ธรรมะเพื่อประชาชน

พระนันทกเถระ (๒)

พระนันทกเถระ (๒) สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมา ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย สิ่งที่จะเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิต ให้อนุชนรุ่นหลังได้อนุโมทนาคือ บุญกุศล และคุณงามความดีที่ได้สั่งสมไว้อย่างดีแล้วเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ควรใช้วันเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ สร้างบารมีกันให้เต็มที่ หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ สั่งสมความบริสุทธิ์ สั่งสมบุญกุศล ซึ่งจะเป็นเพื่อนแท้ในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ เราจะได้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เข้าถึงเอกันตบรมสุขคือ สุขที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ ภิกฺขุโนวาทานํ ยทิทํ ภิกฺขเว นนฺทโก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา พระนันทกะเป็นเลิศทางด้านให้โอวาทแก่ภิกษุณีสงฆ์” การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะได้รับตำแหน่งใหญ่โต หรือได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านต่างๆ แสดงว่าได้ประกอบเหตุไว้ดี ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เหมือนอย่างท่านพระนันทกเถระ ที่ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเลิศในด้านให้โอวาทแก่ภิกษุณีสงฆ์ เพราะท่านได้เคยทำบุญใหญ่ไว้ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถวายมหาสังฆทานแด่ภิกษุสงฆ์ถึง ๑ แสนรูป เป็นเวลา ๗ วัน เมื่อทุ่มเทเต็มที่อย่างนี้ ครั้นเอ่ยปากขอพรจากพระพุทธองค์ว่า …

พระนันทกเถระ (๒) Read More »

อัครสาวก ซ้าย-ขวา

อัครสาวก ซ้าย-ขวา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาเอกของโลก ไม่มีใครทั้งในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกและพรหมโลกที่จะยอดเยี่ยมกว่าพระองค์ได้ ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ความรู้ทั้งหมดที่พระองค์ทรงนำมาแสดงนั้นกลั่นออกมาจากกลางของพระธรรมกาย ซึ่งเกิดจากการได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ เป็นไปเพื่อความขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธโอวาท จึงเป็นผู้ดำเนินชีวิตไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นตามพระองค์ไปด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร” ชีวิตเราจะมีสาระหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่ที่การปฏิบัติตน ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นมา และปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มตั้งแต่ความเห็นถูกเรื่อยไปจนถึงทำสมาธิถูกต้อง รวมทั้งไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจ การดำเนินชีวิตอย่างนี้นับว่าเป็นชีวิตที่มีคุณค่าสมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วได้ทำความดีได้สร้างบารมี บุญบารมีก็เพิ่มขึ้น สิ่งใดที่ไม่ดีเป็นบาปอกุศล เราก็ลด ละ เลิกเสีย อะไรที่เป็นข้อบกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สิ่งใดที่ไม่เป็นสาระก็เลิกทำ ทำแต่สิ่งที่เป็นสาระ เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นสาระแก่นสารของชีวิต ก็ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง  ไม่อาศัยทิฐิมานะที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญขึ้นได้ ควรเปิดใจให้กว้างเพื่อรับสิ่งที่ดีงามเข้ามาในชีวิต ไม่หลงติดอยู่กับการปฏิบัติผิดๆ …

อัครสาวก ซ้าย-ขวา Read More »

พระโปฐิลเถระ

พระโปฐิลเถระ ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา เป็นความรู้ที่นำไปสู่การรู้แจ้ง มีความละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการคาดคะเน จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่ลงมือปฏิบัติเท่านั้น เป็นของเฉพาะตน ผู้ที่ได้บรรลุจะรู้เห็นเอง เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นเพียงผู้ชี้แนะหนทาง หากเราตั้งใจปฏิบัติกันจริงๆ และปฏิบัติอย่างถูกวิธี เราย่อมเข้าถึงธรรมอย่างแน่นอน เนื่องจากธรรมทั้งหลายมีอยู่ภายในตัวของทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นหรือสมมติขึ้นมาเอง แต่เป็นของที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก ซึ่งจะเข้าถึงได้ต่อเมื่อทำใจให้หยุดนิ่งเท่านั้น และการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ชีวิตของเราจะดำเนินไปในทางแห่งความสุข ทางที่ถูกต้องดีงาม และปลอดภัยเสมอ พระบรมศาสดาตรัสเรื่องกิจที่ต้องทำในทางพุทธศาสนาไว้ ๒ ประการว่า “การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ  เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ” วิชาความรู้ในทางพระพุทธศาสนา เป็นความรู้ที่นำไปสู่การเห็นแจ้งภายใน ยิ่งเรียนก็ยิ่งมีความสุข อยากเพิ่มพูนความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจให้มากยิ่งขึ้น ผู้ได้ศึกษาคำสอนของพระบรมศาสดา นับว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐ เพราะความรู้นี้ไม่ใช่เกิดจากการวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ หรือทดลองได้ผลระดับหนึ่ง แล้วนำมาเขียนเป็นตำรับตำราสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา แต่เป็นคำสอนที่เกิดจากการรู้แจ้งเห็นจริงที่เรียกว่า เกิดจากการตรัสรู้ธรรม เป็นความรู้ที่หลั่งไหลมาจากกลางพระธรรมกายอรหัตของพระพุทธองค์ เป็นความรู้ที่คู่กับความสุข และความบริสุทธิ์  ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาจึงเหมือนกับได้เข้าไปนั่งใกล้พระพุทธองค์ นั่งใกล้พระรัตนตรัย …

พระโปฐิลเถระ Read More »

พระมหากัสสปเถระ (๑)

พระมหากัสสปเถระ (๑) เวลาแห่งการประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นเวลาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเราจะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสัจธรรมที่นำพาชีวิตให้เข้าถึงความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในกระแสแห่งความทุกข์อีกต่อไป  ดังนั้น เวลาที่เราได้ฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่งนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดต่อตัวของเราเอง เมื่อเรารักตัวเองห่วงใยตัวเอง ก็ควรทำตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ มุ่งแสวงหาความสุข แสวงหาสาระที่แท้จริงของชีวิต คือพระรัตนตรัยภายในตัวให้ได้เร็วที่สุด ชีวิตเราจะได้ปลอดภัยทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพุทธพจน์ใน อิฏฐสูตร ว่า “ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ” ความหวังและความปรารถนาทั้งมวลจะกลายเป็นจริงได้ ต้องอาศัยบุญช่วย ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากให้มีอยากให้เป็นนั้น ลำพังการสวดอ้อนวอนอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้ความปรารถนาของเราสำเร็จได้เลย ต้องประกอบเหตุคือทำบุญไว้ เพราะบุญเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทุกอย่าง ผลบุญที่ได้ทำไว้อย่างดีแล้วในอดีต จะส่งผลเป็นความสุขในปัจจุบัน เมื่ออยากให้ปัจจุบันเป็นอดีตที่ดีของอนาคต ต้องหมั่นสั่งสมบุญไว้ให้มากๆ เพราะฉะนั้น เมื่ออธิษฐานจิต คิดปรารถนาสิ่งใดๆ ไว้ ต้องทุ่มเทสั่งสมบุญควบคู่กันไปด้วย เหมือนเรื่องราวการสร้างบารมีของพระมหากัสสปเถระ ผู้ปรารถนาอยากได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พร้อมกับให้ได้ความเป็นเลิศในหมู่ภิกษุสงฆ์ผู้ทรงธุดงค์คุณ ๑๓ ท่านได้ทุ่มเทสร้างบุญทุกอย่างเพื่อต่อเติมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ให้กลายเป็นจริง …

พระมหากัสสปเถระ (๑) Read More »

พระมหากัสสปเถระ (๒)

พระมหากัสสปเถระ (๒) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์ สร้างบารมีเพื่อแสวงหาหนทางพระนิพพานอยู่นั้น ตลอดชีวิตของท่านก็ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนให้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ และก็ทำแต่ความดีเรื่อยไปจนกระทั่งหมดอายุขัย และตลอดระยะเวลาแห่งการสร้างบารมี ท่านไม่เคยละเลยต่อการฝึกฝนอบรมใจ ทรงทำอย่างนี้ทุกภพทุกชาติ จนบารมีของท่านเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบรมครูของเรา สั่งสอนสัตว์โลกให้เข้าถึงธรรมตามพระองค์ไปด้วย  ดังนั้น เราควรหมั่นฝึกใจให้หยุดนิ่งกันเป็นประจำสมํ่าเสมอ จะได้เข้าถึงพระธรรมกายภายในกันทุกๆ คน ท่านกล่าวพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน มหากัสสปเถราปทาน ไว้ว่า * “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยกรรมอันนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น ไม่ได้ปรารถนาสมบัติของท้าวสักกะจอมเทพ มารสมบัติ และพรหมสมบัติ  ก็กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์คุณ ๑๓ ด้วยเถิด” นี้เป็นคำอธิษฐานของพระมหากัสสปเถระ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเลิศในด้านทรงธุดงค์คุณทั้ง ๑๓ ประการ ซึ่งท่านได้อธิษฐานจิตไว้เมื่อแสนกัปที่แล้ว พอล่วงกาลผ่านมาถึงยุคสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ความปรารถนาของท่านก็เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญที่ฉายแสงเรืองรองสว่างไสวในยามรัตติกาล ท่านได้เป็นผู้ที่พระบรมศาสดาทรงยกย่องว่ามีคุณธรรมเสมอกับพระพุทธองค์ ตามตำราได้บันทึกไว้ว่า พระเถระสามารถครองสังฆาฏิผืนเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ ภิกษุสงฆ์ทั่วไปไม่สามารถครองสังฆาฏิของพระพุทธเจ้าได้ เพราะไม่สามารถรองรับคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ได้  แต่ท่านพระมหากัสสปเถระสามารถใช้สอย …

พระมหากัสสปเถระ (๒) Read More »

พุทธชิโนรส (๑) – พระราหุลเถระ

พุทธชิโนรส (๑) คนส่วนใหญ่มักมองเห็นความทุกข์เป็นความสุข เห็นสิ่งที่ไร้สาระว่าเป็นสาระ เป็นกำไรของชีวิต ทั้งๆ ที่ความจริงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นการขาดทุนชีวิตทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก  ดังนั้น เมื่อเราได้กายมนุษย์ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทุนมาแล้ว อยู่ที่ว่าใครจะใช้ชีวิตนี้ได้คุ้มค่ามากกว่ากัน จะกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของเรา  เพราะฉะนั้น ผู้รู้ทั้งหลายต่างก็หมั่นสั่งสมบุญกุศลกันอย่างเต็มที่ บุญกุศลที่เพิ่มขึ้น บารมีที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ชื่อว่า เป็นกำไรชีวิตอย่างแท้จริง โดยเฉพาะถ้าเราเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในได้ มีที่พึ่งที่ระลึกภายใน ชีวิตจะปลอดภัย และชื่อว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ของชีวิต เป็นกำไรชีวิตที่คุ้มค่ายิ่งกว่ากำไรทั้งปวง มีพระโบราณาจารย์ ได้สอนการอธิษฐานจิตไว้ว่า “สุทินฺนํ วต เม ทานํ อาสวกฺขยาวหํ นิพฺพานํ โหตุ ขอทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงนำไปสู่พระนิพพานอันสูญสิ้นกิเลสอาสวะ” โบราณาจารย์ทั้งหลาย ท่านมักจะสอนว่าเวลาที่เราทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นบุญที่เกิดจากให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาก็ตาม อย่าลืมอธิษฐานจิตกำกับไว้เพื่อเป็นแผนผังชีวิตในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ ส่วนการอธิษฐานนั้น คำอธิษฐานจะต้องมีคำว่า ขอให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน หรือให้เป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นอกนั้นเป็นคำอธิษฐานที่รองลงมา การอธิษฐานจิตไว้ผิดจะทำให้ชีวิตมืดมน เหมือนเรื่องในอดีตชาติของพระราหุลเถระ * ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ประมาณหนึ่งแสนกัปจากภัทรกัปนี้ พระราหุลท่านเคยเกิดเป็นบุตรของคฤหบดีเช่นเดียวกับพระรัฐบาลเถระ ในเมืองหงสาวดี เมื่อบิดาของท่านล่วงลับไปแล้ว …

พุทธชิโนรส (๑) – พระราหุลเถระ Read More »

พระวนวัจฉะ ผู้อยู่ในป่า

พระวนวัจฉะผู้อยู่ในป่า ความเชื่อทุกความเชื่อ จะได้รับการกลั่นกรองว่าถูกต้องหรือไม่ และชาวโลกจะได้ประจักษ์ก็ต่อเมื่อทุกคนได้เข้าถึงพระธรรมกาย เพราะพระธรรมกายสามารถพิสูจน์ความเชื่อทั้งหลาย เนื่องจากมีธรรมจักษุ และญาณทัสสนะ จึงสามารถรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในนิพพาน ภพสาม โลกันต์ เมื่อเรายังไม่รู้ว่าอะไรคือความเชื่อที่ถูกต้องสมบูรณ์ เราควรจะวางความเชื่อไว้บนหิ้ง แล้วมาพิสูจน์ความจริงกันจะดีกว่า พิสูจน์ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาให้เกิดภาวนามยปัญญา ความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง ไม่ใช่เกิดจากกการฟังหรือการคิด ฉะนั้นเมื่อเรามีบุญได้เกิดมาเป็นมนุษย์ สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ การจะเข้าถึงได้นั้น ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนา และสร้างบุญกุศลคุณงามความดีให้มาก ๆ เมื่อบุญเราเต็มเปี่ยม สักวันหนึ่งเราจะเข้าถึงพระธรรมกายกันได้อย่างแน่นอน มีวาระแห่งธรรมภาษิตที่ปรากฏใน ขุททกนิกาย อปทาน ความว่า “ความเสวยอารมณ์เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เช่นเป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี เมื่อเบื่อหน่ายในความเสวยอารมณ์นั้น ย่อมคลายความกำหนัด เมื่อคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พระอริยสาวกย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป” เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องราวที่สำคัญต่อทุกชีวิต เราจำเป็นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ไม่รู้แล้วไม่ปลอดภัย เมื่อเรารู้ก็ต้องเลือกเอาเฉพาะหนทางที่ปลอดภัย ซึ่งเราต้องศึกษาว่า ควรที่จะดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด เรามีโอกาสที่ดีกว่าคนอื่นอีกนับหมื่นนับแสนนับล้านคน เพราะมีผู้ยังไม่รู้เรื่องราวของชีวิตอีกมาก หากเราหมั่นปฏิบัติธรรมจนสามารถเข้าถึงพระธรรมกายที่ชัดใสสว่าง ความทุกข์ …

พระวนวัจฉะ ผู้อยู่ในป่า Read More »

พระอานนท์พุทธอนุชา

พระอานนท์พุทธอนุชา พวกเราทั้งหลายเกิดมาได้อัตภาพเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐแล้ว เพราะการได้อัตภาพเป็นมนุษย์นี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากอย่างยิ่ง ต้องสั่งสมบุญบารมีกันมามากมาย แต่สิ่งที่สรรพสัตว์ได้มาโดยยากนี้ เราก็ได้สิ่งนั้นมาแล้ว โดยเฉพาะพวกเราได้โอกาสในการสั่งสมบุญและฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เพื่อทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง นับว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ เนื่องจากการสร้างบารมีในเพศภาวะของมนุษย์ที่ทำได้ดีที่สุด แม้จะดูว่าเป็นเรื่องที่ยาก บางครั้งมีอุปสรรคมากมายเกิดขึ้น แต่ก็ง่ายกว่าอัตภาพอื่นมากมายนัก เพราะฉะนั้น เมื่อโอกาสดีนี้มาถึงแล้ว เราควรจะเร่งรีบสั่งสมบุญกันให้เต็มที่ และหมั่นฝึกใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง จะได้เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของพวกเราทุกๆ คน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า “สหาโย อตฺถชาตสฺส   โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ สยํ กตานิ ปุญญานิ    ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ สหาย เป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อยๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำไว้ดีแล้ว จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ” เวลาเรามาเกิด เราไม่ได้นำอะไรติดตัวมาแม้แต่ชิ้นเดียว มากันตัวเปล่า มีเพียงบุญและบาปเท่านั้นที่ติดตามตัวเรามา บุญจะปรุงแต่งให้เรามีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง ให้เราได้รูปสมบัติ มีรูปกายที่งดงามแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยไข้ หรือเกิดมาก็มีมหาสมบัติรอคอยอยู่ ไม่ต้องลำบากในการทำมาหากิน มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แตกฉานทั้งทางโลกและทางธรรม …

พระอานนท์พุทธอนุชา Read More »

พระภัททิยเถระ

พระภัททิยะเถระ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนที่ดีควรตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดา เพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิต ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ บรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อใดที่เราปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี เมื่อนั้นเราจะเห็นผลของการปฏิบัติได้ทันที โดยไม่ต้องไปรอคอยผลในภพชาติหน้า ถ้าหากเราพบอุปสรรคในขณะที่กำลังทำความเพียร หรือสร้างความดี ขออย่าท้อแท้หรือสิ้นหวัง เพราะอุปสรรคเป็นเพียงเครื่องทดสอบกำลังใจของเราเท่านั้น เราจะมีกำลังใจไม่สิ้นสุด ต่อเมื่อได้นำใจมาหยุดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพราะตรงนี้เป็นต้นแหล่งของพลังแห่งความดี ที่ทำให้ใจของเรามีพลัง ไม่ท้อแท้หรือสิ้นหวัง แต่จะมีกำลังใจที่สูงส่งตลอดเวลา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ว่า “สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา   วิเนยฺย หทเย ทรํ อุปสนฺโต สุขํ เสติ          สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้ ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่อย่างมีความสุข” ทุกชีวิตที่เกิดมาต่างต้องเจอภัยคุกคามรอบด้าน ทั้งอัคคีภัย โจรภัย ราชภัย และภัยทุกชนิด ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ น้ำท่วม แผ่นดินไหว …

พระภัททิยเถระ Read More »

พระสุภูติเถระ

พระสุภูติเถระ ธรรมดาของชีวิตมีการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการดับสลายไปตามลำดับ ชีวิตหลังความตายจึงเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับผู้ที่ไม่ได้สั่งสมบุญไว้ แต่เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีบุญที่ได้สั่งสมไว้อย่างดีแล้ว เพราะการตายเป็นเพียงการเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิใหม่เท่านั้น ผู้เป็นบัณฑิตเห็นว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เลวร้ายอย่างที่คนส่วนใหญ่มักจะทุกข์อกทุกข์ใจ เมื่อมีญาติอันเป็นที่รักได้ละสังขารจากไป การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัย จะเป็นการเพิ่มเติมความมั่นใจในการเดินทางไปสู่สัมปรายภพ เพราะพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันอบอุ่นและปลอดภัย ที่จะนำไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ใน สุภูติเถรคาถา ว่า * “ท่านจงเจริญพุทธานุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้บริบูรณ์ จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมแห่งเทวดาเสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ” การเจริญพุทธานุสติ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มีอานิสงส์ใหญ่ จะส่งผลให้ใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ เกลี้ยงเกลาจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งด้วยพระบริสุทธิคุณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยิ่งด้วยพระปัญญาธิคุณ รู้แจ้งแทงตลอดในภพสาม สัพพัญญุตญาณของพระองค์รู้แจ้งในสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง ไม่มีสิ่งใดมาปิดบังดวงปัญญาอันบริสุทธิ์ของพระองค์ได้ เหมือนเอาผลมะขามป้อมมาวางไว้บนฝ่ามือ ทรงเป็นผู้ยิ่งด้วยพระมหากรุณาธิคุณ มีความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า หวังอยากจะให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารอันยาวไกล การที่เราส่งใจไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนับว่าเป็นการส่งใจไปยังบุคคลผู้เลิศที่สุดของโลกและจักรวาล อานิสงส์อันไพศาลย่อมบังเกิดขึ้นกับตัวของเราเอง มีพระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อว่า …

พระสุภูติเถระ Read More »

พระมหากัจจายนเถระ

พระมหากัจจายนเถระ เวลาในโลกมนุษย์ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน เวลาที่ผ่านไปก็ไม่ผ่านไปเปล่า ได้นำเอาความแก่ชรา ความไม่เที่ยงแห่งสังขารให้เกิดขึ้นกับตัวเรา สำหรับชีวิตของนักสร้างบารมีนั้น ย่อมไม่ปล่อยให้สังขารเสื่อมไปเปล่า แต่เก็บเกี่ยวเอาบุญกุศลไปพร้อมๆ กับเวลาที่สูญเสียไป ยิ่งแก่บารมียิ่งเพิ่มพูน แก่บุญแก่บารมี บุญในตัวก็เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน การใช้ชีวิตให้เป็นไปเพื่อการสร้างบารมีด้วยอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ประมาทการดำเนินชีวิต การเกิดมาของผู้นั้นเป็นการเกิดมาอย่างมีคุณค่า ได้ทำหน้าที่ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ในภพชาตินั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ มีพุทธพจน์บทหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ธรรมบท ว่า “ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา   กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ        สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ ก็ควรทําบุญนั้นให้บ่อยๆ ควรทําความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญเป็นเหตุนําความสุขมาให้” ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งนั้น แล้วมีใครรู้บ้างว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น เกิดจากการสั่งสมบุญอยู่เป็นประจำสมํ่าเสมอ เพราะบุญคือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสําเร็จทั้งปวง ถ้าชาวโลกรู้จักต้นทางแห่งความสุขอย่างนี้ แล้วหันมาสั่งสมบุญให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับกุศลธรรม อกุศลซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์จะไม่เกิดขึ้น เพราะความสุขและความทุกข์ เป็นผลที่เกิดมาจากบุญและบาปที่เราทำไปแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่ออยากมีความสุขก็ต้องสั่งสมบุญ ในทางพุทธศาสนา พระบรมศาสดาของเราทรงสอนวิธีการจะให้ได้พบกับความสมหวังในสิ่งที่ตั้งไว้ว่า …

พระมหากัจจายนเถระ Read More »

พระมหากัปปินเถระ

พระมหากัปปินเถระ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ อย่างนี้เท่านั้น สิ่งที่มนุษย์เราควรจะยึดถือเป็นที่พึ่งที่แท้จริงได้คือ เมื่อเราประสบทุกข์เราก็เข้าไปพึ่งท่านได้ พึ่งท่านแล้วจะมีแต่ความสุข มีสติและปัญญาเกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ และเป็นที่ระลึกอันสูงสุด ควรที่จะระลึกถึงท่านให้ได้อยู่เสมอๆ นึกแล้วจะมีความสุขสดชื่น ใจของเราจะบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ธมฺมปีติ สุขํ เสติ    วิปฺปสนฺเนน เจตสา อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม    สทา รมติ ปณฺฑิโต บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ” มนุษย์ทุกคนในโลกล้วนแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น บ้างก็แสวงหาจากการดื่ม จากการกิน จากการเที่ยว  หรือจากการได้รับของที่ถูกใจ แต่ความสุขเหล่านั้น เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อได้รับแล้วต้องแสวงหากันใหม่อยู่ร่ำไป ถ้าจะเรียกให้ถูก ต้องเรียกว่าเป็นความเพลินมากกว่า แล้วอะไรคือความสุขที่แท้จริง อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไรบ้าง ความสุขที่แท้จริง ต้องเป็นความสุขที่เป็นอมตะ แล้วเป็นความสุขที่เข้าถึงได้ …

พระมหากัปปินเถระ Read More »

พระวักกลิเถระ

พระวักกลิเถระ การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก และการดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ มีจิตใจสูงส่ง มั่นคงในคุณธรรม ดำเนินอยู่บนเส้นทางการสร้างบารมี เส้นทางแห่งอริยมรรคของพระอริยเจ้าให้ได้ตลอดนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ผู้มีบุญมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ มีดวงใจที่ผ่องใสเท่านั้น จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เดินหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องปลอดภัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องสั่งสมบุญให้มากๆ และมีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม และหมั่นนั่งธรรมะทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว ต้องตั้งใจมั่นอย่างนี้ จึงจะพบกับความสุขสวัสดี ได้ที่พึ่งที่ระลึกภายในคือ พระรัตนตรัยกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อนุตตริยสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ ไปดูรัตนะคือช้างบ้าง ไปดูรัตนะคือม้าบ้าง ไปดูรัตนะคือแก้วมณีบ้าง  หรือไปเพื่อเห็นรัตนะสูงต่ำ ไปเพื่อเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าความเห็นนั้นไม่มี ก็แต่ความเห็นนั้นนั่นแล ยังทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต …

พระวักกลิเถระ Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร)

ชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุชัยทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร) โอกาสที่หาได้ยากที่สุดในการสร้างบารมีของสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ โอกาสที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ แม้หมู่สัตว์เหล่าอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ล้วนปรารถนาจะได้เกิดเป็นมนุษย์เช่นพวกเรา เพราะเป็นโอกาสดีโอกาสเดียวที่สามารถสั่งสมบุญบารมีได้อย่างเต็มที่ เมื่อเราได้ในสิ่งที่ได้โดยยากเช่นนี้แล้ว ควรจะต้องใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยต้องรู้จักประคับประคองตัวของเราให้ดำเนินชีวิตอยู่บนเส้นทางแห่งความดี เส้นทางแห่งบุญ ชีวิตจึงจะมีคุณค่า เพราะบุญเท่านั้น ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองตัวของเราให้ปลอดภัยจากภัยทั้งหลาย ทั้งภัยในชีวิต ภัยในอบายและภัยในสังสารวัฏ โดยเฉพาะบุญที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา จะทำให้เส้นทางไปสู่อายตนนิพพานของเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะถึงที่หมายโดยปลอดภัยและรวดเร็ว มีพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “เราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปในสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเรา ถึงวิสังขารคือพระนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้” นี้เป็นพุทธอุทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นปฐมพุทธพจน์ หลังจากชนะพญามารและเหล่าเสนามาร และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อได้เล่าไว้เมื่อคราวที่แล้วว่า เมื่อพญามารยกพลมามืดฟ้ามัวดิน เพื่อแย่งชิงรัตนบัลลังก์ และขัดขวางการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ เทวดาและพรหมทั้งหลายเห็นเช่นนั้น ต่างพากันหวาดกลัว ขนลุกขนพองไปตามๆกัน รีบหลบหนีเอาตัวรอดไป ทิ้งพระโพธิสัตว์ไว้เพียงลำพัง …

ชัยชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร) Read More »

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21-43

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21 หมอชีวกโกมารภัจจ์ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 22 บัณฑิตในสมัยพุทธกาล ๑ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 23 บัณฑิตในสมัยพุทธกาล ๒ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 24 พุทธสาวิกา ภิกษุณี Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 25 พระสูตร ๑ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 26 พระสูตร ๒ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 27 เรื่องกรรม  Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 28 พุทธรัตนะ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 29 อยู่ในธรรมเพราะกัลยาณมิตร Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 30 ผู้รัตตัญญู Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 31 คาถากันยักษ์ …

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21-43 Read More »