ธรรมะเพื่อประชาชน

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ก็คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง มุ่งหยุดในหยุดบนเส้นทางสายกลางเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสิ้นอาสวกิเลส เข้าถึงกายธรรมอรหัต ตัดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดในภพสามอีกต่อไป นี้เป็นวัตถุประสงค์หลักที่มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างลืมเลือนไป ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่ เมื่อเกิดมาในโลกมนุษย์ ท่านได้สร้างบารมีจนกระทั่งสิ้นอายุขัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงฝั่งแห่งความหลุดพ้น เราทั้งหลายควรที่จะดูท่านเป็นแบบอย่าง และเดินตามรอยบาทพระศาสดากันทุกๆคน มีวาระพระบาลีใน สุสีมชาดก ความว่า ความยินดีของผู้อยู่ครองเรือนนี่แหละ ที่เป็นเสมือนเชือกที่ผูกเหนี่ยวไว้ ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว ไม่อาลัยใยดี จึงละกามสุขแล้วหลีกเว้นไป เครื่องพันธนาการ ที่คอยเหนี่ยวรั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ติดข้องอยู่ในภพสาม ไม่ใช่เครื่องจองจำที่ใช้เหนี่ยวรั้งนักโทษ แต่เป็นความยินดีในทรัพย์สินเงินทอง และกามสุขทั้งหลาย หากเราไม่มีสติกำกับให้ดี จะตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสอาสวะ ซึ่งเท่ากับเราตกอยู่ในที่คุมขังอันแน่นหนาที่สุด ยากที่จะหลุดพ้นออกมาได้ จะถูกกักขังเป็นชั้นๆ… เริ่มตั้งแต่ นิรยภูมิ มนุษยภูมิ โลกสวรรค์ แม้กระทั่งพรหม และอรูปพรหม ล้วนตกอยู่ในที่คุมขังกันทั้งสิ้น บุคคลใดสามารถฉุกคิดได้ และพยายามออกจากความยินดีในกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น นับว่าเป็นผู้ที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ และเป็นผู้ที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นแบบอย่างของนักสร้างบารมีทั้งหลาย กว่าที่สมเด็จพระบรมศาสดา จะก้าวขึ้นมาเป็นบรมครูของโลกได้ พระองค์เองต้องสร้างบารมีชนิดที่เรียกว่า เอาชีวิตเป็นเดิมพัน จึงสามารถแหกที่คุมขังอันซับซ้อนเช่นนั้นได้ …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ทางรอดจากสังสารวัฏ Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ การเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตที่เราปรารถนา เราต้องรู้ว่า จุดเริ่มต้นและหนทางที่กำลังเดินไปนั้นเป็นอย่างไร มีสุขมีทุกข์ เป็นบาปหรือเป็นบุญ เพื่อเราจะได้เลือกเส้นทางได้ถูกต้อง เลือกเอาแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศลล้วนๆ ไม่สนใจสิ่งที่ไร้สาระ หากรู้ตลอดสายเช่นนี้ จะไม่หลงแวะเวียนข้างทาง เราจะไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย มีคำกล่าวว่า การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะจุดเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเริ่มต้นผิดก็ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถ้าเริ่มต้นถูกต้อง ถูกทางมรรคผลนิพพาน ทางของพระอริยเจ้า เราก็จะไปถึงเส้นชัยของชีวิต ได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ถึงพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งเป็นสรณะที่แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า… ดูก่อนสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่๑ สมณะที่๒ สมณะที่๓ หรือสมณะที่๔ ส่วนธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่๑ ที่๒ ที่๓ หรือที่๔ อริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ถ้าโลกยังมีสมณะที่๑ ที่๒ ที่๓ หรือที่๔ สมณะเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย *ในวันสุดท้าย …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – เส้นทางสมณะ Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน ความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นธรรมดาของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึงวันที่หลับตาลาโลก ทุกชีวิตล้วนต้องพบกับความทุกข์ เพราะมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับโลกที่มีความมืดเป็นพื้นฐาน แต่ที่เรามองเห็นคนสัตว์สิ่งของต่างๆได้ เพราะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงไฟ เมื่อเราเข้าใจความเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นทุกข์แล้ว เราจะเกิดความเบื่อหน่าย และรีบขวนขวายหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ แสวงหาความสุขที่แท้จริง การปฏิบัติธรรมเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับชีวิตของผู้ที่ปรารถนาความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีวาระพระบาลีไว้ใน วิธุรชาดก ความว่า คนใดย่อมไม่ทำความโกรธ ในบุคคลควรโกรธ อนึ่ง คนใดเป็นสัปบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหนๆ ถึงเขาโกรธแล้ว ก็หาทำความโกรธให้ปรากฏไม่ บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก ความอดทน มาจากภาษาบาลีว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันไม่พึงปรารถนา ก็ยังคงมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน โดยเฉพาะการเดินทางไกลไปสู่อายตนนิพพาน ต้องอาศัยขันติธรรมเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง ต้องอดทนต่อถ้อยคำของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ซึ่งอาจมียศตำแหน่งสูงกว่าเรา เสมอกับเรา หรือต่ำกว่าเรา อุปสรรคในเส้นทางการสร้างบารมีนั้นมีมากมาย เหมือนการล่องเรือไปในมหาสมุทรที่เวิ้งว้าง เมื่อยังไม่ถึงฝั่ง ย่อมต้องประสบกับมรสุมรอบด้านที่พร้อมจะพัดผ่านเข้ามาสู่นาวาชีวิต จึงจำเป็นจะต้องอาศัยความอดทนและกำลังใจที่สูงส่ง ถึงจะสามารถฝ่าฟันข้ามอุปสรรคไปสู่ฝั่งได้ในที่สุด แม้บางครั้งดินอากาศฟ้าจะไม่เป็นใจ บางครั้งหนาวร้อนเกินไปบ้าง แต่ให้รับรู้ไว้ว่า …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน Read More »

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – สมณทัสสนา

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – อริยทัสสนา นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย ท่านพิจารณาเห็นว่า การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บและความตาย ก็เป็นทุกข์ ต่างแสวงหาหนทางหลุดพ้น เพราะคิดว่าเมื่อมีความทุกข์ ก็ต้องมีความสุขเป็นของคู่กัน จึงได้ลองผิดลองถูกแสวงหากันมาตลอดชีวิตก็ยังไม่พบ แต่พวกเราโชคดีที่ได้มาพบพระพุทธศาสนา มาทราบหนทางแห่งความหลุดพ้น หนทางไปสู่พระนิพพานว่า อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด ซึ่งเป็นหนทางเอกสายเดียวที่จะไปสู่อายตนนิพพานได้ เป็นที่เดียวที่ความทุกข์มากล้ำกรายไม่ได้ มีแต่ความสุขล้วนๆ ที่ไม่มีทุกข์เจือปนเลย เราจึงควรหมั่นนำใจของเรามาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เพื่อเราจะได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริงภายในกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน เวสสันดรชาดก ว่า… สาหุ ทสฺสนมริยานํ สนฺนิวาโส สทา สุโข การได้พบเห็นพระอริยเจ้าเป็นสิ่งดี การอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้า นำความสุขมาให้ทุกเมื่อ พระอริยเจ้า คือ ผู้ที่ได้ฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสอนของพระบรมศาสดา และสามารถทำใจหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต ซึ่งเป็นกายธรรมของพระอริยเจ้าขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากท่านมีใจที่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ เวลาคิดก็คิดแต่เรื่องที่ดีที่เป็นบุญเป็นกุศล เป็นประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เวลาพูดก็พูดแต่วาจาสุภาษิต ชักชวนให้ทำความดี ชักชวนให้พ้นทุกข์ไปสู่อายตนนิพพาน และทำแต่สิ่งที่ดีงามไม่เบียดเบียนใคร มีศีลาจารวัตรงดงาม …

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ – สมณทัสสนา Read More »

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวว่า เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า เป็นเครื่องจองจำที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณีและกุณฑล ความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย เป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำเช่นนั้นแล้วออกบวช เป็นผู้ไม่มีความอาลัย เพราะละกามทั้งหลายได้ โลกมนุษย์เป็นดินแดนแห่งการสร้างบุญและบาป การใช้ชีวิตของตนให้อยู่บนเส้นทางใด ไม่ว่าจะเป็นทางแห่งความดีหรืออื่นๆ ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเรา เพราะโลกมนุษย์เป็นสถานที่กลางๆ ถ้าสร้างบารมีก็จะสามารถสร้างได้เต็มที่ หากประมาทพลาดพลั้ง ไปสร้างบาปอกุศลก็เป็นกรรมที่แรงเช่นกัน เราต้องเลือกเดินบนเส้นทางที่เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าที่สุดในแต่ละวัน เช่นเดียวกับชีวิตของพระบรมโพธิสัตว์ ที่เกิดมาทุกภพทุกชาติเพื่อสร้างบารมีเท่านั้น ดังนั้นเราควรดำรงชีวิตให้ถูกต้องร่องรอยตามวิสัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวาระพระบาลีใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ความว่า… นาญฺญตฺร โพชฺฌา ตปสา นาญฺญตฺร อินฺทฺริยสํวรา นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตบะเครื่องเผาความชั่ว นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เรามองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย คุณธรรมที่จะทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น และนำไปสู่การตรัสรู้ธรรม ให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลาย กระทั่งรู้เท่าทันอาสวกิเลสทั้งปวง …

มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ – แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อน ท่านก็ทำอย่างนี้ คือ สร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน การที่เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในวัฏสงสาร จนกว่าจะไปถึงเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบสโพธิสัตว์ ได้กล่าวถึงความอดทนอันสูงสุดไว้ว่า บุคคล อดทนต่อถ้อยคำของคนผู้เป็นใหญ่กว่าได้ เพราะความกลัว อดทนต่อถ้อยคำของผู้เสมอกันได้ เพราะการแข่งดีเป็นเหตุ ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ อดทนต่อถ้อยคำของผู้ต่ำกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนของ ผู้นั้นสูงสุด พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญความอดทน ทรงสอนไม่ให้ก่อเวร แต่ให้อดทนด้วยสติปัญญา ที่จะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเอง ต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ ทำใจให้อยู่เหนือปัญหา อยู่เหนือการล่วงเกินของใครๆ เพราะเมื่อใจเราอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ เราย่อมไม่หวั่นไหวหรือรู้สึกขุ่นมัวกับสิ่งใด ใจจะสงบ สะอาด บริสุทธิ์ และผ่องใส ดังเช่นบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แม้ถือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ยังมีจิตใจสูงส่งเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม คือความอดทน แม้จะถูกประทุษร้ายจากผู้อื่น หรือทำสิ่งไม่น่าชอบใจให้ ก็ไม่คิดทำร้ายตอบ แต่กลับมีความเอ็นดู สงสาร ให้อภัยต่อผู้อื่นเสมอ เพราะมีใจเปี่ยมด้วยความเมตตาปรารถนาดี หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนอย่างมีเป้าหมาย Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ วันคืนล่วงไปๆ สรรพสิ่ง และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ รถยนต์ รถรา บ้านช่อง คน สัตว์ สิ่งของทั้งหมด ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เหมือนต้นไม้ที่แต่เดิมเราเคยเห็นมันเป็นต้นเล็กๆ จากนั้นก็เจริญเติบโตขึ้น แผ่กิ่งก้านสาขา แตกใบผลิดอกออกผล ให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต แต่ไม่นานดอกไม้ที่ดูสวยสดงดงามนั้น ก็เหี่ยวแห้งร่วงโรยไปตามกาลเวลา ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย เราจึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต แต่ควร รีบเร่งแสวงหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร เป็นสาระที่แท้จริงของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เวปจิตติสูตร ว่า บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงคราม ที่ชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น ชื่อว่าได้ประพฤติประโยชน์ ให้เกิดขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย โทสะ คือ ความโกรธมีโทษร้ายแรงยิ่งกว่ากองไฟที่ลุกไหม้เผาผลาญทรัพย์สิน เพราะไฟแห่งโทสะ ย่อมเผาลนจิตใจให้ไหม้เกรียม แล้วยังแผ่เปลวแห่งความร้อนแผดเผาบุคคลรอบข้าง ให้ได้รับความรุ่มร้อนทุกข์ทรมานอีกด้วย บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ผูกโกรธ แต่เป็นผู้มากด้วยความเมตตากรุณา เมื่อใครทำให้โกรธก็ไม่โกรธตอบ มีสติสอนตนเองได้ คนที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญว่า …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ชนะโทสะ ด้วยอโทสะ Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม ตัวของเรา บุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง คือ ไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และสูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะฉะนั้น เราควรแสวงหาของจริง ที่จะนำความสุขที่แท้จริงมาให้แก่ตัวเรา คือ ธรรมกาย ที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี โดยอาศัยความเพียรและขันติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต่างทรงสรรเสริญขันติธรรมว่า เป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง สำหรับชีวิตนักสร้างบารมี ดังที่ทรงแสดงไว้ใน โอวาทปาติโมกข์ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยอดเยี่ยม ตลอดชีวิตการสร้างบารมีของพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยขันติธรรมอันเลิศเรื่อยมาทุกภพทุกชาติ *ดังเช่นครั้งที่บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ในวันที่พระองค์ประสูติ พระราชามีรับสั่งให้พราหมณ์มาพยากรณ์พระโอรส เมื่อพราหมณ์เห็นลักษณะอันสมบูรณ์ของพระโอรส จึงกราบทูลว่า ทั่วพื้นปฐพีนี้จะหาบุรุษผู้เลิศอย่างนี้ ย่อมไม่มี พระโอรสทรงพระรูปโฉมงดงาม มีพระวรรณะประดุจทองคำ ทรงเปี่ยมด้วยบุญญาบารมี จะเป็นผู้นำสันติสุขมาสู่ปวงประชาในมหาทวีปทั้ง ๔ พระราชาได้สดับคำพยากรณ์ของพราหมณ์ ทรงดีพระทัยยิ่งนัก …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดทนให้ถึงที่สุด Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – มองโลกในแง่ดี

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – มองโลกในแง่ดี ชีวิตในวันหนึ่งๆ ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนหยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้า เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ในยามเช้า ย่อมเหือดแห้งไปในพริบตา ชีวิตของเราคนเราก็เช่นกันมีการไปสู่ความเสื่อมสลายคล้ายกับฟองน้ำ เมื่อเวลาฝนตกหนักเม็ดฝนตกกระทบผิวน้ำ แล้วเกิดเป็นฟองน้ำขึ้น ไม่นานฟองน้ำเหล่านั้นก็พลันแตกสลายไป ช่วงเวลาของชีวิตเรานั้นสั้นนัก เราไม่ควรประมาท พึงเร่งทำความเพียร เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย มีธรรมภาษิตที่ปรากฏในบทสวดมนต์ฉบับหลวงว่า สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระบรมศาสดา และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยการบูชาอย่างยิ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงคุณธรรม คือ ขันติว่าเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง คุณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความอดทน การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพระรัตนตรัย เพื่อมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน ต้องมีความอดทนหลายประการ เช่น อดทนต่อความยากลำบาก อดทนต่อการกระทบกระทั่ง อดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย อดทนต่อกิเลสเย้ายวน ตลอดจนอดทนในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาจิตใจให้หยุดนิ่ง เพราะขันติเป็นตบะเครื่องแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน เมื่อกิเลสเร่าร้อนก็หลุดร่อนออกจากใจ กุศลธรรมทั้งมวลเจริญขึ้นมาก็เพราะความอดทน …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – มองโลกในแง่ดี Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดใจเมื่อมีอุปสรรค

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดใจเมื่อมีอุปสรรค การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ เราเกิดมาก็เพื่อสร้างบารมี ดำเนินตามรอยบาทพระบรมศาสดา มุ่งแสวงหาสาระอันแท้จริงของชีวิต เพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งธรรม ในระหว่างการสร้างบารมีเป็นธรรมดาที่จะต้องเจออุปสรรค อุปสรรคเป็นเพียงเครื่องทดสอบกำลังใจเท่านั้น หากเราใช้สติและปัญญา ปัญหาทั้งหลายก็จะหมดไป เหมือนการเอาคบเพลิงจุ่มลงไปในน้ำ เมื่อทำใจหยุดได้ ก็จะเกิดปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ การฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จึงเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ทุกคน มีธรรมภาษิตที่พระโบราณจารย์กล่าวไว้ในหนังสือ สวดมนต์ฉบับหลวงว่า ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก ผู้มีขันติ และเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ และมีความสุขเสมอ ผู้มีขันติธรรมย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย พระท่านสอนเราให้รู้จักอดทน คือ อดใจ เวลามีความโลภหรืออภิชฌาเกิดขึ้น อยากจะได้สมบัติของคนอื่น เราก็ต้องรู้ เท่าทันว่านี่คือกิเลสตัวโลภะ แล้วรีบหยุดความอยากนั้นด้วยการ อดใจ ทำใจหยุดนิ่งเฉย ไม่นานความโลภก็จะดับไป เมื่อมีความโกรธคิดประทุษร้ายเกิดขึ้น ก็เอาใจหยุดนิ่ง ตอนแรกๆ ความโกรธอาจจะพลุ่งพล่านอยู่ในใจ …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – อดใจเมื่อมีอุปสรรค Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ผู้มีขันติธรรมเป็นเลิศ

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ผู้มีขันติธรรมเป็นเลิศ ความเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก เป็นทางมาแห่งสันติภาพอันไพบูลย์ เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่มีการแก่งแย่งรบราฆ่าฟันกันอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เมตตาธรรมจะช่วยค้ำจุนโลก เปลี่ยนแปลงกระแสโลกที่กำลังร้อนแรงด้วยไฟกิเลส เป็นกระแสแห่งความดีที่เกิดจากใจอันใสบริสุทธิ์ รุกเงียบไปในบรรยากาศโลก มวลมนุษยชาติจะปรองดองกัน มีสมบัติสิ่งของเครื่องใช้อะไร ที่พอจะแบ่งปันกันได้ ก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป เพราะสมบัติทั้งหลายเป็นของกลางของโลก โลกทั้งโลก คือ บ้านหลังใหญ่ ที่มีสมาชิกในบ้านมากมาย พวกเราทุกคน คือ หมู่ญาติ เพื่อนพ้องพี่น้องกัน ที่ยังต้องเดินทางไกลในสังสารวัฏไปสู่ฝั่งแห่งนิพพาน มีธรรมภาษิตที่ปรากฏในบทสวดมนต์ฉบับหลวงว่า อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตน และแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสู่สวรรค์ และนิพพาน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่ ตั้งแต่อยู่กันในระดับครอบครัว เพื่อนฝูงในโรงเรียน ในที่ทำงานและในชุมชน จึงต้องประพฤติตามระบบระเบียบที่สังคมกำหนดไว้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข การจะปรับตนให้เข้ากับทุกสภาวการณ์ได้นั้น ต้องอาศัยขันติธรรม คือ ความอดทนเป็นอย่างมาก …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ผู้มีขันติธรรมเป็นเลิศ Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมอยู่ที่ไหน

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมอยู่ที่ไหน สิ่งที่เป็นความปรารถนาของทุกๆคน ในการดำรงชีวิตอยู่นั้น คือ อยากจะให้ชีวิตมีความสุข ประสบแต่ความสำเร็จสมหวัง ไม่มีอุปสรรค หรือสิ่งที่จะมาบั่นทอนกำลังใจ อันจะนำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจ แต่น้อยคนนักที่จะสมปรารถนาในชีวิต ทั้งนี้ เพราะความทะยานอยาก ทำให้มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวาย เสาะแสวงหาในสิ่งที่ตนเองคิดว่า จะเพิ่มเติมความสุขหรือส่วนที่บกพร่องของชีวิตให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ได้ จึงแสวงหากันร่ำไป ทั้งๆที่ตนเองก็ยังไม่ทราบว่า หนทางแห่งความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ตรงไหน จะเข้าถึงได้อย่างไร เมื่อไม่ทราบ ทำให้ชีวิตต้องเวียนวนอยู่กับเรื่องการทำมาหากิน เพลิดเพลินในเบญจกามคุณ หลงใหลในเกียรติยศ ชื่อเสียงเงินทอง พระบรมศาสดาทรงค้นพบว่า วิธีการที่จะทำให้เข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้นั้น จะต้องเริ่มต้นจากใจที่หยุดนิ่ง เพราะสุขอื่นนอกจากใจหยุดนิ่งไม่มี ใจที่สงบหยุดนิ่งจะเป็นต้นทางแห่งความสุข และความสำเร็จของชีวิต มีวาระพระบาลีที่กล่าวไว้ใน พราหมณสูตร ว่า… กุลบุตรใดไม่มีความพยาบาท ไม่เบียดเบียน มีความสงบวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะ กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ ฌานอันยอดเยี่ยมภายใน เกิดขึ้นในบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมพ้นไปจากโลก โดยความแน่ใจว่ามีชัยชนะโดยแท้ การเดินทางไกลในสังสารวัฏ เพื่อไปสู่อายตนนิพพาน ต้องอาศัยกำลังใจที่สูงส่ง อาศัยกำลังบุญบารมีที่มากมายมหาศาล จึงจะไปถึงจุดหมายได้ เหมือนเรือจะข้ามฟากมหาสมุทร ต้องมีการตระเตรียมสัมภาระให้พร้อม เพราะภัยในมหาสมุทรมีมากมาย …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมอยู่ที่ไหน Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมชำระกิเลส

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมชำนะกิเลส มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสงบสุขในชีวิต จึงพากันแสวงหาสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งให้แก่ตนเอง ที่พึ่งที่ระลึกที่จะนำความสุขมาให้นั้น ไม่ได้อยู่นอกตัวเลย มีอยู่ในตัวของเรา คือ พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ปราศจากมลทิน คือ กิเลสอาสวะทั้งหลาย เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว จะรู้เรื่องราวของชีวิตได้ เพราะใจบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณธรรม เริ่มต้นด้วยการฝึกใจของเราให้หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ หยุดในหยุด ปล่อยจิตให้ดำเนินเข้าไปสู่เส้นทางสายกลางไปเรื่อยๆ จนกระทั่งใจใสบริสุทธิ์เข้าถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อขันติสูตร ว่า… ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ประการ คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ เป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ และเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทนมี ๕ประการอย่างนี้แล ความอดทน คือ การรักษาสภาวะของใจให้เป็นปกติ ไม่ว่าจะกระทบกับสิ่งที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม งานทุกชิ้นในโลกที่สำเร็จขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยขันติความอดทนเป็นพื้นฐาน พระพุทธองค์ตรัสยกย่องขันติธรรมว่า ยกเว้นปัญญาแล้ว ขันติเป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง ให้ดูตัวอย่างหญ้าแพรก ซึ่งอดทนต่อทุกสภาพดินฟ้าอากาศ จึงสามารถดำรงอยู่ได้ …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติธรรมชำระกิเลส Read More »

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติและเมตตาพาสู่ดุสิตบุรี

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติและเมตตา พาสู่ดุสิตบุรี ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้ ไม่มีอะไรเป็นของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ล้วนเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลา ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง มักทำให้เราเสียขวัญ ตื่นตระหนกตกใจกลัว จนไม่กล้าทำอะไร แท้ที่จริงแล้วปัญหาไม่ได้ทำให้คนย่ำแย่ แต่วิธีมองปัญหาต่างหาก ที่ทำให้คนต้องย่ำแย่อยู่ทุกวันนี้ หากมีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ตั้งสติ หยุดความคิดฟุ้งซ่าน หยุดความกระวนกระวาย ทำใจให้สงบ เพื่อเรียกขวัญและกำลังใจให้กลับคืนมา ใจที่สงบเป็นใจที่มีพลัง ทั้งพลังแห่งสติปัญญาและพลังแห่งความสำเร็จ ถ้ากำลังใจดี แม้เกิดปัญหาก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถขจัดได้ด้วยปัญญา เมื่อมีกำลังใจ ปัญหาและอุปสรรค ก็กลายเป็นเรื่องเล็ก แล้วทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ชาดก ว่า… ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่โกรธ ทำไมจึงทำความโกรธเล่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อเครื่องประหารตั้งพันตกลงบนร่างกาย เมื่อถูกเขาตัดมือ เท้า หู และจมูก ก็ยังไม่กระทำความโกรธแก่คนอื่น ทุกคนที่เกิดมา ต่างก็อยู่ในระหว่างกำลังฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้สมบูรณ์ คำว่า …

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน – ขันติและเมตตาพาสู่ดุสิตบุรี Read More »

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – มหาสมุทรแห่งคุณธรรม

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – มหาสมุทรแห่งคุณธรรม ในชีวิตของนักสร้างบารมี การมีกัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือ ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเราเป็นคนว่าง่าย อดทนต่อคำตักเตือนสั่งสอน และปฏิบัติตามคำสอนของผู้มีคุณธรรมนั้น ด้วยความเคารพอ่อนน้อม จะส่งผลให้ชีวิตของเราเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นให้หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้สม่ำเสมอ เพื่อจิตใจของเราจะได้ผ่องใส แล้วจะเป็นคนว่าง่าย พร้อมที่จะรองรับคุณธรรมที่สูงยิ่งๆขึ้นไปจากกัลยาณมิตร มีพระบาลีว่าไว้ใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า… ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย พึงคบบุรุษผู้สูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน คนว่าง่ายมีความเคารพเชื่อฟัง และตั้งอยู่ในโอวาทของผู้มีคุณธรรม ย่อมจะได้รับการถ่ายทอดคุณงามความดี จะเป็นที่มานอนแห่งสิริมงคลทั้งปวง โสวจัสสตา คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย จะเกิดขึ้นกับเราได้ก็ต่อเมื่อเรามีความสำนึกอยู่เสมอว่า ยังมีสิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมตนเองอีกมาก แล้วหมั่นสังเกต หมั่นแสวงหาความรู้ และคุณธรรมจากผู้อื่นอยู่เสมอ เมื่อพบแล้วก็ยินดีให้ท่านผู้รู้แนะนำสั่งสอน โดยไม่มีจิตเพ่งโทษ ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง หรือทำให้ท่านเกิดความขัดเคือง แต่ให้ตระหนักในความมีเมตตา และความเสียสละของท่านที่ช่วยแนะนำสั่งสอนให้เราเป็นคนดี ความเป็นคนว่าง่าย เป็นทางมาแห่งความเจริญ …

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย – มหาสมุทรแห่งคุณธรรม Read More »