อัธยาศัยของมนุษย์ ๑ (ลักษณะคนมีราคจริต และศรัทธาจริต)

อัธยาศัยของมนุษย์ ๑ (ลักษณะคนมีราคจริต และศรัทธาจริต)

การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม หมู่ใหญ่ ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้อง เรียนรู้อุปนิสัยซึ่งกันและกัน จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบ กระทั่งกัน เมื่อเข้าใจและให้อภัยกันและกันได้ง่าย ซึ่งการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขที่ แท้จริงนั้น ต้องประกอบด้วยความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน มีความจริงใจต่อกันด้วยใจที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มมาจากพื้นฐานใจที่หยุดนิ่ง ดังนั้นการหยุดใจได้อย่าง สมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับมวลมนุษยชาติทั้งหลาย เพราะสันติภาพของโลกจะ เกิดขึ้นได้ ต้องมีจุดเริ่มต้นมาจากสันติสุขภายในก่อน โดยเริ่มต้นที่ตัวของเราเป็นอันดับ แรก

มีวาระพระบาลีที่กล่าวถึง การสังเกตจริตอัธยาศัยของมนุษย์ทั้งหลาย ไว้ว่า

“อิริยาปถโต กิ จฺจา โภชนา ทสฺสนาทิโต
ธมฺมปฺปวตฺติโต เจว จริยาโย วิภาวเย

บัณฑิตพึงทราบ จริตทั้งหลาย โดยอิริยาบถ โดยกิจ โดยการบริโภค โดยอาการ มีการดู เป็นต้น และโดยความเป็นไป แห่งธรรมนั่นแล”

การเรียนรู้จริต อัธยาศัยของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และถ้ารู้แล้วก็จะเป็นเหมือนกุญแจ ที่จะไขเข้าไปสู่ จิตใจของเขา เพราะมนุษย์ทุกคนมีความคิด คำพูด และการกระทำที่แสดงออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ แม้เราไม่มีญาณวิเศษ เราก็สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรม และอุปนิสัยที่แสดงออกมา หากเราลอง สังเกต เราก็จะรู้อุปนิสัยของแต่ละบุคคลได้โดยไม่ยาก ตามปกติแล้วเราสามารถแบ่งจริตอัธยาศัย ของมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไปได้ถึง ๖ อย่าง คือ ราคจริต ศรัทธาจริต โทสจริต พุทธิจริต โมหจริต และวิตกจริต

ครั้งนี้จะได้นำเรื่อง อุปนิสัยของคน มาให้พวกเราได้เรียนรู้ เพื่อจะได้ดูคนเป็น จะได้เลือกบริหารคนให้เหมาะสมกับงาน และเพื่อเป็นการประดับสติปัญญา ขณะเราไปทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตร ชี้แนะให้เขาเห็นคุณค่าของ การปฏิบัติธรรม เราจะได้ทราบว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม และทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง

คนที่มีพื้นฐานเป็น คน ราคจริต มีข้อน่าสังเกต คือ มักจะมีอิริยาบถที่พอเหมาะพองาม ทำ อะไรไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป กิริยาท่าทางจะนุ่มนวล เมื่อจะเดินก็เดินไปโดยปรกติ ค่อยๆ วางเท้าลง ยกเท้าขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เวลาจะยืนหรือนั่งก็น่าดูน่าชม มีอาการละมุน ละไม เวลานอนก็จะไม่รีบร้อน จะจัดแจงทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อนเสมอ แล้วค่อยๆ นอน นอนอยู่ใน อาการที่สงบเรียบร้อย เมื่อถูกปลุกให้ลุกขึ้น ก็จะไม่ลุกขึ้นโดยผลีผลาม ถ้าจะสังเกตที่การกระทำ ทำ อะไรก็จะทำอย่างตั้งอกตั้งใจ ทำอย่างเรียบร้อย ถ้าจะสังเกตเรื่องอาหารการกิน ก็มักจะชอบใจอาหาร ที่มีรสไม่จัดจนเกินไป มีรสอร่อยกลมกล่อม เวลาจะทานก็จะทำคำข้าวให้พอเหมาะพอดี จะทานก็ไม่ รีบร้อนแม้อาหารจะถูกใจก็ตาม

ถ้าสังเกตโดยทัสสนะ คนที่มีราคจริตไม่ว่าชายหรือหญิง เมื่อเห็นรูปสวยๆ มักจะชอบใจ ได้ฟังเสียงที่ไพเราะ ได้ดมกลิ่นหอมๆ ได้ลิ้มรสที่ถูกใจ ได้สัมผัสที่นุ่มนวล แม้จะเป็น เพียงเล็กน้อย ซึ่งดูเหมือนจะไม่สำคัญเท่าไร แต่เขากลับรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ จะเกิดความพออกพอใจมากกว่าคนปกติทั่วไป

หากสังเกตโดยความ เป็นไปแห่งธรรมแล้ว ใจของเขาจะค่อนข้างหวั่นไหวง่าย ไม่หนักแน่นพอ และอาจมีความถือตัวอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นคนทำอะไรก็จะทำได้ดีและประณีต บางครั้งอาจคุยมากไปหน่อย และต้องการให้ผู้ อื่นมายกย่องชื่นชม ในคุณงามความดีที่ตนได้กระทำ โดยทั่วไปแล้วมักจะชอบคนหมู่มาก มีมนุษยสัมพันธ์ดี ไม่ค่อยมีความสันโดษ จะมีความทะยานอยากอยู่เรื่อยๆ ไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่ตนมีและเป็น คนที่ไม่เด็ดขาด ค่อนข้างจะโลเล แต่ก็มีความคิดสร้างสรรค์ดี ชอบคิดประดิดประดอยสิ่งต่างๆ รวม ไปถึงเครื่องประดับ เป็นคนที่พิถีพิถันในเรื่องความสวยงามเป็นพิเศษ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นพื้น ฐานอุปนิสัยของคนที่มีราคจริต ซึ่งเราก็สามารถจะสังเกตออก และเรียนรู้ได้โดยไม่ยาก เมื่อรู้แล้วก็ จะสามารถให้งานที่เหมาะสมกับอัธยาศัยของเขาได้

ส่วนจริตประการที่ ๒ คือ ศรัทธาจริต คนกลุ่มนี้จะมีอุปนิสัยใจคอดีมาก มีพื้นใจที่ดีมาก จริตอัธยาศัยของคนที่มีศรัทธานั้น หากจะสังเกตโดยอิริยาบถ โดยการกระทำ โดยทัศนะ หรืออาหาร การกิน ก็จะคล้ายกับกลุ่มคนผู้มีราคจริต แต่ความแตกต่างระหว่างราคจริตและศรัทธาจริตนั้น จะมี ความแตกต่างกันในด้านธรรมะในจิตใจ คือ ใจของผู้มีราคจริต มักจะโน้มเอียงไปทางเบญจกามคุณ

แต่ผู้มีศรัทธาจริต ใจจะผ่องใสอุดมไปด้วยธรรมะเป็นปกติ แสงสว่างแห่งธรรมจะเจิดจ้าอยู่ในใจอยู่เสมอ สมบูรณ์ไป ด้วยกุศลธรรม โดยพื้นใจมักจะเป็นคนที่ชอบเสียสละ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งภายนอก จะมีใจที่ปลอด กังวล ไม่ค่อยห่วงใยในสิ่งอะไรทั้งนั้น ชอบการให้ทานและให้ด้วยใจที่เบิกบานผ่องใส จะเป็นคนมี ศรัทธาแรงกล้าปรารถนาที่จะได้พบเห็นพระอริยเจ้า และชอบฟังธรรมที่มีเนื้อหาสาระ ที่เป็นอรรถ เป็นธรรม เวลาที่ทำความดี ก็จะมากไปด้วยความปีติปราโมทย์ใจ เมื่อมีโอกาสฟังธรรม หรือพบกับ พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ก็จะแสดงอาการเลื่อมใส จะไม่มีนิสัยโอ้อวดแข็งกระด้าง ไม่พูดพล่อย เป็นคนไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่มีมายา และมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ชนิดอจลศรัทธาทีเดียว ใคร จะมาชักชวนยั่วยุให้เลิกนับถือพระรัตนตรัยอย่างไรก็ไม่หวั่นไหว

แบบอย่างของผู้มี ศรัทธาจริตในสมัยพุทธกาลนั้น ที่โดดเด่นและเป็นแบบอย่างให้กับนักสร้างบารมีในยุคหลังๆ คือ มหาอุบาสิกาวิสาขา ท่านเป็นยอดนักสร้างบารมีในยุคนั้น โดยอุปนิสัยกิริยามารยาทภายนอกก็ดูงดงาม น่าเลื่อมใส สมบูรณ์ด้วยอิตถีลักษณะ คือ เบญจกัลยาณี ความงามทั้ง ๕ ประการ ตั้งแต่รูปงาม ผมงาม โครงสร้างงาม ผิวงาม และวัยงาม อิริยาบถภายนอกไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็น ลักษณะที่งดงามสมกุลสตรี

* มีเหตุการณ์หนึ่ง ขณะที่มหาอุบาสิกาวิสาขาเดินอยู่ ท่ามกลางสายฝน ด้วยอาการปกติไม่รีบร้อน แต่เหล่าบริวารต่างวิ่งชลมุลเพื่อหาที่กำบังฝน พวก พราหมณ์ได้ถามนางว่า “ทำไมไม่รีบวิ่งหาที่หลบฝนเหมือนคนอื่น” ท่านบอกเหตุผลว่า “หากวิ่งแล้ว อาจเกิดความพลาดพลั้งหกล้มแขนขาหัก ผู้มีพระคุณคือคุณพ่อคุณแม่ก็จะเสียใจ” ท่านมีปฏิภาณในการตอบที่น่าฟัง

หากพูดถึงจิตใจที่งดงามแล้ว มหาอุบาสิกาวิสาขาเป็นผู้มีจิตใจงดงามมาก มีศรัทธาที่มั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นอจลศรัทธา หนักแน่นมั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจสร้างมหาทานบารมีในพระพุทธศาสนา สร้างมหาวิหารบุพพาราม เพื่อเป็นที่พำนักของภิกษุสงฆ์ และทำนุบำรุงด้วยปัจจัย ๔ โดยไม่ให้ขาด ตกบกพร่อง ในดวงใจของท่าน เต็มเปี่ยมไปด้วยบุญกุศลและธรรมปีติ ใจก็โน้มไปในการสร้างบารมี อยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่รักการสร้างบารมีเหนือสิ่งอื่นใด แม้บางช่วงของชีวิตจะตกอยู่ในสภาวะที่ไม่ สามารถสร้างบารมีได้สะดวก แต่ความคิดที่จะทำบุญกุศลก็ไม่เคยหายไปจากใจเลย

ช่วงที่มหาอุบาสิกา วิสาขาแต่งงานใหม่ๆ ต้องย้ายไปอยู่ในตระกูลของพ่อสามี ซึ่งเป็นตระกูลมิจฉาทิฏฐิ และนางวิสาขา ถูกห้ามการทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น แต่เนื่องจากท่านเป็นผู้มีปัญญา จึงไม่ได้ตีโพยตีพาย อะไร ยังคงทำหน้าที่ของตนเองไม่ให้ขาดตกบกพร่อง จนเป็นที่ยอมรับของทุกๆ คน มี เพียงพ่อสามีเท่านั้นที่ไม่ยอมรับ กระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่พ่อสามีกำลังนั่งรับประทานอาหารอยู่ มีพระ เดินบิณฑบาตผ่านมา นางวิสาขาเหลือบสายตาไปพบ ก็นิมนต์พระให้ไปโปรดบ้านข้างหน้า เพราะ บ้านนี้เขาบริโภคของเก่า เมื่อพ่อสามีได้ยินดังนั้นนั้น ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความหมายของนาง วิสาขาหมายถึง พ่อสามีใช้บุญเก่าไม่ยอมสร้างบุญใหม่ จนเกิดเป็นเรื่องเป็นราวกันใหญ่โต ต้องอาศัย ตุลาการสมัยนั้นตัดสิน แต่ในที่สุดพ่อสามีก็เป็นฝ่ายแพ้และอนุญาตให้มหาอุบาสิกาวิสาขา สร้างมหาทานบารมีได้ตามสะดวก ภายหลังพ่อสามีก็เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย กระทั่งได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน

เราจะเห็นว่า แม้จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างบารมี ผู้ที่ประกอบด้วยศรัทธาจริต ก็ยังคงขวนขวาย ทุกอย่างเพื่อสร้างบุญบารมี แม้บางครั้งจะต้องอาศัยเวลานานพอสมควร กว่าจะทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเห็น ด้วย และแม้จะต้องเจออุปสรรคมากมาย แต่นักสร้างบารมีผู้มากด้วยศรัทธาก็ไม่หวั่นไหว ไม่คิด ท้อถอย ยังคงมุ่งหน้าสร้างบารมีต่อไป เราทั้งหลายก็อย่าได้หวั่นไหว ให้ตั้งใจสร้างบารมีกันให้เต็มที่ ครั้งนี้ยังอธิบายเรื่องจริตอัธยาศัยของคนได้ไม่หมดทุกหัวข้อ ไว้ศึกษากันต่อในครั้งต่อไป

* มก. เล่ม ๓๓ หน้า ๘๙

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่)

ที่มา https://buddha.dmc.tv/dhamma/14568
ต้นฉบับ หนังสือ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับสารธรรม ๒

กลับสู่
สารบัญธรรมะเพื่อประชาชน สำหรับไฟล์เสียง, วีดีโอ และ Article
สารบัญ หนังสือธรรมะเพื่อประชาชน

1 thought on “อัธยาศัยของมนุษย์ ๑ (ลักษณะคนมีราคจริต และศรัทธาจริต)”

  1. ✨น้อมกราบอนุโมทนาบุญกับโอวาท
    คำสอนและธรรมทานอันทรงคุณค่า
    หลวงพ่อธัมมชโย #คุณครูไม่ใหญ่
    ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง สาธุครับ
    🏵️🌼🌺🌸💮🌟🌷🌟💮🌸🌺🌼🏵️

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *