ธรรมะเพื่อประชาชน

วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาปราสาท)

วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาปราสาท) บนเส้นทางของการสร้างบารมี เพื่อจะก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางคือ อายตนนิพพานนั้น เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปข้องเกี่ยวกับคน สัตว์ และสิ่งของ แต่ถ้าหากเราหมั่นตอกยํ้าเป้าหมายให้มั่นคง มีอุดมการณ์ และมโนปณิธานที่ชัดเจน เราจะไม่ไปหลงมัวเมายึดติดในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ไม่หลงใหลในเบญจกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่จะทำให้เราเหินห่างจากหนทางการสร้างบารมี การปฏิบัติธรรมเป็นการฝึกฝนอบรมใจของเราให้หยุดให้นิ่ง เป็นวิธีการที่จะกลั่นใจให้ใส สะอาด บริสุทธิ์ ใจที่ผ่องใสจะทำให้เรามองเห็นชีวิตไปตามความเป็นจริง และหากรู้เช่นนี้ เราจะได้ทุ่มเทสร้างบารมีกันอย่างเต็มที่ จนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางคือ อายตนนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน มหาปนาทชาดก ว่า “ปนาโท นาม โส ราชา      ยสฺส ยูโป สุวณฺณิโย ติริยํ โสฬสุพฺเพโธ          อุจฺจมาหุ สหสฺสธา สหสฺสกณฺโฑ สตเคณฺฑุ    ธชาลุ หริตามโย …

วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาปราสาท) Read More »

เมณฑกเศรษฐี ผู้ใจบุญ (๒)

เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๒) การที่โลกของเราดำรงอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะการให้ คือยิ่งให้ก็ยิ่งได้ ยิ่งให้คุณธรรมจะยิ่งเพิ่มพูน การให้เป็นการสร้างความดีที่ง่ายที่สุด และส่งผลดีให้กับชีวิตอย่างมากมายมหาศาล จะทำให้เป็นผู้มีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ ประสบแต่ความสุขความสำเร็จตลอดไป การให้ที่จะให้ได้ผลเต็มที่นั้น  ผู้ให้ต้องเอาชนะใจตนเองให้ได้เสียก่อน ต้องขจัดความตระหนี่ออกจากใจ แล้วให้ด้วยความปลื้มปีติยินดี มีใจเลื่อมใส มีความบริสุทธิ์ใจ ทั้งเวลาก่อนจะให้ ขณะให้ และหลังจากให้ก็หมั่นตามระลึกนึกถึงบุญ บุญนั้นจะไปดึงดูดมหาสมบัติ และชำระใจให้ผ่องใส ใจที่ผ่องใสเท่านั้นเป็นใจที่เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิภาวนา ทำให้เราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน และความสุขที่แท้จริงได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมทานสูตร ว่า “อทนฺตทมนํ ทานํ         อทานํ ทนฺตทูสกํ การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว” ผู้ที่รักในการฝึกฝนอบรมตนเองอย่างแท้จริง จะต้องมีการเริ่มต้นที่การฝึกจิตกันก่อน เพราะการฝึกจิตเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และสามารถนำความสุขมาให้ โดยเฉพาะความสุขที่เกิดจากการได้บรรลุมรรคผลในขั้นต่างๆ การฝึกจิตให้มีคุณภาพสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การนั่งสมาธิเจริญภาวนา การรักษาศีลให้สะอาดบริสุทธิ์ และการให้ทานซึ่งถือว่าเป็นการฝึกจิตอีกวิธีหนึ่ง เป็นก้าวแรกของการพัฒนาจิตอย่างแท้จริง เป็นการฝึกฝนใจให้ปลอดจากความโลภนั่นเอง ตามปกติแล้ว มนุษย์จะมีความโลภ ความอยากได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น เมื่อเริ่มฝึกจิตด้วยการให้ ใจจะขยายออกไป …

เมณฑกเศรษฐี ผู้ใจบุญ (๒) Read More »

วิสาขามหาอุบาสิกา (ผู้ถึงฝั่งนิพพาน)

วิสาขามหาอุบาสิกา (ผู้ถึงฝั่งนิพพาน) พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ เป็นอานุภาพที่ไม่มีประมาณ เพราะเป็นอจินไตย อยู่เหนือวิสัยของผู้ที่ใจยังไม่หยุด ซึ่งจะให้เข้าใจด้วยการนึกคิดตามหลักตรรกวิทยา หรือศาสตร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นศาสตร์เฉพาะของผู้รู้แจ้งเท่านั้น ผู้ที่ทำจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย มักจะพบกับอานุภาพของพระรัตนตรัยอยู่เสมอ พบแต่เรื่องอัศจรรย์จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา และหากใจเราหยุดนิ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัย เราจะมีความบริสุทธิ์ และมีอานุภาพตามไปด้วย เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะยิ่งใหญ่หรือเทียบเท่าพระรัตนตรัยได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อัยยิกาสูตร ว่า “สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ     มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ยถากมฺมํ คมิสฺสนฺติ         ปุญฺญปาปผลูปคา นิรยํ ปาปกมฺมนฺตา          ปุญฺญกมฺมา จ สุคตึ ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณํ       นิจยํ สมฺปรายิกํ ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ   …

วิสาขามหาอุบาสิกา (ผู้ถึงฝั่งนิพพาน) Read More »

สามเณรนิโครธ (๓)

สามเณรนิโครธ (๓) การดำเนินชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยในสังสารวัฏ เราจะต้องรู้ว่าสิ่งไหนเป็นบุญ สิ่งไหนเป็นบาปอกุศล แล้วดำรงตนให้อยู่ในเส้นทางแห่งบุญ เส้นทางแห่งความดี เพราะถ้าไม่รู้ในสิ่งเหล่านี้แล้ว จะทำให้เราพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล ทำให้ชีวิตมัวหมองได้ เมื่อไม่รู้ก็ต้องแสวงหาผู้รู้ เข้าไปสอบถามในสิ่งที่สงสัย ที่สำคัญต้องหมั่นเข้าไปหาผู้รู้ภายในคือพระธรรมกาย ด้วยวิธีการหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แสวงหาความรู้แจ้งที่เกิดจากปัญญาอันบริสุทธิ์ แล้วเราจะเข้าถึงผู้รู้แจ้งเห็นแจ้งภายใน และจะได้แนวทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน กุลสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปหาสกุลใด มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ คือ สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล จิตของพวกมนุษย์ ย่อมเลื่อมใส สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์ สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ พากันลุกต้อนรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสกุลสูง สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปสู่สกุล พวกมนุษย์ย่อมกำจัดมลทินคือความตระหนี่ สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติปฏิปทาที่ทำตน ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปสู่สกุล …

สามเณรนิโครธ (๓) Read More »

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๑)

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๑) คนเราทุกๆ คน ล้วนมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตในภพชาติปัจจุบันและชีวิตในสัมปรายภพ ตลอดจนกระทั่งชีวิตในสังสารวัฏ จึงพากันแสวงหาบุคคลที่จะเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้แก่ตนเอง แม้ว่าเราจะมีความพยายามแสวงหา แต่ถ้ายังไม่พบกัลยาณมิตรผู้เป็นต้นบุญต้นแบบ เราจะดำเนินชีวิตผิดพลาดประมาทอยู่เสมอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด  ฉะนั้น การได้พบกัลยาณมิตรมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น จึงถือว่าเป็นอุดมมงคลอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวที่แท้จริงของชีวิต เช่น อยากรู้ว่าเกิดมาจากไหน มาทำไม  อะไรคือเป้าหมายของชีวิต อะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด เมื่อเกิดคำถามก็จะทำให้แสวงหาคำตอบ ทำให้เราแสวงหาเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดำเนินชีวิตอยู่เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ มุ่งตรงต่อหนทางของพระนิพพานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีเถรีวาทะอันเป็นอมตวาจาที่ปรากฏใน เถรีคาถา ความว่า “ในที่ใด ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน” ในทุกโลกธาตุ ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนมีพื้นฐานของชีวิตเหมือนกัน คือ ต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ไม่มีที่ใดเลยที่จะพ้นจากวัฏจักรอันเวียนวนนี้ไปได้ ยกเว้นที่แห่งเดียวเท่านั้นที่ไม่มีความแก่ ความเจ็บหรือความตาย ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั่นเป็นอสังขตสถานคือ สถานที่ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ บริสุทธิ์ล้วนๆ ด้วยธรรมธาตุอันเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ที่นั้นผู้รู้เรียกกันว่า …

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๑) Read More »

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๒)

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๒) สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีเวลาที่เสียไป ๒๔ ชั่วโมงเท่ากัน แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาไม่เท่ากัน บางคนได้บุญเพิ่ม บางคนได้บาปอกุศลเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน  ฉะนั้น การที่เรามีความคิดว่า จะต้องมีชีวิตอยู่อีกยาวนานนั่นเป็นสิ่งที่เราคิดเอาเอง เพราะในความเป็นจริงแล้ว อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เราจะเดินทางออกจากร่างกายนี้เมื่อไรก็ไม่รู้ ชีวิตในโลกนี้ไม่สั้นนิดเดียว แต่ชีวิตหลังความตายนั้นยาวนานนัก เราเหลือเวลาอยู่น้อยเต็มที ที่ว่าน้อยนั้นคือน้อยสำหรับการสร้างบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป  เพราะฉะนั้น เราต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่น้อยนี้  สั่งสมความดีความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจให้เต็มที่ มีวาระพระบาลีที่พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ใน พราหมณ์วรรค ว่า “ยสฺส กาเยน วาจาย   มนสา นตฺถิ ทุกฺกตํ สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ       ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ความชั่วทางกาย วาจา และใจของบุคคลใดไม่มี เราเรียกบุคคลนั้น ผู้สำรวมแล้วโดยฐานะ ๓ ว่า เป็นพราหมณ์” การขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นจากใจเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเราสามารถกำจัดกิเลส ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้ เราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง บริสุทธิ์ทั้งทางกาย …

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๒) Read More »

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๓)

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๓) ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ล้วนถูกบังคับบัญชาด้วยธรรมสามประการคือ กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ จะสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองจิตใจของเรา จะมีการชิงช่วง และช่วงชิงกันอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เราควรจะหวงแหนเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวินาที ให้จิตใจของเราเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ควรไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ควรใช้เวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันอยู่กับการสร้างบารมี แล้วชีวิตของเราถึงแม้จะเป็นของน้อย แต่จะทรงคุณค่าอย่างมหาศาล เป็นเวลาที่จะเป็นไปเพื่อการแสวงหาความบริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นเวลาที่มุ่งแต่แสวงหาพระรัตนตรัยภายใน เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะเลิศไปกว่าใจที่บริสุทธิ์ และไม่มีสิ่งใดที่ประเสริฐกว่า การได้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน มีพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า “อปฺปมายุ มนุสฺสานํ    หิเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว      นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติตน ดุจคนมีศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยูที่จะไม่มาถึงย่อมไม่มี” ชีวิตของเรามีระเบิดเวลาที่พญามัจจุมารตั้งไว้ พร้อมที่จะระเบิดได้ทุกเวลา เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะระเบิดขึ้นเมื่อใด และเมื่อระเบิดเวลาในชีวิตได้ระเบิดขึ้น ถึงเวลานั้นเราได้เตรียมตัวสำหรับการเดินทางไกลไปสู่ปรโลกแล้วหรือยัง ถ้าเราเตรียมตัวไว้ไม่พร้อม เราจะหวาดหวั่นต่อมรณภัยที่มาปรากฏอยู่เฉพาะเบื้องหน้า แต่ถ้าเราได้เตรียมตัวไว้อย่างดีแล้ว ไม่ว่าระเบิดเวลาจะระเบิดขึ้นเวลาไหนช้าหรือเร็ว เราจะไม่สะดุ้งหวาดกลัวต่อพญามัจจุราช …

ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๓) Read More »

เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา

เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา เวลาในโลกนี้แสนสั้น แต่เวลาหลังจากที่ละโลกไปยาวนานมาก นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายท่านมองเห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นทุกข์เห็นโทษในอบายภูมิ และมองเห็นสุขในสุคติภูมิ จึงละชั่วทั้งกาย วาจา และใจ หมั่นสั่งสมบุญกุศลอย่างเต็มที่ ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ชีวิตที่อยู่ในโลกนี้มีคุณค่า และให้ชีวิตในสัมปรายภพมีความปลอดภัย เราทั้งหลายควรดำเนินตามปฏิปทาของบัณฑิตผู้รู้เหล่านั้น ชีวิตเราจะได้ไม่ผิดพลาด ไม่ควรไปยึดติดในคน สัตว์ สิ่งของทั้งหลายในโลกนี้ แม้กระทั่งสังขารร่างกายของเราที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์นี้ เพื่อจะได้มาสร้างบารมีให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต  จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น ควรแสวงหากายภายในที่แท้จริงคือ พระธรรมกาย ซึ่งจะเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงของตัวเราเอง ด้วยการหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำทุกวัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย มหาวรรค ว่า “ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโตติ       กาเมสุ อนเปกฺขินํ คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ   อตาริ โส วิสตฺติกํ เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายเหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้ามพ้นตัณหาไปได้” ปัจจุบันเราอยู่ในยุคสมัยที่กัปกำลังไขลง จากที่เคยมีพุทธพยากรณ์ว่า หลังจากพุทธปรินิพพานแล้วทุกๆ ร้อยปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี …

เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา Read More »

ปฏาจาราภิกษุณีเถรี

ปฏาจาราภิกษุณีเถรี เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี สร้างความดีไปจนกว่าบุญบารมีของเราจะมากพอ ที่จะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่ เมื่อเกิดมาในโลกมนุษย์ พระองค์ก็ทำแต่ความดี สร้างความดีอย่างไม่หยุดยั้ง ไปจนกระทั่งหมดอายุขัย และตลอดระยะเวลานั้น พระองค์ไม่เคยละเลยการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ด้วยการเจริญภาวนา ทรงทำอย่างนี้ทุกภพทุกชาติจนบารมีของพระองค์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นบรมครูของโลก พระบรมศาสดาทรงเปรียบชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า “หยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์อุทัย ย่อมเหือดแห้งหายไป ตั้งอยู่ไม่นาน ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถูกความแก่ ความเจ็บ และความตาย เผาผลาญไป ตั้งอยู่ไม่นาน ฉันนั้น” ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนมีความตายเป็นที่สุด ไม่มีใครเลยที่จะเอาชนะพญามัจจุราชได้ พอแรกลืมตาขึ้นดูโลก ชีวิตก็บ่ายหน้าไปหามฤตยู เหมือนพระอาทิตย์เมื่อโผล่พ้นขอบฟ้า และมุ่งหน้าสู่อัสดง แต่ความสั้นยาวของชีวิตแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เพราะความตายไม่มีเครื่องหมาย  ไม่มีสัญญาณบ่งบอกหรือตักเตือนว่า ชีวิตเราจะดับลงในวันใด เหมือนดวงประทีปตั้งอยู่กลางสายลม  บางคนจบชีวิตลงในวัยเด็ก บางคนจบชีวิตลงในวัยหนุ่มสาว บางคนจบชีวิตในวัยชรา เพราะฉะนั้น เราจึงต้องหมั่นเตือนสติตัวเราเองบ่อยๆ เพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต จงมองสังขารร่างกาย เหมือนหยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้าที่ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ในไม่ช้าก็ต้องเหือดแห้งไป  ชีวิตเราต้องเสื่อมสลายไปในที่สุดเช่นนั้น เราเองก็ยังไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร เพราะชีวิตนี้เป็นของน้อยนิด ควรรีบเร่งทำความเพียรสร้างความดีสั่งสมบารมียิ่งๆ ขึ้นไป แล้วชีวิตของเราจะปลอดภัย  …

ปฏาจาราภิกษุณีเถรี Read More »

พระภัททกาปิลานีเถรี

พระภัททกาปิลานีเถรี ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในวัฏสงสาร หากยังเวียนว่ายอยู่ในความมืดมนแห่งทะเลทุกข์ ชีวิตนั้นย่อมต้องทนทุกข์ทรมานอีกยาวนาน ตราบใดที่พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังปรากฏอยู่ ตราบนั้นย่อมมีผู้ได้โอกาสบรรลุธรรม และด้วยความปรารถนาที่จะไปให้ถึงวันแห่งความสำเร็จของชีวิต ผู้ที่มีบุญมีปัญญาจึงรักการสั่งสมบุญบารมี มีมโนปณิธานอันแน่วแน่ ใจจะต้องไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ไม่ว่าชีวิตจะตกอยู่ในภาวะที่เลวร้ายเพียงใด ใจก็ยังมุ่งมั่นต่อเป้าหมายสูงสุดมุ่งมั่นในทางพระนิพพาน เราทั้งหลายโชคดีที่ได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา ให้ใช้โอกาสดีนี้สร้างบารมีกันให้เต็มที่ มีวาระพระบาลีที่กล่าวไว้ใน สัมมาทิฏฐิสูตร ว่า “บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ชอบ กล่าววาจาชอบ การงานชอบ เป็นผู้มีการสดับมาก ได้ทำบุญไว้ในชีวิตอันมีประมาณน้อยนิดในมนุษย์โลกนี้ บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์” การดำเนินชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆมากมาย มีทั้งดีและไม่ดี ทั้งสุขและทุกข์ ประสบการณ์ต่างๆสอนให้แต่ละชีวิตต้องเรียนรู้ในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย แต่ถ้าเรารู้จักดำเนินชีวิต มีความคิด คำพูด และการกระทำที่ดีงาม มีเป้าหมายมั่นคงมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน และหมั่นสั่งสมบุญกุศลอยู่ตลอดแล้ว เส้นทางชีวิตของเราย่อมจะพบกับความสุขความสมหวังอย่างแน่นอน เหมือนพระเถรีภัททกาปิลานี ผู้เป็นพระอรหันตเถรีในครั้งสมัยพุทธกาล ท่านได้เดินข้ามพ้นห้วงแห่งสังสารวัฏแล้ว * ย้อนไปในกัปที่หนึ่งแสนจากภัทรกัปนี้ พระปทุมมุตตระพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติบังเกิดขึ้น ครั้งนั้นในเมืองหงสวดี มีเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ เป็นผู้มีทรัพย์มาก ในชาตินั้นพระเถรีได้เป็นชายาของท่านเศรษฐี บ่อยครั้งที่เศรษฐีพร้อมกับบริวารได้เข้าไปเฝ้าเฉพาะพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีโอกาสฟังธรรมซึ่งเป็นเหตุนำความสุขมาให้ พระบรมศาสดาได้ทรงประกาศแต่งตั้งสาวกองค์หนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศของสาวกผู้กล่าวสรรเสริญธุดงควัตร ท่านเศรษฐีได้ฟังและบังเกิดความเลื่อมใส ได้ถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดระยะเวลา ๗ วัน …

พระภัททกาปิลานีเถรี Read More »

รูปนันทาเถรี

รูปนันทาเถรี ธรรมดาของสรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แม้แต่ชีวิตของเราก็เสื่อมไปตามลำดับ จากวัยทารกไปสู่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน วัยแก่ชรา นั่นเป็นความเสื่อมที่เรามองเห็นได้ เราถูกความเสื่อมครอบงำแล้วนำไปสู่ความตาย คือในที่สุดทุกชีวิตต้องเสื่อมสลายไปสู่ความตายหมด เพราะฉะนั้นเราไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต ควรมองให้เห็นโทษของความเสื่อมนั้น จะได้คลายจากความยึดมั่นถือมั่นในโลกทั้งปวง แล้วแสวงหาหนทางแห่งความหลุดพ้นมุ่งสู่พระนิพพานกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า “อฏฺฐินํ นครํ กตํ          มํสโลหิตเลปนํ ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ          มาโน มกฺโข จ โอหิโต สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะ และการลบหลู่คุณท่าน” ร่างกายของมนุษย์นั้น ถ้าเราใช้ปัญญาที่บริสุทธิ์พิจารณาให้ดีจะเห็นว่า เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ จะหยาบหรือประณีต ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะใจของผู้เป็นเจ้าของ ถ้ามีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ดีงาม …

รูปนันทาเถรี Read More »

พุทธชิโนรส (๒) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๒) บุญคือ ทุกสิ่งของชีวิต เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จ ตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงพระอริยเจ้า บุญเปรียบเสมือนกระแสไฟฟ้าที่สามารถทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทำงานได้ พระนิพพานซึ่งเปรียบเสมือนโรงผลิตกระแสไฟฟ้าที่คอยจ่ายกระแสบุญมาที่ศูนย์กลางกายของมนุษย์ หากมนุษย์คนใดทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้ ก็จะไปเชื่อมกระแสบุญกับพระนิพพาน เมื่อบุญในตัวเกิด บุญนี้จะไปดึงดูดสมบัติอันเลิศในเมืองมนุษย์ ให้เราได้ใช้สร้างบารมี ปรารถนาสิ่งใดจะสมความปรารถนา ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ยิ่งถ้าเราเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ใจจะชุ่มอยู่ในอู่แห่งทะเลบุญ จะดึงดูดสมบัติมาทั้งหยาบและละเอียด ทำให้เราได้สมปรารถนาในทุกสิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน คาถาธรรมบท ว่า “ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา   เวรี วา ปน เวรินํ มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ      ปาปิโย นํ ตโต กเร จิตซึ่งบุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำบุคคลนั้น ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศเสียหาย ที่โจรเห็นโจร หรือคนจองเวรเห็นคนจองเวรทำแก่กันนั้นเสียอีก” การเดินทางไกลในสังสารวัฏ เราจำเป็นที่จะต้องตั้งเป้าหมายให้ถูกต้องและชัดเจน เพราะเป้าหมายที่ผิดพลาดหมายถึง การสูญเสียเวลาและโอกาสในสร้างบารมี โจรหรือบุคคลผู้ไม่ปรารถนาดีต่อกัน จะประสงค์ร้ายหรือทำร้ายกัน อย่างมากก็แค่ให้ถึงแก่ชีวิตในภพชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่เป้าหมายที่บุคคลตั้งไว้ผิด ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายข้ามภพข้ามชาติ …

พุทธชิโนรส (๒) – พระราหุลเถระ Read More »

กิสาโคตมีเถรี

กิสาโคตมีเถรี เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพื่อแสวงหาสิ่งที่จะทำให้ใจเราสะอาดบริสุทธิ์ที่สุด บริสุทธิ์จนกระทั่งพบกับตัวตนที่แท้จริง ที่มั่นคงที่สุด และมีความสุขที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าพระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด ซึ่งอยู่ในตัวของเรา ในระดับที่ละเอียดลุ่มลึกเข้าไปเป็นลำดับ เป็นธรรมที่สงบ ละเอียด ประณีต เป็นธรรมะลึกซึ้ง เราจะนึกคิดหรือคาดคะเนเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง หากเมื่อใดที่เราสามารถปรับใจที่หยาบให้ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ เข้าถึงแหล่งของสติ แหล่งของปัญญา เมื่อนั้นเราย่อมรู้เห็นธรรมทั้งหลายไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ     พฺยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว     มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูก และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลไปฉะนั้น” หากเราพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ล้วนมีความไม่เที่ยง แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แล้วสูญสลายไปในที่สุด ความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา สืบเนื่องติดต่อกันจนเราสังเกตไม่ออก จะเป็นความงดงามของร่างกายก็เสื่อม สติปัญญาก็เสื่อม ความแจ่มใสของดวงตาก็เสื่อม …

กิสาโคตมีเถรี Read More »

พุทธชิโนรส (๓) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๓) เวลาเป็นสิ่งที่เราควรหวงแหนไว้ เพราะเรามีเวลาที่จะอยู่บนโลกนี้อย่างจำกัด การเสียเวลาของชีวิตจึงเป็นการสูญเสียสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง เวลาที่เราเสียไปแล้วจะเอาทรัพย์นับพันล้านมาแลกกลับคืนมาก็ไม่ได้ และเมื่อเวลาผ่านไปก็ได้นำความแก่ ความเจ็บ และความตายมาให้ นั่นหมายถึงโอกาสและเวลาในการสร้างบารมีของเราเหลือน้อยลงแล้ว ดังนั้น เวลาจึงหมายถึงชีวิต หมดเวลาคือหมดชีวิต เราเองไม่รู้ว่าเราจะเหลือเวลาอีกเท่าไร มากหรือน้อยขนาดไหน เพราะความตายนั้นไม่มีนิมิตหมาย ดังนั้น เมื่อเรารู้อย่างนี้ จึงควรใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่น้อยนี้ ในการแสวงหาหนทางพระนิพพาน ด้วยการทำใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในให้ได้ เราจะได้ชื่อว่าเกิดมาใช้เวลาได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง มีวาระพระบาลีที่ตรัสไว้ใน จิตตวรรค คาถาธรรมบท ว่า “น ตํ มาตา ปิตา กยิรา    อญฺเญ วา จ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ        เสยฺยโส นํ ตโต กเรฯ มารดาบิดาหรือว่าหมู่ญาติทั้งหลาย ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ พึงทำบุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น” มารดาบิดาหรือหมู่ญาติ ให้การเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้การศึกษา ให้ทรัพย์สมบัติ เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตในปัจจุบันชาติได้อย่างสบาย แต่ไม่มีมารดาบิดาคนใดในยุคปัจจุบันนี้ …

พุทธชิโนรส (๓) – พระราหุลเถระ Read More »

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม)

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม) ตถาคต คือ ธรรมกาย ตถาคตเป็นชื่อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่เราระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จะทำให้ใจเราผูกพันกับพระพุทธองค์ ใจจะบริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าเรานึกถึงท่านตลอดเวลา ดวงจิตจะถูกปรับปรุงให้บริสุทธิ์ขึ้น ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ใจยิ่งมีอานุภาพ ความบริสุทธิ์เป็นทางมาแห่งมหากุศล จะบริสุทธิ์ได้ใจต้องหยุดนิ่ง เพราะฉะนั้น การทำภาวนาจึงเป็นการชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ที่ดีที่สุด พระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สามัญญผลสูตร ว่า “ผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้” ที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ๓ อย่างนี้เท่านั้นที่เราพึ่งแล้วสามารถพ้นจากทุกข์ได้ ถ้าเราหมั่นระลึกถึงท่านอยู่เสมอ ใจเราจะสะอาดบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น จะเป็นเหตุให้ใจเราละเอียดอ่อน และเข้าถึงพระรัตนตรัย และเมื่อเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง เราจะรู้เห็นไปตามความเป็นจริงที่เรียกว่า อริยสัจ เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ซึ่งเป็นปัญญาที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระพุทธหรือพุทธรัตนะมีลักษณะเป็นกายแก้ว สมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษทุกประการ ประทับนั่งขัดสมาธิคู้บังลังก์อยู่ในกลางตัวของเราทุกคน เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน พระธรรมหรือธรรมรัตนะเป็นดวงธรรมใสสว่างอยู่กลางพุทธรัตนะ พระสงฆ์หรือสังฆรัตนะเป็นกายธรรมที่ละเอียดซ้อนอยู่ในกลางธรรมรัตนะ  รัตนะทั้ง …

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม) Read More »