลุดจากกลาง ความคิด คำพูด และการกระทำ จะพลอยเสียสมดุลตามไปด้วย ทำให้การทำงานต่างๆผิดพลาด คือ อาจเผลอไปทำบาปอกุศล ประพฤติผิดศีลธรรม หลงติดในอบายมุข ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างความดี สุดท้ายจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ชีวิตต้องพลัดตกไปในอบายภูมิ กว่าจะกลับมาได้อัตภาพของความเป็นมนุษย์อีกครั้ง ต้องใช้เวลายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน หากเราไม่รู้จักปรับใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย รักษาสมดุลชีวิตไว้ ชีวิตย่อมพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล ซึ่งเป็นเหตุให้นำทุกข์มาง่ายๆ ฉะนั้นเราจะต้องหมั่นนำใจกลับมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเป็นประจำสม่ำเสมอกันทุกคน ในอรรถกถา เมตตสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า… “ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นอยู่กันเถิด ถ้าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ก็จงพากันเรียนพระปริตรนี้ ด้วยว่าพระปริตรนี้ จักเป็นเครื่องป้องกัน และจักเป็นกัมมัฏฐานสำหรับพวกเธอ” คำว่า ปริตตะ หรือ พระปริตร แปลว่า ต้านทาน หรือ ป้องกันรักษาตัวเองให้แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งหลาย พระปริตรนี้เป็นชื่อของพุทธมนต์หรือพุทธวจนะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ได้ตรัสไว้ และทรงจำสืบๆกันมา …

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – อานุภาพพระปริตร Read More »

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – แผ่นดินไหวด้วยมหาทานบารมี

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – แผ่นดินไหวด้วยมหาทานบารมี โดยทั่วไป ถ้าคนเราไม่มีหลักธรรมเป็นที่พึ่งที่ยึดในการดำรงชีวิตแล้ว เมื่อประสบความทุกข์ พบกับอุปสรรค ก็จะเคว้งคว้างเหมือนว่าวที่ขาดล่องลอยไป ความทุกข์นั้นเปรียบเสมือนไฟ ซึ่งมีความกังวลเป็นเชื้อ ถ้าเรามีความทุกข์ อย่าไปกังวลว่าจะทุกข์อย่างไร หรืออุปสรรคจะมากมายเพียงใด เราไม่ควรขยายความทุกข์นั้น เพราะจะทำให้ไฟภายในเผาลนจิตใจจนไหม้เกรียม สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุ ความดีหรือชั่วย่อมเป็นผลที่มาจากเหตุทั้งสิ้น ทำดีผลย่อมดีแน่นอน ดังนั้น จึงควรทำแต่เหตุที่ดี โดยเริ่มต้นที่จิตใจก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งทำได้ด้วยการทำใจหยุดใจนิ่ง กระทั่งใจผ่องใส ก่อเกิดดวงปัญญาที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และกำจัดเหตุแห่งความทุกข์ทรมานให้หมดสิ้นไป ใน มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ได้บันทึกเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวไว้ว่า… ประการแรก แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด ย่อมทำน้ำให้ไหว ครั้นน้ำไหวแล้ว ย่อมทำให้แผ่นดินไหว ประการที่๒ สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญทางจิต หรือเทวดา ผู้มีฤทธิ์มาก เจริญปฐวีสัญญาเล็กน้อย เจริญอาโปสัญญามาก ย่อมทำแผ่นดินให้ไหวได้ ประการที่๓ ในคราวที่พระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา ประการที่๔ ในคราวประสูติ ประการที่๕ ในคราวตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประการที่๖ …

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – แผ่นดินไหวด้วยมหาทานบารมี Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ละวางเบญจกามคุณ

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ละวางเบญจกามคุณ สรรพสิ่งในโลกนี้ เป็นเพียงเครื่องอาศัยใช้สร้างบารมี ไม่ใช่มีไว้เพื่อให้ยึดมั่นถือมั่น สมบัติทั้งหลายเป็นเพียงของกลางในโลก ที่ช่วยสนับสนุนให้เราสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อจะได้มุ่งแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระของชีวิต และเป็นความจริงของพระอริยเจ้าที่เรียกว่า อริยสัจ หากเรามีใจมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน เราจะต้องเข้าถึงความสุขที่แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย โสณกชาดก ว่า… “นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรม ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนใด ละกามทั้งหลายเสียได้ เป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหนๆ เข้าถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นรชนเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ” ขึ้นชื่อว่า ทุคติ ไม่ว่าจะเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน หรือสัตว์นรก…นั้น ย่อมไม่มีผู้ใดปรารถนาจะไป แต่เมื่อชีวิตไม่มีหลักไม่มีเป้าหมาย กลับเห็นประโยชน์สุขเพียงเล็กน้อย คือ กามคุณ ทั้งหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นความสุขจริงๆ แล้วมัวหลงใหลเพลิดเพลินทำให้ประมาทในชีวิต ไม่คิดแสวงหาความสุขที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต บางครั้งยังอาศัยตัณหาความปรารถนาไม่สิ้นสุด ไปทำกรรมที่เป็นบาปอกุศล ทั้งๆผลที่ได้ก็เป็นเพียงความสุขจอมปลอม แล้วยังต้องไปรับทุกข์ในทุคติ เหมือนปลาที่ไปติดเบ็ดของนายพราน ย่อมได้รับทุกขเวทนาสาหัส และต้องตายในที่สุด *ในอดีต พระบรมโพธิสัตว์ได้อาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นยอดกัลยาณมิตร จึงได้สละราชสมบัติอันพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ละวางเบญจกามคุณ Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – พรรษาแห่งการบรรลุธรรม

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – พรรษาแห่งการบรรลุธรรม การปฏิบัติธรรม คือ การฝึกใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ รัตนะเหล่านี้เป็นสรณะที่แท้จริงของชาวพุทธและของชาวโลก หากบุคคลใดได้เข้าถึง ก็จะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ พระรัตนตรัยมีอยู่หลายระดับ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆเข้าไป เมื่อใดเราทำใจให้หยุดนิ่งได้ เมื่อนั้นก็จะเข้าถึง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ต้องใจหยุดเท่านั้นจึงจะสำเร็จ หยุดเป็นตัวสำเร็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เตลปัตตชาดก ว่า… “การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก ที่มักตกไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนานี้ ทำให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนาได้ จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ ชนเหล่าใดยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต มีใจยินดีในการอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นย่อมได้สิ่งที่ได้โดยยาก” ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์ต่างแสวงหาสถานที่สัปปายะที่เหมาะสมต่อการบำเพ็ญเพียร ทำภาวนาตลอดไตรมาส ทำใจให้หยุดนิ่ง เพิ่มพูนความบริสุทธิ์กาย-วาจา-ใจ เพื่อจะได้เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ตลอดพรรษา…ท่านจึงฝึกฝนอบรมจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ โดยไม่ไปแรมราตรีที่ไหน แต่จะแสวงหาทางแห่งความบริสุทธิ์ภายใน ซึ่งเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ นี่เอง ในฤดูเข้าพรรษา ตามพุทธประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น นอกจากจะกำหนดขอบเขตที่จำพรรษาแล้ว ผู้รู้ทั้งหลายยังกำหนดขอบเขตของใจให้อยู่ในวงกาย คือ อยู่ในปริมณฑลรอบตัว ด้วยการน้อมใจมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา มีสติไม่ให้เผลอออกนอกตัว เพราะยิ่งดำเนินจิตเข้าสู่กลางภายในได้มากเท่าไร …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – พรรษาแห่งการบรรลุธรรม Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมชนะกิเลส

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมชนะกิเลส ธรรมดาของมนุษย์ ต่างปรารถนาเป็นคนดีกันทุกคน การที่เราจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความดีได้อย่างมั่นคง โดยไม่เผลอไปทำความชั่วนั้น จำเป็นต้องมีตบะธรรม เพราะตบะ คือ คุณธรรมเผาผลาญกิเลสที่เร่าร้อน จนกระทั่งหลุดร่อนออกจากใจ เช่น การให้ทานเป็นประจำ เป็นการเผาผลาญความโลภให้หมดไป ทำให้ใจเราขยายกว้างขวาง เป็นอิสระจากความตระหนี่ หรือเมื่อเราแผ่เมตตาเป็นปกตินิสัย ก็จะมีเดชเผาผลาญความพยาบาทออกไป ทำให้ใจเราเย็นสบาย หรือการปฏิบัติธรรม ทำใจหยุดใจนิ่งเป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดปัญญา เกิดแสงสว่างขจัดความมืดในจิตใจ โมหะ ความหลง ความไม่รู้ทั้งหลาย ก็หมดสิ้นไป ใจเราจะใสสว่าง มองเห็นหนทางสวรรค์นิพพานได้อย่างชัดเจน ดังนั้นขอให้ทุกท่านตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า… รูปา สทฺทา คนฺธา รสา ผสฺสา ธมฺมา จ เกวลา เอตํ โลกามิสํ โฆรํ เอตฺถ โลโก วิมุจฺฉิโต รูป เสียง กลิ่น รส …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมชนะกิเลส Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ก็คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง มุ่งหยุดในหยุดบนเส้นทางสายกลางเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสิ้นอาสวกิเลส เข้าถึงกายธรรมอรหัต ตัดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดในภพสามอีกต่อไป นี้เป็นวัตถุประสงค์หลักที่มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างลืมเลือนไป ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่ เมื่อเกิดมาในโลกมนุษย์ ท่านได้สร้างบารมีจนกระทั่งสิ้นอายุขัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงฝั่งแห่งความหลุดพ้น เราทั้งหลายควรที่จะดูท่านเป็นแบบอย่าง และเดินตามรอยบาทพระศาสดากันทุกๆคน มีวาระพระบาลีใน สุสีมชาดก ความว่า ความยินดีของผู้อยู่ครองเรือนนี่แหละ ที่เป็นเสมือนเชือกที่ผูกเหนี่ยวไว้ ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว ไม่อาลัยใยดี จึงละกามสุขแล้วหลีกเว้นไป เครื่องพันธนาการ ที่คอยเหนี่ยวรั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ติดข้องอยู่ในภพสาม ไม่ใช่เครื่องจองจำที่ใช้เหนี่ยวรั้งนักโทษ แต่เป็นความยินดีในทรัพย์สินเงินทอง และกามสุขทั้งหลาย หากเราไม่มีสติกำกับให้ดี จะตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสอาสวะ ซึ่งเท่ากับเราตกอยู่ในที่คุมขังอันแน่นหนาที่สุด ยากที่จะหลุดพ้นออกมาได้ จะถูกกักขังเป็นชั้นๆ… เริ่มตั้งแต่ นิรยภูมิ มนุษยภูมิ โลกสวรรค์ แม้กระทั่งพรหม และอรูปพรหม ล้วนตกอยู่ในที่คุมขังกันทั้งสิ้น บุคคลใดสามารถฉุกคิดได้ และพยายามออกจากความยินดีในกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น นับว่าเป็นผู้ที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ และเป็นผู้ที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นแบบอย่างของนักสร้างบารมีทั้งหลาย กว่าที่สมเด็จพระบรมศาสดา จะก้าวขึ้นมาเป็นบรมครูของโลกได้ พระองค์เองต้องสร้างบารมีชนิดที่เรียกว่า เอาชีวิตเป็นเดิมพัน จึงสามารถแหกที่คุมขังอันซับซ้อนเช่นนั้นได้ …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ การเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตที่เราปรารถนา เราต้องรู้ว่า จุดเริ่มต้นและหนทางที่กำลังเดินไปนั้นเป็นอย่างไร มีสุขมีทุกข์ เป็นบาปหรือเป็นบุญ เพื่อเราจะได้เลือกเส้นทางได้ถูกต้อง เลือกเอาแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศลล้วนๆ ไม่สนใจสิ่งที่ไร้สาระ หากรู้ตลอดสายเช่นนี้ จะไม่หลงแวะเวียนข้างทาง เราจะไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย มีคำกล่าวว่า การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะจุดเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเริ่มต้นผิดก็ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถ้าเริ่มต้นถูกต้อง ถูกทางมรรคผลนิพพาน ทางของพระอริยเจ้า เราก็จะไปถึงเส้นชัยของชีวิต ได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ถึงพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งเป็นสรณะที่แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า… ดูก่อนสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่๑ สมณะที่๒ สมณะที่๓ หรือสมณะที่๔ ส่วนธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่๑ ที่๒ ที่๓ หรือที่๔ อริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ถ้าโลกยังมีสมณะที่๑ ที่๒ ที่๓ หรือที่๔ สมณะเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย *ในวันสุดท้าย …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน ความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นธรรมดาของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึงวันที่หลับตาลาโลก ทุกชีวิตล้วนต้องพบกับความทุกข์ เพราะมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับโลกที่มีความมืดเป็นพื้นฐาน แต่ที่เรามองเห็นคนสัตว์สิ่งของต่างๆได้ เพราะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงไฟ เมื่อเราเข้าใจความเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นทุกข์แล้ว เราจะเกิดความเบื่อหน่าย และรีบขวนขวายหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ แสวงหาความสุขที่แท้จริง การปฏิบัติธรรมเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับชีวิตของผู้ที่ปรารถนาความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีวาระพระบาลีไว้ใน วิธุรชาดก ความว่า คนใดย่อมไม่ทำความโกรธ ในบุคคลควรโกรธ อนึ่ง คนใดเป็นสัปบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหนๆ ถึงเขาโกรธแล้ว ก็หาทำความโกรธให้ปรากฏไม่ บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก ความอดทน มาจากภาษาบาลีว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันไม่พึงปรารถนา ก็ยังคงมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน โดยเฉพาะการเดินทางไกลไปสู่อายตนนิพพาน ต้องอาศัยขันติธรรมเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง ต้องอดทนต่อถ้อยคำของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ซึ่งอาจมียศตำแหน่งสูงกว่าเรา เสมอกับเรา หรือต่ำกว่าเรา อุปสรรคในเส้นทางการสร้างบารมีนั้นมีมากมาย เหมือนการล่องเรือไปในมหาสมุทรที่เวิ้งว้าง เมื่อยังไม่ถึงฝั่ง ย่อมต้องประสบกับมรสุมรอบด้านที่พร้อมจะพัดผ่านเข้ามาสู่นาวาชีวิต จึงจำเป็นจะต้องอาศัยความอดทนและกำลังใจที่สูงส่ง ถึงจะสามารถฝ่าฟันข้ามอุปสรรคไปสู่ฝั่งได้ในที่สุด แม้บางครั้งดินอากาศฟ้าจะไม่เป็นใจ บางครั้งหนาวร้อนเกินไปบ้าง แต่ให้รับรู้ไว้ว่า …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – สมณทัสสนา

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – อริยทัสสนา นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย ท่านพิจารณาเห็นว่า การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บและความตาย ก็เป็นทุกข์ ต่างแสวงหาหนทางหลุดพ้น เพราะคิดว่าเมื่อมีความทุกข์ ก็ต้องมีความสุขเป็นของคู่กัน จึงได้ลองผิดลองถูกแสวงหากันมาตลอดชีวิตก็ยังไม่พบ แต่พวกเราโชคดีที่ได้มาพบพระพุทธศาสนา มาทราบหนทางแห่งความหลุดพ้น หนทางไปสู่พระนิพพานว่า อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด ซึ่งเป็นหนทางเอกสายเดียวที่จะไปสู่อายตนนิพพานได้ เป็นที่เดียวที่ความทุกข์มากล้ำกรายไม่ได้ มีแต่ความสุขล้วนๆ ที่ไม่มีทุกข์เจือปนเลย เราจึงควรหมั่นนำใจของเรามาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เพื่อเราจะได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริงภายในกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน เวสสันดรชาดก ว่า… สาหุ ทสฺสนมริยานํ สนฺนิวาโส สทา สุโข การได้พบเห็นพระอริยเจ้าเป็นสิ่งดี การอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้า นำความสุขมาให้ทุกเมื่อ พระอริยเจ้า คือ ผู้ที่ได้ฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสอนของพระบรมศาสดา และสามารถทำใจหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต ซึ่งเป็นกายธรรมของพระอริยเจ้าขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากท่านมีใจที่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ เวลาคิดก็คิดแต่เรื่องที่ดีที่เป็นบุญเป็นกุศล เป็นประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เวลาพูดก็พูดแต่วาจาสุภาษิต ชักชวนให้ทำความดี ชักชวนให้พ้นทุกข์ไปสู่อายตนนิพพาน และทำแต่สิ่งที่ดีงามไม่เบียดเบียนใคร มีศีลาจารวัตรงดงาม …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – สมณทัสสนา Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวว่า เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า เป็นเครื่องจองจำที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณีและกุณฑล ความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย เป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำเช่นนั้นแล้วออกบวช เป็นผู้ไม่มีความอาลัย เพราะละกามทั้งหลายได้ โลกมนุษย์เป็นดินแดนแห่งการสร้างบุญและบาป การใช้ชีวิตของตนให้อยู่บนเส้นทางใด ไม่ว่าจะเป็นทางแห่งความดีหรืออื่นๆ ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเรา เพราะโลกมนุษย์เป็นสถานที่กลางๆ ถ้าสร้างบารมีก็จะสามารถสร้างได้เต็มที่ หากประมาทพลาดพลั้ง ไปสร้างบาปอกุศลก็เป็นกรรมที่แรงเช่นกัน เราต้องเลือกเดินบนเส้นทางที่เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าที่สุดในแต่ละวัน เช่นเดียวกับชีวิตของพระบรมโพธิสัตว์ ที่เกิดมาทุกภพทุกชาติเพื่อสร้างบารมีเท่านั้น ดังนั้นเราควรดำรงชีวิตให้ถูกต้องร่องรอยตามวิสัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวาระพระบาลีใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ความว่า… นาญฺญตฺร โพชฺฌา ตปสา นาญฺญตฺร อินฺทฺริยสํวรา นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตบะเครื่องเผาความชั่ว นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เรามองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย คุณธรรมที่จะทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น และนำไปสู่การตรัสรู้ธรรม ให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลาย กระทั่งรู้เท่าทันอาสวกิเลสทั้งปวง …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – อานิสงส์การเห็นสมณะ

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – อานิสงส์การเห็นสมณะ บุญเป็นคุณเครื่องแห่งความสุข และความสำเร็จทุกอย่าง ตั้งแต่สมบัติที่เป็นโลกิยะ จนถึงสมบัติที่เป็นโลกุตตระ การบำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในอดีตนับภพนับชาติไม่ถ้วน ก็เพื่อเป็นเสบียงในการเดินทางข้ามห้วงทุกข์ แห่งสังสารวัฏอันยาวไกลไปสู่อายตนนิพพาน บุญนอกจากจะส่งผลในช่วงที่เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสุคติภูมิ และส่งผลให้ได้สร้างบารมีอย่างสะดวกสบายแล้ว ยังจะเป็นอุปนิสัยพลวปัจจัย ให้เราได้บรรลุมรรคผลนิพพาน บรรลุวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างง่ายดายอีกด้วย โดยเฉพาะบุญที่เกิดจากการทำใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง เป็นประจำสม่ำเสมอ เป็นบุญใหญ่ที่จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยเร็วพลัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มงคลสูตร ว่า… สมณานญฺจ ทสฺสนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การได้เห็นสมณะ เป็นมงคลอย่างยิ่ง สมณะ คือ ผู้รู้ผู้สงบ หมายถึง บรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนอบรมตนเอง ให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ ใสสะอาดบริสุทธิ์ สงบจากบาปอกุศลทั้งปวง ดำรงตนอยู่บนเส้นทางของพระนิพพาน ผู้ที่ได้พบเห็นสมณะถือว่าได้พบเห็นสิ่งที่เป็นสิริมงคล เพราะเห็นแล้วย่อมบังเกิดความเลื่อมใส อยากทำบุญกับท่านผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ บุญกุศลย่อมส่งผลให้ประสบความสุขความเจริญในชีวิต แม้ละโลกไปแล้วก็เป็นเหตุให้ได้ไปสวรรค์และนิพพาน *ในสมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีสาวน้อยคนหนึ่ง เป็นลูกของเศรษฐีประจำเมือง ในขณะที่กำลังเล่นอยู่กับเพื่อนๆบริเวณหน้าบ้านตามปกติ เธอได้มองเห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จบิณฑบาตในพระนครพันธุวดี …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – อานิสงส์การเห็นสมณะ Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – โลกตระการของคนเขลา

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – โลกตระการของคนเขลา สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ต่างอยู่บนพื้นฐานของความจริงทั้งสิ้น คือ ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และก็สูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เราควรแสวงหาของจริงที่จะนำความสุขที่แท้จริงมาให้แก่เรา นั่นคือ ธรรมกาย ที่มีอยู่ในตัวของพวกเรา เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า… เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ โลกใบนี้เหมือนละครโรงใหญ่ ที่มีนักแสดงมากมาย ทั้งเด็ก หนุ่มสาว และคนชรา บางครั้งในคนๆเดียวกันก็แสดงได้หลายบท เป็นทั้งคนดีและคนไม่ดี ขึ้นอยู่กับความชอบใจที่อยากจะเป็น แม้ตัวเราบางครั้งก็อยากทำความดี บางทีไม่อยากทำบาปอกุศล หรือบางทีก็อยากอยู่เฉยๆ เราจะสังเกตได้ว่า ถ้ายามใดที่ใจเราใสสะอาดบริสุทธิ์ มีความคิด คำพูดและการกระทำที่ดีๆ …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – โลกตระการของคนเขลา Read More »

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล ภิกษุผู้รื่นรมย์ยินดีในธรรม ไตร่ตรองพิจารณาธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เป็นนิตย์ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม พระอานนท์ ได้มองเห็นพระมหาเถระเหล่านั้นเดินตามกันไป ดูงดงามน่าเลื่อมใส ก็ปรารถนาจะฟังธรรมด้วย จึงชักชวน พระเรวตะ ออกติดตามไปด้วย เมื่อพระเถระทั้งหมดไปถึงที่พักของพระสารีบุตรแล้ว พระสารีบุตร ได้ทักทายพระอานนท์ก่อนว่า “ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละออกดอกบานสะพรั่ง หอมฟุ้งดังกลิ่นทิพย์อย่างนี้ ท่านคิดว่าป่าโคสิงคสาลวัน จะงดงามด้วยภิกษุเช่นไรหนอ” พระอานนท์ตอบว่า “ป่าโคสิงคสาลวันพึงงดงามด้วยภิกษุผู้ทรงสุตตะ ทรงจำธรรมะมาก และเป็นผู้ประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ แสดงธรรมอันแจ่มแจ้งแก่บริษัทสี่ เพื่อถอนอนุสัยกิเลสให้หมดสิ้น ป่าโคสิงคสาลวันจะงดงามด้วยภิกษุเช่นนี้” จากนั้น พระสารีบุตรได้ถามพระเถระแต่ละรูปไปตามลำดับ พระเรวตะตอบว่า “ภิกษุผู้มีความยินดีในความหลีกเร้น ปฏิบัติเจโตสมถะ ไม่เหินห่างจากฌาน และเจริญวิปัสสนา จะทำให้ป่าโคสิงคสาลวันงดงามยิ่งนัก” พระอนุรุทธะ ตอบว่า “ภิกษุผู้ตรวจดูโลกธาตุพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุ เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติและอุบัติขึ้นในจักรวาลทั้งหลาย ยังจิตให้สังเวชในวัฏฏภัย เจริญวิปัสสนา พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตรธรรม จะทำให้ป่านี้งดงามยิ่ง” พระมหากัสสปเถระ ผู้บำเพ็ญธุดงควัตรเป็นปกติ ตอบว่า “ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงดงามด้วยภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลและไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ …

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ วันเวลาที่ผ่านไป ย่อมไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ เหมือนดั่งสายน้ำที่ไหลผ่านไปแล้วไม่หวนกลับ ชีวิตเราย่างก้าวไปพร้อมกับกาลเวลาที่ล่วงไป เราจะต้องใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ สร้างความดีสร้างบารมีให้เต็มที่ เพื่อทำสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดให้เกิดขึ้นกับตัวเราเองและผู้อื่น ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม เราควรมีความปรารถนาดีและความจริงใจ ต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน อีกทั้งต้องหมั่นฝึกฝนอบรมตนด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง เพราะเวลาที่ใจหยุดนิ่งเป็นเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายชีวิตอันสูงสุด คือ การไปสู่อายตนนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ว่า… น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ บุคคลเป็นคนเลว เพราะชาติกำเนิดก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐ เพราะชาติกำเนิดก็หาไม่ แต่เป็นคนเลว เพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ *ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐี แต่เป็นผู้มีผิวดำ หมู่ญาติจึงตั้งชื่อว่า กัณหกุมาร ท่านเป็นเด็กฉลาด มีสติปัญญาเฉียบแหลม อายุได้เพียง ๑๖ปี …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ Read More »

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – ไขปริศนาธรรม

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – ไขปริศนาธรรม พระรัตนตรัยเป็นสรณะอันเกษม ที่เราควรจะยึดไว้ในใจ ให้เป็นหลักชัยของชีวิต เพราะเมื่อเราประสพทุกข์เราก็พึ่งท่านได้ พึ่งแล้วจะมีแต่ความสุข มีสติ มีปัญญา เกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง และพระรัตนตรัยนั้น ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน ภาษาไหน หรือมีความเชื่ออย่างไร ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้ว ล้วนมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัวทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อาฬวกสูตร ว่า… บุคคลข้ามห้วงน้ำ คือ กิเลส ได้ด้วยศรัทธา ข้ามมหาสมุทรแห่งทุกข์ ได้ด้วยความไม่ประมาท จะล่วงทุกข์ ได้ด้วยความเพียร และจะบริสุทธิ์ ได้ด้วยปัญญา ความศรัทธาเป็นทางมาแห่งคุณธรรม และทำให้เราเกิดกำลังใจในการสร้างความดี ความศรัทธาที่สำคัญ คือ เชื่อในพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ทรงเป็นพระอรหันต์ผู้ห่างไกลจากกิเลส ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไม่มีบุคคลใดในภพสามจะมาเปรียบได้ เมื่อเห็นพระคุณอันประเสริฐนี้แล้ว จึงเกิดความเลื่อมใส และเกิดกำลังใจที่จะประพฤติตามคำสอนของพระพุทธองค์ อีกทั้งตั้งใจปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กิเลสก็จะหลุดร่อนไปตามลำดับ ดังนั้น ความศรัทธาสามารถนำพาให้ข้ามพ้นกิเลสอาสวะได้ กิเลสในใจของคนเรามีหลายระดับ ทั้งหยาบและละเอียด เมื่อมีกิเลสก็บังคับให้สร้างกรรม กรรมนี้เองที่ทำให้เกิดวิบาก คือ มีผลเป็นทุกข์ …

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล – ไขปริศนาธรรม Read More »