๗. ชีวิตสมณะผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร

ชีวิตสมณะ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร

เพื่อความไม่ประมาทในการใช้กายมนุษย์หยาบ ก็ต้องทำให้ถูกวัตถุประสงค์ของชีวิต ตามที่พระอริยเจ้า บัณฑิต นักปราชญ์ เขาดำเนินชีวิตกัน มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นต้นบุญต้นแบบในการดำเนินชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ผ่านชีวิตของการเวียนว่ายตายเกิดมามากพอแล้ว ฝึกฝนอบรมตนพัฒนากายวาจาใจมาตลอด ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง หรือชั้นสูง แล้วก็สรุปสูตรชีวิตว่า เพศบรรพชิตประเสริฐที่สุด มีโอกาสมากกว่าในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สามารถดับทุกข์ได้ พ้นทุกข์ได้ เพราะไม่มีเครื่องพันธนาการของชีวิตมากเท่ากับชีวิตของคฤหัสถ์ มีเครื่องพันธนาการชีวิตเพียงเล็กน้อย แค่บริขาร ๘ ที่จะคอยดูแลกายและใจ มีเป้าหมาย คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

ชีวิตสมณะจึงเหมือนนกน้อยมีแต่ปีกและหางที่โผบินไปในอากาศ คือ เป็นอิสระจากเครื่องพันธนาการของชีวิตไม่เหมือนชีวิตคฤหัสถ์ มีเวลาที่เหลือมาทำความเพียร ฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอย่างเดียว เพราะ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ”
๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่)

ที่มา https://www.dhamma01.com/book/92
ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 3 ชีวิตสมณะ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร

กลับสู่
สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *