อย่าขอสิ่งที่ไม่ควรขอ (ฤาษีขอแก้วมณีจากนาคราช)

อย่าขอสิ่งที่ไม่ควรขอ (ฤาษีขอแก้วมณีจากนาคราช)

กว่าพระพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้นมาในโลกนี้ยากแสนยาก ต้องมีพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ซึ่งกว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธองค์ต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ทุ่มเท ชีวิตจิตใจ สร้างบารมีอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก ยอมทำทุกอย่างเพื่อสร้างบารมีให้แก่ รอบ จนกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลกของมนุษย์และเทวดา ทั้งหลาย เมื่อธรรมกายบังเกิดขึ้นแล้ว จึงมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธศาสนาเริ่มต้นที่ธรรมกาย

ดังนั้น การบังเกิดขึ้นของธรรมกายจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ผู้ใดได้ปฏิบัติจนเข้า ถึงธรรมกาย ย่อมพบกับความสุขที่แท้จริง ชีวิตย่อมมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาล นาน

มีวาระพระบาลีใน มณิกัณฐชาดก ความว่า

“น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส
เทสฺโส จ โหติ อติยาจนาย
นาโค มณึ ยาจิโต พฺราหฺมเณน
อทสฺสนํเยว ตทชฺฌคมา

บุคคลรู้ว่า สิ่งของ อันใดเป็นที่รักของเขา ก็ไม่ควรขอสิ่งของอันนั้น อนึ่ง บุคคลย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด พญานาคถูกพราหมณ์ขอแก้วมณี ตั้งแต่นั้นก็มิได้มาให้ พราหมณ์เห็นอีกเลย”

ความเกรงอกเกรงใจ รู้ว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ เป็นนิสัยของบัณฑิตนักปราชญ์ การทำสิ่งใดที่ไม่พอ ดีนั้น ย่อมไม่เป็นผลดีเลย ความพอดีเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่อง ของการขอ เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ขอควรจะเป็นผู้ที่รู้ว่า สิ่งที่เอ่ยปากขอไปนั้น เป็นสิ่งที่ เหลือบ่ากว่าแรงของผู้อื่นหรือไม่ จะทำให้ผู้อื่นอึดอัดหรือไม่ และถูกกาลหรือไม่ เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ สุดที่พึงระวังก็คือ ไม่ควรขอในสิ่งอันเป็นที่รักของบุคคลอื่น เพราะการขอในสิ่งอันเป็นที่รักนั้น หากผู้ ให้ไม่เต็มใจให้ ผู้ขอก็ไม่สมควรขอ ควรขอเฉพาะในสิ่งที่เขาไม่ลำบากใจ และไม่กระทบฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง ผู้ขอจึงควรใคร่ครวญให้ดีก่อนขอ อย่าให้กระทบกระเทือนใจผู้ถูกขอ เพราะถ้าขอสิ่งอันเป็นที่ รักของเขาแล้ว อาจทำให้เกิดความกินแหนงแคลงใจกัน หรืออาจทำให้เสียมิตรภาพต่อกันได้

* มีเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในสมัยพุทธกาล ครั้งนั้นภิกษุ ชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏิ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่มากด้วยการขอ ขอในทุกๆ สิ่ง ไม่มีความพอดี มี แต่จะเอาอย่างเดียวเท่านั้น ในช่วงแรกๆ ญาติโยมทั้งหลายพากันขวนขวายในบุญ แต่ครั้นถูกขอมากๆ เข้าก็เกิดอาการเอือมระอาขึ้นมา เพราะภิกษุเหล่านั้นไม่มีความเกรงอกเกรงใจญาติโยม บางครั้งก็ขอ ไม่ถูกกาลอีกด้วย

เมื่อชาวเมืองอาฬวี ถูกภิกษุผู้ไม่รู้จักประมาณเบียดเบียนเช่นนั้น พากันเกิดอาการเบื่อหน่าย ทันทีที่เห็นสมณะเดินผ่านมา ต่างหลบหนีไปหมด วันหนึ่ง พระมหากัสสปะเข้าไปบิณฑบาตในเมืองอาฬวี ชาวเมืองเห็นพระเถระ เดินมา ต่างพากันหวาดกลัวรีบหลบหน้ากันไปหมด พระเถระเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น รู้สึกแปลกใจ ครั้นกลับจากบิณฑบาตจึงเรียกภิกษุที่อาศัยอยู่ที่เมืองอาฬวีมาสอบถามว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อก่อน เมืองอาฬวี ผู้คนมีศรัทธา มีการให้ทานอยู่เป็นนิตย์ แต่เดี๋ยวนี้เหตุการณ์กลับตรงข้าม เป็นเพราะ สาเหตุอะไรกัน”

ครั้นพระศาสดา เสด็จจาริกผ่านมาที่เมืองนั้น พระเถระได้เข้าไปกราบทูลเรื่องราวทั้งหมด พระศาสดาจึงตรัสเรียก ประชุมภิกษุทั้งหมดที่อาศัยในเมืองนั้น แล้วสอบสวนถึงเรื่องราวทั้งหมดว่า “จริงหรือไม่ ที่พวกเธอ ทั้งหลายเป็นผู้มากด้วยการขอ จนกระทั่งญาติโยมเกิดความเอือมระอา” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลยอม รับว่า “เป็นความจริงพระเจ้าข้า” พระศาสดาจึงประทานโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ขึ้นชื่อว่าการขอนี้ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแม้แก่พวกนาคทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงมวล มนุษย์ผู้ที่หาทรัพย์มาด้วยความยากลำบาก” จากนั้นพระพุทธองค์ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาตรัสเล่า ว่า

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นตระกูลที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติมากมาย ครั้น เจริญวัย ผู้มีบุญท่านหนึ่งได้มาบังเกิดในครรภ์ของมารดาพระโพธิสัตว์ เมื่อพี่น้องทั้งสองเจริญวัยขึ้น มารดาบิดาได้เสียชีวิตลง สองพี่น้องรู้สึกสลดสังเวชใจ จึงตัดสินใจพากันออกบวชเป็นฤๅษี สร้าง บรรณศาลาอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา

วันหนึ่ง พญานาคชื่อ มณิกัณฐะ ออกมา จากนาคพิภพ แปลงกายเป็นมาณพน้อยเดินเที่ยวไปตามฝั่งแม่น้ำ พบอาศรมของฤๅษีผู้น้อง เมื่อเห็น นักบวชก็ไหว้แล้วถือโอกาสสนทนาธรรมกันเป็นที่ถูกอกถูกใจ กระทั่งเกิดความคุ้นเคยกันอย่างมาก

ตั้งแต่นั้นมา พญานาคราช ได้หาโอกาสมายังสำนักของฤๅษีผู้น้องบ่อยๆ แต่พอเวลาจะกลับจึงไปด้วยสภาวะเดิมตาม อัตภาพของตัว เอาขนดหางตวัดรัดรอบกายพระฤๅษีด้วยความรัก แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกป้องไว้ เหนือศีรษะ นอนพักอยู่สักครู่ พอหายคิดถึงก็กลายร่างเป็นมาณพไหว้พระฤๅษี จากนั้นก็ลากลับไปยัง นาคพิภพ พญานาคทำเช่นนั้น ทำให้ฤๅษีผู้น้องของพระโพธิสัตว์เกิดความกลัวมาก ถึงกับบริโภค อาหารไม่ลง ร่างกายซูบผอม นอนไม่หลับ ผิวพรรณวรรณะไม่ผ่องใส เกิดเป็นโรคผอมเหลือง เนื้อ ตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น

วันหนึ่ง ฤๅษีผู้น้อง ได้เดินทางไปหาพี่ชาย พระโพธิสัตว์เห็นน้องมีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณเศร้าหมองเช่นนั้น จึงเอ่ย ถามด้วยความสงสัยว่า “เกิดอะไรขึ้น ทำไมน้องดูซูบผอมไป รูปร่างหน้าตาก็บ่งบอกว่าไม่มีความสุข สบายเลย” ฤๅษีผู้น้องได้เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้พี่ชายฟัง พระโพธิสัตว์ฟังเรื่องราวจบ ก็ถามน้องว่า “เวลาที่นาคนั้นมาหาได้สวมใส่เครื่องประดับอะไรที่เด่นชัดสะดุดตา หรือมีของมีค่า อะไรติดมา”

ฤๅษีผู้น้องตอบว่า เห็นแก้วมณีดวงหนึ่งที่นาคนั้นประดับมาด้วยทุกครั้ง พระโพธิสัตว์จึงบอกอุบายว่า “ถ้าน้องไม่ปรารถนาจะให้พญานาคนั้นมาอีก ทันทีที่พญานาคเข้ามาหา ให้น้องรีบเอ่ยปากขอแก้ว มณีดวงนั้น หากนาคยังไม่ให้ ก็ให้น้องหมั่นขอบ่อยๆ ไม่เกินสามครั้ง พญานาคจะไม่มารัดตัวน้อง ด้วยขนดหางอีกเลย

รุ่งขึ้น ทันทีที่พระฤๅษีเห็นพญานาค ก็รีบเอ่ยปากว่า “ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่เราด้วยเถิด เราปรารถนาจะได้มาก” พญานาคฟังดังนั้น ก็รีบหนีไปทันที วันที่สอง พระฤๅษีกล่าวเช่นเดิมอีก พญานาคก็หนีหายไปอีก ครั้นวันที่สามทันทีที่พระฤๅษีพูดซ้ำเช่นเดิมอีก พญานาคตอบว่า “แก้วมณีนี้มีความสำคัญต่อเรามาก ท่านขอมา ๓ วันแล้ว ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ ขอเกินไป ครั้นเราจะมิให้ก็มิได้ ฉะนั้นเรา จะไม่มาที่อาศรมของท่านอีก” จากนั้นพญานาคก็ดำน้ำลงไปยังนาคพิภพทันที แล้วไม่กลับมาอีกเลย

หลังจากนั้นพระ ฤๅษีกลับผอมยิ่งกว่าเดิมเพราะคิดถึงพญานาค เมื่อพระฤๅษีโพธิสัตว์รู้เรื่องเช่นนี้ จึงเดินทางมาให้ โอวาทว่า “ผู้ที่รู้ว่าสิ่งของใดเป็นที่รักของเขา ก็ไม่ควรขอของสิ่งนั้น บุคคลจะเป็นที่เกลียดชังก็เพราะ การขอจัดเกินไป ครั้งแรกน้องไม่ต้องการให้นาคกลับมา เมื่อพญานาคถูกขอสิ่งอันเป็นที่รักจึงไม่ กลับมาอีก น้องก็ควรทำใจให้สบาย หมั่นปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์เถิด” ฤๅษีผู้น้องฟังโอวาทพี่ชายก็ ได้คิด จึงตั้งใจเจริญสมาธิภาวนา จนกระทั่งบรรลุฌานสมาบัติ และทั้งสองได้เข้าถึงพรหมโลกในที่ สุด

จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า ผลแห่งการขอในสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของ บุคคลอื่นนั้น ผู้ขอจะไม่เป็นที่รักที่เคารพของผู้ที่ถูกขอเลย ดังนั้น พิจารณาให้ดีก่อนที่ จะขอสิ่งใด อย่าให้มิตรภาพแตกร้าว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกผู้ที่ไม่มีความเกรง อกเกรงใจ ที่ขาดความละอายว่า เป็นผู้เก้อยาก ไม่ว่าจะทำสิ่งใดต้องให้พอเหมาะพอดี ต้องถูกดี ถึงดี พอดี จึงจะบังเกิดผลที่ดีงาม เมื่อทำเช่นนี้ทั้งผู้ที่ขอก็มีความสุข ผู้ที่ถูกขอก็เบิกบานใจ บุญบารมีก็จะได้ เพิ่มพูนขึ้นทั้งสองฝ่ายด้วย

* มก. เล่ม ๕ ๘ หน้ า ๒๒

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่)

ที่มา https://buddha.dmc.tv/dhamma/14932
ต้นฉบับ หนังสือ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับสารธรรม ๒

กลับสู่
สารบัญธรรมะเพื่อประชาชน สำหรับไฟล์เสียง, วีดีโอ และ Article
สารบัญ หนังสือธรรมะเพื่อประชาชน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *