ธรรมะเพื่อประชาชน

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ผู้มีจิดเกษม

มงคลที่ 38 จิตเกษม – ผู้มีจิตเกษม ผู้ที่ถูกคุมขัง เมื่อได้รับอิสรภาพหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการแล้ว ย่อมมีอิสรเสรี มีความสุขกายสบายใจฉันใด ผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้ง หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายแล้ว ย่อมมีจิตเกษมฉันนั้น     ผู้รู้ทั้งหลายตั้งแต่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นผู้มีจิตเกษมจากโยคะ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง จึงมีแต่ความปลอดโปร่งเบาสบาย เหมือนยกของหนักลงจากบ่าได้ หรือเหมือนหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัดมาได้ มีความสุขกายสุขใจ เพราะสภาวะใจใสบริสุทธิ์ ไม่ขุ่นมัว มีอุเบกขาธรรม ไม่ยินดียินร้ายในโลกธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการทำสมาธิ ภาวนาจนถึงจุดที่จิตมีความเกษม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พันธนสูตร ว่า     “นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวว่า เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้ และทำด้วยหญ้า เป็นเครื่องจองจำที่มั่น     นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณีและกุณฑล ความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย เป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ยาก     นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำเช่นนั้นแล้วออกบวช เป็นผู้ไม่มีความอาลัย เพราะละกามทั้งหลายได้”     ชีวิตเราเหมือนถูกจองจำ โดยมีโลกเป็นคุกขนาดใหญ่ ทันทีที่เราลืมตาดูโลก เราต้องผจญกับภัยนานาชนิดที่พร้อมจะทำให้เราถึงแก่ความตายได้ในทุกอนุวินาที เหมือนคนลอยคออยู่กลางทะเลที่มีคลื่นลมโหมกระหน่ำ …

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ผู้มีจิดเกษม Read More »

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น การเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ อายตนนิพพาน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกำลังบุญมากๆ บุญน้อยไปไม่ถึง ต้องมีกำลังบุญเต็มเปี่ยมจึงจะไปถึงได้ บุญจะเต็มเปี่ยมได้เร็ว ย่อมขึ้นอยู่กับการทำบุญถูกอู่แห่งทะเลบุญ ถูกทักขิไณยบุคคล และต้องทำบ่อยๆ ทำซํ้าแล้วซํ้าอีก ทำทั้งทาน ศีล ภาวนา ทำไปจนหมดอายุขัย แม้ละโลกแล้วไปสู่สุคติภพ ยังต้องไปทำงานละเอียดกันต่อ และเมื่อถึงเวลาก็ลงมาเกิดสร้างบารมีอีก เราจะสร้างบารมีกันไปอย่างนี้อีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน กระทั่งบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เราจึงจะหลุดพ้นจากการบังคับบัญชาของพญามาร เหมือนลูกไก่หลุดออกจากกระเปาะฟองไข่ จะเป็นอิสระจากอาสวกิเลส และจากอวิชชาอย่างสมบูรณ์ เช่นนี้จึงจะสามารถไปถึงที่สุดแห่งธรรมกันได้ มีวาระพระบาลีใน ขุททกนิกาย อุทานคาถา ว่า “ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์อันมากมายนี้มีอยู่ในโลก ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลก ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีความสุขปราศจากความเศร้าโศก เพราะเหตุนั้นผู้ใดปรารถนาความไม่โศกอันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารใดในโลกให้เป็นที่รักเลย” สรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความทุกข์อยู่นี้ เพราะมีความผูกพัน ในคน สัตว์ สิ่งของ จึงต้องติดบ่วงแห่งทุกข์ แม้พญาราชสีห์ หากติดบ่วงของนายพรานแล้ว …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น Read More »

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ฉลาดคิด จิตจึงหลุดพ้น

มงคลที่ 38 จิตเกษม – ฉลาดคิด จิตจึงหลุดพ้น สิ่งทั้งมวลล้วนมาจากความนึกคิดในจิตใจ ทำให้เกิดจินตภาพที่กว้างไกลไร้ขอบเขต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จทั้งปวง เมื่อใส่ความพยายามเข้าไปในความปรารถนาอันแรงกล้าแล้ว ความสำเร็จก็จะพลันเป็นจริงขึ้นมาได้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม จะมีแรงผลักดันอยู่ภายใน และหลั่งไหลออกมาเป็นถ้อยคำที่ดี ก่อให้เกิดการกระทำที่ดีตามมา ผลก็คือจะบันดาลความสุขและความสำเร็จสมปรารถนาให้เกิดขึ้น ความคิดที่แตกต่างกันก็ให้ผลที่แตกต่างกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมคนเราถึงแตกต่างกันในเรื่องฐานะความเป็นอยู่ รูปร่างหน้าตาและสติปัญญา สิ่งเหล่านี้เป็นผลผลิตมาจากความคิด ขึ้นอยู่กับว่ามีความคิดที่ดีหรือไม่ดี ถ้าคิดดี แล้วให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาจะได้รับผลดี คือ ความร่ำรวย ความสวย ความหล่อและความเฉลียวฉลาด แต่ถ้าคิดไม่ดี ไปทำตรงกันข้าม ผลจะเกิดขึ้นตรงกันข้าม เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลาย ทั้งมวลจะดีหรือร้าย ขึ้นอยู่กับใจเป็นสำคัญ มีวาระแห่งพุทธภาษิตที่มาใน สจิตตสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล” พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้พุทธสาวกเป็นผู้ฉลาดในจิตของตน ถ้าหากว่ายังไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น อย่างน้อยก็ให้รู้ใจของตัว เพื่อจะได้รู้เท่าทันกิเลสอาสวะ ที่มันคอยจะสอดแทรกเข้ามาอยู่ตลอดเวลา เราเผลอเป็นไม่ได้ ถ้าใจเราว่างจากกุศล มีช่องว่าง เดี๋ยวกิเลส ความโลภ …

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ฉลาดคิด จิตจึงหลุดพ้น Read More »

มงคลที่ ๓๗ – จิตปราศจากธุลี – อยุ่ที่ไหนก็ได้ถ้าใจหยุด

มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี – อยู่ที่ไหนก็ได้ถ้าใจหยุด การปฏิบัติธรรมเป็นการฝึกใจให้หยุดนิ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะและสังฆรัตนะ ซึ่งรัตนะทั้งสามนี้เป็นสรณะที่แท้จริงของชาวโลกทั้งหลาย ถ้าเข้าถึงเมื่อไร เมื่อนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง คือ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ใจของบุคคล ผู้พ้นวิเศษดีแล้ว เพราะรู้รอบ เป็นผู้สงบระงับ ผู้คงที่ เป็นใจที่สงบแล้ว วาจาก็สงบ การกระทำก็สงบตามไปด้วย บุคคลที่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ย่อมเป็นผู้มีใจมั่นคงประดุจขุนเขา ไม่มีสิ่งใดมาทำให้ใจหวั่นไหวได้ ใจไม่กระเพื่อม เป็นผู้สงบระงับสังขารทั้งปวงในโลก มีใจคงที่ มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานอย่างเดียว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ กาย วาจา ใจ สงบจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ใจจึงเป็นอิสระ เป็นใหญ่ในตนเองอย่างแท้จริง เสวยบรมสุขได้อย่างเต็มที่ …

มงคลที่ ๓๗ – จิตปราศจากธุลี – อยุ่ที่ไหนก็ได้ถ้าใจหยุด Read More »

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ความสุขในพระรัตนตรัย

มงคลที่ 38 จิตเกษม – ความสุขในพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยเป็นสรณะอันเกษมที่ประเสริฐที่สุด เราเกิดมาเพื่อแสวงหาพระรัตนตรัย เพื่อทำที่พึ่งที่ระลึกให้เกิดขึ้นกับตัวของเรา เราจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างปลอดภัยและมีชัยชนะ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัวซึ่งเป็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้งได้นั้น เราจะต้องปรารภความเพียรในการฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง ให้ใจปลอดกังวลจากความคิดทั้งหลาย โดยปรับใจให้ละเอียด ให้สบาย ให้เบิกบานแช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถที่จะให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างได้แม้กระทั่งตัวของเราเอง จนเรามีความรู้สึกว่า ใจของเราประดุจแหล่งกำเนิดแห่งความบริสุทธิ์ และความปรารถนาดีที่มีแจกจ่ายให้ผู้อื่น อย่างไม่มีวันที่จะหมดสิ้น สภาพใจเช่นนี้ เป็นต้นทางของการเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงผู้ที่ฝึกฝนอบรมจิตดีแล้วว่า “ผู้มีความเพียรฝึกฝนอบรมจิตดีแล้ว ย่อมมีใจตั้งมั่นในพระรัตนตรัย มีใจมั่นคงเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่หวั่นไหวต่อแรงลมที่มาจากทั้งสี่ทิศ ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ที่หมั่นฝึกฝนอบรมจิตดีแล้ว ทุกข์ย่อมไม่เกิดขึ้นกับผู้นั้น”     ผู้ที่ขยันปฏิบัติธรรม หมั่นฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง ย่อมได้รับรางวัลแห่งความเพียร คือ ใจจะสงบ จะหยุดนิ่ง ความกำหนัดขัดเคือง หรือความขุ่นข้องหมองใจอะไรต่างๆ จะหมดไป เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะพบแสงสว่างภายใน เมื่อมองความสว่างเข้าไป จะพบดวงธรรมภายใน และพบกายในกายที่มีอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว ความสุขอันไม่มีประมาณจะบังเกิดขึ้น เป็นความสุขที่สมบูรณ์ไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอก สุขได้ด้วยตัวของตนเอง เพราะพระรัตนตรัยเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่ไม่มีที่สิ้นสุด พลังมวลแห่งความสุขและความบริสุทธิ์ …

มงคลที่ 38 – จิตเกษม – ความสุขในพระรัตนตรัย Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นล้านๆชีวิต ไม่มีใครที่จะประทับรอยเท้าไว้บนผืนทรายได้จีรังยั่งยืน เพราะไม่นานรอยเท้านั้น ก็ถูกคลื่นพัดให้จางหายไป เหมือนชีวิตที่เกิดขึ้นมาแล้วหาความยั่งยืนคงที่ไม่ได้ ไม่ช้าก็ถูกคลื่นแห่งกาลเวลาพัดพาไปสู่ความเสื่อมสลาย คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเอาเป็นแบบอย่าง ในโลกนี้มีมนุษย์เพียงส่วนน้อยที่ไม่ประมาท ส่วนใหญ่ยังประมาทอยู่ ยังไม่เร่งขวนขวายสร้างความดี กลับปล่อยชีวิตให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า แสวงหาแต่สิ่งที่ไร้สาระ ต้องตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา มิอาจเป็นตัวของตัวเองได้ ชีวิตจึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ร่ำไป มีวาระพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน ขัคควิสาณสูตร ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อวิเหฐยํ อญฺญตรมฺปิ เตสํ บุคคลควรวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันและกัน ด้วยความจริงใจ เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนเหล่าพุทธบริษัท ให้เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นอกจากไม่เบียดเบียนกันแล้ว ก็ให้ประกอบด้วยมหากรุณา คือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้พ้นทุกข์ ได้พบกับความสุขยิ่งๆขึ้นไป ผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เป็นประจำ ทำให้เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น ใครเข้าใกล้ จะสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งความเย็น เหมือนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร อันตรายใดๆไม่สามารถมากล้ำกรายได้ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้น กระแสแห่งความเมตตาจะแปรผันสภาวะนั้น ให้กลับดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ มีเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – กุศโลบายให้พ้นโลก

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – กุศโลบายให้พ้นโลก พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว เราต้องทำใจให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความเลื่อมใสทำให้ใจเราหยุดนิ่งและผ่องใส เราจะได้รับรสแห่งความสุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง การเจริญพุทธานุสติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์นี้ มีอานิสงส์ใหญ่ สามารถปิดประตูอบายภูมิ เปิดประตูสวรรค์และนิพพานได้ ถ้าหากเราหมั่นระลึกนึกถึงบ่อยๆ จนกระทั่งเห็นองค์พระได้ชัดใส จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับท่าน เมื่อนั้นอานุภาพอันไม่มีประมาณของพระรัตนตรัย จะบังเกิดขึ้นกับเรา เพราะฉะนั้น ให้หมั่นเจริญสมาธิภาวนาทุกๆวัน เพื่อจะได้เข้าถึงพระรัตนตรัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อิจฉาสูตร ว่า “โลกอันความอยากผูกไว้ เพราะกำจัดความอยากเสียได้ จึงหลุดพ้น เพราะละความอยากได้เด็ดขาด จึงตัดสังโยชน์อันเป็นเครื่องผูกได้ทั้งหมด” โลกของเรา มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าเพลิดเพลิน จนทำให้เกิดความอยาก ผู้ไม่รู้ หลงใหล มีความทะยานอยากในสิ่งต่างๆที่อายตนะทั้งหก ได้ไปถูกต้องสัมผัสทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ แต่บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายที่ท่านได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามากในทุกระดับชั้น ท่านเห็นว่า โลก คือ หมู่สัตว์นี้ เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ล้วนแต่มีทุกข์ด้วยกันหมดทั้งสิ้น เพราะชีวิตในภพทั้งสามนี้เป็นทุกข์ ภพสาม เป็นเหมือนคุกขนาดใหญ่ที่กักขังสัตวโลกไว้ ใครจะออกจากคุกนี้ได้ …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – กุศโลบายให้พ้นโลก Read More »

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ชีวิตที่ไม่หวั่นไหว

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ชีวิตที่ไม่หวั่นไหว ชีวิตบนโลกใบนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราหนีไม่พ้นที่จะต้องพบกับความไม่แน่นอน บางครั้งสมหวัง บางครั้งไม่สมหวัง ซึ่งเป็นธรรมดาของโลก เมื่อมีลาภก็ต้องมีเสื่อมลาภ มียศก็มีเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็มีทุกข์คละเคล้าปะปนกันไป ความเปลี่ยนแปลงตามธรรมดาของโลกนี้ เรียกว่า โลกธรรม อันเป็นธรรมประจำโลก มีอยู่แล้วในโลกนี้ ตั้งแต่ก่อนเรามาเกิด สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้ว หรือแม้เราจะหมดอายุขัย ละจากโลกนี้ไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหนและใครจะถือเอาเป็นสิทธิ์เฉพาะตนก็ไม่ได้ เพราะเป็นของสาธารณะ สำหรับมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลก และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น ในสภาวะปัจจุบันนี้ แม้สังคมและเศรษฐกิจ จะแปรปรวนอย่างไรก็ตาม อย่าได้หวั่นไหว ให้ตั้งใจทำความดีต่อไปเถิด หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ถ้าเราประกอบเหตุดี ผลที่ออกมาย่อมจะดีตามไปด้วยการทำความดีนั้น เราควรเพียรพยายามให้ถึงที่สุด และถ้าหากพบปัญหาอะไรที่หนักๆ นั่นแสดงว่าใกล้จะพ้นแล้ว ดังคำโบราณที่กล่าวว่า “ยิ่งมืดแสดงว่ายิ่งดึก ยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง” เพราะฉะนั้นให้หมั่นสั่งสมความดีกันต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในมงคลสูตรตอนหนึ่งว่า ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ …

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ชีวิตที่ไม่หวั่นไหว Read More »

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – กาลเวลาพิสูจน์ความดี

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – กาลเวลาพิสูจน์ความดี ชีวิตเปรียบเสมือนการเดินทางไกล การเดินทางจำเป็นต้องมีเสบียงติดตัวไป เพื่อหล่อเลี้ยงสังขารร่างกายให้ดำรงอยู่ได้ การเดินทางไปสู่อายตนนิพพาน จะต้องมีเสบียง คือ บุญ บุญเป็นสิ่งที่ชำระใจของเราให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อจิตบริสุทธิ์ ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบหลักการในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธไว้ว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ ต้องละชั่วทุกอย่าง กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำความดีให้ถึงพร้อม สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจให้ผ่องใส ชาวพุทธทั้งหลายได้ถือปฏิบัติ สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนี้ พระพุทธองค์ทรงประทานวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้ว่า “ไม่เข้าไปว่าร้าย ไม่เบียดเบียนใคร มีความสำรวมในศีล รู้จักประมาณในการบริโภค รู้จักที่นอนที่นั่งอันสงัด และประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” เมื่อมีความไม่เข้าใจใดๆเกิดขึ้น พระพุทธองค์ทรงสอน ไม่ให้ไปว่าร้ายใคร หรือไปต่อล้อต่อเถียงกับใคร คิดแล้วตรองแล้วว่า สิ่งที่เราทำนั้นดีอยู่แล้ว ให้ทำความดีต่อไป อย่าได้หวั่นไหว ให้อดทน อย่าไปประทุษร้ายใคร แม้เขาจะไม่เห็นด้วย หรือขัดขวางการทำความดีของเราก็ตาม พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญการเบียดเบียน หรือการทำร้ายซึ่งกันและกัน เพราะนั่นเป็นทางมาแห่งบาปอกุศล ให้หันกลับมาพิจารณาตนเอง สำรวมในศีล รักษาศีลให้บริสุทธิ์ …

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – กาลเวลาพิสูจน์ความดี Read More »

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – จิตที่ไม่หวั่นไหว

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – จิตที่ไม่หวั่นไหว สรรพสิ่งในโลกนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาแล้ว จึงไม่อาจหลีกหนีความเปลี่ยนแปลง อันเป็นธรรมประจำโลกนี้ไปได้ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ได้รับคำสรรเสริญ ถูกนินทา มีความสุข ก็มีความทุกข์ แต่ไม่ว่าจะประสบกับสภาวการณ์เช่นไรก็ตาม เราต้องฝึกให้มีสติ ไม่หวั่นไหว รักษาใจให้มั่นคง แล้วมุ่งมั่นสร้างความดีให้เต็มที่ เมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ในที่สุดเราก็จะก้าวไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ พระนิพพาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายได้อย่างแน่นอน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา วีตตโณฺห สทา สโต สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา ภิกษุมีพรหมจรรย์ เพราะเห็นโทษในกามทั้งหลายปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว จิตของผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วนั้น ย่อมมีความมั่นคงหนักแน่นดุจขุนเขา …

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – จิตที่ไม่หวั่นไหว Read More »

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ผู้มีจิตมั่นคง

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ผู้มีจิตมั่นคง บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข และความสำเร็จในชีวิต ตั้งแต่ปุถุชนจนกระทั่งเป็นพระอริยเจ้า บุญที่เราได้ทำไว้อย่างดีแล้วในบุญเขตอันเยี่ยม คือ พระรัตนตรัย จะส่งผลให้เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น แล้วยังติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม คำว่า ท่องเที่ยว คือ การกลับไปเกิด กลับมาเกิดในระหว่างมนุษย์กับเทวโลก ไม่พลัดไปในอบายเลย จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง เมื่อหมดอายุขัยในมนุษย์ ก็จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เมื่อลงมาเกิดก็จะอยู่ในแวดวงของผู้มีบุญ ที่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ดังนั้น การทำบุญถูกทักขิไณยบุคคล ทำถูกต้นแหล่งแห่งบุญ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักสร้างบารมี มีวาระพระบาลีปรากฏใน ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะว่า สงฺขาย โลกสฺมึ ปโรวรานิ ยสฺสิญฺชิตํ นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก สนฺโต วิธูโม อนิโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรญฺจ พฺรูมิ ผู้ใดไม่มีความหวั่นไหว ในโลกไหนๆ เพราะได้พิจารณาเห็นธรรม ที่ยิ่งและหย่อนในโลก ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่ว อันจะทำให้มัวหมองดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต …

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ผู้มีจิตมั่นคง Read More »

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ยอมรับความจริงกันดีกว่า

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ยอมรับความจริงกันดีกว่า ทุกคนที่เกิดมาในสังสารวัฏ ต่างต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตที่เหมือนกัน คือ ความแก่ ความเจ็บและความตาย ทุกชีวิตถูกจำกัดด้วยกาลเวลา แต่ละคนมีเวลาแห่งชีวิตไม่เท่ากัน บ้างตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บ้างประสบอุบัติเหตุตายตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว บ้างตายตอนแก่ ซึ่งในยุคนี้ ส่วนใหญ่ไม่เกิน ๗๕ปี ก็ต้องจากโลกไป ส่วนผู้ใดมีอายุเกิน ๗๕ปี ถือว่าอายุยืน ฉะนั้น เมื่อเรารู้จักโลกและชีวิตไปตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จงอย่าประมาทในชีวิต ให้เร่งสร้างบารมีอย่างเต็มที่ เราจะได้ก้าวไปสู่ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บและไม่ตายอีกต่อไป มีพุทธศาสนสุภาษิตใน มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ว่า “อาสวะเหล่าใดอันระคนด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปด้วยความทุรนทุรายมีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะต่อไป ที่ใครๆยังละไม่ได้แล้ว เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นคนหลง ดูก่อนอัคคิเวสสนะ บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนหลง ก็เพราะยังละกิเลสอาสวะทั้งหลายไม่ได้” เดินหลงทางทำให้เสียเวลา แต่ยังมีโอกาสหาทางออกได้ ส่วนความหลงที่เกิดจากโมหะเข้าครอบงำจิตใจ เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงที่ยากแก่การแก้ไข เพราะคนหลงจะไม่รู้ตัวเองว่าหลง เหมือนคนเมาเหล้า ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเมา ทำอะไรก็ขาดสติ ความคิด คำพูดและการกระทำก็วิปริตไปหมด …

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม – ยอมรับความจริงกันดีกว่า Read More »

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ สามอย่างนี้เท่านั้นที่เราต้องยึดเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งอันเกษม เมื่อเราประสบทุกข์เราก็พึ่งท่านได้ พึ่งแล้วก็จะมีแต่ความสุข สดชื่นเบิกบาน มีสติมีปัญญาเกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง พระรัตนตรัยมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน ภาษาไหน มีลัทธิความเชื่ออย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้ว ล้วนมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัวทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ทสรถชาดก ว่า เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ คนๆเดียวเท่านั้นตายไป คนเดียวเท่านั้นเกิดในตระกูล การคบหาร่วมกันของสรรพสัตว์ เป็นเพียงการเกี่ยวข้องกันเท่านั้น ชีวิตของเราเมื่อถือกำเนิดมาแล้ว ล้วนก้าวไปสู่ความชราและมรณะ เวลาเรามาเกิด เราก็มาคนเดียว เมื่อจะละจากโลกนี้ไป เราก็ไปคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นคนโง่หรือคนฉลาด เป็นคนยากจนหรือคนมั่งมี จะมียศที่สูงส่งเพียงใดก็ตาม ไม่มีใครที่จะพ้นเงื้อมมือพญามัจจุราชไปได้ ผู้มีปัญญา ย่อมรู้ว่าการมีชีวิตอยู่ร่วมกันของสรรพสัตว์ เป็นเพียงการเกี่ยวข้องกันเท่านั้น จึงไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะธรรมดาของสัตวโลก ย่อมมีการพลัดพรากเป็นธรรมดา …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – หยุดใจเป็น สำเร็จทุกอย่าง

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – หยุดใจเป็น สำเร็จทุกอย่าง จิตของบุคคลที่ตั้งไว้ผิดที่ ย่อมถูกความโลภ โกรธ หลง เข้ามาครอบงำ ทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิดได้ง่าย ซึ่งเป็นเหตุนำความทุกข์มาให้บุคคลนั้น แต่จิตของบุคคลที่ตั้งไว้ถูกที่ คือ วางใจไว้ถูกที่ตั้งของใจ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่๗ ซึ่งเป็นต้นแหล่งของความสุขและความบริสุทธิ์ แหล่งของสติของปัญญา เมื่อเรานำใจมาไว้ ณ ตรงนี้ ใจก็จะถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ผ่องใส ทำให้คิดดี พูดดี ทำดี ตลอดจนส่งผลให้พบกับความสุขความเจริญรุ่งเรืองและสิ่งที่ดีงามในชีวิตตลอดไป ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงเพียรพยายามฝึกฝนอบรมจิตใจ ให้สงบหยุดนิ่งอยู่เสมอ เพื่อให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต มีพุทธพจน์ที่ปรากฏใน มหาสีลวชาดก ขุททกนิกาย ว่า วายเมเถว ปุริโส น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่ายท้อแท้ฯ การที่พระบรมโพธิสัตว์ จะบำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งได้นั้น จะต้องทำความเพียรมาอย่างไม่ลดละ ต้องมีใจหนักแน่นมั่นคงประดุจขุนเขา ไม่เคยท้อแท้เบื่อหน่ายในการสั่งสมบุญบารมีเลย ท่านสั่งสมบารมีทั้ง ๓๐ทัศ มาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน สร้างบารมีอย่างน้อยใช้เวลาถึง ๒๐อสงไขยกับอีกแสนมหากัป …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – หยุดใจเป็น สำเร็จทุกอย่าง Read More »

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – เผชิญหน้าพญามัจจุราช

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – เผชิญหน้าพญามัจจุราช สรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีพื้นฐานของชีวิตเหมือนกัน เพราะต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ตั้งแต่วันแรกเกิด จนกระทั่งถึงวันที่หลับตาลาโลก ทุกชีวิตล้วนมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน เหมือนกับโลกที่มีความมืดเป็นพื้นฐาน ที่เราเห็นแสงสว่าง เพราะมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ หรือแสงไฟ จึงทำให้โลกเราสว่างได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจความเป็นจริง ของชีวิตว่าเป็นทุกข์แล้ว จะได้เกิดความเบื่อหน่าย รีบขวนขวาย หาทางพ้นทุกข์ ดังนั้นการปฏิบัติธรรมจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่ปรารถนาความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพื่อเข้าถึงความสุขที่แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้รู้จักเตือนตนเองไว้ใน ฐานสูตร ว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ใครทำกรรมใดไว้ ก็จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่สอนให้มนุษย์รู้จักตนเอง รู้จักสัจธรรมของชีวิต เพื่อจะได้ไม่เสียเวลากับสิ่งที่ไร้สาระ พระพุทธองค์ทรงสอนให้หันมาดูตนเอง แล้วให้มองลึกลงไปว่า สรีระนี้ใช่ว่าจะยืนยาว จะไม่แก่ ไม่เจ็บ …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – เผชิญหน้าพญามัจจุราช Read More »