มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต – โพธิสัตว์ผู้เลิศด้วยปัญญา

มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต – โพธิสัตว์ผู้เลิศด้วยปัญญา
 
ผู้ฉลาด ต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง
อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่า ทำดีหรือไม่ดี

        การเกิดมาในภพชาติหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก ต้องมีบุญบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีกรรมอันใดที่มาขัดขวาง จึงจะสามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้ การเกิดเป็นมนุษย์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นการยาก ดังนั้นเมื่อเกิดมาแล้ว ควรตระหนักและเห็นคุณค่าของการเกิดมา ควรใช้เวลาให้คุ้มค่าในการฝึกฝนอบรม และเพิ่มพูนบุญบารมีให้กับตนเอง ให้หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ ชีวิตของเรา จะอยู่อย่างมีคุณค่า เวลาที่ผ่านไปจะไม่สูญเปล่า

มีวาระพระบาลีใน สูจิชาดก ความว่า
“สูจิ กมฺมการคามสฺมึ        วิกฺเกตพฺพา ปชานตา
อาจริยา ปชานนฺติ        กมฺมํ สุกตทุกฺกฏํ
ผู้ฉลาด ต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง
อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่า ทำดีหรือไม่ดี”   

        พุทธวจนะนี้ เป็นการแสดงถึงความรู้ของผู้มีปัญญา  เมื่อประกอบการงานอันใดก็ตาม ย่อมไม่กลัวต่อการที่ต้องพิสูจน์ เข้าทำนองที่ว่า ทองแท้ไม่กลัวไฟ คนมีปัญญาทั้งหลาย เมื่อไปสถานที่แห่งใด จะองอาจกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ยิ่งหากใครมีปัญญาที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว จะทำให้มีความเชื่อมั่นในการกระทำของตนว่า ไม่มีการทำผิดพลาดและเสียเวลาเปล่า เมื่อทำไปแล้ว ตนเองย่อมหวังผลที่ได้กระทำอย่างแน่นอน ไม่ใช่ทำไปแล้วสูญเสียทั้งเวลาและปัจจัยในการกระทำนั้นๆ
       
ผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง หมายถึง บุคคลผู้นั้นต้องเปี่ยมไปด้วยปัญญาบารมีที่ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนเกินคนธรรมดาทั้งหลาย สามารถกระทำสิ่งที่เกินควรเกินคาด แม้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ภูมิปัญญาก็เกินมนุษย์ เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา กว่าพระพุทธองค์จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ทรงสั่งสมบุญบารมีมาถึง ๒๐ อสงไขย กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป กระทั่งบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ บารมีในที่นี้ คือ บารมีทั้ง ๑๐ ประการ ตั้งแต่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาบารมี

         วันนี้ ได้นำเรื่องเกี่ยวกับปัญญาบารมี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้แก่ภิกษุทั้งหลายฟังขณะประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

        วันหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อภิกษุที่อยู่จำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทำกิจวัตรประจำวันแล้ว ต่างพากันมานั่งสนทนาธรรมเป็นกลุ่มที่โรงธรรมสภา ท่านได้ยกประเด็นถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธองค์ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปี่ยมไปด้วยปัญญา ไม่มีศาสดาหรือใครในภพทั้งสามที่เสมอเหมือนได้”

        เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบถ้อยคำของพระภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสเรียกมาเข้าเฝ้าและตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย    ไม่เฉพาะแต่บัดนี้เท่านั้นหรอก แม้ในอดีต ครั้งที่ตถาคตกำลังสร้างบารมีอยู่นั้น ก็เป็นผู้มีปัญญาและฉลาดในอุบายทีเดียว”   เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่าว่า
 
        *ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลของช่างเหล็กที่ยากจน ในแคว้นกาสี  เมื่อท่านเจริญวัยได้ร่ำเรียนศิลปวิทยาจนเจนจบ ท่านเป็นผู้ที่ทำการงานได้อย่างประณีตงดงามเกินกว่าช่างทั่วๆ ไป ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านของพระโพธิสัตว์ มีหมู่บ้านช่างเหล็กอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ถึง ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน หัวหน้าหมู่บ้านช่างเหล็กหมู่บ้านนี้ เป็นที่โปรดปรานของพระราชามาก ทรงแต่งตั้งให้เป็นราชวัลลภผู้ใกล้ชิดของพระองค์ หัวหน้าช่างเหล็กนั้นเป็นผู้ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย เป็นที่เคารพรักนับถือของลูกบ้าน หัวหน้าช่างเหล็กนี้มีธิดาที่มีความงามประดุจเทพธิดา กิริยามารยาทเรียบร้อยสมกับเป็นกุลสตรี ทำให้ชายหนุ่มทั้งหลายพากันมารับจ้างทำงานที่บ้านนายช่างเหล็ก เพื่อที่จะได้เห็นนางทุกๆ วัน จนเป็นที่เลื่องลือของชนทั้งหลาย

      เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ยินคำชมนั้นก็ประทับใจ เกิดความรู้สึกผูกพัน ในใจคิดว่า เราต้องแสดงภูมิปัญญาให้ประจักษ์ จึงจะสามารถรับธิดาของช่างเหล็กนั้นมาเป็นภรรยาได้ คิดดังนี้แล้ว จึงนำเหล็กเนื้อดีที่สุดทำเป็นเข็มเล่มเล็กละเอียดที่สุดเล่มหนึ่ง เจาะเป็นรูที่ก้นเข็มแล้วถ่วงน้ำไว้ จากนั้นก็ทำกลักเข็มเหมือนกับเป็นเข็มอีกเล่มหนึ่ง ท่านได้ทำเป็นชั้นๆ ถึง ๗ ชั้น ที่พระโพธิสัตว์ทำเช่นนี้ได้ เพราะความรู้และภูมิปัญญาอันสูงส่งมากเกินกว่าคนธรรมดานั่นเอง 

       หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอดเข็มนั้นไว้ในกลักเข็ม แล้วเก็บไว้ที่ชายพก จากนั้นได้เดินไปที่หมู่บ้าน เมื่อถามถึงที่อยู่ของหัวหน้าช่างเหล็ก ก็เดินตรงไปยังที่นั้น ได้ยืนอยู่ที่ประตูพลางพูดขึ้นว่า “ใครต้องการซื้อเข็มที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ มีรูร้อย ด้ายอย่างดี ปลายเล่มแหลมคมเกินกว่าเข็มธรรมดาทั่วไป สามารถที่จะเย็บผ้าได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องใช้แรงมากเลย” 

       ขณะนั้น ธิดาช่างเหล็กกำลังใช้พัดใบตาลพัดให้บิดา ซึ่งกำลังนอนพักผ่อนหลังจากรับประทานอาหารเช้า เมื่อนางได้ยินเสียงที่ไพเราะของพระโพธิสัตว์ รู้สึกชุ่มชื่นใจอย่างบอกไม่ถูก เกิดความสงสัยเช่นกันว่า “ใครหนอไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ถึงกับมาขายเข็มที่บ้านของช่างเหล็กที่มีฝีมือได้”
คิดดังนี้แล้ว นางจึงวางพัดแล้วออกไปยืนที่เฉลียง พลางกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า

        “คนทั้งหลายต่างต้องการสิ่งของที่ทำจากที่นี่ แต่ท่านกลับมาขายของเช่นนี้ในแหล่งของช่างเหล็ก เป็นการไม่ฉลาดเลย ต่อให้ท่านประกาศขายอย่างนี้ตลอดทั้งวัน ก็ไม่มีใครซื้อหรอก”    

        พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว แทนที่จะโกรธกลับพูดว่า “ผู้มีปัญญาเขาไม่กลัวต่อการพิสูจน์ บิดาของท่านสามารถพิสูจน์ได้เองว่า เข็มที่เราขายนี้มีคุณภาพดีเพียงไร”

        เมื่อหัวหน้าช่างเหล็ก ผู้เป็นพ่อได้ยินการพูดจาของคนทั้งสอง จึงลุกขึ้นถามว่า “ลูกกำลังพูดอยู่กับใคร”

        นางตอบว่า “กำลังคุยกับคนขายเข็มน่ะพ่อ”

        เมื่อได้ฟังอย่างนั้น ช่างเหล็กคิดอยากดูภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ จึงเชิญให้เข้ามาในบ้าน  ครั้นรับไหว้พระโพธิสัตว์แล้ว จึงถามว่า “ที่เจ้ามาที่นี้เพื่อต้องการที่จะขายเข็มใช่ไหม ไหนเราขอดูเข็มของเจ้าหน่อยเถิด”   

        พระโพธิสัตว์ต้องการที่จะประกาศความสามารถของตน เพื่อเอาชนะใจของหัวหน้าช่าง จึงพูดขึ้นว่า “ขอท่านจงให้ช่างเหล็กทั้งหมดมาประชุมกันก่อนเถอะ กระผมอยากให้เห็นพร้อมๆ กัน” หัวหน้าช่างไม่ขัดความต้องการของพระโพธิสัตว์ สั่งให้ช่างเหล็กในหมู่บ้านทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันตามคำขอ

        หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ให้นำทั่งมาแท่งหนึ่ง พร้อมกับถาดสัมฤทธิ์ที่มีน้ำเต็ม แล้วนำตลับเข็มอันละเอียดสวยงาม ออกมาจากชายพกมอบให้นายช่างเหล็กดู ทันทีที่นายช่างเห็น เนื่องจากเป็นของที่ไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อนจึงถามว่า “นี่หรือเข็มที่เจ้าจะขาย”

        พระโพธิสัตว์ตอบว่า  “มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต – โพธิสัตว์ผู้เลิศด้วยปัญญา
 
ผู้ฉลาด ต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง
อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่า ทำดีหรือไม่ดี

        การเกิดมาในภพชาติหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก ต้องมีบุญบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีกรรมอันใดที่มาขัดขวาง จึงจะสามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้ การเกิดเป็นมนุษย์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นการยาก ดังนั้นเมื่อเกิดมาแล้ว ควรตระหนักและเห็นคุณค่าของการเกิดมา ควรใช้เวลาให้คุ้มค่าในการฝึกฝนอบรม และเพิ่มพูนบุญบารมีให้กับตนเอง ให้หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ ชีวิตของเรา จะอยู่อย่างมีคุณค่า เวลาที่ผ่านไปจะไม่สูญเปล่า

มีวาระพระบาลีใน สูจิชาดก ความว่า
“สูจิ กมฺมการคามสฺมึ        วิกฺเกตพฺพา ปชานตา
อาจริยา ปชานนฺติ        กมฺมํ สุกตทุกฺกฏํ
ผู้ฉลาด ต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง
อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงานว่า ทำดีหรือไม่ดี”   

        พุทธวจนะนี้ เป็นการแสดงถึงความรู้ของผู้มีปัญญา  เมื่อประกอบการงานอันใดก็ตาม ย่อมไม่กลัวต่อการที่ต้องพิสูจน์ เข้าทำนองที่ว่า ทองแท้ไม่กลัวไฟ คนมีปัญญาทั้งหลาย เมื่อไปสถานที่แห่งใด จะองอาจกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ยิ่งหากใครมีปัญญาที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว จะทำให้มีความเชื่อมั่นในการกระทำของตนว่า ไม่มีการทำผิดพลาดและเสียเวลาเปล่า เมื่อทำไปแล้ว ตนเองย่อมหวังผลที่ได้กระทำอย่างแน่นอน ไม่ใช่ทำไปแล้วสูญเสียทั้งเวลาและปัจจัยในการกระทำนั้นๆ
       
ผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง หมายถึง บุคคลผู้นั้นต้องเปี่ยมไปด้วยปัญญาบารมีที่ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนเกินคนธรรมดาทั้งหลาย สามารถกระทำสิ่งที่เกินควรเกินคาด แม้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ภูมิปัญญาก็เกินมนุษย์ เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา กว่าพระพุทธองค์จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ทรงสั่งสมบุญบารมีมาถึง ๒๐ อสงไขย กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป กระทั่งบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ บารมีในที่นี้ คือ บารมีทั้ง ๑๐ ประการ ตั้งแต่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาบารมี

         วันนี้ ได้นำเรื่องเกี่ยวกับปัญญาบารมี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้แก่ภิกษุทั้งหลายฟังขณะประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

        วันหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อภิกษุที่อยู่จำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทำกิจวัตรประจำวันแล้ว ต่างพากันมานั่งสนทนาธรรมเป็นกลุ่มที่โรงธรรมสภา ท่านได้ยกประเด็นถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธองค์ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปี่ยมไปด้วยปัญญา ไม่มีศาสดาหรือใครในภพทั้งสามที่เสมอเหมือนได้”

        เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบถ้อยคำของพระภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสเรียกมาเข้าเฝ้าและตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย    ไม่เฉพาะแต่บัดนี้เท่านั้นหรอก แม้ในอดีต ครั้งที่ตถาคตกำลังสร้างบารมีอยู่นั้น ก็เป็นผู้มีปัญญาและฉลาดในอุบายทีเดียว”   เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่าว่า
 
        *ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลของช่างเหล็กที่ยากจน ในแคว้นกาสี  เมื่อท่านเจริญวัยได้ร่ำเรียนศิลปวิทยาจนเจนจบ ท่านเป็นผู้ที่ทำการงานได้อย่างประณีตงดงามเกินกว่าช่างทั่วๆ ไป ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านของพระโพธิสัตว์ มีหมู่บ้านช่างเหล็กอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ถึง ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน หัวหน้าหมู่บ้านช่างเหล็กหมู่บ้านนี้ เป็นที่โปรดปรานของพระราชามาก ทรงแต่งตั้งให้เป็นราชวัลลภผู้ใกล้ชิดของพระองค์ หัวหน้าช่างเหล็กนั้นเป็นผู้ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย เป็นที่เคารพรักนับถือของลูกบ้าน หัวหน้าช่างเหล็กนี้มีธิดาที่มีความงามประดุจเทพธิดา กิริยามารยาทเรียบร้อยสมกับเป็นกุลสตรี ทำให้ชายหนุ่มทั้งหลายพากันมารับจ้างทำงานที่บ้านนายช่างเหล็ก เพื่อที่จะได้เห็นนางทุกๆ วัน จนเป็นที่เลื่องลือของชนทั้งหลาย

      เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ยินคำชมนั้นก็ประทับใจ เกิดความรู้สึกผูกพัน ในใจคิดว่า เราต้องแสดงภูมิปัญญาให้ประจักษ์ จึงจะสามารถรับธิดาของช่างเหล็กนั้นมาเป็นภรรยาได้ คิดดังนี้แล้ว จึงนำเหล็กเนื้อดีที่สุดทำเป็นเข็มเล่มเล็กละเอียดที่สุดเล่มหนึ่ง เจาะเป็นรูที่ก้นเข็มแล้วถ่วงน้ำไว้ จากนั้นก็ทำกลักเข็มเหมือนกับเป็นเข็มอีกเล่มหนึ่ง ท่านได้ทำเป็นชั้นๆ ถึง ๗ ชั้น ที่พระโพธิสัตว์ทำเช่นนี้ได้ เพราะความรู้และภูมิปัญญาอันสูงส่งมากเกินกว่าคนธรรมดานั่นเอง 

       หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอดเข็มนั้นไว้ในกลักเข็ม แล้วเก็บไว้ที่ชายพก จากนั้นได้เดินไปที่หมู่บ้าน เมื่อถามถึงที่อยู่ของหัวหน้าช่างเหล็ก ก็เดินตรงไปยังที่นั้น ได้ยืนอยู่ที่ประตูพลางพูดขึ้นว่า “ใครต้องการซื้อเข็มที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ มีรูร้อย ด้ายอย่างดี ปลายเล่มแหลมคมเกินกว่าเข็มธรรมดาทั่วไป สามารถที่จะเย็บผ้าได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องใช้แรงมากเลย” 

       ขณะนั้น ธิดาช่างเหล็กกำลังใช้พัดใบตาลพัดให้บิดา ซึ่งกำลังนอนพักผ่อนหลังจากรับประทานอาหารเช้า เมื่อนางได้ยินเสียงที่ไพเราะของพระโพธิสัตว์ รู้สึกชุ่มชื่นใจอย่างบอกไม่ถูก เกิดความสงสัยเช่นกันว่า “ใครหนอไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ถึงกับมาขายเข็มที่บ้านของช่างเหล็กที่มีฝีมือได้”
คิดดังนี้แล้ว นางจึงวางพัดแล้วออกไปยืนที่เฉลียง พลางกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า

        “คนทั้งหลายต่างต้องการสิ่งของที่ทำจากที่นี่ แต่ท่านกลับมาขายของเช่นนี้ในแหล่งของช่างเหล็ก เป็นการไม่ฉลาดเลย ต่อให้ท่านประกาศขายอย่างนี้ตลอดทั้งวัน ก็ไม่มีใครซื้อหรอก”    

        พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว แทนที่จะโกรธกลับพูดว่า “ผู้มีปัญญาเขาไม่กลัวต่อการพิสูจน์ บิดาของท่านสามารถพิสูจน์ได้เองว่า เข็มที่เราขายนี้มีคุณภาพดีเพียงไร”

        เมื่อหัวหน้าช่างเหล็ก ผู้เป็นพ่อได้ยินการพูดจาของคนทั้งสอง จึงลุกขึ้นถามว่า “ลูกกำลังพูดอยู่กับใคร”

        นางตอบว่า “กำลังคุยกับคนขายเข็มน่ะพ่อ”

        เมื่อได้ฟังอย่างนั้น ช่างเหล็กคิดอยากดูภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ จึงเชิญให้เข้ามาในบ้าน  ครั้นรับไหว้พระโพธิสัตว์แล้ว จึงถามว่า “ที่เจ้ามาที่นี้เพื่อต้องการที่จะขายเข็มใช่ไหม ไหนเราขอดูเข็มของเจ้าหน่อยเถิด”   

        พระโพธิสัตว์ต้องการที่จะประกาศความสามารถของตน เพื่อเอาชนะใจของหัวหน้าช่าง จึงพูดขึ้นว่า “ขอท่านจงให้ช่างเหล็กทั้งหมดมาประชุมกันก่อนเถอะ กระผมอยากให้เห็นพร้อมๆ กัน” หัวหน้าช่างไม่ขัดความต้องการของพระโพธิสัตว์ สั่งให้ช่างเหล็กในหมู่บ้านทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันตามคำขอ

        หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ให้นำทั่งมาแท่งหนึ่ง พร้อมกับถาดสัมฤทธิ์ที่มีน้ำเต็ม แล้วนำตลับเข็มอันละเอียดสวยงาม ออกมาจากชายพกมอบให้นายช่างเหล็กดู ทันทีที่นายช่างเห็น เนื่องจากเป็นของที่ไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อนจึงถามว่า “นี่หรือเข็มที่เจ้าจะขาย”

        พระโพธิสัตว์ตอบว่า  “อาจารย์ นั่นไม่ใช่เข็มหรอก ครับ มันเป็นกลักชั้นนอกสุดต่างหาก” แล้วเอาเล็บแคะกลักออกทีละชั้น จนถึง ๖ กลักด้วยกัน นี่เป็นผลงานที่แม้แต่ช่างใหญ่เองก็ไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อช่างเหล็กทั้งหลายได้ชมศิลปะชั้นยอดเช่นนี้แล้ว ต่างพากันปรบมือ เปล่งเสียงชื่นชมยินดีกันถ้วนหน้า พระโพธิสัตว์จึงพูดขึ้นว่า “อาจารย์ ขอให้ท่านบอกบุรุษที่มีกำลังยกทั่งขึ้นวางบนถาดน้ำ แล้วตอกเข็มเล่มนี้ลงไปเถิด”

        นายช่างเหล็กให้ทำตามที่พระโพธิสัตว์บอก เข็มเล่มเล็กละเอียดสวยงามนั้น เมื่อตอกลงไปแล้ว ก็ทะลุทั่งเหล็กลงไปลอยอยู่บนผิวน้ำอย่างน่าอัศจรรย์ ช่างเหล็กทั้งหมดเห็นเช่นนั้นถึงกับตะลึงในความสามารถ และภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ ต่างเอ่ยปากชมยิ่งขึ้นไปอีกว่า “ตั้งแต่เป็นช่างเหล็กมา ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินได้ฟังเลยว่า ช่างที่มีปัญญาและความสามารถอย่างนี้มีอยู่” ต่างพากันปรบมือและชูผ้าแซ่ซ้องยินดียิ่งขึ้นไปอีก

       หัวหน้าช่างเหล็กคิดว่า ชายหนุ่มนี้มีทั้งปัญญาและฝีมือ เป็นผู้ที่เหมาะสมโดยประการทั้งปวงที่จะดูแลกิจการของเรา เมื่อเห็นผู้ที่เหมาะสมแล้ว จึงเรียกธิดามา และประกาศในท่ามกลางที่ประชุมว่า ธิดาของเรานี้เหมาะสมที่จะอยู่กับเจ้า พลางหลั่งน้ำยกธิดาให้

       ครั้นหัวหน้าช่างเหล็กสิ้นชีวิตไป พระโพธิสัตว์ได้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าแทน ผลงานและภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์นั้น ได้สร้างชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ เมื่อพระศาสดาทรงนำอดีตมาตรัสเล่าแล้ว ทรงสรุปว่า แม้ในครั้งก่อนเราก็มีปัญญาอย่างนี้ ส่วนธิดาของนายช่างในครั้งนั้น ได้มาเป็นมารดาของราหุล

       จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า ปัญญาบารมีของพระพุทธองค์นั้น ไม่ใช่เพิ่งบังเกิดขึ้น แต่เป็นการสั่งสมปัญญามาทุกภพทุกชาติ สิ่งที่ทุกๆ คนเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือผลแห่งการกระทำในอดีต  ทั้งนั้น การที่จะทำให้มีปัญญาเหมือนพระโพธิสัตว์นั้น เราต้องหมั่นสั่งสมปัญญาบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้หมั่นเข้าไปหาผู้รู้ที่เป็นบัณฑิต ดวงปัญญาของเราจะได้สว่างไสว

      โดยเฉพาะผู้รู้ที่อยู่ภายใน คือ พระธรรมกาย เพราะ พระธรรมกายภายในเป็นแหล่งรวมของมหาปัญญาทั้งหลาย   ที่ทำให้เราได้รับความรู้ควบคู่ไปกับความสุขความบริสุทธิ์พร้อมๆ กันอย่างน่าอัศจรรย์  ดังนั้น ให้ทุกๆ ท่านหมั่นปฏิบัติธรรมให้ดี ให้เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน

*มก. สูจิชาดก เล่ม ๕๙ หน้า ๑๒๘

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่)

ที่มา https://buddha.dmc.tv/dhamma/2400
ต้นฉบับ หนังสือ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับมงคลชีวิต ๒

กลับสู่
สารบัญธรรมะเพื่อประชาชน สำหรับไฟล์เสียง, วีดีโอ และ Article

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *