ธรรมะเพื่อประชาชน

พระมหากัจจายนเถระ

พระมหากัจจายนเถระ เวลาในโลกมนุษย์ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน เวลาที่ผ่านไปก็ไม่ผ่านไปเปล่า ได้นำเอาความแก่ชรา ความไม่เที่ยงแห่งสังขารให้เกิดขึ้นกับตัวเรา สำหรับชีวิตของนักสร้างบารมีนั้น ย่อมไม่ปล่อยให้สังขารเสื่อมไปเปล่า แต่เก็บเกี่ยวเอาบุญกุศลไปพร้อมๆ กับเวลาที่สูญเสียไป ยิ่งแก่บารมียิ่งเพิ่มพูน แก่บุญแก่บารมี บุญในตัวก็เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน การใช้ชีวิตให้เป็นไปเพื่อการสร้างบารมีด้วยอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ประมาทการดำเนินชีวิต การเกิดมาของผู้นั้นเป็นการเกิดมาอย่างมีคุณค่า ได้ทำหน้าที่ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ในภพชาตินั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ มีพุทธพจน์บทหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ธรรมบท ว่า “ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา   กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ        สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ ก็ควรทําบุญนั้นให้บ่อยๆ ควรทําความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญเป็นเหตุนําความสุขมาให้” ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งนั้น แล้วมีใครรู้บ้างว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น เกิดจากการสั่งสมบุญอยู่เป็นประจำสมํ่าเสมอ เพราะบุญคือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสําเร็จทั้งปวง ถ้าชาวโลกรู้จักต้นทางแห่งความสุขอย่างนี้ แล้วหันมาสั่งสมบุญให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับกุศลธรรม อกุศลซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์จะไม่เกิดขึ้น เพราะความสุขและความทุกข์ เป็นผลที่เกิดมาจากบุญและบาปที่เราทำไปแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่ออยากมีความสุขก็ต้องสั่งสมบุญ ในทางพุทธศาสนา พระบรมศาสดาของเราทรงสอนวิธีการจะให้ได้พบกับความสมหวังในสิ่งที่ตั้งไว้ว่า …

พระมหากัจจายนเถระ Read More »

พระมหากัปปินเถระ

พระมหากัปปินเถระ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ อย่างนี้เท่านั้น สิ่งที่มนุษย์เราควรจะยึดถือเป็นที่พึ่งที่แท้จริงได้คือ เมื่อเราประสบทุกข์เราก็เข้าไปพึ่งท่านได้ พึ่งท่านแล้วจะมีแต่ความสุข มีสติและปัญญาเกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ และเป็นที่ระลึกอันสูงสุด ควรที่จะระลึกถึงท่านให้ได้อยู่เสมอๆ นึกแล้วจะมีความสุขสดชื่น ใจของเราจะบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ธมฺมปีติ สุขํ เสติ    วิปฺปสนฺเนน เจตสา อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม    สทา รมติ ปณฺฑิโต บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ” มนุษย์ทุกคนในโลกล้วนแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น บ้างก็แสวงหาจากการดื่ม จากการกิน จากการเที่ยว  หรือจากการได้รับของที่ถูกใจ แต่ความสุขเหล่านั้น เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อได้รับแล้วต้องแสวงหากันใหม่อยู่ร่ำไป ถ้าจะเรียกให้ถูก ต้องเรียกว่าเป็นความเพลินมากกว่า แล้วอะไรคือความสุขที่แท้จริง อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไรบ้าง ความสุขที่แท้จริง ต้องเป็นความสุขที่เป็นอมตะ แล้วเป็นความสุขที่เข้าถึงได้ …

พระมหากัปปินเถระ Read More »

พระวักกลิเถระ

พระวักกลิเถระ การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก และการดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ มีจิตใจสูงส่ง มั่นคงในคุณธรรม ดำเนินอยู่บนเส้นทางการสร้างบารมี เส้นทางแห่งอริยมรรคของพระอริยเจ้าให้ได้ตลอดนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ผู้มีบุญมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ มีดวงใจที่ผ่องใสเท่านั้น จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เดินหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องปลอดภัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องสั่งสมบุญให้มากๆ และมีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม และหมั่นนั่งธรรมะทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว ต้องตั้งใจมั่นอย่างนี้ จึงจะพบกับความสุขสวัสดี ได้ที่พึ่งที่ระลึกภายในคือ พระรัตนตรัยกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อนุตตริยสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ ไปดูรัตนะคือช้างบ้าง ไปดูรัตนะคือม้าบ้าง ไปดูรัตนะคือแก้วมณีบ้าง  หรือไปเพื่อเห็นรัตนะสูงต่ำ ไปเพื่อเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าความเห็นนั้นไม่มี ก็แต่ความเห็นนั้นนั่นแล ยังทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนชนใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น มีฉันทะตั้งมั่นในพระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว เลื่อมใสยิ่งแล้ว ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต …

พระวักกลิเถระ Read More »

พระพาหิยทารุจิริยเถระ

พระพาหิยทารุจิริยเถระ เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพื่อแสวงหาสิ่งที่ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ที่สุด บริสุทธิ์จนกระทั่งพบกับตัวตนที่แท้จริงที่มั่นคงที่สุดไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพบว่า พระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด และมีอยู่ในตัวของพวกเราทุกคน เป็นธรรมที่สงบ ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง เราจะนึกคิดหรือคาดคะเนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง หากเมื่อใดที่เราสามารถปรับใจที่หยาบให้ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ จนกระทั่งเราเข้าไปถึงแหล่งของสติแหล่งของปัญญา เมื่อนั้นเราย่อมรู้เห็นธรรมะทั้งหลายไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน อัจเจนติสูตร ว่า “อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ บุคคลเมื่อเห็นมรณภัยแล้ว พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสู่สันติเถิด” วันคืนที่ล่วงไปๆ ได้นำเอาความเสื่อม และความชรามาให้กับทุกชีวิต ซึ่งทำให้เรี่ยวแรงค่อยๆ ถดถอยลงไป  สังขารมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม และในที่สุดก็สลายไปสู่ความตาย ชั้นแห่งวัยของชีวิตได้เสื่อมไปตามลำดับอย่างนี้ ท่านจึงสอนต่อไปอีกว่า ผู้ไม่ประมาทในชีวิตต้องมองให้เห็นโทษของมรณภัยคือ ความตายที่เข้ามาเยือนอยู่ทุกขณะจิต ว่าเป็นภัยใหญ่หลวงซึ่งจะหลีกหนีอย่างไรก็ไม่พ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาจึงละอามิสคือ เหยื่อล่อที่ทำให้ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในรูป …

พระพาหิยทารุจิริยเถระ Read More »

พระโสณโกฬิวิสเถระ

พระโสณโกฬิวิสเถระ พระรัตนตรัยเป็นสรณะอันเกษม เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีอานุภาพเป็นอจินไตย ยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ เกินกว่าที่ผู้มีรู้มีญาณจะคาดคะเนเอาได้ ผู้ที่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัย จึงจะซาบซึ้งในพระคุณอันไม่มีประมาณ เมื่อมีทุกข์ท่านจะช่วยขจัดปัดเป่าให้พ้นทุกข์ มีสุขแล้วก็ทำให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ชีวิตของเราจะได้รับการคุ้มครองดูแลจากท่าน ทำให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง ผู้รู้ทั้งหลายจึงยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดในชีวิต การทำสมาธิภาวนา ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าไปพบพระรัตนตรัยภายในได้ มีวาระพระบาลีที่พระสิริมัณฑเถระได้กล่าวไว้ใน ขุททกนิกาย เถรคาถาว่า “อโมฆํ ทิวสํ กยิรา     อปฺเปน พหุเกน วา ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ      ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น” ฤดูกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปแล้ว เหมันตฤดู คือ หน้าหนาวเข้ามาแทน หลายท่านได้ตั้งใจสั่งสมบุญกันมาตลอดพรรษา ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ต่างทำได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ และหากมองย้อนกลับไปก็จะเป็นภาพประวัติศาสตร์ชีวิตอันงดงาม สมกับที่ได้ชื่อว่า เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี มีพระนิพพานเป็นเป้าหมาย หลายท่านมาวัดทุกวันอาทิตย์ มาร่วมสร้างบารมีกับหมู่คณะใหญ่ หลายๆ ครอบครัวเพิ่มเติมบุญบารมีจากที่ได้รักษาศีล …

พระโสณโกฬิวิสเถระ Read More »

พระปิลินทวัจฉะ (๑)

พระปิลินทวัจฉะ (๑) เส้นทางในสังสารวัฏเป็นเส้นทางอันยาวไกล ที่จะต้องสั่งสมบุญบารมีอย่างเต็มที่ จึงจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เรื่องการทำบุญนั้น เราจะดูเบาคิดว่าจะทำเมื่อไรก็ได้ หรือไม่ทำก็ได้ อย่าคิดอย่างนั้น เพราะกว่าที่เราจะได้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต คือ สามารถขจัดอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ใช่เรื่องพอดีพอร้ายเลย หากเรายังเป็นผู้ที่ประมาทไม่เร่งสั่งสมบุญ และทำความเพียรด้วยการทำใจหยุดนิ่งควบคู่กันไป เส้นทางนั้นจะยิ่งยาวไกลออกไป ดังนั้น การสั่งสมบุญ และหมั่นปฏิบัติธรรมให้สมํ่าเสมอ จึงเป็นภารกิจหลักที่เราต้องเอาใจใส่ อย่าได้ประมาทกัน * มีวาระแห่งพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน ปิลินทวัจฉเถราปทาน ความว่า “มา มํ มิตฺตา อมิตฺตา วา    หึสนฺติ สพฺพปาณิโน สพฺเพสํ จ ปิโย โหมิ        ปุญฺญกมฺมสฺสิทํ ผลํ สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรและมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม” ทุกๆ คนที่เกิดมาในโลกนี้ หากเกิดมาแล้วพบเจอแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าจะย่างก้าวไปสถานที่แห่งใด ก็มีแต่คนคอยต้อนรับ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้ หรืออย่างน้อยก้าวไปถึงไหนได้พบแต่ความสุขสบายใจที่นั่น อย่างนี้ก็เนื่องจากสั่งสมบุญเก่ามาดี เพราะบุญที่เราสร้างเท่านั้น ที่สามารถอำนวยประโยชน์สุขทุกๆ …

พระปิลินทวัจฉะ (๑) Read More »

พระปิลินทวัจฉะ (๒)

พระปิลินทวัจฉะ (๒) ทุกความสำเร็จของชีวิตล้วนต้องแลกมาด้วยความเพียรพยายาม หากเราปรารถนาความสุขและความสำเร็จในชีวิตมากเพียงใด เราก็ต้องใช้ความเพียรพยายาม และสั่งสมบุญบารมีให้มากขึ้นเพียงนั้น แม้ว่าบนเส้นทางการสร้างบารมีจะมีอุปสรรคมากมาย แต่ถ้าเรามีความเพียรและขันติแล้ว จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคนั้นต่อไปได้ ฉะนั้น เราต้องหมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้มีใจมุ่งมั่น และจดจ่ออยู่ที่ความสำเร็จ มีความเข้มแข็งและอดทน เพื่อเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตคือ การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปิยสูตร ว่า “หมู่สัตว์ที่เกิดมาแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ หากได้ทำกรรมอันใดไว้คือบุญและบาป บุญและบาปทั้งสองประการนั้นแลเป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปย่อมเป็นของติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วยว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก” ทุกสรรพชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ สักวันหนึ่งย่อมต้องก้าวล่วงสู่จุดสุดท้ายแห่งชีวิตคือความตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น ความตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนตายเราควรจะทำชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองและชาวโลกได้อย่างไร นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายท่านได้พิจารณาเห็นคุณค่าของชีวิต จึงพากเพียรพยายามสั่งสมแต่กัลยาณธรรม สร้างคุณงามความดีไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อยังประโยชน์สุขในปัจจุบันและในภพเบื้องหน้าให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง เพราะท่านรู้ว่าบุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของชีวิตในปรโลก จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับบุญในตัว บุญกุศลที่เราได้ทำไว้จะเป็นเสมือนเงาติดตามตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง และความดีที่เราได้ทำก็ยังเป็นแบบอย่างอันดีงามให้อนุชนรุ่นหลังได้ประพฤติปฏิบัติตามอีกด้วย เหมือนดังเรื่องของพระปิลินทวัจฉเถระ ผู้ได้ถวายไทยธรรมแด่ภิกษุสงฆ์แสนรูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอดชีวิตของท่านนั้นเป็นชีวิตที่งดงามด้วยบุญกุศลล้วนๆ ท่านได้ถวายไทยธรรมเป็นจำนวนมากถึง ๑๐๘ ชนิดด้วยกัน ไทยธรรมแต่ละชนิดที่ท่านได้ถวายก็มีอานิสงส์แตกต่างกันออกไป เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง หลวงพ่อจึงขอนำอานิสงส์ที่ท่านได้ถวายไทยธรรมชนิดต่างๆ มาเล่าไว้ เพื่อเป็นกำลังใจแก่นักสร้างบารมีทุกๆ ท่าน ณ …

พระปิลินทวัจฉะ (๒) Read More »

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑)

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑) ธรรมดาของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อม แม้แต่ตัวของเราก็ต้องเสื่อมไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น เราไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต ควรมองให้เห็นโทษของความเสื่อมในตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งยังตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา มีเกิดแก่เจ็บตาย เมื่อเราเข้าใจวงจรของชีวิตอย่างนี้ เราจะได้คลายจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนบุคคล แล้วมุ่งแสวงหาหนทางหลุดพ้นไปสู่อายตนนิพพาน ที่ไม่มีชราและมรณะ เป็นอมตะ มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน สามัญญผลสูตร ว่า “จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ภิกษุผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุขในทิศทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่หงุดหงิด สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว เทียวไปคนเดียวดังนอแรด” ความสันโดษเป็นทรัพย์อันประเสริฐ เป็นทางมาแห่งความสุขกายสบายใจ คนส่วนใหญ่ที่มีความทุกข์อยู่ เพราะไม่รู้จักพอ มีแล้วอยากมีอีก เหมือนแม่น้ำ แม้มีมากมายหลายสาย ก็ไม่สามารถทำให้มหาสมุทรเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ได้ แต่ถ้ารู้จักยินดีในสิ่งที่ได้มา พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ก็เหมือนกับน้ำเพียงเล็กน้อยที่ทำให้แก้วน้ำเต็มบริบูรณ์ได้ ในทำนองเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองแม้มีอยู่จำนวนไม่มาก …

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๑) Read More »

พระนันทกเถระ (๑)

พระนันทกเถระ (๑) การเดินทางในสังสารวัฏอันหาเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายไม่ได้นี้ หมู่สัตว์ถูกอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งเห็นจริงปิดบัง เห็น จำ คิด รู้ ให้มืดมนอนธกาล เมื่อเกิดมาและตกอยู่ในความประมาท มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์อันเป็นบ่วงของพญามาร ถูกสิ่งเหล่านี้ร้อยรัดไว้ ทำให้เพลิดเพลิน และหลงลืมเป้าหมายดั้งเดิมที่เกิดมาเพื่อแสวงหาหนทางของพระนิพพาน สรรพสัตว์ได้ถูกกิเลสอาสวะครอบงำจิตใจอยู่อย่างนี้มายาวนาน ทำให้ไม่ได้เฉลียวใจว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน มีอะไรเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต หากว่าใครก็ตาม ได้มีโอกาสตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ด้วยการหมั่นตรึกระลึกนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จนใจหยุดนิ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ ก็จะรู้เห็นเรื่องราวของชีวิตไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน นันทโกวาทสูตร ว่า “ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น” * ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณี ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วกราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุณีสงฆ์ พระบรมศาสดารับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ …

พระนันทกเถระ (๑) Read More »

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒)

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒) สรรพสิ่งในโลก เป็นเพียงเครื่องอาศัยสำหรับใช้สร้างบารมี ไม่ใช่มีไว้สำหรับให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะเราเกิดมาในโลก เพียงอาศัยสิ่งเหล่านี้สร้างบารมี อย่าไปคิดว่ามันเป็นจริงเป็นจัง สมบัติทั้งหลายเป็นของกลางของโลก ที่จะช่วยให้เราสร้างบารมีได้สะดวกสบาย เราจะได้มุ่งแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระของชีวิต เป็นความจริงอันประเสริฐที่เรียกว่า อริยสัจ มีใจมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน ชีวิตเราจะได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง พระวังคีสเถระได้สรรเสริญพระอัญญาโกณฑัญญะต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า * “พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ก่อนใคร เป็นผู้มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข อันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดที่พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้นทุกอย่าง พระอัญญาโกณฑัญญะเถระผู้ไม่ประมาท ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ เป็นผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นธรรมทายาทของพระพุทธองค์ มีปกติกราบไหว้ซึ่งพระบาททั้งสองของพระศาสดา” ในวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน เป็นตอนที่น่าสนใจมาก เพราะจะได้รู้ว่า เมื่อท่านปรินิพพานแล้ว มีการจัดพิธีการเกี่ยวกับเรื่องสรีระร่างของท่านอย่างไร ต้องถือว่าเป็นงานประชุมเพลิงที่น่าอัศจรรย์มาก เพราะมีช้างและเทวดาเป็นแม่งาน ซึ่งไม่เคยมีปรากฏที่ไหนมาก่อน เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อพระเถระแม้จะหลีกเร้นเพื่อปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าหิมพานต์นานถึง ๑๒ ปี แต่ในระหว่างนั้น ท่านก็ได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตร บำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยได้เทศน์สอนเทวดา นาค ยักษ์ ครุฑ คนธรรพ์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมกันมากมายนับไม่ถ้วน พระเถระรู้ว่าอายุสังขารใกล้จะหมดลง …

พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒) Read More »

พระนันทกเถระ (๒)

พระนันทกเถระ (๒) สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมา ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย สิ่งที่จะเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิต ให้อนุชนรุ่นหลังได้อนุโมทนาคือ บุญกุศล และคุณงามความดีที่ได้สั่งสมไว้อย่างดีแล้วเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ควรใช้วันเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ สร้างบารมีกันให้เต็มที่ หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ สั่งสมความบริสุทธิ์ สั่งสมบุญกุศล ซึ่งจะเป็นเพื่อนแท้ในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ เราจะได้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เข้าถึงเอกันตบรมสุขคือ สุขที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ ภิกฺขุโนวาทานํ ยทิทํ ภิกฺขเว นนฺทโก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา พระนันทกะเป็นเลิศทางด้านให้โอวาทแก่ภิกษุณีสงฆ์” การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะได้รับตำแหน่งใหญ่โต หรือได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านต่างๆ แสดงว่าได้ประกอบเหตุไว้ดี ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เหมือนอย่างท่านพระนันทกเถระ ที่ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเลิศในด้านให้โอวาทแก่ภิกษุณีสงฆ์ เพราะท่านได้เคยทำบุญใหญ่ไว้ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถวายมหาสังฆทานแด่ภิกษุสงฆ์ถึง ๑ แสนรูป เป็นเวลา ๗ วัน เมื่อทุ่มเทเต็มที่อย่างนี้ ครั้นเอ่ยปากขอพรจากพระพุทธองค์ว่า …

พระนันทกเถระ (๒) Read More »

อัครสาวก ซ้าย-ขวา

อัครสาวก ซ้าย-ขวา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาเอกของโลก ไม่มีใครทั้งในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกและพรหมโลกที่จะยอดเยี่ยมกว่าพระองค์ได้ ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ความรู้ทั้งหมดที่พระองค์ทรงนำมาแสดงนั้นกลั่นออกมาจากกลางของพระธรรมกาย ซึ่งเกิดจากการได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ เป็นไปเพื่อความขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธโอวาท จึงเป็นผู้ดำเนินชีวิตไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นตามพระองค์ไปด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร” ชีวิตเราจะมีสาระหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่ที่การปฏิบัติตน ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นมา และปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มตั้งแต่ความเห็นถูกเรื่อยไปจนถึงทำสมาธิถูกต้อง รวมทั้งไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจ การดำเนินชีวิตอย่างนี้นับว่าเป็นชีวิตที่มีคุณค่าสมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วได้ทำความดีได้สร้างบารมี บุญบารมีก็เพิ่มขึ้น สิ่งใดที่ไม่ดีเป็นบาปอกุศล เราก็ลด ละ เลิกเสีย อะไรที่เป็นข้อบกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สิ่งใดที่ไม่เป็นสาระก็เลิกทำ ทำแต่สิ่งที่เป็นสาระ เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นสาระแก่นสารของชีวิต ก็ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง  ไม่อาศัยทิฐิมานะที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญขึ้นได้ ควรเปิดใจให้กว้างเพื่อรับสิ่งที่ดีงามเข้ามาในชีวิต ไม่หลงติดอยู่กับการปฏิบัติผิดๆ …

อัครสาวก ซ้าย-ขวา Read More »

พระโปฐิลเถระ

พระโปฐิลเถระ ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา เป็นความรู้ที่นำไปสู่การรู้แจ้ง มีความละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการคาดคะเน จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่ลงมือปฏิบัติเท่านั้น เป็นของเฉพาะตน ผู้ที่ได้บรรลุจะรู้เห็นเอง เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นเพียงผู้ชี้แนะหนทาง หากเราตั้งใจปฏิบัติกันจริงๆ และปฏิบัติอย่างถูกวิธี เราย่อมเข้าถึงธรรมอย่างแน่นอน เนื่องจากธรรมทั้งหลายมีอยู่ภายในตัวของทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นหรือสมมติขึ้นมาเอง แต่เป็นของที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก ซึ่งจะเข้าถึงได้ต่อเมื่อทำใจให้หยุดนิ่งเท่านั้น และการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ชีวิตของเราจะดำเนินไปในทางแห่งความสุข ทางที่ถูกต้องดีงาม และปลอดภัยเสมอ พระบรมศาสดาตรัสเรื่องกิจที่ต้องทำในทางพุทธศาสนาไว้ ๒ ประการว่า “การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ  เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ” วิชาความรู้ในทางพระพุทธศาสนา เป็นความรู้ที่นำไปสู่การเห็นแจ้งภายใน ยิ่งเรียนก็ยิ่งมีความสุข อยากเพิ่มพูนความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจให้มากยิ่งขึ้น ผู้ได้ศึกษาคำสอนของพระบรมศาสดา นับว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐ เพราะความรู้นี้ไม่ใช่เกิดจากการวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ หรือทดลองได้ผลระดับหนึ่ง แล้วนำมาเขียนเป็นตำรับตำราสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา แต่เป็นคำสอนที่เกิดจากการรู้แจ้งเห็นจริงที่เรียกว่า เกิดจากการตรัสรู้ธรรม เป็นความรู้ที่หลั่งไหลมาจากกลางพระธรรมกายอรหัตของพระพุทธองค์ เป็นความรู้ที่คู่กับความสุข และความบริสุทธิ์  ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาจึงเหมือนกับได้เข้าไปนั่งใกล้พระพุทธองค์ นั่งใกล้พระรัตนตรัย …

พระโปฐิลเถระ Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร)

ชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุชัยทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร) โอกาสที่หาได้ยากที่สุดในการสร้างบารมีของสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ โอกาสที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ แม้หมู่สัตว์เหล่าอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ล้วนปรารถนาจะได้เกิดเป็นมนุษย์เช่นพวกเรา เพราะเป็นโอกาสดีโอกาสเดียวที่สามารถสั่งสมบุญบารมีได้อย่างเต็มที่ เมื่อเราได้ในสิ่งที่ได้โดยยากเช่นนี้แล้ว ควรจะต้องใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยต้องรู้จักประคับประคองตัวของเราให้ดำเนินชีวิตอยู่บนเส้นทางแห่งความดี เส้นทางแห่งบุญ ชีวิตจึงจะมีคุณค่า เพราะบุญเท่านั้น ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองตัวของเราให้ปลอดภัยจากภัยทั้งหลาย ทั้งภัยในชีวิต ภัยในอบายและภัยในสังสารวัฏ โดยเฉพาะบุญที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา จะทำให้เส้นทางไปสู่อายตนนิพพานของเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะถึงที่หมายโดยปลอดภัยและรวดเร็ว มีพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “เราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปในสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเรา ถึงวิสังขารคือพระนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้” นี้เป็นพุทธอุทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นปฐมพุทธพจน์ หลังจากชนะพญามารและเหล่าเสนามาร และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อได้เล่าไว้เมื่อคราวที่แล้วว่า เมื่อพญามารยกพลมามืดฟ้ามัวดิน เพื่อแย่งชิงรัตนบัลลังก์ และขัดขวางการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ เทวดาและพรหมทั้งหลายเห็นเช่นนั้น ต่างพากันหวาดกลัว ขนลุกขนพองไปตามๆกัน รีบหลบหนีเอาตัวรอดไป ทิ้งพระโพธิสัตว์ไว้เพียงลำพัง …

ชัยชนะครั้งที่ ๑ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะพญามาร) Read More »

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21-43

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21 หมอชีวกโกมารภัจจ์ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 22 บัณฑิตในสมัยพุทธกาล ๑ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 23 บัณฑิตในสมัยพุทธกาล ๒ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 24 พุทธสาวิกา ภิกษุณี Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 25 พระสูตร ๑ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 26 พระสูตร ๒ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 27 เรื่องกรรม  Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 28 พุทธรัตนะ Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 29 อยู่ในธรรมเพราะกัลยาณมิตร Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 30 ผู้รัตตัญญู Sound ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 31 คาถากันยักษ์ …

ธรรมะเพื่อประชาชน ชุดที่ 21-43 Read More »