หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่

๔. วัตถุประสงค์และอานิสงส์การบวช

วัตถุประสงค์และอานิสงส์การบวช วัตถุประสงค์ของการบวชมีเพียงประการเดียว คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง ไม่ว่าจะบวชสั้นหรือบวชยาวก็ตาม แม้บวชเพียงวันเดียว วัตถุประสงค์ก็มีอย่างเดียวเท่านั้นคือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง การบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งและตั้งใจทำอย่างนั้นจริงๆ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นเนื้อนาบุญ เป็นอายุพระศาสนา ถูกวัตถุประสงค์ของการบวช บวชอย่างนี้จึงจะมีอานิสงส์มากถึง ๖๔ กัป คือ ปิดประตูอบาย ไม่ต้องไปมหานรกถึง ๖๔ กัป จะเกิดกี่ครั้งก็แล้วแต่ ปิดประตูอบาย ไม่ไปมหานรกสำหรับตัวเอง โยมพ่อโยมแม่ก็ได้ครึ่งหนึ่ง ๓๒ กัป ผู้มาอนุโมทนาลดหย่อนลงไปตามส่วน แต่ถ้าหลายๆ องค์ก็เอามาคูณกันไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่า ใครปลื้มมาก ปลื้มน้อย นี่ก็เป็นวัตถุประสงค์และอานิสงส์โดยย่อของการบวช ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/92 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 3 ชีวิตสมณะ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

๒๐. ทำไมต้องฝึกใจให้หยุดนิ่ง

ทำไมต้องฝึกใจให้หยุดนิ่ง เราฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพื่อความสุขทั้งในปัจจุบัน และเป็นความปลอดภัยในชีวิต ในสังสารวัฏ เมื่อใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ สติก็เกิดขึ้น เมื่อสั่งสมมากเข้าก็เป็นมหาสติ สติมีที่ใด ปัญญาก็เกิดขึ้นที่ตรงนั้น เมื่อสั่งสมมากเข้าก็เป็นมหาปัญญา มหาปัญญาบังเกิดขึ้นก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด จะมีความสุข ปีติ และภาคภูมิใจอยู่ตลอดเวลา บุญก็จะบังเกิดขึ้นควบคู่กับภารกิจในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะครองเรือน ทำมาหากิน เรียนหนังสือ หรือจะไปทำอะไรก็แล้วแต่ จะทำให้มโนปณิธานของเราที่ตั้งมั่นดีแล้วมั่นคงยิ่งขึ้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเป็นสุขด้วยตัวของตัวเองด้วยใจหยุดนิ่งอย่างนี้แหละ ท่านจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ เพราะใจหยุดแล้ว ไปอยู่ป่า อยู่เขา ห้วย หนอง คลอง บึง ที่ไหนๆ ก็อยู่ได้ การฝึกใจให้หยุดนิ่งสำคัญ ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับตรงนี้ให้มากๆ เพราะยังมีสิ่งที่เราจะต้องศึกษาเรียนรู้อีกเยอะ ที่นอกเหนือจากความรู้ปกติที่เราได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้ตรึกนึกคิด เป็นความรู้ที่สิ่งเหล่านี้ไปไม่ถึง ความคิดจินตนาการไปไม่ถึง ที่สำคัญเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต เกิดประโยชน์ด้วย และถูกวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ด้วย ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) …

๒๐. ทำไมต้องฝึกใจให้หยุดนิ่ง Read More »

๕. การขอขมาลาบวช

การขอขมาลาบวช การขอขมาก่อนอุปสมบทเป็นสิ่งจำเป็น เพราะชีวิตในสังสารวัฏ เราต่างเคยเกิดเป็นอะไรต่ออะไรกันมาเยอะแยะ เป็นโน่น เป็นนี่ เป็นนั่น คือ มีความเกี่ยวพันกันไปหมด แต่ไม่น่าเชื่อว่า เราลืมไปหมด เพราะมันมีบางสิ่งมาบดบัง ไม่ให้เรารู้ คือ “อวิชชา” มันมาบดบัง มันหุ้มมันเคลือบในใจเรา หุ้มไปหมดเลย ปิดหู ปิดตา ปิดความรู้ข้างนอก ข้างใน จนไม่รู้เลยว่า เคยมีความเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏนี้ เมื่อพระกับมารยังปะทะกันอยู่ บุญกับบาป มืดกับสว่าง กุศลกับอกุศลกรรม มันปะทะกันอยู่นี้ในทุกชาติที่เกิดมา โอกาสที่อกุศลเข้าสิงจิตมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราเผลอสติ เมื่อใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก็ขาดดวงปัญญา พอขาดดวงปัญญา ปัญหาก็เกิดขึ้น แล้วก็เป็นวิบากกรรมติดมา ดังนั้น ก่อนที่จะอุปสมบท การกล่าวขอขมาลาบวชจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำคัญอย่างยิ่ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ดี แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะทำตามธรรมเนียมเท่านั้น แต่ว่าเป็นความตั้งใจจริงด้วย เพราะฉะนั้นที่เคยมีการล่วงเกินกันบ้าง ในข้อผิดพลาดของเราและเพื่อนมนุษย์ ก็จะได้ล่มสลายหายไป แปลว่า เราก็ใจใส ผู้ที่เตรียมตัวจะบวชก็ใจใส ต่างก็ใจใสด้วยกันทั้งคู่ บุญกุศลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ …

๕. การขอขมาลาบวช Read More »

๖. เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้าเราจับหลักของชีวิตได้ว่า อะไรคือเป้าหมายชีวิต การดำรงชีวิตก็จะถูกต้อง หลักของชีวิตจะต้องศึกษาจากท่านผู้รู้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงผ่านชีวิตมาทุกระดับแล้ว และได้บทสรุปของชีวิตว่า เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง และพระองค์ก็ทรงทำให้แจ้งแล้วด้วยพระองค์เองมีพระมหากรุณาทรงแนะนำสั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวา และมีผู้ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันเยอะแยะ เกิดมาแล้วต้องจับหลักตรงนี้ให้ได้ อย่าไปจับหลักของผู้ไม่รู้นะ ของผู้ไม่รู้มันก็สะเปะสะปะเรื่อยเปื่อยกันไป บางคนบอกตายแล้วสูญ บางคนบอกตายแล้วไปอยู่บนสวรรค์บาปกรรมมีมากน้อยเท่าไรทำไปเถิด อย่างนี้ก็ลุยกันสะบั้นหั่นแหลกเลย บางพวกก็บอกว่า ต้องกินต้องดื่มคือหลักของชีวิต ขืนเชื่ออย่างนี้ ได้ไปดื่มในอบาย ๖,๐๐๐ กว่าล้านๆ ปีมนุษย์ มันหลากหลาย อันตรายนะลูกนะ เกิดมาแล้วต้องจับหลักของชีวิตให้ถูกตามที่ผู้รู้ท่านได้สั่งสอน แต่การที่ใครจะมาได้ยินได้ฟังธรรมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์อย่างนี้ ก็ไม่ใช่ง่าย ต้องสั่งสมบุญบารมีมามาก ทำทุกๆ บุญ แล้วก็อธิษฐาน นิพพานะปัจจะโย โหตุ คือ ตั้งความปรารถนาที่จะพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง หรือเกิดอยู่ในร่มเงาศาสนาของท่าน เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ตอนนี้เราเกิดอยู่ในร่มเงาศาสนาของท่าน อยู่ในคำสอนของท่าน ถือว่าเป็นผู้มีบุญมากๆ เมื่อเรารู้แล้วว่า เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หรืออย่างน้อยก็เกิดมาสร้างบารมี ก็เหลือแต่เราต้องลงมือทำเท่านั้น ทำบารมี ๑๐ ทัศ ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ ปัญญา …

๖. เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง Read More »

๗. ชีวิตสมณะผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร

ชีวิตสมณะ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เพื่อความไม่ประมาทในการใช้กายมนุษย์หยาบ ก็ต้องทำให้ถูกวัตถุประสงค์ของชีวิต ตามที่พระอริยเจ้า บัณฑิต นักปราชญ์ เขาดำเนินชีวิตกัน มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นต้นบุญต้นแบบในการดำเนินชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ผ่านชีวิตของการเวียนว่ายตายเกิดมามากพอแล้ว ฝึกฝนอบรมตนพัฒนากายวาจาใจมาตลอด ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง หรือชั้นสูง แล้วก็สรุปสูตรชีวิตว่า เพศบรรพชิตประเสริฐที่สุด มีโอกาสมากกว่าในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สามารถดับทุกข์ได้ พ้นทุกข์ได้ เพราะไม่มีเครื่องพันธนาการของชีวิตมากเท่ากับชีวิตของคฤหัสถ์ มีเครื่องพันธนาการชีวิตเพียงเล็กน้อย แค่บริขาร ๘ ที่จะคอยดูแลกายและใจ มีเป้าหมาย คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง ชีวิตสมณะจึงเหมือนนกน้อยมีแต่ปีกและหางที่โผบินไปในอากาศ คือ เป็นอิสระจากเครื่องพันธนาการของชีวิตไม่เหมือนชีวิตคฤหัสถ์ มีเวลาที่เหลือมาทำความเพียร ฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอย่างเดียว เพราะ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/92 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 3 ชีวิตสมณะ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร กลับสู่ สารบัญ …

๗. ชีวิตสมณะผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร Read More »

๘. คิดพูดทำแบบพระ

คิดพูดทำแบบพระ ตอนนี้เราเป็นพระ ให้คิดแบบพระ พูดแบบพระ และทำแบบพระ ทำแค่ ๓ อย่างนี้เท่านั้น ไม่ต้องเยอะ คิดพูดทำแบบพระที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้นอย่าให้ใจเราออกนอกเส้นทาง หรือไปคิดเรื่องที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำภารกิจอะไรก็ตาม จะกิน จะดื่ม จะทำ จะพูด จะคิด หยุดนิ่ง ลิ้มรส เหยียดแขน คู้แขน กลับหน้า กลับหลัง หรือจะทำอะไรก็แล้วแต่ ให้มีเพื่อน อย่าทำตามลำพัง คือ ต้องมีพระอยู่ในตัวเป็นเพื่อนคู่ใจอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำอย่างนี้แล้ว เดี๋ยวความรู้สึกว่า เป็นพระ จะเป็นไปเอง โดยที่เราไม่ต้องไปเคร่งครัดหรือสำรวมระวังอะไร เพราะความรู้สึกของเราอยู่กับพระ แล้วคุณสมบัติของพระก็จะถ่ายทอดมาเป็นคุณสมบัติของเรา ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/92 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 3 ชีวิตสมณะ …

๘. คิดพูดทำแบบพระ Read More »

๘๑. ยิ้มได้เมื่อภัยมา

ยิ้มได้เมื่อภัยมา อย่าเพิ่งตาย ถ้ายังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย อย่าเอาร่างกาย ชีวิตจิตใจของเราไปถล่มทลาย อย่าเอาไปใช้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร ที่ไม่เป็นประโยชน์ของชีวิต จะทำมาหากินอะไรที่เป็นสัมมาอาชีวะ ก็ทำไปเถอะ แต่อย่าทิ้งการปฏิบัติธรรม ให้ธุรกิจกับจิตใจไปคู่กัน ธุรกิจทำให้เราได้ปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงสังขารเพื่อดำรงชีพ เอาไว้สำหรับปฏิบัติธรรม ศึกษาค้นคว้าให้ได้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว “พระธรรมกาย” นี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปฐมชาติ แต่ว่ามีเหมือนไม่มี เพราะเราไม่ได้เอาใจใส่ เราไม่รู้ หรือรู้แล้วไม่เอาใจใส่ ไม่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงๆ จังๆ เพราะฉะนั้นมีจึงเหมือนไม่มี เหมือนนั่งทับทรัพย์อยู่อย่างนั้น ทรัพย์มีประโยชน์ก็เอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ เหมือนน้ำที่อยู่ใต้ดิน เราเดินอยู่บนน้ำใต้ดิน แต่ถ้าไม่เจาะลงไปให้ถึง ก็เอามาใช้ไม่ได้ พระธรรมกายในตัวก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าเราไม่ขยันประพฤติปฏิบัติธรรมให้สม่ำเสมออย่างถูกวิธี ก็ยากที่จะเข้าถึง เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งตาย ถ้ายังไม่ได้ธรรมกาย ชีวิตที่เหลืออยู่นี้ สงวนความแข็งแรงเอาไว้ให้ดี ประพฤติปฏิบัติธรรมทุกวัน การบ้านที่ให้เอาไว้ก็หมั่นทำ หมั่นฝึกซ้อม ซ้อมรบกันทุกวัน ซ้อมกันเป็นปี เป็นหลายๆ ปี แพ้ชนะรู้กันวันเดียว คือวันศึกสงครามชิงภพ ปิดงบดุลชีวิต เราทุกคนต้องตาย ต้องไปปรโลก เราจะหลีกหนีปรโลกไม่ได้ ไม่ว่าเราจะยินดีหรือไม่ยินดีก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ จะมียศถาบรรดาศักดิ์สูงต่ำแค่ไหนก็ปฏิเสธปรโลกไม่ได้ …

๘๑. ยิ้มได้เมื่อภัยมา Read More »

๗๔. ถ้าเอาจริง..ได้ทุกคน

ถ้าเอาจริง..ได้ทุกคน หยุดกับนิ่ง ขึ้นอยู่กับขยันหรือขี้เกียจ ถ้าขยันฝึกบ่อยๆ มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง มันก็ชัดเจน จากมืดก็มาสว่าง จากสว่างก็มาเห็น “เห็น” ต้องเห็นทุกคน ของมันมีอยู่แล้ว ก็ต้องเห็น ที่มีแล้วไม่เห็น มันแปลกจริงๆ ดังนั้นต้องเห็นนะ ถ้าหยุดนิ่งได้สนิท ถ้าเราเห็นคุณค่า เราทราบความสำคัญจะขยันฝึกหยุดฝึกนิ่ง ถ้ายังไม่เห็นความสำคัญเท่าไร คือ เห็นความสำคัญบ้าง ก็ฝึกน้อยหน่อย เอาเวลาไปทำอย่างอื่นมากกว่า ทั้งๆ ที่ตอนสุดท้ายของชีวิต ก็ต้องทิ้งอย่างอื่นทั้งหมด คือจำใจต้องทิ้ง เพราะเอาติดตัวไปไม่ได้ เพราะว่ามันต้องไปด้วยละเอียด ของที่เราทำเป็นของหยาบ หอบเอาไปไม่ได้ แม้แต่กระดูกของตัว ยังเอาไปไม่ได้ ยังต้องทิ้งเรี่ยราดให้คนอื่นเขาเก็บไป นี่คือความจริงของชีวิต ซึ่งไม่ค่อยคิดกัน ไม่มีอารมณ์จะคิด แต่เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนต้องเจอ ที่ว่าตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากบุญกับบาป ความจริงเป็นอย่างนี้ แต่ให้ความสำคัญกันไม่มาก ถึงตอนนั้นก็ตัวใครตัวมันกันแล้ว ใครจะตายแทนใครก็ไม่ได้ หรือเก็บเอาไปส่ง เอาไปให้ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าขยันก็หยุดได้เร็ว หยุดได้คล่อง หยุดได้ชำนาญ สิ่งที่เป็นอจินไตย เหลือเชื่อ ก็จะกลายเป็นความจริงเป็นเรื่องธรรมดา …

๗๔. ถ้าเอาจริง..ได้ทุกคน Read More »

๗๕. ความมืดเป็นมิตร

ความมืดเป็นมิตร ความมืดเป็นมิตร ไม่ได้เป็นศัตรูกับการเข้าถึงธรรม เป็นความมืดที่น่ารัก ถ้าเรารู้จักที่จะอยู่กับความมืด ความมืดก็จะเป็นเกลอ เป็นสหายของเรา อย่ากังวลกับการเห็นภาพ หรือว่าต้องเห็นอะไรอย่างนั้น อยู่กับความมืดอย่างสบายๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ยิ่งมืดก็ยิ่งดึก ยิ่งดึกก็ยิ่งใกล้สว่าง ไม่ช้าความสว่างก็จะมาเอง อยู่กับความมืดด้วยใจที่สบายๆ เบิกบาน แล้วก็อย่าให้มีความคิดว่า มืดอย่างนี้แล้วเมื่อไรดวงสว่างจะมาปรากฏ อย่านึกคิดอย่างนี้ อยู่กับความมืดด้วยใจที่นิ่งสงบ ให้เราคุ้นกับความมืดอย่างนั้นไปก่อน อย่าไปตีโพยตีพายว่า ไม่เห็นจะได้อะไรเลย ความสว่างไม่เห็นมา ต้องนึกเหมือนเรานั่งเงียบๆ ในคืนที่มืดมิด สมมติว่า เป็นเวลาตี ๑ เราก็ต้องยอมรับว่า นี่คือตี ๑ ถึงจะตีโพยตีพายอย่างไร ดวงอาทิตย์ก็ไม่มาปรากฏให้เราเห็น แม้ตี ๒ ตี ๓ ตี ๔ ตี ๕ ก็เช่นเดียวกัน จนกว่าจะถึงเวลาอันเหมาะสม ใกล้รุ่ง แสงเงินแสงทองจึงจะมาปรากฏให้เราเห็น และแหล่งกำเนิดของแสงเงินแสงทองเป็นดวงสีแดงๆ ยามอรุโณทัยจึงจะมาภายหลัง ถ้าเรานั่งนิ่งๆ โดยไม่กังวลอะไร เหมือนนั่งในยามรัตติกาล ในคืนเดือนมืดอย่างนี้ ไม่ช้าจะสมหวัง คือใจจะสงบ ไม่ทุรนทุราย …

๗๕. ความมืดเป็นมิตร Read More »

๗๖. ทำให้ถูกหลักวิชชา

ทำให้ถูกหลักวิชชา การฝึกใจให้หยุดนิ่งเป็นกรณียกิจ เป็นกิจที่สำคัญสำหรับการมาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะจะทำให้เราพบความสุขที่แท้จริง และพบความเป็นจริงของชีวิต เมื่อเราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัวแล้ว นี่เป็นกิจที่ควรจะต้องทำควบคู่กับการทำมาหากิน การศึกษาเล่าเรียน การครองเรือน แม้พวกเราจะทราบว่าเป็นกรณียกิจ เป็นกิจที่ต้องทำ แต่มักไม่ค่อยมีความขยัน มีความเพียรที่จะปฏิบัติ หรือปฏิบัติก็ปฏิบัติพอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจริงจังเพื่อให้ใจตั้งมั่นอยู่ภายใน ที่ท้อก็เพราะว่า นั่งแล้วมีความรู้สึกว่า ไม่ก้าวหน้า ไม่เห็นผลทันอกทันใจ ซึ่งการที่เรานึกคิดอย่างนี้ ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติธรรมย่อมมีผลขึ้นสักวันหนึ่ง แต่ก็ต้องค่อยๆ สั่งสมความละเอียดของใจไปทุกๆ วัน เพราะใจเราหยาบด้วยการทำมาหากิน คิดพูดทำแต่สิ่งที่ทำให้อารมณ์จิตมันหยาบ มันฟุ้งอยู่ตลอดเวลา ไม่ตั้งมั่น แล้วจู่ๆ จะให้มาหยุดมานิ่ง ให้ได้ดั่งใจเลย มันไม่ได้นะลูกนะ ต้องอาศัยการฝึกฝน สั่งสมกันไปทุกๆ วัน เรามักจะให้ความสำคัญกับการสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายอารมณ์ไปในเรื่องราวที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร ดูทีวีบ้าง อ่านหนังสืออ่านเล่นให้เพลินๆ หรือไปเที่ยวเตร่ พูดคุยกันให้เสียเวลา ไม่ค่อยให้ความสำคัญกันอย่างจริงจัง ซึ่งความจริงแล้ว ถ้าตั้งใจปฏิบัติกันจริงๆ ทำให้ถูกหลักวิชชา ทบทวนคำสอนที่ได้ยินได้ฟังมา แล้วก็หมั่นปฏิบัติ หมั่นสังเกต เดี๋ยวเราจะพบเหตุแห่งการบกพร่อง และช่องทางแห่งความสำเร็จ ความสมหวังย่อมจะเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน ๔ พฤษภาคม …

๗๖. ทำให้ถูกหลักวิชชา Read More »

๖๑. ฝึกหยุดนิ่งในทุกอิริยาบถ

ฝึกหยุดนิ่งในทุกอิริยาบถ จะยากตอนแรกๆ นิดหนึ่ง เพราะเราไม่คุ้นเคยกับการนึกอยู่ตรงนี้ แต่ยากไม่มาก ยากพอสู้ ถ้าสู้อย่างถูกหลักวิชชา ก็ไม่ยาก ค่อยๆ ทำความเพียรไป ให้มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง อยู่ภายในตรงนี้ให้มากๆ ควบคู่กับภารกิจประจำวันในชีวิต จะดูแลบ้านช่อง เรื่องธุรกิจการงาน หรือการศึกษาเล่าเรียนก็ทำไปขณะเดียวกันก็ทำสิ่งนี้ควบคู่ไปด้วย เดี๋ยวสักวันหนึ่ง เราจะต้องสมปรารถนา เพราะพระรัตนตรัยมีอยู่แล้วภายในตัวของเรา ไม่ใช่เราไปทำให้เกิดขึ้น แต่บริกรรมนิมิตที่เรานึกขึ้นมา จะเป็นองค์พระ ดวงใสๆ หรือพระเดชพระคุณหลวงปู่ เราแค่อาศัยเป็นจุดเชื่อมโยงประดุจสะพานของใจ ให้เข้าไปถึงพระรัตนตรัยที่มีอยู่แล้วในตัวของเราเท่านั้น พอถูกส่วน สิ่งที่เราสมมติขึ้นมา สร้างภาพขึ้นมา จะหายไปเอง ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

๗๗. ความละเอียดต้องค่อยๆ สั่งสม

ความละเอียดต้องค่อยๆ สั่งสม ถ้าหยุดได้วันนี้…ก็เข้าถึงวันนี้ หยุดได้พรุ่งนี้…ก็เข้าถึงวันพรุ่งนี้ หยุดได้ตอนไหน…ก็เข้าถึงตอนนั้น ฝึกเอาไว้ให้คล่องในทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำไปเรื่อยๆ ความละเอียดมันต้องค่อยๆ สั่งสม ค่อยๆ เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ เราจะปุ๊บปั๊บให้มันละเอียดไปเลยนี่ยาก แล้วก็ไม่เคยเจอเลย ต้องค่อยๆ สั่งสมไป วันนี้เราละเอียดได้แค่นี้ พรุ่งนี้ก็ละเอียดเพิ่มขึ้น แล้วก็จะโล่งไป ชัดไป ใสไป สว่างไป ใหม่ๆ ก็คุ่มๆ ค่ำๆ กันไปก่อน ต่อไปก็ชัดขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้น องค์พระตอนแรกอาจจะทึบ อาจจะแข็งกระด้างก็ช่างท่าน เราหยุดนิ่งไปเรื่อยๆ จริงๆ แล้วท่านนุ่มนวล แต่ใจเรายังไม่ละเอียด พอเราหยุดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะนุ่มนวลขึ้นมาเอง จะสว่างขึ้นมา ตั้งแต่เหมือนดวงอาทิตย์ตอนเช้าสางๆ กระทั่งค่อยๆ กระจ่างแจ้งไปเรื่อยๆ กระทั่งเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เป็นแสงแก้วที่สุกใส แล้วองค์พระก็จะโตใหญ่ไปเรื่อยๆ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) …

๗๗. ความละเอียดต้องค่อยๆ สั่งสม Read More »

๖๒. หมั่นฝึกใจทุกวัน

หมั่นฝึกใจทุกวัน ถ้าเราฝึกหยุดฝึกนิ่งกลางองค์พระทุกวันให้สม่ำเสมอ ความชำนาญจะค่อยๆ เกิดขึ้น จากยากก็จะมาง่าย แล้วการเดินทางเข้าไปสู่ภายในก็อยู่ในวิสัยที่เราทำได้ ต้องทำบ่อยๆ ฝึกทุกวัน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน อิริยาบถใดก็ตาม ฝึกเอาไว้ ให้หยุด ให้นิ่ง ให้ใส เพราะนี่คือ กรณียกิจ กิจที่เราจะต้องทำ ไม่ทำไม่ได้นะ ต้องทำ เราจะได้มีชีวิตที่มีความปลอดภัย อบอุ่นใจ เข้าถึงความสุขภายในได้ เหมือนมีป้อม มีค่าย มีหลุมหลบภัยอยู่ในตัว ฝึกตรงนี้ จนกระทั่งตัวของเราไม่ทึบ รู้สึกกลวงภายใน จะไม่มืด จะโล่ง โปร่ง เบา สบาย ขยาย กลวงเข้าไปเลย แล้วจะเข้าถึงดวงธรรมที่ผุดกันขึ้นมา น่าอัศจรรย์นะ ธรรมเหล่านี้มีอยู่แล้วในตัวของเรา ที่เราได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ ทั้งดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ มีอยู่แล้วในตัวของเรา กายในกายต่างๆ เราก็จะเข้าถึงได้ แล้วก็ได้กันทุกคน ถ้าขยัน ไม่ขี้เกียจ และทำถูกวิธี ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. …

๖๒. หมั่นฝึกใจทุกวัน Read More »

๗๘. ฝึกใจให้หยุดนิ่งก่อนหมดลม

ฝึกใจให้หยุดนิ่งก่อนหมดลม เราต้องให้ความสำคัญกับการฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพราะเรามาเกิดเป็นมนุษย์ก็เพื่อการนี้ นี่คือวัตถุประสงค์ของชีวิต เป็นกรณียกิจ กิจที่ต้องทำ เป็นงานที่แท้จริง ซึ่งนับวันเราจะต้องนับถอยหลังกันแล้ว เพราะเรามีเวลาจำกัดในโลกมนุษย์นี้ กายมนุษย์มีข้อจำกัด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นปกติธรรมดาของร่างกายมนุษย์เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลาย ก่อนถึงวันสุดท้ายของชีวิตต้องฝึกจิตให้สงบ ให้หยุดนิ่ง ให้ได้รู้รสชาติแห่งความสงบของใจว่า มีรสมีชาติแตกต่างจากรสชาติที่เราเคยผ่านมาอย่างไร เรามีเวลาจำกัดในโลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเกิดมาก่อน หรือเกิดทีหลังก็ตาม เวลาแห่งชีวิตมีเท่ากัน บางคนเกิดทีหลังตายก่อน บางคนเกิดก่อนตายทีหลัง ตายในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน หรือชราก็มี ชีวิตไม่แน่นอน ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

๖๓. ภาวิตา พหุลีกตา

ภาวิตา พหุลีกตา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ไม่มีพรมาจากสวรรค์ แม้เทวดาล้านองค์หรือพร้อมใจกันทั้งสวรรค์จะให้ศีลให้พร เราว่า ขอให้เรานึกดวง นึกองค์พระได้ ไม่สำเร็จหรอกจ้ะ เขาก็ได้แต่เป็นกองเชียร์ เหมือนกองเชียร์รอบสนามฟุตบอล เราจะเชียร์ให้เขาเตะเข้าประตูแค่ไหนก็แล้วแต่ แต่จะเป็นดาวซัลโวได้ ก็ต้องอาศัยตัวเราเองฝึกฝน ศึกษา เรียนรู้ ทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า ภาวิตา พหุลีกตา แปลว่า ต้องบ่อยๆ เนืองๆ ถ้านานๆ ทำที ก็นานๆ นึกได้ทีหนึ่ง ถ้าทำแล้วนึกต่อเนื่องนานๆ ก็นึกได้นานๆ บ่อยๆ ซึ่งก็เป็นหลักธรรมดา เพราะฉะนั้นมันอยู่ในวิสัยที่ไม่ง่าย ไม่ยาก ยากพอสู้ พอที่เราจะฝึกฝน และง่ายพอที่เราจะเข้าถึงได้ ไม่เหลือวิสัย ดังนั้นขึ้นอยู่ที่การฝึกฝนนะ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ …

๖๓. ภาวิตา พหุลีกตา Read More »