หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่

41.ใจหยุดนิ่งได้อานิสงส์ไพศาล

ใจหยุดนิ่งได้อานิสงส์ไพศาล ฝึกใจให้หยุดนิ่งให้ได้ สิ่งอื่นจะเป็นเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องธุรกิจ การงาน เรื่องทำมาหากิน เรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ เป็นสิ่งไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร หยุดกับนิ่งนี่แหละเป็นสาระ เป็นแก่นสารของชีวิต ที่จะ ทำให้เราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เราเกิดมาเพื่อการนี้ ต้องใช้ทุกอนุวินาที ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งให้ได้ หยุดแค่กะพริบตาเดียว ได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาลมากกว่าสร้างโบสถ์ สร้างวิหารมากมายนัก เพราะว่าเป็นทางมรรคผลนิพพาน ทางหลุดทางพ้นจากกิเลสอาสวะ หยุด ประเดี๋ยวเดียว ความสุขก็พรั่งพรูออกมา เพราะฉะนั้นหยุดกับนิ่งนี่แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

42.จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ใจต้องฝึกฝน และทำให้เจริญให้มาก ๆ ฝึกมากแล้วจะทำประโยชน์ ให้ตนเองได้เป็นอย่างยิ่ง จะเปลี่ยนจากปุถุชนให้เป็นอารยชนได้ ยกตัวอย่าง คนเหมือนกัน คนหนึ่งไม่โกรธ ใจดี มีเมตตา ย่อมเป็นที่อยากเข้าใกล้ของคนทั่วไป และถ้าใจรักษาคุณธรรมนี้ไว้มาก ๆ อาจทำให้น่ากราบไหว้ เป็นที่ เคารพบูชา เพียงไม่โกรธอย่างเดียวยังได้คุณวิเศษถึงเพียงนี้ ถ้าไม่โลภด้วย จะยิ่งดีมากกว่านี้หลายเท่า สมดังภาษิตที่ว่า ความสุขความเจริญทั้งมวล ย่อมเกิดขึ้นจากใจก่อนทั้งสิ้น เมื่อเปลี่ยนแปลงใจให้ดีแล้ว สิ่งดี ๆ หลายอย่าง เช่น ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ สิ่งดี ๆ ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลพลอยได้ตามมาด้วย ฉะนั้น ใจเป็นต้นเหตุของความสุขความเจริญทั้งมวล ในชีวิตนี้ควรฝึกฝนใจ และให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะ นอกจากเป็นแหล่งที่มาของบุญแล้ว ยังนำมงคลทั้งหลายมาสู่ตนด้วย ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 …

42.จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ Read More »

43.คือ..ความเรียบง่ายภายใน

คือ..ความเรียบง่ายภายใน ครูสอนภาษาท่านหนึ่งกล่าวว่า การเรียนภาษามันต้องง่าย ๆ ตรงไปตรงมา เพราะภาษาหรือประโยคคำพูด ไม่ได้เริ่มต้นมาจาก นักปราชญ์ บัณฑิต หรือบัญญัติสวรรค์ แต่เริ่มต้นจากชาวบ้านธรรมดา คือ มีประธาน มีกริยา แล้วก็มีกรรม ท่านก็ยกตัวอย่างว่า เช่น ฉันกินข้าว และ หลังจากนั้นก็มีผูกประโยคกันให้ซับซ้อน ให้ดูเลิศหรูสละสลวยกันขึ้นมา แต่จริง ๆ ก็มีความหมายแค่ ฉันกินข้าว การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน จริง ๆ แล้วมันเรียบง่าย สบาย ๆ เข้าถึงได้โดยไม่ยาก ทำใจให้อินโนเซนท์เหมือนเด็ก ๆ ง่าย ๆ เดี๋ยวก็เข้าถึงได้ แล้วสิ่งที่เป็นความลับ เหลือเชื่อ เช่น เรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ก็จะถูกเปิดเผยออกมา สว่าง กระจ่าง เหมือนเราชักม่านแห่งความมืด ในยามรัตติกาล ให้แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ ได้โคจรทำความสว่างแก่โลก มันก็ง่าย ๆ แค่นั้นเอง ๓๐ พฤษภาคม …

43.คือ..ความเรียบง่ายภายใน Read More »

44.อย่าประมาทในชีวิต

อย่าประมาทในชีวิต เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน เดี๋ยววัน เดี๋ยวคืน เดี๋ยวก็จะหมดเวลาแล้ว เราแก่ลงไปทุก ๆ วันจริง ๆ แม้ใครจะมาชื่นชมเราว่า ดูแล้วยังไม่แก่ ไม่จริงหรอก จริง ๆ แล้วเรานอนกับคนแก่ทุกวันอยู่บนเตียงของเรา คือ นอนกับตัวของเราเอง ที่แก่ลงไปทุกวัน สภาพร่างกายที่เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ ทุกวัน แล้วไม่ช้าเราก็จะไปสู่เชิงตะกอน เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลืออยู่ มีไม่มากเลย อย่าคิดว่า เรามีเวลาเหลือเฟือ เราจะนั่งธรรมะเมื่อไรก็ได้ เพราะเราได้ทราบสูตรสำเร็จในการเข้าถึงธรรมกายแล้วว่า ให้หยุด ให้นิ่ง ให้เฉยอย่างสบาย ๆ เราจะทำเมื่อไรก็ได้ คิดอย่างนี้เรียกว่า ยังประมาทอยู่ ! เราจะต้องคิดว่า เราจะตายวินาทีนี้ ก่อนตาย…เราจะเอาอะไรเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึก หรือยึดเอาไปในภพเบื้องหน้า คิดอย่างนี้แล้วเราจะได้ไม่ประมาท ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายไม่ได้ มีเพียงประการเดียว คือ ผู้ที่ไม่ทำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับว่า บุญมากหรือบุญน้อย มันขึ้นอยู่กับว่า จะทำ หรือไม่ทำ อยากได้ หรือไม่อยากได้ เท่านั้นเอง …

44.อย่าประมาทในชีวิต Read More »

45.ความแข็งแรงมีไว้สร้างความดี

ความแข็งแรงมีไว้สร้างความดี ยังแข็งแรงอยู่ ต้องรีบขวนขวายลุยนั่งธรรมะกันให้เต็มที่ อย่าเอา ความแข็งแรงไปทำอย่างอื่น ที่ไม่เป็นบุญกุศล เพราะไม่เกิดประโยชน์ อะไร ถ้าเอาความแข็งแรงไปทำบาป ก็จะมีวิบากตามมาอีก เสียดายความ แข็งแรง สิ่งสำคัญในการปฏิบัติธรรม คือ ความแข็งแรงและความ ปลอดกังวล ทั้งสองอย่างเป็นหัวใจสำคัญ ไม่เช่นนั้นพญามารเอาไป ทำอย่างอื่นจนหมดแรง จิตเดิมแท้ของเราจะใสสะอาด แต่พญามารเอากิเลสเข้ามาสอด บังคับให้เราไปสร้างกรรมอีก ดังนั้นในช่วงที่ยังแข็งแรงอยู่ ต้องตั้งใจนั่ง ธรรมะ และสร้างบุญกันให้เต็มที่ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

46.ยกใจให้สูง

ยกใจให้สูง ยกใจของเราให้สูง ยิ่งยกใจให้สูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งมองเห็นอะไรได้กว้างขวางขึ้น ความรู้สึกแบ่งเขา แบ่งเรา ก็จะหมดสิ้นไป เพราะใจไม่ค่อยสูง ถึงได้แบ่งเป็นนั่นพวกเรา…นั่นไม่ใช่พวกเรา ก็เลยทำให้เกิด… ความคิด เบียดเบียนกัน คำพูด เบียดเบียนกัน การกระทำ เบียดเบียนกัน รบราฆ่าฟันกัน เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องยกใจให้สูงขึ้น ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

47.ฝึกใจให้คิดแต่เรื่องดี ๆ กันดีกว่า

ฝึกใจให้คิดแต่เรื่องดี ๆ กันดีกว่า ต้องฝึกใจให้คิดแต่เรื่องบุญกุศล สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ควรคิด คิดแล้วใจเป็นบุญกุศล ถ้าใจคิดเรื่องไม่ดี แล้วเรามีสติยั้งคิดได้ ก็นิ่งเสีย ให้ใช้สติพิจารณาว่า เราคิดไม่ดีในเรื่องอะไรบ้าง แล้วใช้ปัญญาสอนตัวเองว่า จะไม่คิดอย่างนี้อีก ตอนแรก ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ แต่ใจก็ยังเศร้าหมองตาม เหมือนขับรถ เมื่อเบรกแล้วจะยังไม่หยุดทันที ความเฉื่อยยังมีอยู่ ใจก็เช่นกัน ยังมีความเฉื่อยหลงค้างอยู่ในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง “รู้ทันเสียเพียงครึ่ง รู้ไม่ถึงเสียทั้งหมด” ตอนแรก ๆ ก็ต้องฝึก ซึ่งอาจจะมีใจไปตามมันบ้าง แต่ต่อไปจะสามารถตัดใจไม่คิดได้เลยทั้งหมด พอรู้ว่าสิ่งนี้ไม่ดี ก็ไม่คิด ตัดฉับได้ทันที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

48.ทุกภารกิจ ฝึกจิตได้

ทุกภารกิจ ฝึกจิตได้ การทำสมาธิ เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ ทุกภารกิจเราสามารถ ฝึกใจได้ ให้สังเกตดูใจตัวเราเอง สังเกตดูการกระทำ การพูด การคิด ทุกอย่างที่เราทำว่า “พอดี” แล้วหรือยัง ไม่ว่าจะกวาดบ้าน จะล้างถ้วย ล้างชาม จะหั่นผัก งานต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราต้องทำ ถ้าเราสามารถทำงานเหล่านี้ให้พอดีได้แล้ว เราก็สามารถ ฝึกใจให้พอดีได้ นั่นคือ เราจะรู้จักคำว่า “วางใจให้ถูกส่วน” แล้วธรรมะก็จะเกิด เป็นความสว่างขึ้นในใจ ดูคุณยายอาจารย์ฯ เป็นตัวอย่าง ท่านทำงานหยาบ* ได้พอดีทุกอย่าง งานละเอียด* ท่านจึงสามารถทำได้ดี ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

49.ภารกิจกับจิตใจไปด้วยกัน

ภารกิจกับจิตใจไปด้วยกัน ต้องบริหารเวลาให้เป็น จัดสรรเวลาของเราให้ลงตัว ให้มีเวลาว่างสำหรับแสวงหา หนทางพระนิพพานของตนเองให้ได้ อย่างน้อยวันละชั่วโมง หรือสองชั่วโมงก็ยังดี ส่วนเวลาอื่นที่เรามีภารกิจประจำ วันที่ต้องทำ ก็พยายามฝึกฝน ทำควบคู่กับภารกิจนั้นไป เพราะภารกิจกับจิตใจต้องไปด้วยกัน ใครทำ สองอย่างนี้ไปพร้อม ๆ กันได้ ถึงจะเรียกว่า บริหารเวลาเป็น มีความตั้งใจ ที่จะทำความปรารถนาของเราให้สมหวัง ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ในชีวิต ภารกิจกับจิตใจควรจะไปด้วยกัน ไม่ควรเป็นสิ่งที่แย้งกัน หรือเป็น ข้ออ้างว่า เราต้องทำธุรกิจการงาน จะต้องเรียนหนังสือ เลยทำให้ไม่มี เวลา หรือบางคนอ้างว่า สุขภาพไม่แข็งแรง ยังเจ็บป่วยไข้ คอยให้หายป่วย แล้วค่อยแสวงหาหนทางพระนิพพานทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ เพราะเรามีเวลา ของชีวิตที่จำกัดเหลือเกิน และความตายก็ไม่มีนิมิตหมาย ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ …

49.ภารกิจกับจิตใจไปด้วยกัน Read More »

50.“สัมมาอะระหัง” กลั่นใจได้

“สัมมาอะระหัง” กลั่นใจได้ ให้มีคำภาวนา สัมมาอะระหัง ในใจ ควบคู่กันไปกับภารกิจ ภาวนา ไปเรื่อย ๆ ในทุกอิริยาบถ ทุกกิจกรรม ภาวนาอย่างเป็นสุขใจ สบายใจ เพราะเรากำลังทำความดี การภาวนา สัมมาอะระหัง สามารถทำได้ตลอดเวลา แม้ยามโกรธ เราก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ในใจได้ ความโกรธนั้นก็จะมลายหายไป ความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราก็ภาวนาได้ ความทุกข์นั้นก็จะหายไป แม้มีความสุขเกิดขึ้นมา เราภาวนา ก็จะเพิ่มเติมความสุขให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การภาวนา สัมมาอะระหัง ไม่ได้ขัดกับการทำมาหากิน เลย เหมือนเราขับรถไปด้วย คุยไปด้วย ใช้ทั้งมือ ทั้งขา ทั้งตา ทั้งหู ทั้งปาก พูดไปด้วย เรายังทำได้ การภาวนาก็เช่นเดียวกัน เป็นงานทางใจ เพราะฉะนั้น จะทำมาหากินหรือจะทำอะไร ก็ทำไปเถอะ แต่ ในขณะเดียวกัน เราก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ไปด้วย ทำด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุข ๖ …

50.“สัมมาอะระหัง” กลั่นใจได้ Read More »

51.ทางรอดของมนุษย์

ทางรอดของมนุษย์ ตอนนี้ทั่วโลกต่างก็มีสุขมีทุกข์กันไป บางประเทศก็สุขมาก ทุกข์น้อย บางประเทศก็ทุกข์น้อย สุขมาก หรือทุกข์มากสุขน้อยสลับกันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา… ทางรอดของมวลมนุษยชาติ มีทางเดียวเท่านั้น คือ ต้องมองกลับเข้าไปสู่ภายใน หยุดใจให้ได้ แล้วให้เข้าไปถึงพระรัตนตรัยในตัว อย่ามัวทะเลาะ หรือขัดแย้งกัน มองผ่านความแตกต่าง เข้าไปถึงความเหมือนกันภายใน นั่นแหละ เป็นทางรอดของมวลมนุษยชาติ ถ้าทุกคนทำอย่างนี้… โลกก็จะเกิดสันติสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น…ถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะเลิกทะเลาะกัน แล้วก็หยุดใจเข้าสู่ภายใน ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

36.เราเกิดมาเพื่อการนี้

เราเกิดมาเพื่อการนี้ การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ต้องจับหลักให้ได้ว่า เราเกิดมาเพื่อการนี้ ตราบใดเรายังไม่เจอพระรัตนตรัยในตัว เราจะไม่มีวันรู้จักความสุขที่แท้จริง เราจะไม่มีวันอบอุ่น และมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในชีวิต เราจะมีแต่ความสะดุ้งกลัวต่อมรณภัยและภัยทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา แต่เราจะหมดความรู้สึกอย่างนี้ แปรมาเป็นความสุขที่ไม่มีขอบเขต มีความปลอดภัยและอบอุ่นในชีวิต ต่อเมื่อเราปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของเรา ด้วยวิธีการง่าย ๆ แค่หลับตาเบา ๆ ทำตัวให้สบาย ทำใจให้สงบ ง่วงก็ปล่อยให้หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่ ทำความเพียรเรื่อยไป ด้วยสูตรสำเร็จ คือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ใจหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดใจได้…ก็เข้าถึงได้ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

21.ความทุกข์ของนักบุญ !

ความทุกข์ของนักบุญ ! บุญในตัวจะคอยปรุงแต่งชีวิต ให้เราประสบความสุขความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการงาน และในทุกสิ่งที่เราปรารถนา เคยสังเกตไหม ทำไมคนเราถึงต่างกัน บางคนประสบความสำเร็จ ในชีวิต แต่บางคนก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้ง ๆ ที่ใช้ความเพียร หนึ่งสมองสองมืออย่างมากเหมือนกัน ที่ประสบความสำเร็จ เพราะเขามีสายบุญที่ทำอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ไม่มีสายวิบัติมาคั่นระหว่างกลาง เพราะฉะนั้นทำอะไรก็ราบรื่น ยิ่งขยัน ก็ยิ่งรวย แต่บางคนขยัน แต่ก็เหนื่อยฟรี เพราะสายสมบัติมัน ขาดตอน เหตุเพราะทำบุญไม่สม่ำเสมอนั่นเอง บุญจะเชื่อมติดกันอยู่ในกลางกายของเรา บางคนในอดีตทำบุญ มาไม่สม่ำเสมอ ก็ต้องอาศัยบุญที่ทำในปัจจุบันนี้แหละ แต่บุญปัจจุบัน ก็เหมือนปลูกกล้าไม้ กว่าจะเจริญเติบโตออกดอกออกผลก็ต้องใช้เวลา ต้องให้เวลาบุญได้ทำงานบ้าง บางทีมันก็ไม่ได้ดั่งใจ เช่น เรามีความรู้สึกว่า บุญไม่ช่วย แต่จริง ๆ บุญกับบาปทำงานอยู่ตลอด ๒๔ น. บาป ทำให้เราเกิดความทุกข์ทรมานในชีวิต อุปสรรคของชีวิต มีทุกข์ โศกโรคภัย สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายเกิดขึ้น บุญ เขาก็แก้ไขอยู่ ๒๔ น. เหมือนกัน …

21.ความทุกข์ของนักบุญ ! Read More »

37.ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร?

ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร? เราปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งชีวิต ไม่ใช่เพื่อ อยากเด่นอยากดัง หรือต้องการให้ใครมายกย่องสรรเสริญ หรือ ปรารถนาลาภสักการะ แต่เรามุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อทำความบริสุทธิ์ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จิตยิ่งสะอาด ยิ่งบริสุทธิ์ ก็ยิ่งมีความสุขมาก มีปัญญาบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น รู้เห็นอะไรไปตามความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง สมบูรณ์ มีความสุขตลอดเส้นทางในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ แม้จะอยู่บนเตียงผู้ป่วย ก็ป่วยแต่เพียงร่างกายเท่านั้น แต่จิตใจ องอาจ สูงส่ง มีความสุข อยู่ในบุญกุศล อยู่ในธรรม อยู่ในพระรัตนตรัย ภายในที่สุกใส สว่าง จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีความสุข เมื่อละโลกไปแล้ว ก็ยิ่งมีความสุขในสัมปรายภพ ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เข้าไปเป็นสหายแห่ง เทวดาทั้งปวง ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/43 ต้นฉบับ หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ เล่ม 2 กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

22.ทำบุญแล้วอธิษฐาน..เป็นการค้ากำไรเกินควรหรือไม่?

ทำบุญแล้วอธิษฐาน..เป็นการค้ากำไรเกินควรหรือไม่? ทุกครั้งที่ทำบุญ เราต้องอธิษฐาน เป็นอธิษฐานบารมีของเรา อธิษฐานบารมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ทำมาตลอดนะ จะทำบุญอะไร พระองค์ก็อธิษฐานขอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นภูมิที่ ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ปกครองทวีปทั้งสี่ รอบเขา พระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ฉะนั้น เราทำบุญอะไร เราต้องอธิษฐาน เซ็ตโปรแกรมภายในตัว เป็นเป้าหมายของชีวิตเอาไว้ จะทำบุญเล็ก บุญปานกลาง บุญใหญ่ จะต้องอธิษฐานจิตให้ดี ทีนี้เราเคยได้ยินคำว่า “ค้ากำไรเกินควร” ขอทำความเข้าใจว่า นี่ไม่ใช่การค้า ไม่ใช่ธุรกิจแต่เป็นเรื่องจิตใจ เราทำตามคำสอนของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เราตั้งความปรารถนาที่จะเป็น จุลเศรษฐี มหาเศรษฐี บรมเศรษฐี ถ้าไปเทียบกับความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันนิดเดียว เพราะฉะนั้นการอธิษฐานไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร ของ พระองค์แม้ให้อาหารกับคนที่มีศีลเพียงเล็กน้อย หรือแม้ให้สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นเราจะไป ใช้คำว่า “ค้ากำไรเกินควร” ให้อาหารนก แต่ตั้งความปรารถนาเป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า มันไม่ถูก ดังนั้น การที่เราทำบุญอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นใส่บาตร นั่งสมาธิ เรา อย่าดูหมิ่นว่า เป็นบุญเล็กบุญน้อย ให้เราตั้งเป้าไปเลยในสิ่งที่เราปรารถนา เช่น …

22.ทำบุญแล้วอธิษฐาน..เป็นการค้ากำไรเกินควรหรือไม่? Read More »