วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก สังเกตตัวเอง ทำไมนั่งไม่ได้ผล

วิธีนั่งสมาธิ จากหนังสือ ง่ายแต่ลึก๒ บทที่ ๓๑ สังเกตตัวเอง ทำไมนั่งไม่ได้ผล
ส.สี่ ส. มั่นไว้ ให้ดี
จักถึงธรรมเร็วจี๋ แน่แท้
สมัคร สติ สบาย นี้ ทุกเมื่อ
สม่ำเสมอ สัมฤทธิ์แล้ อย่าได้ลืมหลง
ตะวันธรรม

(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ……..)
…สำหรับท่านที่กำหนดองค์พระเป็นบริกรรมนิมิต ใจก็จะ
ต้องตรึกองค์พระอยู่เรื่อยๆ อย่าให้เผลอ ตรึกนึกถึงความใส
หยุดเข้าไปตรงกลางของความใสขององค์พระ อาราธนาให้ท่าน
นั่งหันหน้าออกไปในทางเดียวกับเรา ไม่ว่าเราจะนั่งหันหน้าไป
ทางไหน องค์พระก็จะต้องหันหน้าไปทางนั้น เหมือนเรามอง
จากด้านเศียรของท่านนะ มองตรงจากด้านบนลงไป
องค์พระไม่ควรกำหนดใหญ่กว่าคืบหนึ่ง ถ้าอย่างเล็กก็
ขนาดเมล็ดข้าวโพด คือกะคะเนว่า เราสังเกตได้ชัดเจนด้วยใจ
ของเรา อย่างนั้นจึงจะเป็นบริกรรมนิมิตที่ถูก ตอนนี้ใจของเรา
ก็ยังตรึกนึกถึงความใส หยุดเข้าไปในกลางความใสของบริกรรม
นิมิตที่เราสร้างเข้าไป บริกรรมนิมิตจะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงใจของ
เราให้หยุดนิ่ง ให้เป็นสมาธิ
เมื่อเราวางอารมณ์จิตได้ถูกส่วนแล้ว ต่อจากนี้ไปก็ภาวนา
สัมมา อะระหัง เรื่อยไป จะกี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสนครั้ง เรา
ก็ภาวนาไปเรื่อยๆ โดยให้สติของเราจรดอยู่ที่บริกรรมนิมิต
อย่าให้เผลอ
ทุกครั้งที่เราภาวนา จะต้องไม่เผลอ ถ้าเผลอเราจะต้อง
เริ่มต้นใหม่ ดึงกลับเอามาใหม่ เพราะว่าธรรมชาติของใจเรา
นั้น มักจะกลับกลอก มักจะนึกไปถึงสิ่งที่เราเคยตรึก เคยนึก
เคยคิด และสิ่งเหล่านั้นส่วนมากมักจะเป็นเรื่องราวในอดีตที่
ผ่านมา ด้วยอารมณ์เก่าๆ ที่เราได้ผ่านมาทางตา ทางหู ทาง
จมูก ทางลิ้น ทางกายหรือทางใจ ที่คั่งค้างอยู่ในจิตใจก็มักจะ
มาปรากฏขึ้นในขณะที่ใจของเราเริ่มรวมเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น
ตอนนี้เราเผลอไม่ได้นะ จะแพ้หรือจะชนะ คือจะรวมหรือไม่
รวม จะหยุดหรือไม่หยุด ก็ขึ้นอยู่กับสติของเราจะต้องไม่เผลอ
จากบริกรรมทั้งสอง
ภาวนา สัมมา อะระหัง ก็ต้องตรึกนึกถึงความใส หยุด
เข้าไปในกลางความใสตรงนั้นเรื่อยไปให้จังหวะที่เราภาวนานั้น
สม่ำเสมอ กระแสใจของเราก็จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าได้
เปลี่ยนกระแสใจ หรือเปลี่ยนคำภาวนาที่เร็วบ้าง ช้าบ้าง อย่าง
นั้นไม่ถูก จะทำให้ใจของเราเครียด เกิดความกระสับกระส่าย
ภายใน แล้วเราก็วางอารมณ์อย่างนั้น ให้เป็นอุเบกขาเรื่อยไป
อย่าอยากเห็นเร็วเกินไป จนเกิดความตั้งใจอย่างแรงกล้า
แล้วก็จะบีบบังคับจิตของเราให้หยุดนิ่ง อย่างนั้นเป็นวิธีที่ไม่ถูก
จะทำให้เกิดอาการเครียดที่กาย มีอาการปวด ตึง มึนเกิดขึ้นมา
แล้วนิมิตนั้นก็จะหยาบ ในที่สุดก็จะเลือนหายไป
สิ่งที่จะตามมาอีก คือ ใจที่ท้อแท้ ใจที่หมดหวัง ใจที่หดหู่
แล้วจะเกิดความน้อยอกน้อยใจ ลงโทษตัวเองว่า เราไม่มีบุญ
วาสนาที่จะเข้าถึงสมาธิได้ หรือจะทำใจหยุดใจนิ่งได้ ความ
น้อยใจอย่างนี้ก็จะเกิดขึ้นมา แล้วก็จะพลอยไม่เชื่อว่าสิ่งที่พระ
อริยเจ้าทั้งหลาย ที่ท่านได้ประสบผลมานั้นไม่จริง คนนั้นคนนี้
เห็นนั้นไม่จริง ก็จะเกิดการระแวงขึ้นมา
ความจริงแล้วเราควรจะหันกลับมามองตัวเราว่า
ที่เราทำไม่ได้ผลนั้น เพราะเราปฏิบัติไม่ถูกวิธี เรา
ตั้งใจเกินไป เรามีความอยากอย่างแรงกล้า แล้วก็
เพียรจัดเกินไป อุปมาก็เหมือนการจับนกกระจอก
เอาไว้ในฝ่ามือ ถ้าหากเราจับแน่นเกินไป บีบเกินไป
หวังว่านกกระจอกจะอยู่ในฝ่ามือ มันก็อยู่เหมือน
กันแต่ว่าตาย จิตของเราก็เช่นเดียวกันเป็นของ
ละเอียด ไม่ใช่เป็นของหยาบ เราจะบังคับด้วย
กำลังอย่างนั้นไม่ถูก จะต้องวางอารมณ์ของเรา
ให้เป็นอุเบกขา ให้เฉยๆ เรื่อยๆ
ถึงแม้ว่าการกำหนดบริกรรมนิมิตของเราจะไม่ชัดเจน จะ
ไม่สว่างไสว จะเห็นได้แค่รัวๆ รางๆ แล้วก็เลือนหายไป ก็ช่าง
มัน ขอให้ทุกคนตั้งใจอย่างนี้นะ เอาสติของเราพยายามอย่า
ให้เผลอจากบริกรรมทั้งสอง ทำเรื่อยไป ถึงแม้ว่ามืด กำหนด
ไม่เห็นก็ให้เอาใจหยุดอยู่ไว้ตรงนั้น เฝ้ามองอยู่ตรงนั้นที่เดียว
เหมือนเสือที่คอยจ้องจับเหยื่ออยู่ตรงนั้นแหละ ถ้าหากว่าเหยื่อ
ยังไม่ผ่านมา มันก็ยังอยู่ตรงนั้น ไม่เคลื่อนไปไหน ใจของเราก็
เช่นเดียวกัน จะต้องคอยประคับประคองให้อยู่ตรงนั้นที่เดียว
แล้วภาวนาเรื่อยๆ พอถูกส่วนเข้า ถูกส่วนเหมือนเราขีด
ไม้ขีดไฟอย่างนั้นแหละ พอถูกส่วนเข้าใจหยุด พอใจหยุดเข้า
เท่านั้น ความปลอดโปร่งเบาสบายเกิดขึ้นมาอย่างที่เราไม่เคย
เป็นมาก่อน ขันธ์ ธาตุ อายตนะต่างๆ หรือว่าร่างกายของเรา
จะมีอาการกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความปวดความ
เมื่อยก็ไม่มี มีแต่ความปลอดโปร่ง เบา สบาย เกิดความวิเวก
เข้ามาทางใจ นั่นแหละใจของเราก็จะเริ่มหยุด
คราวนี้แสงสว่างจะค่อยๆ เกิดขึ้นรางๆ เหมือนฟ้าสางๆ
เหมือนเราตื่นมายามเช้าตอนตีห้าฟ้าสางอย่างนั้น ที่แสงสว่าง
เกิดขึ้นก็เพราะว่า ตะกอนของใจคือนิวรณ์ทั้ง ๕ มันเริ่มตก เพราะ
ใจเราเริ่มหมดความกระวนกระวาย ความกระสับกระส่าย เรา
หันกลับมามองตัวเราเอง แล้วก็เอาใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
พอถูกส่วน แสงสว่างก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น
ตรงนี้ก็เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออีกเหมือนกัน สำหรับนักปฏิบัติ
ใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยประสบอารมณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดความชุ่มชื่น
เข้ามาในจิต มีความตื่นเต้นดีใจเหมือนกับเด็กที่ได้รับของขวัญ
โดยบังเอิญ โดยไม่คาดฝันอย่างนั้นพอดีใจใจก็จะกระเพื่อม
ความกระสับกระส่ายก็เกิดขึ้นมา จิตก็จะฟูขึ้น ถอนจากสมาธิ
แสงสว่างนั้นก็จะเลือนหายไป พอเลือนหายไป ผลก็จะตามมา
สำหรับนักปฏิบัติใหม่ คือ อยากจะได้อารมณ์นั้นกลับคืนมา
ความอยากอันนี้แหละเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
เพราะยิ่งเราอยากมากแค่ไหน ความผิดหวังก็จะเป็นเงาตาม
ตัวอย่างนั้น เมื่อเราตั้งอารมณ์หยาบไว้ นั่งด้วยตัณหา ความ
ทะยานอยาก จิตของเราก็เร่าร้อน กระสับกระส่าย ทุรนทุราย
เพราะฉะนั้นอารมณ์ตรงนั้นเลยไม่กลับมาอีก เมื่อไม่กลับมา
ก็เลยขี้เกียจนั่ง พลอยทิ้งธรรมะไป นี่สำหรับนักปฏิบัติใหม่ๆ
ก็จะพบอย่างนี้
ทีนี้วิธีแก้ไขเราควรทำอย่างไร เราก็ควรจะหนักลับมามอง
ย้อนหลังไปว่า เมื่อครั้งที่เราปฏิบัติใหม่ๆ ที่เราได้เห็นผลนั้น
เราทำอย่างไร และอันที่จริงมนุษย์ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุก
ศาสนา ไม่ว่าจะปฏิบัติวิธีไหนก็แล้วแต่ ที่ได้ผลนั้นสติเป็นเรื่อง
ใหญ่ เราจะเอาสติประคองบริกรรมทั้งสองเอาไว้ ด้วยบริกรรม
ภาวนาว่า สัมมา อะระหัง แล้วก็กำหนดบริกรรมนิมิตเรื่อยไป
จนกระทั่งใจรวมถูกส่วน นี้เป็นวิธีที่ถูก
เบื้องต้นให้เราทำอย่างนี้ เมื่อทำอย่างนี้จิตของเราก็ได้
ผล คือ จิตเริ่มรวมสงบถูกส่วนขึ้นมา เมื่อได้อารมณ์อย่างนั้น
ได้แสงสว่าง แล้วแสงสว่างนั้นเลือนหายไป ก็ไม่ต้องเสียใจ ให้
มองย้อนหลังกลับ แล้วก็เริ่มประคองสติใหม่
อย่าหวังผลว่า เราจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้น คือได้อารมณ์เก่า
เกิดขึ้นมา อย่าหวังอย่างนั้น การหวังอย่างนั้นเหมือนกับเรานั่ง
คอยใครอยู่ คอยแค่ ๕ นาที ก็มีความรู้สึกเหมือน ๕ ชั่วโมง
ความหวังนั้นมันมีอยู่ แต่นั่นแหละอย่างที่เรียนให้ทราบเอาไว้
เราตั้งความหวังไว้แค่ไหน ความผิดหวังก็เป็นเงาตามตัว จึงเป็น
เหตุให้เกิดความทุกข์ไปเปล่าๆ
เพราะฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือประคองใจให้หยุดนิ่งที่
ศูนย์กลางกายของเราเรื่อยไป ถ้าอย่างนี้แล้วละก็ ขอรับรอง
ว่าจะต้องถึงธรรมะกันทุกคน จะถึงเร็วถึงช้าก็ขึ้นอยู่กับว่า สติ
ของเราจะประคองได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าทำอย่างถูกวิธี เอา
สติประคองเรื่อยไป ไม่เร่งร้อน ทำอย่างใจเย็นๆ ด้วยความ
เยือกเย็น ด้วยความเบาสบาย ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไม่เกินครึ่ง
ชั่วโมง ใจของเราจะหยุด
คราวนี้ก็ประคองจิตตามไป เอาใจหยุดลงไปที่กลางกาย
หยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ภาวนาเรื่อยไป จะกี่ร้อยครั้ง หมื่นครั้ง
แสนครั้ง ก็ภาวนาไปเรื่อย อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวว่าเราจะ
เห็นช้ากว่าคนอื่น หรืออย่าไปคิดว่าที่คนอื่นเขาเห็น เขามีบุญ
วาสนามากกว่าเรา สร้างมามากกว่าเรา อย่าไปคิดอย่างนั้นนะ
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐

1 thought on “วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก สังเกตตัวเอง ทำไมนั่งไม่ได้ผล”

  1. น้อมกราบอนุโมทนาบุญกับโอวาท
    คำสอนและธรรมทานทรงคุณค่า
    จากหลวงพ่อธัมมชโย#คุณครูไม่ใหญ่
    ด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *