ธรรมะเพื่อประชาชน

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )                  สรณะสูงสุดอันเกษมของพวกเราทั้งหลาย คือ พระรัตนตรัย ได้แก่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ที่ประชุมรวมอยู่ภายในตัวของเราทุกคน ไม่ได้อยู่นอกตัว เมื่อเราแสวงหา สรณะหรือที่พึ่งชนิดนี้ ต้องรู้จักวิธีที่จะเข้าให้ถึง โดยการทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ หยุดลงไปตรงที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างเบาสบาย ฝึกทำบ่อยๆ ทำให้สม่ำเสมอ ยิ่งใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ จะเข้าไปพบกับพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้บริสุทธิ์ภายในได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อเราประสบทุกข์ เราก็พึ่งท่านได้ จะทำให้มีแต่ความสุข สดชื่นเบิกบาน    นี้คือที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริงของเรา และมวลมนุษยชาติตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ชาดกว่า         ” บัณฑิตทั้งหลายไม่ประพฤติความชั่ว เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถึงถูกความทุกข์กระทบแล้ว พลาดจากสมบัติ ก็สงบ ย่อมไม่ละทิ้งธรรมเพราะความรักและความชัง ”            ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อถูกความทุกข์เข้าครอบงำ ไม่ว่าจะเป็นจากเสื่อมลาภสักการะที่เคยได้ …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม ) Read More »

ศาสดาเอกของโลก (๔) – พุทธประวัติ

ศาสดาเอกของโลก (๔) พุทธประวัติ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน….มนุษย์… ชาติล้วนปรารถนาให้… โลกมีสันติสุขที่แท้จริง…แต่… ไม่มีใครรู้ว่าสันติสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน จะเข้าถึงได้อย่างไร จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า การที่จะทำให้เกิดสันติสุขที่แท้จริงนั้น มนุษย์ทุกคนจะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงสันติสุขภายใน คือ เข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นต้นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริง และเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ หากได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกวิธี ย่อมสามารถเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า “สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ  สทา โคตมสาวกาเยสํ ทิวา จ รตฺโต จ  นิจฺจํ พุทฺธคตา สติสุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ  สทา โคตมสาวกาเยสํ ทิวา จ รตฺโต จ  นิจฺจํ ธมฺมคตา สติสุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ  สทา โคตมสาวกาเยสํ ทิวา จ รตฺโต จ  นิจฺจํ สงฺฆคตา สติ        สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน …

ศาสดาเอกของโลก (๔) – พุทธประวัติ Read More »

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๙ ( แก้ปัญหาเทพ )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๙ ( แก้ปัญหาเทพ )                 งานสำคัญอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ที่ติดตัวมา  ตั้งแต่เกิด คือ งานสร้างบารมี ขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นจากใจ ส่วนการประกอบธุรกิจการงาน การทำมาหากินเป็นเรื่องรอง เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะเราต่างดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ต้องอาศัยปัจจัยสี่มาคอยหล่อเลี้ยงตัวเอง และครอบครัว ให้ดำรงชีวิตโดยไม่ลำบาก จะได้เอื้ออำนวยต่อการสร้างบารมีอย่างสะดวกสบาย งานขจัดกิเลสอาสวะซึ่งเป็นงานทางใจ และเป็นงานหลักของชีวิต เราจะทอดธุระไม่ได้ ต้องเอาใจใส่ด้วยการหมั่นฝึกฝนอบรมใจให้หยุดให้นิ่งให้สะอาดบริสุทธิ์ ถ้าทำกันอย่างสม่ำเสมอ ทำอย่างถูกวิธี จะได้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกภายใน    คือ พระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของเรา ทำให้การเดินทาง ไกลในสังสารวัฏนั้นปลอดภัย   มีวาระพระบาลีใน มหาสุตโสมชาดกว่า “นาภาสมานํ ชานนฺติ    มิสฺสํ พาเลหิ ปณฺฑิตํ ภาสมานญฺจ ชานนฺติ    เทเสนฺตํ อมตํ ปทํ         นักปราชญ์อยู่ปะปนกับพวกคนพาล  เมื่อยังไม่พูดจา ก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นบัณฑิต จะรู้ว่าเป็นบัณฑิตก็ต่อเมื่อพูดแสดงทางอมตะ” …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๙ ( แก้ปัญหาเทพ ) Read More »

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๐ ( อย่าบอกความลับแก่ใคร )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๐ ( อย่าบอกความลับแก่ใคร )                 การที่ชีวิตจะปลอดภัยจากภัยทั้งหลายในสังสารวัฏนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในการสั่งสมบุญบารมี ยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ หมั่นตรึกระลึกนึกถึงพระรัตนตรัยตลอดเวลา ทำใจให้เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัยให้ได้ และควรจะนำความรู้ที่เกิดจากการเข้าถึงพระรัตนตรัย ไปทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร เป็นแสงสว่าง แก่โลก นี่คือหัวใจของการสร้างบารมี ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาในภพชาตินี้ หากพวกเราทุกคน เป็นผู้ที่เอาจริงเอาจังในการปฏิบัติธรรม ชีวิตย่อมจะคุ้มค่าสมกับที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีวาระพระบาลีใน ปัณฑรกชาดก ความว่า          ” นรชนใดบอกความลับแก่คนอื่น นรชนนั้นจัดเป็นคนโง่เขลา นับวันจะต้องเสื่อม โดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ และฉันทาคติ   ผู้ใดปากพล่อย นับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้ายคล้ายอสรพิษ ควรเว้นคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล ”         เรื่องมโหสถบัณฑิต ในตอนนี้เป็นเรื่องของความลับว่า  ควรเปิดเผยแก่ใคร ไม่ควรเปิดเผยแก่ใครบ้าง เมื่อพูดถึงความลับ หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่ควรแพร่งพราย เพราะหากมีคนอื่นรู้ และแพร่ขยายออกไป …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๐ ( อย่าบอกความลับแก่ใคร ) Read More »

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา )         กรณียกิจที่สำคัญของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การฝึกฝนใจให้สะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ พ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร หากไม่หมั่นฝึกใจให้หยุดนิ่ง เราจะถูกกิเลสครอบงำอยู่รํ่าไป มารจะได้ช่องบังคับให้เราทำความชั่ว โดยทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง และละเลยการแสวงหาแก่นสารที่แท้จริงของชีวิต ชีวิตจึงต้อง เวียนวนอยู่ในห้วงทะเลทุกข์ โอกาสที่จะได้สัมผัสธรรมรส    อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นวิมุตติรส จึงลดน้อยถอยลงไปทุกที เพราะฉะนั้น การให้โอกาสอันสำคัญกับตนในการทำสมาธิเจริญภาวนา เพื่อกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ จึงเป็นทางลัดที่สุดที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จากการบังคับบัญชาของพญามาร มีวาระพระบาลีใน ขุททกนิกาย ชาดก ความว่า         “ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา  พูดพล่อยๆ ไม่ปิดบังความรู้ ขาดความระมัดระวัง ขาดความพินิจพิจารณา นรชนใด ยินดีบอกมนต์ลึกลับ ที่ตนควรจะรักษาแก่คนโง่ เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้น มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้เหตุสำคัญอันลึกลับ ถึงมิตรแท้แต่เป็นคนโง่หรือมีปัญญาแต่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์    ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน”         กลยุทธ์ในการเอาชนะข้าศึกฝ่ายตรงข้ามนิยมใช้กันในปัจจุบันประการหนึ่ง คือ การโจรกรรมข้อมูล …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา ) Read More »

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๒ ( ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๒ ( ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน )                 ชีวิตของมนุษย์นั้นสั้นนัก แต่ชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตที่ยาวนานเกินกว่าจะคาดเดาได้ หากทำบุญไว้มากย่อมจะได้เสวยสุข ในสุคติภูมิเป็นเวลายาวนาน ถ้าเผลอพลั้งพลาดไปทำบาป ย่อมจะต้องไปเสวยทุกข์อยู่ในทุคติภูมิอีกยาวนานเช่นกัน  การประคับประคองตัวของเราให้ดำเนินชีวิตอยู่บนหนทางแห่งความดี เส้นทางแห่งบุญจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในการปกป้องคุ้มครองตัวเราให้ปลอดภัย ทั้งภัยในชีวิต ในอบายภูมิ และในสังสารวัฏ  ดังนั้น ขอให้ทุกคนเข้มแข็ง อย่าท้อแท้ในการสั่งสมบุญกุศลเพื่อตัวเอง เพื่อภพชาติหน้าอันสมบูรณ์กว่า และเพื่อเป้าหมายอันสูงสุด คือ การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน     มีวาระพระบาลีใน โคทัตตเถรคาถา ความว่า             “นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้มีความสุข และได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภโดยไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบธรรมประเสริฐกว่าการได้ลาภ โดยไม่ชอบธรรม ระหว่างคนที่ไม่มีความรู้แต่มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศ ประเสริฐกว่าคนที่ไม่มีความรู้แต่มียศ”             ลาภสักการะเป็นสิ่งที่ปุถุชนคนทั่วไปมุ่งมาดปรารถนา ต่างแสวงหากันตลอดชีวิต สำหรับวิสัยของบัณฑิตนักปราชญ์นั้น ท่านจะแสวงหาลาภสักการะ ด้วยวิธีการที่ซื่อสัตย์สุจริตไม่ฉ้อโกงใครมา หากได้มาจากความทุกข์ของคนอื่น ท่านจะไม่ทำเด็ดขาด …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๒ ( ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน ) Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๑) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๑)      พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของชาวโลก เป็นความปรารถนาอันสูงสุดที่มีได้ทัดเทียมกัน  เมื่อใดที่มวลมนุษยชาติได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เมื่อนั้นจะพบกับความเหมือนกันที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งรูปร่างหน้าตา คุณสมบัติ ความบริสุทธิ์ และอานุภาพ จะรู้จักกายมาตรฐานที่เป็นสากลจริงๆ เป็นกายที่สวยงาม อันประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ กายจะเหมือนเป็นพิมพ์เดียวกัน มีความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง เนื่องจากเพราะเป็นวงศ์แห่งพระอริยเจ้า จึงไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ มีดวงใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความคิดคำพูด และการกระทำ จะบริสุทธิ์บริบูรณ์เหมือนกัน มีความรักความปรารถนาดีต่อกันอย่างแท้จริง ไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือเบียดเบียนแก่งแย่งชิงดีกัน เราจะเข้าใจลึกซึ้งได้เมื่อลงมือปฏิบัติธรรม จนกระทั่งได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวของเรา      * เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุได้กล่าวให้สาธุการแด่สุเมธดาบสโพธิสัตว์ว่า      “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑล ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระชินเจ้า ฉันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้ว …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๑) – สุเมธดาบส Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๒) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๒)      เวลาแห่งการทำใจให้หยุดนิ่ง เป็นเวลาที่ทรงคุณค่า นับเป็นการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง คำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่นำไปสู่การปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง และนำไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล แม้เราได้ศึกษาคำสอนมามากมายเพียงไร แต่ถ้ายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม ยังคงเป็นเพียงใบลานเปล่า คือ รู้เฉพาะภาคทฤษฏี แต่ภาคปฏิบัติเข้าไม่ถึง  เพราะฉะนั้น การจะเป็นผู้ทรงธรรมที่มีชีวิตสมบูรณ์ ได้รับรสแห่งธรรม ที่เรียกว่า ชนะรสทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มจากการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งนี่เอง      มีวาระพระบาลีใน ขุททกนิกาย เถรคาถาว่า     “ พหูนํ วต อตฺถาย    อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา      อิตฺถีนํ ปุริสานญฺจ    เย เต สาสนการกา     พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์ ”      ตถาคต เป็นพระนามหนึ่งของพระบรมศาสดา หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ เสด็จไปที่ไหนก็เป็นมงคล จนกระทั่งเสด็จไปสู่อายตนนิพพาน นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานต์ และชี้ทางพระนิพพานแก่เหล่าสาวก ให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัยพิบัติต่างๆ ตามพระองค์ไปด้วย พระพุทธองค์ยังทรงเป็น …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๒) – สุเมธดาบส Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๓) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๓)      การหมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นวิถีทางของนักปราชญ์บัณฑิตที่จะทำให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ ขึ้นชื่อว่าเป็นคนดีย่อมเป็นที่ปรารถนาของทุกๆ คน บุคคลเป็นคนดีเพราะมีคุณงามความดี แต่คุณงามความดีในชีวิตจะมีขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากกาย วาจา ใจ ที่สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส โดยต้องเริ่มจากใจที่หยุดนิ่ง เนื่องจากใจที่อบรมด้วยการเจริญสมาธิภาวนาเป็นใจที่ตั้งมั่น สามารถรองรับธรรมะอันละเอียดลุ่มลึกภายใน เป็นเหตุให้เข้าถึงต้นแหล่งแห่งคุณธรรมความดีทั้งหลาย ซึ่งรวมประชุมอยู่ในธรรมกาย ธรรมกายยังเป็นเป้าหมายของชีวิตที่สมบูรณ์อีกด้วย      ครั้งนั้น สุเมธดาบสโพธิสัตว์ได้กล่าวสอนตนเองไว้ใน พุทธการกธรรมว่า     “เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันกระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้าทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำทั่วทั้งสิบทิศ ตลอดถึงธรรมธาตุ  เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้น ได้เห็นทานบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑ เป็นทางใหญ่ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ทรงเลือกเฟ้นแล้ว จึงสอนตนว่า เธอจงบำเพ็ญทานบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑ นี้ สมาทานทำไว้ให้มั่น ถ้าเธอปรารถนาบรรลุพระโพธิญาณ เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่ใครคนหนึ่งคว่ำปากลง น้ำก็ออกจากหม้อมิได้เหลืออยู่เลย มิได้รักษาน้ำไว้ในหม้อนั้น แม้ฉันใด เธอเห็นยาจกทั้งหลายทั้งที่เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูงก็ตาม จงให้ทานโดยไม่เหลือ เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปาก ฉันนั้นเหมือนกัน”      * ก่อนหน้าที่พระบรมโพธิสัตว์จะบังเกิดเป็นสุเมธดาบส ท่านได้สร้างบารมีเพื่อปรารถนาพุทธภูมิมาก่อนหน้านั้นแล้ว ได้บำเพ็ญบารมีมาในช่วงแรก โดยตั้งความปรารถนาในใจ ๗ …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๓) – สุเมธดาบส Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๔) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๔)      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าถึง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นแล้วจากอาสวกิเลส กิจที่จะทำยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ในฐานะที่พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธองค์ จะต้องดำเนินรอยตามพระองค์ ด้วยการใช้วันเวลาที่เหลืออยู่อย่างจำกัดนี้ สร้างบารมีทำความดี ทำความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ให้เกิดขึ้น เรามีกิจที่จะต้องรู้แจ้งให้ได้ว่า เราเกิดมาจากไหน มาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต และจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร เราควรหมั่นฝึกฝนอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่ง จนกระทั่งเข้าถึงผู้รู้แจ้งภายใน คือ พระธรรมกายให้ได้กันทุกคน      มีธรรมภาษิตใน ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ว่า     “ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นผู้มีศีลบารมี หากท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ หางจามรีคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ถ้าปลดขนหางออกไม่ได้ มันก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหางด้วยชีวิต ฉันนั้นเถิด”      ครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงแนวคิดการสร้างบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ว่า จะต้องเริ่มต้นจากทานบารมีเป็นอันดับแรก เพราะเสบียงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะยกตน และสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ไปสู่ฝั่งอมตมหานิพพาน …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๔) – สุเมธดาบส Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๕) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๕)      จิตใจที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความรัก และความเมตตา เป็นทางมาแห่งสันติภาพอันไพบูลย์ เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พลังมวลแห่งใจที่บริสุทธิ์ จะช่วยเปลี่ยนแปลงกระแสที่กำลังร้อนแรงด้วยไฟกิเลส ให้เป็นกระแสแห่งความดีที่รุกเงียบไปในบรรยากาศโลก มวลมนุษยชาติจะเกิดความปรองดอง มีอะไรก็จะแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป โดยถือว่าสมบัติทั้งหลายเป็นของกลาง โลกเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ที่มีสมาชิกในบ้านมากมาย เราทุกคนต่างเป็นหมู่ญาติกัน และยังต้องเดินทางไกลในสังสารวัฏไปสู่ฝั่งอายตนนิพพาน      มีธรรมภาษิตที่สุเมธดาบสโพธิสัตว์ กล่าวสอนตนเองว่า     “ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทั้งหมด ไต่ถามปัญหา ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เดินไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก ไม่ละเว้นตระกูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นไหน ได้อาหารพอยังชีพ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า”      การสร้างบารมี ไม่ใช่ทำเพียงชาติสองชาติ ต้องทำกันยาวนานเป็นอสงไขยชาติ และต้องอาศัยกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าความนึกคิดของปุถุชนทั่วไป แม้ว่าภพชาติจะมาตัดช่วงจังหวะการสร้างบารมี ให้ได้รูปกายใหม่ หรือเกิดในสถานที่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสั่งสมบารมีบ้าง ทำให้บางจังหวะของชีวิตหลงลืมประมาทชะล่าใจไปบ้าง แต่ทันที่ที่ได้โอกาสก็ต้องสร้างความดีต่อไป และในระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จะต้องมีมโนปณิธานที่แน่วแน่ ต้องอาศัยกำลังใจที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว สร้างบุญบารมีไปจนกว่าจะแก่รอบมากยิ่งขึ้น      ครั้งที่แล้ว …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๕) – สุเมธดาบส Read More »

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๖) – สุเมธดาบส

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๖) ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีความเสี่ยงต่อภัยรอบด้าน ผู้ใดรู้จักใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นสั่งสมบุญบารมี ย่อมจะมีบุญเป็นกำไรชีวิต บุญเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าอัญมณีใดๆ ในโลก สามารถติดตามตัวเราไปได้ทุกหนทุกแห่งและทุกภพทุกชาติ บุญจะคอยส่งผลอันดีงามให้กับชีวิตของเรา จะขจัดวิบัติบาปศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้ห่างจากตัวเรา ยิ่งเรามีความบริสุทธิ์มาก บุญก็ยิ่งจะส่งผลเร็ว และให้ผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรค ฉะนั้น วันเวลาที่ผ่านไปจึงควรหมั่นทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ให้ใจอยู่ในบุญตลอดทั้งวัน บุญจะได้ตามหล่อเลี้ยงให้เราประสบแต่ความสุขความสำเร็จในชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป มีธรรมภาษิตที่สุเมธดาบสโพธิสัตว์กล่าวสอนตนเองไว้ใน พุทธวงศ์ว่า“ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมี ให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้อสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่านก็ตาม ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึกในทุกฤดูกาล ไม่เว้นทางโคจรของตน ไม่โคจรไปในทางอื่น โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้น “ * หลังจากที่สุเมธดาบสพิจารณาถึงบารมีทั้ง ๖ ประการแล้ว ท่านได้ไตร่ตรองไปอีกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือทั้งลาภ ยศ สรรเสริญ คำยกย่องชมเชย คือ  นั่นคือเมื่อมีความรู้ความสามารถ และลาภสักการะเกิดขึ้นแล้ว อาจเป็นเหตุให้ใจหวั่นไหวออกนอกเส้นทางแห่งความดีที่ตั้งใจไว้ได้  ดังนั้น …

แนวคิดการบำเพ็ญบารมี (๖) – สุเมธดาบส Read More »

เส้นทางสู่ความเป็นพุทธะ (๑) – พระโพธิสัตว์

เส้นทางสู่ความเป็นพุทธะ (๑) บุคคลปรารภจะทำอะไรแล้ว พึงกระทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้เนิ่นช้าต่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต การงานที่คั่งค้างก็เหมือนดินพอกหางหมู นอกจากจะพอกพูนภาระแล้ว ยังทำให้เสียการงานอีกด้วย ดังนั้น เราควรที่จะเร่งรีบขวนขวายทำงานให้สำเร็จสมบูรณ์ จะได้เป็นอุปนิสัยที่ดีติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ  เมื่อตัดสินใจจะทำอะไรต่อไป จะได้ไม่ต้องมาห่วงหน้าพะวงหลัง ที่สำคัญเรายังมีงานหลักที่จะต้องทำ อีกทั้งยังเป็นงานหลักที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ คือ การทำใจหยุดใจนิ่ง ซึ่งถือเป็นกรณียกิจที่สำคัญ เราควรต้องหมั่นทำภาวนาให้เข้าถึงพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกของเราอย่างแท้จริง มีธรรมภาษิตใน ขัคควิสาณสูตรว่า “ธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้รู้ว่าสกลจักรวาลทั้งสิ้น เต็มด้วยถ่านเพลิงซึ่งปราศจากเปลว เกลื่อนกล่นด้วยหอก และหลาว ดารดาษไปด้วยหนามแหลม หรือเต็มด้วยน้ำปริ่มฝั่งแล้ว หากสามารถก้าวข้ามได้ จะได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ตัดสินใจที่จะทอดเท้าก้าวข้ามไป เพื่อให้ได้มาซึ่งสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ” กว่าที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแต่ละพระองค์จะสั่งสมบารมีจนแก่รอบ และได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ท่านถึงกล่าวว่า ทุลฺลโภ พุทฺธุปฺปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นการยาก บุคคลที่จะกล้าคิด กล้าทำอย่างนั้นได้มีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น คือ พระบรมโพธิสัตว์ เป็นยอดนักรบในสังสารวัฏ รบกับกิเลสที่ครอบงำจิตใจมนุษย์ ท่านต่อสู้กับความยากลำบาก และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการสร้างบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันกันทีเดียว การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งปรารถนาพุทธภูมิ อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งนิพพานนั้น  เพียงแค่คิดก็ยากแล้ว ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร …

เส้นทางสู่ความเป็นพุทธะ (๑) – พระโพธิสัตว์ Read More »

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๘ ) – พระภิกษุผู้รักการให้ทาน

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๘ ) การสร้างบารมีสามารถทำได้ทุกเวลา หากมีจิตเลื่อมใสแล้วให้ทุ่มเทสร้างความดีอย่างเต็มกำลัง มหานิสงส์อันไม่มีประมาณย่อมจะบังเกิดขึ้นอย่างเกินควรเกินคาด มนุษย์ทุกๆ คนนั้น ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส เสบียงบุญนี้ จะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของทุกชีวิต ดังนั้น ทุกท่านต้องมีจิตใจเยี่ยงพระบรมโพธิสัตว์ ที่ทุกลมหายใจของท่านเป็นไปเพื่อการสั่งสมบุญบารมีอย่างเดียว  เมื่อใจของเราผูกพันกับการสร้างบารมีเช่นนี้ จิตใจย่อมจะถูกกลั่นให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญใหญ่ รองรับมรรคผล ที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป มีเนื้อความปรากฏใน ขุททกนิกาย ชาดก ความว่า     “ดูก่อนมาตลี การที่ยังไม่ให้ก่อนแล้วบริโภค ไม่ สมควรแก่เรา สิ่งนี้เป็นวัตรอันอุดมของเรา อนึ่ง การบริโภคคนเดียว พระอริยเจ้าไม่บูชา และบุคคลผู้มิได้แบ่งให้ ย่อมไม่ได้ประสบความสุข”     นับเป็นอริยประเพณีอันดีงามมาแต่อดีต ที่ปู่ย่าตายาย หรือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้สั่งสอนสืบทอดกันมาว่า “เช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน เช้านั้นจะยังไม่กินข้าว วันใดยังไม่ได้สมาทานศีล วันนั้นจะยังไม่ออกจากบ้าน และคืนใดที่ยังไม่ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา คืนนั้นจะยังไม่เข้านอน” นี่เป็นกุศโลบายที่จะทำให้ใจอยู่ในบุญ ให้ชีวิตดำเนินอยู่บนเส้นทางสวรรค์นิพพานอย่างเดียว เพราะกายมนุษย์นี้ ถือกำเนิดมาเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างความดี ไม่ใช่เกิดมาเพื่ออย่างอื่น …

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๘ ) – พระภิกษุผู้รักการให้ทาน Read More »

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๔ ( คู่ครองในอุดมคติ )

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๔ ( คู่ครองในอุดมคติ )                การที่จะนำตนให้พ้นจากอาสวกิเลส ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เข้าถึงอายตนนิพพานได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สำหรับนักสร้างบารมีผู้มีหัวใจเต็มเปี่ยมย่อมตระหนักดีว่า การสร้างบุญบารมี เป็นกรณียกิจที่สำคัญยิ่ง บุญที่เราสร้างนี้จะเป็นเครื่องสนับสนุน ให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของชีวิต เราจะก้าวไปในเส้นทางแห่งสังสารวัฏได้อย่างสะดวกสบาย สามารถสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้ เป็นบุญต่อบุญ สมบัติต่อสมบัติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม การสร้างบารมีอย่างที่เรากำลังทำอยู่นี้ นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความสำคัญต่อตัวของเรา รวมถึงชาวโลก ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อุคคหสูตร ว่า         “สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ต้องไม่ดูหมิ่นสามีผู้หมั่นเพียร ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา ทั้งปวง ไม่ทำสามีให้ขัดเคือง ไม่ประพฤติแสดงความหึงหวงสามี และบูชาผู้ที่สามีมีความเคารพ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนทางฝ่ายของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดประพฤติตนเช่นนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทพธิดาในสวรรค์”         ที่ยกพุทธวจนะบทนี้ขึ้นมากล่าว ด้วยปรารภเหตุจากสภาวะสังคมในปัจจุบัน …

มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๔ ( คู่ครองในอุดมคติ ) Read More »