ธรรมะเพื่อประชาชน

กิสาโคตมีเถรี

กิสาโคตมีเถรี เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพื่อแสวงหาสิ่งที่จะทำให้ใจเราสะอาดบริสุทธิ์ที่สุด บริสุทธิ์จนกระทั่งพบกับตัวตนที่แท้จริง ที่มั่นคงที่สุด และมีความสุขที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าพระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด ซึ่งอยู่ในตัวของเรา ในระดับที่ละเอียดลุ่มลึกเข้าไปเป็นลำดับ เป็นธรรมที่สงบ ละเอียด ประณีต เป็นธรรมะลึกซึ้ง เราจะนึกคิดหรือคาดคะเนเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง หากเมื่อใดที่เราสามารถปรับใจที่หยาบให้ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ เข้าถึงแหล่งของสติ แหล่งของปัญญา เมื่อนั้นเราย่อมรู้เห็นธรรมทั้งหลายไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ     พฺยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว     มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูก และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลไปฉะนั้น” หากเราพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ล้วนมีความไม่เที่ยง แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แล้วสูญสลายไปในที่สุด ความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา สืบเนื่องติดต่อกันจนเราสังเกตไม่ออก จะเป็นความงดงามของร่างกายก็เสื่อม สติปัญญาก็เสื่อม ความแจ่มใสของดวงตาก็เสื่อม …

กิสาโคตมีเถรี Read More »

พุทธชิโนรส (๓) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๓) เวลาเป็นสิ่งที่เราควรหวงแหนไว้ เพราะเรามีเวลาที่จะอยู่บนโลกนี้อย่างจำกัด การเสียเวลาของชีวิตจึงเป็นการสูญเสียสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง เวลาที่เราเสียไปแล้วจะเอาทรัพย์นับพันล้านมาแลกกลับคืนมาก็ไม่ได้ และเมื่อเวลาผ่านไปก็ได้นำความแก่ ความเจ็บ และความตายมาให้ นั่นหมายถึงโอกาสและเวลาในการสร้างบารมีของเราเหลือน้อยลงแล้ว ดังนั้น เวลาจึงหมายถึงชีวิต หมดเวลาคือหมดชีวิต เราเองไม่รู้ว่าเราจะเหลือเวลาอีกเท่าไร มากหรือน้อยขนาดไหน เพราะความตายนั้นไม่มีนิมิตหมาย ดังนั้น เมื่อเรารู้อย่างนี้ จึงควรใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่น้อยนี้ ในการแสวงหาหนทางพระนิพพาน ด้วยการทำใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในให้ได้ เราจะได้ชื่อว่าเกิดมาใช้เวลาได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง มีวาระพระบาลีที่ตรัสไว้ใน จิตตวรรค คาถาธรรมบท ว่า “น ตํ มาตา ปิตา กยิรา    อญฺเญ วา จ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ        เสยฺยโส นํ ตโต กเรฯ มารดาบิดาหรือว่าหมู่ญาติทั้งหลาย ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ พึงทำบุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น” มารดาบิดาหรือหมู่ญาติ ให้การเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้การศึกษา ให้ทรัพย์สมบัติ เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตในปัจจุบันชาติได้อย่างสบาย แต่ไม่มีมารดาบิดาคนใดในยุคปัจจุบันนี้ …

พุทธชิโนรส (๓) – พระราหุลเถระ Read More »

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม)

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม) ตถาคต คือ ธรรมกาย ตถาคตเป็นชื่อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่เราระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จะทำให้ใจเราผูกพันกับพระพุทธองค์ ใจจะบริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าเรานึกถึงท่านตลอดเวลา ดวงจิตจะถูกปรับปรุงให้บริสุทธิ์ขึ้น ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ใจยิ่งมีอานุภาพ ความบริสุทธิ์เป็นทางมาแห่งมหากุศล จะบริสุทธิ์ได้ใจต้องหยุดนิ่ง เพราะฉะนั้น การทำภาวนาจึงเป็นการชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ที่ดีที่สุด พระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สามัญญผลสูตร ว่า “ผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้” ที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ๓ อย่างนี้เท่านั้นที่เราพึ่งแล้วสามารถพ้นจากทุกข์ได้ ถ้าเราหมั่นระลึกถึงท่านอยู่เสมอ ใจเราจะสะอาดบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จะเป็นเหตุให้ใจเราละเอียดอ่อน และเข้าถึงพระรัตนตรัย และเมื่อเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง เราจะรู้เห็นไปตามความเป็นจริงที่เรียกว่า อริยสัจ เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ซึ่งเป็นปัญญาที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระพุทธหรือพุทธรัตนะมีลักษณะเป็นกายแก้ว สมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษทุกประการ ประทับนั่งขัดสมาธิคู้บังลังก์อยู่ในกลางตัวของเราทุกคน เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน พระธรรมหรือธรรมรัตนะเป็นดวงธรรมใสสว่างอยู่กลางพุทธรัตนะ พระสงฆ์หรือสังฆรัตนะเป็นกายธรรมที่ละเอียดซ้อนอยู่ในกลางธรรมรัตนะ  รัตนะทั้ง …

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม) Read More »

พุทธชิโนรส (๔) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๔) ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นอนุสาวรีย์แห่งความเพียรพยายาม ต้องทุ่มเทพลังกายพลังใจมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จได้ด้วยความเพียร มิใช่วาสนาโชคชะตา เนื้อกวางจะเข้าปากราชสีห์ซึ่งกำลังหลับอยู่ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นบุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ดังนั้นเราต้องเร่งประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ แข่งกับเวลาที่เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม ไม่ผัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไป ความเพียรที่คิดว่าจะทำในวันพรุ่งนี้ให้เร่งรีบทำเสียตั้งแต่วันนี้ ส่วนความเพียรที่คิดว่าจะทำในวันนี้ ก็ให้ทำเสียตั้งแต่ตอนนี้ เพราะเราไม่รู้ว่าชั่วโมงต่อไปจะมีสำหรับเราหรือไม่ วินาทีนี้เท่านั้นที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ฉะนั้น ให้พวกเราทุกคนหมั่นทำใจให้หยุดให้นิ่ง ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ภายใน ให้ตั้งใจมั่นว่าเราจะทำความเพียรกัน จนกว่าเราจะเข้าถึงพระธรรมกายภายในให้ได้ มีเถรวาทะที่พระราหุลเถระกล่าวไว้ใน มัชฌิมนิกาย ว่า “พระตถาคตผู้มีพระปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ทรงรักษาเราเหมือนนกต้อยตีวิด พึงรักษาไข่ เหมือนเนื้อจามรีรักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต พระองค์ผ่านชีวิตมาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ต่ำสุดจนกระทั่งสูงสุด สุดท้ายทรงสรุปว่าชีวิตสมณะเป็นชีวิตที่ดีที่สุด พระนิพพานเป็นสมบัติที่ล้ำค่าที่สุด เมื่อพระองค์จะทรงมอบสมบัติให้แก่ราหุลกุมาร ซึ่งเป็นดุจแก้วตาดวงใจที่พระองค์ทรงรัก และห่วงใย เหมือนดังจามรีที่รักษาขนหางยิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อจะมอบสิ่งใดให้ สิ่งนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่พระองค์พิจารณาแล้วว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดประเสริฐที่สุด ดังนั้น จึงมอบหนทางอันประเสริฐที่สุดคือ การให้บวชเป็นสมณะ และมอบสมบัติอันลํ้าค่าที่สุดคือ นิพพานสมบัติ อันประเสริฐกว่าสมบัติใดๆ ในภพทั้งสาม * เมื่อครั้งก่อนได้กล่าวถึงตอนที่ราหุลกุมารประสูติ พร้อมกันกับเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช …

พุทธชิโนรส (๔) – พระราหุลเถระ Read More »

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร)

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร) เส้นทางยาวไกลในสังสารวัฏ เป็นเส้นทางที่จะต้องสั่งสมบุญบารมีให้มากๆ เพราะบุญกุศลไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจะมองข้าม หรือประมาทคิดว่า จะทำเมื่อไรก็ได้ หรือไม่ทำก็ได้ เพราะกว่าที่เราจะไปถึงเป็นหมายที่แท้จริงของชีวิตคือ ปราบอาสวกิเลสให้หมดสิ้นได้นั้น ไม่ใช่เรื่องพอดีพอร้าย  หากเรายังเป็นผู้ที่ประมาทอยู่ ไม่เร่งสั่งสมบุญ และทำความเพียรด้วยการทำใจหยุดนิ่งควบคู่กันไป เส้นทางนั้นก็ยิ่งจะยาวไกลออกไป ดังนั้น การสั่งสมบุญควบคู่ไปกับการหมั่นประพฤติปฏิบัติธรรม จึงเป็นภารกิจหลักที่เราต้องหมั่นทำเป็นประจำสม่ำเสมอ มีวาระแห่งสุภาษิตปรากฏอยู่ใน ขุททกนิกาย ชาดก ความว่า “ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ให้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม บุคคลอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้” ผู้ใดก็ตามที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ชีวิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นอยู่อย่างมีความสุข ในอดีตกาลมีพระอริยสาวกมากมาย ที่ท่านเข้าถึงพระรัตนตรัย แล้วต้องการที่จะให้เพื่อนร่วมโลกได้เข้าถึงจุดแห่งบรมสุขที่ท่านเข้าถึง หลวงพ่อจะขอกล่าวถึงบุคคลสำคัญของโลกที่มีหัวใจยอดกัลยาณมิตรคือ นอกจากจะสร้างบุญด้วยตนเองแล้ว ยังชักชวนให้เพื่อนพ้องได้มาสู่เส้นทางธรรมที่ถูกต้อง * บุคคลท่านนี้ ท่านเป็นมหาเศรษฐี เป็นผู้ที่ประชาชน …

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร) Read More »

พุทธชิโนรส (๕) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๕) การที่เราศึกษาเล่าเรียนเพียงเพื่อใช้แสวงหาทรัพย์ในการหล่อเลี้ยงสังขารร่างกายให้มีชีวิตรอดต่อไปได้นั้น แม้มีชีวิตรอดจริงแต่ยังไม่ปลอดภัย แต่ความรู้ทางธรรมเราไม่รู้ไม่ได้ ถ้าไม่รู้ชีวิตไม่ปลอดภัย ทั้งภัยในอบายภูมิ และภัยในสังสารวัฏ เหมือนอาหารถ้าเราไม่รับประทานก็ตาย ความรู้ทางธรรมถ้าไม่ศึกษาก็ตายเช่นกันคือ ตายจากกุศลความดี เหินห่างจากหนทางพระนิพพาน บางทีอาจต้องไปรับทุกข์ทรมานในอบายภูมิสิ้นกาลนาน เพราะฉะนั้น การศึกษาทางธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ต้องอาศัยพระธรรมกายภายใน เมื่อเราเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ได้ศึกษาวิชชาธรรมกาย เราจะรู้เรื่องราวของโลก และชีวิตที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา สิ่งที่เป็นความลับจะถูกเปิดเผยออกมา ไม่มีสิ่งใดที่เป็นความลับสำหรับผู้รู้แจ้งภายใน มีวาระพระบาลีที่ตรัสไว้ ในคาถาธรรมบท ว่า “มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู    ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ    ชิวฺหา สูปรสํ ยถา ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น” การคบหากัลยาณมิตรผู้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ เหมือนการค้นพบขุมมหาสมบัติ แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่เราจะได้สิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล ดังนั้นความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ดีที่พวกเราทุกคนควรจะมีไว้ เพราะความใฝ่รู้ธรรมะนั้น จะนำพาชีวิตของเราให้พ้นภัย หมั่นเข้าหากัลยาณมิตรผู้ชี้ทางสว่าง รับฟังคำแนะนำตักเตือนจากท่าน เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ว่าง่ายสอนง่าย เมื่อนั้นสิ่งที่ดีๆ ทั้งบุญกุศลคุณธรรมความดีทั้งหลาย จะหลั่งไหลมาสู่ตัวเรา เราจะเป็นคนที่สูงค่าเหมือนกับพระราหุลเถระที่ท่านได้ทำเป็นแบบอย่างไว้ …

พุทธชิโนรส (๕) – พระราหุลเถระ Read More »

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา)

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา) ช่วงเวลาที่มีคุณค่าคือ เวลาที่เราจะได้เพิ่มเติมความสุขความสำเร็จให้แก่ชีวิต ด้วยธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นสัจธรรมที่นำมาซึ่งความสุข และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล ทุกวันนี้มนุษย์กำลังสับสน ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต เมื่อไม่ได้ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตจึงต้องเวียนวนอยู่ในกระแสแห่งความทุกข์ระทม เหมือนถูกตรึงด้วยเครื่องพันธนาการ ยากจะสลัดออกได้ ต่อเมื่อได้ฟังพระสัทธรรม จึงจะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต และสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตได้อย่างแท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ภูริปัญหาชาดก ว่า “น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ ทุกฺเขน ผุฏฺฐา ขลิตาปิ สนฺตา ฉนฺทา จ โทสา น ชหนฺติ ธมฺมํ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไป ก็สงบอยู่ได้ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรัก และความชัง” การสร้างบารมีเป็นหน้าที่หลักของเราในการเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ และในระหว่างการสร้างบารมี บางครั้งเราอาจประสบความยากลำบากและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะหนทางแห่งการสร้างบารมีมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ อุปสรรคที่เกิดขึ้นจะหล่อหลอมให้เรามีจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นเครื่องทดสอบกำลังใจว่า เรามีหัวใจของยอดนักสร้างบารมีเต็มเปี่ยมแค่ไหน สำหรับผู้มีอุดมการณ์ที่มั่นคง …

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา) Read More »

พุทธชิโนรส (๖) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๖) ภายใต้กระแสโลกในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อจะเอาชนะ บางคนต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ชัยชนะภายนอกยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นชัยชนะที่แท้จริง เพราะผู้ชนะย่อมก่อเวร จากคู่แข่งเปลี่ยนมาเป็นคู่แค้น เป็นชัยชนะที่ไม่ยั่งยืน วันหนึ่งก็ต้องกลับพ่ายแพ้ ไม่มีใครที่เป็นผู้ชนะตลอดกาล แต่สำหรับนักสร้างบารมีแล้ว เราต้องเร่งสร้างบารมีแข่งกับวันเวลาของชีวิตที่เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ นี่คือคู่แข่งที่แท้จริงของเรา แม้เวลาจะเหลือน้อยลง แต่บุญบารมีของเราต้องให้เพิ่มขึ้นทับทวี ทั้งทาน ศีล ภาวนา สิ่งเดียวเท่านั้นที่เราจะต้องเอาชนะคือ กิเลสอาสวะภายใน ยามใดที่เรากำจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง เป็นชัยชนะที่มีแต่ความสุขล้วนๆ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีวันกลับมาแพ้อีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สุภสูตร ทีฆนิกาย ว่า “ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว ชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ชนเหล่านั้น ไม่เดินตามหลังมาร” การสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นการสั่งสมความบริสุทธิ์ตั้งแต่กายภายนอก เข้าไปสู่จิตใจภายใน ความบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถกำจัดกิเลสอาสวะเอาชนะพญามารได้ เมื่อความบริสุทธิ์เต็มเปี่ยม ความสะดุ้งกลัวต่อพญามารจะหมดสิ้นไป แต่กลับเป็นฝ่ายมารที่สะดุ้งกลัวต่อบุคคลผู้มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์บริบูรณ์เต็มเปี่ยม ดังนั้น ความบริสุทธิ์กาย …

พุทธชิโนรส (๖) – พระราหุลเถระ Read More »

พระมหากัปปินเถระ

พระมหากัปปินเถระ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ อย่างนี้เท่านั้น สิ่งที่มนุษย์เราควรจะยึดถือเป็นที่พึ่งที่แท้จริงได้คือ เมื่อเราประสบทุกข์เราก็เข้าไปพึ่งท่านได้ พึ่งท่านแล้วจะมีแต่ความสุข มีสติและปัญญาเกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ และเป็นที่ระลึกอันสูงสุด ควรที่จะระลึกถึงท่านให้ได้อยู่เสมอๆ นึกแล้วจะมีความสุขสดชื่น ใจของเราจะบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ธมฺมปีติ สุขํ เสติ    วิปฺปสนฺเนน เจตสา อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม    สทา รมติ ปณฺฑิโต บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ” มนุษย์ทุกคนในโลกล้วนแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น บ้างก็แสวงหาจากการดื่ม จากการกิน จากการเที่ยว  หรือจากการได้รับของที่ถูกใจ แต่ความสุขเหล่านั้น เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อได้รับแล้วต้องแสวงหากันใหม่อยู่ร่ำไป ถ้าจะเรียกให้ถูก ต้องเรียกว่าเป็นความเพลินมากกว่า แล้วอะไรคือความสุขที่แท้จริง อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไรบ้าง ความสุขที่แท้จริง ต้องเป็นความสุขที่เป็นอมตะ แล้วเป็นความสุขที่เข้าถึงได้ …

พระมหากัปปินเถระ Read More »

พระวักกลิเถระ

พระวักกลิเถระ การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก และการดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ มีจิตใจสูงส่ง มั่นคงในคุณธรรม ดำเนินอยู่บนเส้นทางการสร้างบารมี เส้นทางแห่งอริยมรรคของพระอริยเจ้าให้ได้ตลอดนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ผู้มีบุญมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ มีดวงใจที่ผ่องใสเท่านั้น จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เดินหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องปลอดภัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องสั่งสมบุญให้มากๆ และมีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม และหมั่นนั่งธรรมะทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว ต้องตั้งใจมั่นอย่างนี้ จึงจะพบกับความสุขสวัสดี ได้ที่พึ่งที่ระลึกภายในคือ พระรัตนตรัยกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อนุตตริยสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ ไปดูรัตนะคือช้างบ้าง ไปดูรัตนะคือม้าบ้าง ไปดูรัตนะคือแก้วมณีบ้าง  หรือไปเพื่อเห็นรัตนะสูงต่ำ ไปเพื่อเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าความเห็นนั้นไม่มี ก็แต่ความเห็นนั้นนั่นแล ยังทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต …

พระวักกลิเถระ Read More »

พระพาหิยทารุจิริยเถระ

พระพาหิยทารุจิริยเถระ เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพื่อแสวงหาสิ่งที่ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ที่สุด บริสุทธิ์จนกระทั่งพบกับตัวตนที่แท้จริงที่มั่นคงที่สุดไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพบว่า พระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด และมีอยู่ในตัวของพวกเราทุกคน เป็นธรรมที่สงบ ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง เราจะนึกคิดหรือคาดคะเนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง หากเมื่อใดที่เราสามารถปรับใจที่หยาบให้ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ จนกระทั่งเราเข้าไปถึงแหล่งของสติแหล่งของปัญญา เมื่อนั้นเราย่อมรู้เห็นธรรมะทั้งหลายไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน อัจเจนติสูตร ว่า “อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ บุคคลเมื่อเห็นมรณภัยแล้ว พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสู่สันติเถิด” วันคืนที่ล่วงไปๆ ได้นำเอาความเสื่อม และความชรามาให้กับทุกชีวิต ซึ่งทำให้เรี่ยวแรงค่อยๆ ถดถอยลงไป  สังขารมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม และในที่สุดก็สลายไปสู่ความตาย ชั้นแห่งวัยของชีวิตได้เสื่อมไปตามลำดับอย่างนี้ ท่านจึงสอนต่อไปอีกว่า ผู้ไม่ประมาทในชีวิตต้องมองให้เห็นโทษของมรณภัยคือ ความตายที่เข้ามาเยือนอยู่ทุกขณะจิต ว่าเป็นภัยใหญ่หลวงซึ่งจะหลีกหนีอย่างไรก็ไม่พ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาจึงละอามิสคือ เหยื่อล่อที่ทำให้ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในรูป …

พระพาหิยทารุจิริยเถระ Read More »

พระโสณโกฬิวิสเถระ

พระโสณโกฬิวิสเถระ พระรัตนตรัยเป็นสรณะอันเกษม เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีอานุภาพเป็นอจินไตย ยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ เกินกว่าที่ผู้มีรู้มีญาณจะคาดคะเนเอาได้ ผู้ที่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัย จึงจะซาบซึ้งในพระคุณอันไม่มีประมาณ เมื่อมีทุกข์ท่านจะช่วยขจัดปัดเป่าให้พ้นทุกข์ มีสุขแล้วก็ทำให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ชีวิตของเราจะได้รับการคุ้มครองดูแลจากท่าน ทำให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง ผู้รู้ทั้งหลายจึงยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดในชีวิต การทำสมาธิภาวนา ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าไปพบพระรัตนตรัยภายในได้ มีวาระพระบาลีที่พระสิริมัณฑเถระได้กล่าวไว้ใน ขุททกนิกาย เถรคาถาว่า “อโมฆํ ทิวสํ กยิรา     อปฺเปน พหุเกน วา ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ      ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น” ฤดูกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปแล้ว เหมันตฤดู คือ หน้าหนาวเข้ามาแทน หลายท่านได้ตั้งใจสั่งสมบุญกันมาตลอดพรรษา ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ต่างทำได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ และหากมองย้อนกลับไปก็จะเป็นภาพประวัติศาสตร์ชีวิตอันงดงาม สมกับที่ได้ชื่อว่า เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี มีพระนิพพานเป็นเป้าหมาย หลายท่านมาวัดทุกวันอาทิตย์ มาร่วมสร้างบารมีกับหมู่คณะใหญ่ หลายๆ ครอบครัวเพิ่มเติมบุญบารมีจากที่ได้รักษาศีล …

พระโสณโกฬิวิสเถระ Read More »

พระปิลินทวัจฉะ (๑)

พระปิลินทวัจฉะ (๑) เส้นทางในสังสารวัฏเป็นเส้นทางอันยาวไกล ที่จะต้องสั่งสมบุญบารมีอย่างเต็มที่ จึงจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เรื่องการทำบุญนั้น เราจะดูเบาคิดว่าจะทำเมื่อไรก็ได้ หรือไม่ทำก็ได้ อย่าคิดอย่างนั้น เพราะกว่าที่เราจะได้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต คือ สามารถขจัดอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ใช่เรื่องพอดีพอร้ายเลย หากเรายังเป็นผู้ที่ประมาทไม่เร่งสั่งสมบุญ และทำความเพียรด้วยการทำใจหยุดนิ่งควบคู่กันไป เส้นทางนั้นจะยิ่งยาวไกลออกไป ดังนั้น การสั่งสมบุญ และหมั่นปฏิบัติธรรมให้สมํ่าเสมอ จึงเป็นภารกิจหลักที่เราต้องเอาใจใส่ อย่าได้ประมาทกัน * มีวาระแห่งพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน ปิลินทวัจฉเถราปทาน ความว่า “มา มํ มิตฺตา อมิตฺตา วา    หึสนฺติ สพฺพปาณิโน สพฺเพสํ จ ปิโย โหมิ        ปุญฺญกมฺมสฺสิทํ ผลํ สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรและมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม” ทุกๆ คนที่เกิดมาในโลกนี้ หากเกิดมาแล้วพบเจอแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าจะย่างก้าวไปสถานที่แห่งใด ก็มีแต่คนคอยต้อนรับ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้ หรืออย่างน้อยก้าวไปถึงไหนได้พบแต่ความสุขสบายใจที่นั่น อย่างนี้ก็เนื่องจากสั่งสมบุญเก่ามาดี เพราะบุญที่เราสร้างเท่านั้น ที่สามารถอำนวยประโยชน์สุขทุกๆ …

พระปิลินทวัจฉะ (๑) Read More »

พระปิลินทวัจฉะ (๒)

พระปิลินทวัจฉะ (๒) ทุกความสำเร็จของชีวิตล้วนต้องแลกมาด้วยความเพียรพยายาม หากเราปรารถนาความสุขและความสำเร็จในชีวิตมากเพียงใด เราก็ต้องใช้ความเพียรพยายาม และสั่งสมบุญบารมีให้มากขึ้นเพียงนั้น แม้ว่าบนเส้นทางการสร้างบารมีจะมีอุปสรรคมากมาย แต่ถ้าเรามีความเพียรและขันติแล้ว จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคนั้นต่อไปได้ ฉะนั้น เราต้องหมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้มีใจมุ่งมั่น และจดจ่ออยู่ที่ความสำเร็จ มีความเข้มแข็งและอดทน เพื่อเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตคือ การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปิยสูตร ว่า “หมู่สัตว์ที่เกิดมาแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ หากได้ทำกรรมอันใดไว้คือบุญและบาป บุญและบาปทั้งสองประการนั้นแลเป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปย่อมเป็นของติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วยว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก” ทุกสรรพชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ สักวันหนึ่งย่อมต้องก้าวล่วงสู่จุดสุดท้ายแห่งชีวิตคือความตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น ความตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนตายเราควรจะทำชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองและชาวโลกได้อย่างไร นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายท่านได้พิจารณาเห็นคุณค่าของชีวิต จึงพากเพียรพยายามสั่งสมแต่กัลยาณธรรม สร้างคุณงามความดีไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อยังประโยชน์สุขในปัจจุบันและในภพเบื้องหน้าให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง เพราะท่านรู้ว่าบุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของชีวิตในปรโลก จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับบุญในตัว บุญกุศลที่เราได้ทำไว้จะเป็นเสมือนเงาติดตามตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง และความดีที่เราได้ทำก็ยังเป็นแบบอย่างอันดีงามให้อนุชนรุ่นหลังได้ประพฤติปฏิบัติตามอีกด้วย เหมือนดังเรื่องของพระปิลินทวัจฉเถระ ผู้ได้ถวายไทยธรรมแด่ภิกษุสงฆ์แสนรูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอดชีวิตของท่านนั้นเป็นชีวิตที่งดงามด้วยบุญกุศลล้วนๆ ท่านได้ถวายไทยธรรมเป็นจำนวนมากถึง ๑๐๘ ชนิดด้วยกัน ไทยธรรมแต่ละชนิดที่ท่านได้ถวายก็มีอานิสงส์แตกต่างกันออกไป เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง หลวงพ่อจึงขอนำอานิสงส์ที่ท่านได้ถวายไทยธรรมชนิดต่างๆ มาเล่าไว้ เพื่อเป็นกำลังใจแก่นักสร้างบารมีทุกๆ ท่าน ณ …

พระปิลินทวัจฉะ (๒) Read More »

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑)

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑) ธรรมดาของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แม้แต่ตัวของเราก็ต้องเสื่อมไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น เราไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต ควรมองให้เห็นโทษของความเสื่อมในตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งยังตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา มีเกิดแก่เจ็บตาย เมื่อเราเข้าใจวงจรของชีวิตอย่างนี้ เราจะได้คลายจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนบุคคล แล้วมุ่งแสวงหาหนทางหลุดพ้นไปสู่อายตนนิพพาน ที่ไม่มีชราและมรณะ เป็นอมตะ มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน สามัญญผลสูตร ว่า “จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ภิกษุผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุขในทิศทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่หงุดหงิด สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว เทียวไปคนเดียวดังนอแรด” ความสันโดษเป็นทรัพย์อันประเสริฐ เป็นทางมาแห่งความสุขกายสบายใจ คนส่วนใหญ่ที่มีความทุกข์อยู่ เพราะไม่รู้จักพอ มีแล้วอยากมีอีก เหมือนแม่น้ำ แม้มีมากมายหลายสาย ก็ไม่สามารถทำให้มหาสมุทรเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ได้ แต่ถ้ารู้จักยินดีในสิ่งที่ได้มา พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ก็เหมือนกับน้ำเพียงเล็กน้อยที่ทำให้แก้วน้ำเต็มบริบูรณ์ได้ ในทำนองเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองแม้มีอยู่จำนวนไม่มาก …

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑) Read More »