หนังสือ พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

อ่านหนังสือ รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี ที่นี่

อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๑ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๒ ที่นี่
อ่านหนังสือ วิสุทธิวาจา ๓ ที่นี่

กัณฑ์ ๒๐ ศีลทั้ง ๓ ประการ

กัณฑ์ที่ ๒๐ ศีลทั้ง ๓ ประการ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติฯ โอวาทปาติโมกฺขาทิปาโฐ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยศีลทั้ง ๓ ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ประการ นี้เป็นศีลทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการ ได้แสดงมาแล้ว ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล ๕ ประการ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล …

กัณฑ์ ๒๐ ศีลทั้ง ๓ ประการ Read More »

กัณฑ์ ๙ เบญจขันธ์

กัณฑ์ที่ ๙ เบญจขันธ์ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เอวํ หุตวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยาติฯ อภิ.ก. (บาลี) ๓๗/๑๖๕๘/๕๖๒ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เป็นอนุสนธิในการเทศนาเนื่องจากวันอาทิตย์โน้น เทศนาวันนี้จะแสดงในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ของเราท่านทั้งหลาย หญิงชายทุกถ้วนหน้า เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี้มีสภาพเกิดขึ้น ตั้งขึ้นอยู่ แตกแล้วดับไป ตำรับตำราได้กล่าวไว้ว่า อุปฺปาท แปลว่า ความบังเกิดขึ้น …

กัณฑ์ ๙ เบญจขันธ์ Read More »

กัณฑ์ ๑๐ ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก

กัณฑ์ที่ ๑๐ ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) ภาราหเว ปญฺจกฺขนฺธา ภาราทโร จ ปุคฺคโล ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารนิกฺ เขปนํ สุขํ นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติฯ สํ.ข. (บาลี) ๑๗/๕๓/๓๒-๓๓ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนักไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร …

กัณฑ์ ๑๐ ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก Read More »

กัณฑ์ ๒ โพธิปักขิยธรรมกถา อริยอัฏฐังคิกมรรค

กัณฑ์ที่ ๒ โพธิปักขิยธรรมกถา อริยอัฏฐังคิกมรรค หน้า ๕๗ เทศนาในช่วงปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) กตมา จสา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติฯ อยเมว อริโย อฎฺฐํคิโก มคฺโคฯ เสยฺยถีทํฯ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธีติฯ วิ.ม.(บาลี)๔/๑๓/๑๘ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถา แก้โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งเป็นทางตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทุกพระองค์มา โดยเฉพาะพระธรรมที่จะแสดงในวันนี้ แสดงในมรรคทั้ง ๘ ที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๔ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี …

กัณฑ์ ๒ โพธิปักขิยธรรมกถา อริยอัฏฐังคิกมรรค Read More »

กัณฑ์ ๓ รตนัตยคมนปณามคาถา

กัณฑ์ที่ ๓ รตนัตยคมนปณามคาถา หน้า ๖๕ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) อิจเจตํ รตนตฺตยํ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆจาปี นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต อญฺญมญฺญาวิโยคาว เอกีภูตมฺปนตฺถโต พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส อิจเจกาพทฺธเมวิทนฺติฯ รตนตฺตยปฺปภาวาภิยาจนคาถา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาตมาขอโอกาสแก่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากัน ทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆศาสนาล้วนแต่สอนให้ ละความชั่ว ประพฤติความดี สิ้นด้วยกันทุกชาติทุกภาษา ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระและสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลา เสร็จแล้วที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ …

กัณฑ์ ๓ รตนัตยคมนปณามคาถา Read More »

กัณฑ์ ๔ อาทิตตปริยายสูตร

กัณฑ์ที่ ๔ อาทิตตปริยายสูตร หน้า ๗๕ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) เอวมฺเม สุตํฯ เอกํ สมยํ ภควา คยายํ วิหรติ คยา สีเส สทฺธึ ภิกฺขุสหสฺเสนฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิฯ สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํฯ กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํฯ จกฺขุํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ รูปา อาทิตฺตา จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ …

กัณฑ์ ๔ อาทิตตปริยายสูตร Read More »

กัณฑ์ ๕ สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน

กัณฑ์ที่ ๔ สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) อตฺตทีปา อตฺตสรณา อนญฺญสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา อนญฺญสรณาติฯ ส.ข.(บาลี)๑๗/๘๗/๕๓ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยสิ่งที่เป็นเกาะและสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน ทุกถ้วนหน้า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสงเคราะห์พวกเราทั้งหลาย ซึ่งไม่รู้จักตนว่าเป็นเกาะและเป็นที่พึ่งของตน ให้รู้จักว่าตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง พระบรมทศพลจึงได้ทรงชี้แจงแสดงธรรมนี้ ที่พึ่งอันนี้แหละไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย นอกจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว รู้เองไม่ได้ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะรู้เอง ได้รู้สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตนได้ พระบรมทศพลเมื่อตรัสปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สำเร็จแล้ว ก็ตรัสเทศนาอนัตตลักขณสูตรโปรดพระยสะและสหายรวม ๕๕ สำเร็จแล้ว ทรงดำเนินไปยังเหล่าชฏิล ๑,๐๐๓ รูปในระหว่างทางนั้น ไปพบพวกราชกุมารเล่นซ่อนหาปิดตากัน ในป่าไร่ฝ้าย ราชกุมารเหล่านั้นมีมเหสีด้วยกันทั้งนั้น แต่ราชกุมารอีกองค์หนึ่ง มเหสีนั้นเป็นมเหสีกำมะลอ จ้างเขาไป ไม่ใช่ของตนโดยตรง จ้างหญิงแพศยาไป ครั้นไปถึง …

กัณฑ์ ๕ สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน Read More »

กัณฑ์ ๖ สังคหวัตถุ

กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตฺสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ อตฺถจริยา จ ยา อิฐ สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ เอเต โข สงฺคหา โลเก รถสฺสาณีว ยายโต เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ น มาตา ปุตฺตการณา ลเภถ มานํ ปูชํ วา ปิตา วา ปุตฺตการณา ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต สมเวกฺขนฺติปณฺฑิตา ตสฺมา มหตฺตํ ปปฺโปนติ ปาสํสาจ …

กัณฑ์ ๖ สังคหวัตถุ Read More »

กัณฑ์ ๗ มงคลกถา

กัณฑ์ที่ ๗ มงคลกถา อยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตฺสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ ขุ.สุ.(บาลี) ๒๕/๓๑๘/๓๗๖ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงมงคลกถาวาจา เครื่องกล่าวปรารภเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ดังนี้ เป็นข้อใหญ่ใจความ ในสากลโลกก็ต้องการความเจริญด้วยกันทั้งนั้น หลีกเลี่ยงหนีความเสื่อมสิ้นด้วยกันทั้งนั้น ความเสื่อมเป็นอนิฏฐผล ไม่เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ความเจริญเล่าเป็นอิฏฐผล เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าดุจเดียวกัน เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ก็ต้องการเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญดุจเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จงมนสิการกำหนดไว้ในใจ ในเวลาที่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาสืบต่อไป ในสัปดาห์ก่อนโน้น ได้แสดงตามวาระพระบาลีว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺ …

กัณฑ์ ๗ มงคลกถา Read More »

กัณฑ์ ๘ พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต

กัณฑ์ที่ ๘ พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ นโม ตฺสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพถาติฯ วิภาวินีฎีกา (บาลี) ๑ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลาย สืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฎกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้งโดย ปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ ๑ จิต ๒ เจตสิก ๓ รูป ๔ นิพพาน ๔ …

กัณฑ์ ๘ พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต Read More »

กัณฑ์ ๑-๑ อรหัง

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ * *พระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพะสุต ป.๖) บันทึกธรรมเทศนาของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ปรากฎในหนังสือตามรอยธรรมกาย หน้า ๓๒๒-๓๘๖ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน) อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติฯ สํ.ม.(บาลี) ๑๙/๑๔๘๖/๔๕๔ ณ บัดนี้ จะได้แสดงธรรมิกถาว่าด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เพื่อประดับสติปัญญาและปสาทะแห่งท่านสัปบุรุษพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย …

กัณฑ์ ๑-๑ อรหัง Read More »

กัณฑ์ ๑-๑๐ ว่าด้วยรัตนะ ตัวพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย

ว่าด้วยรัตนะ รตนตฺตยํ นั้นแปลว่าหมวด ๓ แห่งรัตนะคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ รัตนะนี้ประเสริฐกว่า สวิญญาณกรัตนะ และอวิญญาณกรัตนะ ที่มีในไตรภพ ด้วยเป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก กามโลก มีรัตนะที่ใช้กันอยู่ เช่น เพชร หรือ แก้ว ทั้งเป็นและตาย ที่เป็น ดังรัตนะ ๗ ของจักรพรรดิ ที่ตาย ดังรัตนะ ที่นำมาจากต่างประเทศโดยมาก รูปโลก ก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขา อรูปโลก ก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขาดุจกัน ตั้งแต่เทวดาขึ้นไป มีรัตนะทั้งเป็นและตาย เป็นเครื่องให้เทวดา พรหม และอรูปพรหม อาศัยรัตนะเหล่านี้ และเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหมได้เท่ากำลังของรัตนะนั้นๆ ดังนี้เป็นรัตนะ ๓ ส่วนโลก ที่เกิดของรัตนะ ๓ ส่วนธรรม ต้องบรรยายแต่เหตุไป รัตนะทั้ง …

กัณฑ์ ๑-๑๐ ว่าด้วยรัตนะ ตัวพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย Read More »

กัณฑ์ ๑-๒ สัมมาสัมพุทโธ

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สัมมา สัมพุทโธ แปลตามศัพท์ว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ หรือนัยหนึ่งว่า ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง หรือพูดให้สั้นก็ว่า รู้ถูกเอง เพื่อให้ใกล้กับภาษาสามัญที่ใช้กันว่า รู้ผิด รู้ถูก ได้แก่ คำที่พูดติเตียน คนที่ทำอะไรผิดพลาดไปว่า เป็นคนไม่รู้ถูก รู้ผิด ทำไปอย่างโง่ๆ ดังนี้ เป็นต้น แต่แท้จริง พุทฺโธ คำนี้ เมื่อพิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปตามรูปศัพท์แล้ว มีความหมายลึกซึ้งมาก ต่างกันไกลกับคำว่า ชานะ หรือ วิชานะ ซึ่งแปลว่า รู้แจ้งนั้น ดังนั้น พุทฺโธ จึงได้แปลกันว่า ตรัสรู้ ไม่ใช่ รู้ เฉยๆ เติมคำว่า ตรัส นำหน้า รู้ ซึ่งสะกิดให้สนใจว่า รู้ กับ ตรัสรู้ ๒ คำนี้ มีความหมายลึกตื้นกว่ากันแน่ โดยมิสงสัย …

กัณฑ์ ๑-๒ สัมมาสัมพุทโธ Read More »

กัณฑ์ ๑-๑๑ เพียรเถิดจะเกิดผล ตนเป็นที่พึ่งของตน การรักษาไตรทวาร

เพียรเถิดจะเกิดผล (วิสุทธิวาจา ๓ ความเพียร) ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอทำเนืองๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไปอย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่งไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง . ตนเป็นที่พึ่งของตน นี่หมายความว่ากระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปํ อนตฺตา ก็แปลกันว่า นามและรูปไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าจะเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้น ก็เรียกว่า นามรูป โดยเอากองรูปคงไว้ ส่วนกองเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันสี่กอง นี้เรียกว่า นาม ฉะนั้นที่ว่า นามรูป ก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง …

กัณฑ์ ๑-๑๑ เพียรเถิดจะเกิดผล ตนเป็นที่พึ่งของตน การรักษาไตรทวาร Read More »

กัณฑ์ ๑-๓ วิชชาจรณะสัมปันโน

กัณฑ์ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน คำว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ คุณวิเศษของพระองค์ในที่นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑ วิชชา ๒ จรณะ อะไรเรียกว่า วิชฺชา วิชฺชาในที่นี้ หมายเอาความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูกหรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมนไม่รู้ไม่เห็นของจริง คือนิพพาน ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่า ยึดมั่น คือยึดมั่นในขันธ์ ๕ ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื๊ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้ มีนิพพานเป็นที่ไป ในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ ก็ว่าเมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า อวิชชาที่แปลว่าไม่รู้นั้น …

กัณฑ์ ๑-๓ วิชชาจรณะสัมปันโน Read More »