ธรรมะเพื่อประชาชน

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์ ในสังคมปัจจุบัน มนุษย์ส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ในโลกธรรม ๘ประการ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสุข มีทุกข์ มีสรรเสริญ มีนินทา นี้เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลก ผู้ที่ยังติดข้องอยู่ในโลก ก็ต้องตกอยู่ในสิ่งเหล่านี้ทั้งนั้น พระบรมศาสดา ท่านได้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต บรรลุกายธรรมอรหัตแล้ว จึงไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลาย ใจท่านเป็นหนึ่ง มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ใจหยุดในหยุดอยู่ในกลางของกลางตลอดเวลา พอเข้าถึงธรรมที่ละเอียดตรงนั้น ก็มีพระมหากรุณาธิคุณ ประกาศอมตธรรมไปยังสรรพสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ให้ได้ดื่มรสแห่งอมตธรรม ได้รับรู้รับทราบว่า รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวงเป็นอย่างไร อริยสาวกที่เป็นอนุพุทธะ รู้ตามพระพุทธเจ้าก็มีมากมายก่ายกอง ที่ได้เข้าไปถึงจุดแห่งความสุขที่แท้จริง ความเต็มเปี่ยมของชีวิต ดังนั้น ใครที่มีธรรมะอยู่ในหัวใจ แม้เวลามีความทุกข์บังเกิดขึ้น เมื่อเข้าถึงธรรมะ ทุกข์นั้นก็จะหมดไป จะไม่หวั่นไหวในทุกข์ จะมีแต่ความสุขที่สมบูรณ์มาแทนที่ พระนารทเถระ ท่านได้กล่าวธรรมภาษิตบทหนึ่ง ไว้ในนารทสูตรว่า “ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อันใครๆย่อมไม่ได้ เพราะการร้องไห้คร่ำครวญ บัณฑิตพิจารณารู้เนื้อความนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวในสิ่งทั้งปวง แต่จะบากบั่นเพื่อให้ได้ประโยชน์ ด้วยการใช้ความรู้ความสามารถ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์ Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – อยู่กับปัจจุบันธรรม

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – อยู่กับปัจจุบันธรรม พระธรรมกาย เป็นกายตรัสรู้ธรรมของมนุษย์ทุกๆคน เราจะรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลายทั้งปวง ก็ต้องอาศัยธรรมกายนี้ เพราะว่าเป็นกายที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสติปัญญาและมีอานุภาพไม่มีประมาณ คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ประชุมลงในธรรมกายทั้งสิ้น ธรรมกายนี้เป็นกายที่ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ งามกว่ามนุษย์ เทวดา พรหมและอรูปพรหม สิงสถิตอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดของพวกเราทุกคน สมบูรณ์ทั้งวิชชาและจรณะ จะเข้าถึงธรรมกายได้ ต้องอาศัยใจที่หยุดนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จที่จะทำให้เข้าถึงพระธรรมกาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ภัทเทกรัตตสูตร ว่า “บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป สิ่งใดที่ยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังมาไม่ถึง” อดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้ายก็ตาม สิ่งที่ได้ทำลงไปแล้วทั้งทางกาย วาจา ใจ เราไม่สามารถย้อนอดีตให้กลับคืนมาได้ สิ่งที่ล่วงไปก็ต้องผ่านเลยไป เหมือนสายน้ำไหลไปไม่มีวันย้อนกลับ หรือเหมือนชีวิตที่ย่างก้าวไปสู่ความเสื่อมสลายทุกอนุวินาที กระทั่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราก็ไม่ควรไปมุ่งหวังมากเกินไปว่าจะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ดังใจปรารถนา การประกอบคุณงามความดี สั่งสมบุญอยู่เป็นนิตย์เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราจะมีอนาคตอันสดใส ชีวิตจะก้าวไปสู่ความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์พร้อมยิ่งขึ้น พระบรมศาสดาจึงตรัสสอนให้เรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบันธรรมเท่านั้น การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันให้สมบูรณ์ที่สุด พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราดำเนินชีวิต อยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ปล่อยใจเลื่อนลอยไปกับอดีตที่ผ่านพ้น …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – อยู่กับปัจจุบันธรรม Read More »

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม สรรพสัตว์ล้วนบ่ายหน้าไปสู่ความตาย ซึ่งติดตามตัวเรามาพร้อมๆกับการลืมตาขึ้นมาดูโลก เหมือนดอกเห็ดที่ผุดขึ้นมาพร้อมกับดินฉะนั้น เราทั้งหลายไม่สามารถหนีพ้นจากปากแห่งพญามัจจุราชได้ เหล่าบัณฑิตนักปราชญ์ผู้มีปัญญา จึงมองเห็นว่า ความตายไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่เป็นเพียงการย้ายที่อยู่อาศัย ไปสู่ภพภูมิที่เหมาะสมกับบุญบารมี หรือบาปอกุศลที่ได้ทำไว้ ผู้มีบุญมากก็ย้ายที่อยู่ไปสู่สุคติ ผู้มีบาปมากก็ต้องไปอาศัยอยู่ในอบายภูมิ เสวยวิบากกรรมในมหานรก หากเราไม่ประสงค์จะตายอีก มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ เราต้องแสวงหาหนทางที่ไม่กลับมาเกิดอีก นั่นคือ เราต้องหมั่นฝึกฝนอบรมใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงกายธรรมอรหัต ขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น เมื่อทำได้อย่างนี้ เราจะได้หลุดพ้นจากพญามัจจุราชได้ มีวาระพระบาลีที่ตรัสไว้ใน อนนุโสจิยชาดก ความว่า ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ อตฺตานมนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ ถ้าบุคคลจะพึงเศร้าโศกถึงความตายอันจะไม่เกิดมีแก่สัตว์ ผู้เศร้าโศกนั้น ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตน ซึ่งจะต้องตกไปสู่อำนาจของมัจจุราชทุกเมื่อ มนุษย์ทั้งหลายที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วก็ข้องเกี่ยวอยู่กับการทำมาหากิน เรื่องครอบครัวและเรื่องต่างๆอีกมากมาย เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่จะแสวงหาความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะก็เลยห่างหาย และลบเลือนไป มนุษย์ส่วนมากจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของพญามัจจุราช …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก การเกิดเป็นทุกข์ ถ้าเกิดบ่อยๆ ก็ต้องทุกข์บ่อยๆ มีทุกข์ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลกจนกระทั่งถึงวันหลับตาลาโลก ในวันสุดท้ายของชีวิต ไม่มีใครที่จะหนีความตายไปได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่อยากจะได้ยินเรื่องความเป็นจริงของชีวิตที่ว่า เกิดมาแล้วต้องตาย เพราะรู้สึกเอาเองว่าไม่เป็นมงคล แต่ถ้าเราหันกลับมาพิจารณาสิ่งที่เป็นจริงกันบ้าง หันมามองความเป็นจริงของชีวิตที่ว่าสักวันหนึ่งเราก็ต้องตาย เราจะได้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ถ้ามัวแต่ทำมาหากินอย่างเดียวแล้วไม่ได้สร้างบุญ อย่างนี้เรียกว่าไม่เป็นมงคลแก่ชีวิต แต่ถ้านึกถึงความตายแล้วเร่งสร้างบารมี อย่างนี้เป็นมงคล เพราะได้ใช้ร่างกายนี้ให้เกิดประโยชน์ ทำทั้งบุญในพระพุทธศาสนา และทำบุญสงเคราะห์โลก สงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ ชีวิตอย่างนี้จึงจะมีคุณค่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องความจริงของชีวิตไว้ว่า… “สัตวโลกอันความตายครอบงำไว้ อันความชราห้อมล้อมไว้ วันคืนได้ล่วงไปๆ เหมือนด้ายที่กำลังถูกทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะต้องทอก็เหลือน้อยลงไปฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมพัดพาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกชราและความตายพัดพาไปฉันนั้น” วันคืนที่ล่วงไปๆ ทำให้ชีวิตเราเหลือน้อยลงไปทุกที และก็ไม่รู้ว่าวันใดเราจะต้องเผชิญหน้ากับความตาย ตอนนั้นจะต้องเดินทางไกลไปสู่สัมปรายภพ เราก็จะต้องมีหลักของชีวิต เพราะเวลานั้นเป็นการเข้าสู่สมรภูมิชิงภพ สุคติหรือทุคติก็อยู่ที่เรา ถ้าใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง ก็มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป ถ้าใจเศร้าหมองไม่ผ่องใสก็ตรงกันข้าม นี่เป็นเรื่องความจริงของชีวิตและสำคัญมาก เพราะชีวิตหลังจากตายแล้ว อายุยืนยาวนานกว่าชีวิตในเมืองมนุษย์ เป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านเป็นกัป หลายๆกัปปี ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ สิ่งที่ใครๆไม่ปรารถนาจะเจอนี้ …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก Read More »

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – โมฆะของชีวิต

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – โมฆะของชีวิต ชีวิตในวันหนึ่งๆ ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านเลยไป ไม่ไหลย้อนกลับ ทุกลมหายใจเข้าออกที่สูญเสียไป นั่นคือวันเวลาที่ลดถอยลงไปทุกที ประเดี๋ยววันประเดี๋ยวคืน ร่างกายของเราก็เข้าใกล้ความเสื่อมความชราไปทุกขณะจิต ช่วงเวลาของชีวิตนี้สั้นนัก เราทั้งหลายจึงควรเป็นผู้ไม่ประมาท พึงเร่งทำความเพียร หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมทุกๆวัน เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ มีจิตใจที่แน่วแน่จะมุ่งแสวงหาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต มุ่งตรงต่อหนทางของพระนิพพาน เช่นเดียวกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีวาระพระบาลีใน โสมทัตตชาดก ความว่า มตํ มริสฺสํ โรทนฺติ เย รุทนฺติ ลปนฺติ จ ตสฺมา ตฺวํ อิสิ มา โรทิ โรทิตํ โมฆมาหุ สนฺโต เหล่าสัตว์ผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ก็ร้องไห้ถึงสัตว์ผู้ตายไปแล้ว และที่จักตาย เพราะฉะนั้นท่านฤๅษี ท่านอย่าร้องไห้เลย เพราะสัตบุรุษทั้งหลายเรียกการร้องไห้ว่า เป็นโมฆะ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักทั้งหลายในโลก เป็นทางมาแห่งความทุกข์ แต่ความโศกนั่นแหละที่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งปวงกล่าวว่า เป็นโมฆะ หมายถึงว่าเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับผู้ที่เศร้าโศกเลย มีแต่จะแผดเผาทำให้สภาวะของใจอ่อนแอลงและสูญเสียความละเอียดภายใน ไม่มีผู้ใดในโลกนี้ที่มีจิตใจขุ่นมัว ถูกความทุกข์ครอบงำ แล้วบรรลุธรรมาภิสมัย …

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก – โมฆะของชีวิต Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ เราเกิดมาสร้างบารมี มีเป้าหมายว่าจะทำพระนิพพานให้แจ้ง เพื่อไปดับต้นเหตุแห่งทุกข์ ให้เข้าถึงบรมสุขอันแท้จริงที่เป็นนิรันดร์ เมื่อเรามีความตั้งใจที่ดีอย่างนี้แล้ว ก็ต้องทำความดีของเราให้เต็มที่ สร้างบารมีให้สมบูรณ์ ซึ่งทุกๆวันเราได้ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส จะได้มีกำลังใจที่เข้มแข็งในการสร้างบารมี และอาจหาญในการทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร ไปชักชวนผู้มีบุญทั้งหลายให้มาสร้างบารมี จะได้เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตอันงดงาม เพราะเราเกิดมาก็เพื่อการนี้ ฉะนั้น ให้ขวนขวายตักตวงบุญกุศลกันให้เต็มที่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการสร้างบารมีเท่าไร เพราะเขาไม่รู้ว่าสำคัญอย่างไร แต่พวกเราทุกคนรู้แล้วว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต และจะมีผลดีต่อชีวิตในปัจจุบันนี้เรื่อยไปเลย ตั้งแต่ชีวิตที่เป็นปุถุชนจนถึงได้เป็นพระอริยเจ้า ดังนั้น เราต้องสร้างบารมีทุกๆวัน และก็ชวนชาวโลกให้มาสร้างบารมีด้วย ให้ใช้วันเวลาที่เหลืออยู่อย่างจำกัดนี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อภินันทสูตร ว่า “ผู้ใดมีความเพลิดเพลินในรูป ผู้นั้นย่อมชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์” เราเกิดมาในโลกนี้ มีสิ่งที่ทำให้น่าเพลิดเพลินอยู่มาก ทั้งรูปที่สวยๆ เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอมๆ รสที่อร่อย สัมผัสที่นุ่มนวลและธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้รู้แจ้ง เห็นแจ้ง …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้ข้ามพ้นวัฏฏะ

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้ข้ามพ้นวัฏฏะ การเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นความดีอันยิ่งและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ โดยหมั่นฝึกฝนอบรม กาย วาจา ใจ ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ การที่เราได้ปฏิบัติอย่างนี้ ถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชื่อว่า “ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท” ชีวิตมนุษย์นั้น พื้นฐานของชีวิตมีแต่ความทุกข์ทรมาน ทรมานจนกระทั่งเกิดความเคยชิน บางครั้งถือเป็นเรื่องปกติ มีทั้งทุกข์ที่ติดตัวมาและทุกข์ใหม่ที่เข้ามา รวมทั้งหมดทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ ดังนั้น เมื่อพื้นฐานชีวิตมีความทุกข์ กิจที่ต้องทำ คือ “กิจที่มุ่งดับทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ได้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสาเหตุของความทุกข์ไว้ว่า… “ตัณหาความทะยานอยาก เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้บุคคลต้องเร่ร่อนไปในภพน้อยใหญ่ ใครถูกตัณหาครอบงำแล้ว จิตของผู้นั้นย่อมวิ่งพล่านไปในอารมณ์ต่างๆ อันเป็นบ่วงแห่งมารที่หมู่สัตว์ติดข้องอยู่ และย่อมเข้าถึงความโศกสิ้นกาลนาน ส่วนผู้ใดขุดรากเหง้าแห่งตัณหาได้ ได้ชื่อว่าตัดเครื่องผูกแห่งมารได้ ย่อมล่วงพ้นความโศก ความทุกข์ทั้งหลายย่อมตกไป เหมือนหยาดน้ำที่กลิ้งตกไปจากใบบัว” เมื่อสาวไปดูถึงต้นเหตุ ในที่สุดเราก็จะพบว่า ต้นเหตุของความทุกข์ทรมานทั้งหลายนั้น ล้วนมาจากความทะยานอยากทั้งสิ้น พญามารนั่นเองที่เอาความอยากมาบังคับสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปตามอำนาจ ใครตกอยู่ในอำนาจจะต้องประสบกับทุกข์ร่ำไปไม่มีวันจบสิ้น ผู้รู้ทั้งหลาย มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ได้แสวงหาวิธีการดับทุกข์โดยดับที่ความอยาก แล้วก็พบวิธีการว่า ต้องทำนิโรธ คือ ทำใจให้หยุด …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้ข้ามพ้นวัฏฏะ Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น ชีวิตนี้น้อยนัก ทุกชีวิตล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู เหมือนผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมมีวันต้องร่วงหล่นลงอย่างแน่นอน เหมือนภาชนะดินที่มีการแตกทำลายในที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ไม่รู้ย่อมเศร้าโศกเมื่อพลัดพราก เพราะยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา ย่อมประสบทุกข์สิ้นกาลนาน แต่วิญญูชนทั้งหลาย ละความยินดีในสิ่งที่ตนถือว่าเป็นของเรา ละความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ไม่มีความยินดียินร้าย จึงละความโศก ความอาลัย ความร่ำพิไรรำพันได้ เราโชคดีที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ได้มีโอกาสดีที่จะสร้างบารมี พึงเร่งสร้างความดีให้เต็มที่ ตักตวงเอาบุญกุศลกันไปให้มากๆ เพราะบุญเท่านั้นที่เป็นที่พึ่ง เป็นมิตรแท้ที่ซื่อสัตย์ที่จะติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติเหมือนเงาตามตัว ความดีหรือบุญที่ได้ทำเอาไว้จะเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ตั้งแต่ชีวิตที่ยังเป็นปุถุชนอยู่จนกระทั่งได้เป็นพระอริยเจ้า จะสมบูรณ์ไปด้วยสมบัติทั้งสาม คือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ สิ่งที่ทำทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นทางมาแห่งบุญ ตอนนี้เรากำลังเจริญภาวนา ทำกรณียกิจที่สำคัญยิ่งต่อตัวของเราเอง กิจนี้คนอื่นทำแทนให้ไม่ได้ ต้องทำด้วยตนเอง ทำเพื่อช่วยตัวของเราให้พ้นจากทุกข์ ให้พ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร ที่บังคับบัญชาเรามานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทำให้มีอุปสรรคนานาในชีวิต ดังนั้น จึงต้องตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันให้ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องความจริงของชีวิตไว้ว่า… “ชีวิตนี้น้อยนัก ทุกชีวิตล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู เหมือนผลไม้ที่สุกแล้ว …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้อยู่จบพรหมจรรย์

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ การใช้วันเวลาให้คุ้มค่าในโลกนี้ ต้องเอามาใช้สร้างบารมี โดยตั้งใจจะละบาปอกุศลทั้งหลาย ทำแต่ความดีให้ถึงพร้อม ทำใจให้ผ่องใส ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องความเป็นจริงของชีวิต ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า โลกมนุษย์นี้เป็นโลกแห่งการเกิดมาสร้างบารมี เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ความเป็นจริงของชีวิตอย่างนี้ ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเกิดมาได้อัตภาพความเป็นมนุษย์นี้แล้ว ต่างมีจุดประสงค์หลัก คือ เกิดมาสร้างบารมี มาทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะนิพพานเป็นจุดสุดท้ายของชีวิต เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของทุกๆคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงผู้ที่บรรลุพระนิพพานอยู่จบพรหมจรรย์ว่า… “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับธรรมแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้วย่อมกำหนดรู้ ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วย่อมเสวยเวทนา ครั้นได้เสวยเวทนาแล้วย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลาย เมื่อนั้นย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก เมื่อถอนความยึดมั่นแล้วย่อมดับกิเลสได้บรรลุพระนิพพานเฉพาะตน และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว” ผู้ที่ได้บรรลุพระนิพพาน ได้เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต หมดสิ้นกิเลสอาสวะแล้ว เรียกว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะกิจของการประพฤติพรหมจรรย์ จะเป็นการปฏิบัติสมถวิปัสสนา การศึกษาไตรสิกขา ศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ได้เข้าถึงบรมสุข คือ ความสุขอย่างยิ่ง …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ Read More »

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นล้านๆชีวิต ไม่มีใครที่จะประทับรอยเท้าไว้บนผืนทรายได้จีรังยั่งยืน เพราะไม่นานรอยเท้านั้น ก็ถูกคลื่นพัดให้จางหายไป เหมือนชีวิตที่เกิดขึ้นมาแล้วหาความยั่งยืนคงที่ไม่ได้ ไม่ช้าก็ถูกคลื่นแห่งกาลเวลาพัดพาไปสู่ความเสื่อมสลาย คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเอาเป็นแบบอย่าง ในโลกนี้มีมนุษย์เพียงส่วนน้อยที่ไม่ประมาท ส่วนใหญ่ยังประมาทอยู่ ยังไม่เร่งขวนขวายสร้างความดี กลับปล่อยชีวิตให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า แสวงหาแต่สิ่งที่ไร้สาระ ต้องตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา มิอาจเป็นตัวของตัวเองได้ ชีวิตจึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ร่ำไป มีวาระพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน ขัคควิสาณสูตร ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อวิเหฐยํ อญฺญตรมฺปิ เตสํ บุคคลควรวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันและกัน ด้วยความจริงใจ เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนเหล่าพุทธบริษัท ให้เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นอกจากไม่เบียดเบียนกันแล้ว ก็ให้ประกอบด้วยมหากรุณา คือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้พ้นทุกข์ ได้พบกับความสุขยิ่งๆขึ้นไป ผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เป็นประจำ ทำให้เป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น ใครเข้าใกล้ จะสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งความเย็น เหมือนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร อันตรายใดๆไม่สามารถมากล้ำกรายได้ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้น กระแสแห่งความเมตตาจะแปรผันสภาวะนั้น ให้กลับดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ มีเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล …

มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง – ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ Read More »

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑ มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใดแล้ว หากหมั่นประกอบเหตุแห่งความปรารถนานั้นๆ ด้วยการสร้างความดีสั่งสมบุญบารมี มีการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ ความปรารถนานั้นย่อมเป็นผลสำเร็จอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าตั้งความปรารถนาในแหล่งแห่งความสำเร็จ คือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ ความปรารถนาทั้งมวล ก็จะสำเร็จเป็นอัศจรรย์ ดังนั้น ถ้าเราปรารถนาความสุขความสำเร็จในชีวิต ก็ต้องหมั่นเอาใจมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท เมื่อปรารถนาหรือใฝ่ฝันสิ่งหนึ่งประการใด ก็ต้องขยันหมั่นประกอบเหตุให้บรรลุผลสำเร็จในความปรารถนานั้นๆ อย่าเพียงแค่คิดเฉยๆ คิดแล้วถ้าไม่ทำก็เสียเวลา แต่ถ้าทำโดยไม่คิดก็เสียหายได้ จะต้องมีสติคอยระมัดระวัง ไม่ประมาทในหน้าที่การงาน พร้อมกันนี้ก็ให้หมั่นสั่งสมบุญบารมี มีการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา …

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑ Read More »

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๒

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านจะเกิดมากี่ภพกี่ชาติก็ตาม ล้วนมีเป้าหมายทำพระนิพพานให้แจ้ง เกิดมาแสวงหาความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอุปสรรคที่สำคัญของชีวิต เมื่อชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือรวมทั้งหมด ก็คือสร้างบารมีทั้ง ๓๐ทัศ สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่จะกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปได้ ครั้นความบริสุทธิ์ถึงที่สุด ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น เราก็ต้องหมั่นสั่งสมความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ให้มากๆ โดยเฉพาะ การหมั่นประพฤติปฏิบัติธรรม เพราะเมื่อความบริสุทธิ์ของเราเต็มเปี่ยม เราก็จะสามารถเข้าถึงพระธรรมกายภายใน มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา …

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๒ Read More »

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๓

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๓ เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมีและทำพระนิพพานให้แจ้ง เส้นทางสายนี้เป็นทางสายเดิมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ผ่านไปแล้ว การสร้างบารมีที่เรากำลังทำกันอยู่นี้ ไม่ใช่ของใหม่สำหรับเรา เราเคยสร้างกันมาอย่างนี้นับภพนับชาติไม่ถ้วน ทำซํ้าแล้วซํ้าอีก เกิดมาชาตินี้ก็มาสร้างบารมีกันอีก จนกระทั่งหมดอายุขัย ตายไปแล้ว ก็ยังต้องไปทำงานที่แท้จริงกันต่อในสุคติภพ และเมื่อถึงเวลาอันควรก็ลงมาสร้างบารมีกันต่อ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งธรรม เพราะถ้าเรายังไปไม่ถึงที่สุดแห่งธรรม เราก็ยังมีอิสระไม่เต็มที่ ยังถูกกิเลสอาสวะครอบงำ พญามารก็ยังบังคับบัญชาให้ได้รับทุกข์ทรมานตลอดเวลา มีพุทธศาสนสุภาษิตที่ตรัสไว้ใน มหาสาโรปมสูตร ว่า อิติ โข ภิกฺขเว นยิทํ พฺรหฺมจริยํ ลาภสกฺการสิโลกานิสํสํ น สีลสมฺปทานิสํสํ น สมาธิสมฺปทานิสํสํ น ญาณทสฺสนานิสํสํ ยา จ โข อยํ ภิกฺขเว อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ เอตทตฺถมิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ เอตํ สารํ เอตํ ปริโยสานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย …

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๓ Read More »

มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ – ชีวิตที่ประเสริฐ

มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ – ชีวิตที่ประเสริฐ คนเราเกิดมาต้องมีเป้าหมายของชีวิต เพื่อเป็นตัวกำหนดว่า เราจะดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด จะได้ฝึกฝนตนเองไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การตั้งเป้าหมายไว้ในทางที่ถูกต้อง จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทางพระท่านเรียกว่า “ตั้งตนชอบ” การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ยากยิ่งนัก พระองค์ทรงเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต แต่ละภพชาติของการสั่งสมบารมีในขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ท่านใช้เวลาทั้งหมดในชีวิต แสวงหาสัจธรรมตลอดมา พระธรรมคำสอนที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นสิ่งมีค่ามหาศาล เพราะทรงแลกความรู้อันบริสุทธิ์นี้ มาด้วยชีวิตนับภพนับชาติไม่ถ้วน ดังนั้น เราควรตระหนักในความเป็นผู้มีบุญลาภ ที่ได้มีโอกาสพบกับพุทธธรรมอันประเสริฐ ที่เป็นประทีปส่องทางชีวิตของเรา ให้ก้าวไปสู่ความพ้นทุกข์กันในที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า สารตฺตา กามโภเคสุ คิทฺธา กาเมสุ มุจฺฉิตา อติสารํ น พุชฺฌนฺติ มจฺฉา ขิปฺปํว โอฑฺฑิตํ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ที่น่ารักใคร่ ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาที่เข้าลอบที่เขาดักไว้ ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น มนุษย์ทุกคน ต่างมุ่งแสวงหาความสุขที่แท้จริง แต่ส่วนใหญ่มักหาไม่พบ เพราะแสวงหาผิดที่ เข้าใจว่าความสุขอยู่ที่การเห็นรูป ฟังเสียง …

มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ – ชีวิตที่ประเสริฐ Read More »

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔ การดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดในภพชาตินี้ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้พลัดตกไปสู่อบายภูมิ คือ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เป็นเวลายาวนาน การมีชีวิตอยู่ในอบายภูมินั้นเป็นความทุกข์ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่อย่างลำบาก กว่าจะมีโอกาสมาพบผู้รู้แจ้งเห็นจริงอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยากมาก เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์เป็นการยาก และการที่จะได้มาพบพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังธรรม ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม และได้เข้าถึงธรรมก็เป็นการยาก เพราะฉะนั้น ช่วงนี้เป็นโอกาสดีที่สุดสำหรับพวกเราที่จะได้มาประพฤติธรรม กลั่นกาย วาจา ใจ ให้ใสบริสุทธิ์ เพื่อเป็นภาชนะรองรับพระรัตนตรัยภายใน ชีวิตจะได้ปลอดภัยและมีชัยชนะกันทุกคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ การบวชก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การยินดีในเพศสมณะก็เป็นการยาก วิถีชีวิตของสมณะ มีความแตกต่างจากฆราวาสมาก เป็นการปฏิวัติชีวิตของตนเอง เพื่อยกจิตใจให้สูงขึ้น สูงด้วยศีล สมาธิและปัญญา ท่านต้องสละความสุขสบายส่วนตัว ไม่เห็นแก่ปากท้อง ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด อีกทั้งกฎหมายบ้านเมืองก็ต้องไม่ไปล่วงละเมิดด้วย ทำให้ต้องสำรวม …

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ – พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔ Read More »