หนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่

๗๘. ฝึกใจให้หยุดนิ่งก่อนหมดลม

ฝึกใจให้หยุดนิ่งก่อนหมดลม เราต้องให้ความสำคัญกับการฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพราะเรามาเกิดเป็นมนุษย์ก็เพื่อการนี้ นี่คือวัตถุประสงค์ของชีวิต เป็นกรณียกิจ กิจที่ต้องทำ เป็นงานที่แท้จริง ซึ่งนับวันเราจะต้องนับถอยหลังกันแล้ว เพราะเรามีเวลาจำกัดในโลกมนุษย์นี้ กายมนุษย์มีข้อจำกัด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นปกติธรรมดาของร่างกายมนุษย์เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลาย ก่อนถึงวันสุดท้ายของชีวิตต้องฝึกจิตให้สงบ ให้หยุดนิ่ง ให้ได้รู้รสชาติแห่งความสงบของใจว่า มีรสมีชาติแตกต่างจากรสชาติที่เราเคยผ่านมาอย่างไร เรามีเวลาจำกัดในโลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเกิดมาก่อน หรือเกิดทีหลังก็ตาม เวลาแห่งชีวิตมีเท่ากัน บางคนเกิดทีหลังตายก่อน บางคนเกิดก่อนตายทีหลัง ตายในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน หรือชราก็มี ชีวิตไม่แน่นอน ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

๖๓. ภาวิตา พหุลีกตา

ภาวิตา พหุลีกตา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ไม่มีพรมาจากสวรรค์ แม้เทวดาล้านองค์หรือพร้อมใจกันทั้งสวรรค์จะให้ศีลให้พร เราว่า ขอให้เรานึกดวง นึกองค์พระได้ ไม่สำเร็จหรอกจ้ะ เขาก็ได้แต่เป็นกองเชียร์ เหมือนกองเชียร์รอบสนามฟุตบอล เราจะเชียร์ให้เขาเตะเข้าประตูแค่ไหนก็แล้วแต่ แต่จะเป็นดาวซัลโวได้ ก็ต้องอาศัยตัวเราเองฝึกฝน ศึกษา เรียนรู้ ทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า ภาวิตา พหุลีกตา แปลว่า ต้องบ่อยๆ เนืองๆ ถ้านานๆ ทำที ก็นานๆ นึกได้ทีหนึ่ง ถ้าทำแล้วนึกต่อเนื่องนานๆ ก็นึกได้นานๆ บ่อยๆ ซึ่งก็เป็นหลักธรรมดา เพราะฉะนั้นมันอยู่ในวิสัยที่ไม่ง่าย ไม่ยาก ยากพอสู้ พอที่เราจะฝึกฝน และง่ายพอที่เราจะเข้าถึงได้ ไม่เหลือวิสัย ดังนั้นขึ้นอยู่ที่การฝึกฝนนะ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ …

๖๓. ภาวิตา พหุลีกตา Read More »

๗๙. อย่าให้โอกาสเป็นวิกฤติ

อย่าให้โอกาสเป็นวิกฤติ จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ คือ ฝึกใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไม่ให้ร่อนเร่พเนจรไปที่ไหน พอมันมาหยุดนิ่งตรงฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริง เมื่อมาอยู่ตรงนี้ก็นำความสุขให้เกิดขึ้นกับตัวของเราอย่างพูดไม่ออกบอกไม่ถูก สุขกาย สบายใจ เพราะฉะนั้นต้องฝึกจิตให้ดี ให้หยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ พวกเรามีบุญที่มาเกิดในยุคที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ บังเกิดขึ้นในร่มเงาของพระพุทธศาสนา ท่านค้นคว้าวิชชาธรรมกายขึ้นมา แล้วนำมาถ่ายทอดถึงพวกเรา ถ้าเกิดก่อนหน้านี้ก็ดี หรือหลังจากนี้ไปอีกนานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านี้ก็จะเลือนไป จะไม่อยู่ในขณะ ในสมัย ในช่วงนี้อยู่ในช่วงขณะสมัยที่ดี เพราะฉะนั้นต้องหมั่นฝึกฝนใจทุกวัน อย่าให้โอกาสดีนี้ผ่านไป เพราะสังขารก็เสื่อมลงไปทุกๆ วัน ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน กลับสู่ สารบัญ หนังสือคำสอนครูไม่ใหญ่

๖๔. อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข

อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข พยายามเพิ่มชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง เอาไว้ให้มากๆ ประสบการณ์ภายในจะดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข ทำให้เราไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ไม่มีเวลาหยุดนิ่ง การมีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข ไม่เป็นประโยชน์กับการเข้าถึงธรรม ถ้าเราจะตั้งข้อแม้ ข้ออ้าง และเงื่อนไข เราตั้งได้ตลอดเวลา มันเป็นไปด้วยอำนาจกิเลส พญามารที่เข้าไปบังคับเอาไว้ ให้เราเกิดความรู้สึกชนิดนั้น คนเราแม้ป่วยก็ปฏิบัติธรรมได้ แม้มีภารกิจมากแค่ไหนก็สามารถแสวงหาชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางได้ หลวงพ่อได้เคยพบคนมาหลายประเภท ตั้งแต่ป่วยเล็กน้อย ป่วยปานกลาง ป่วยจนใกล้จะตาย ตั้งแต่มีภารกิจน้อย ภารกิจปานกลาง ภารกิจมาก ได้พบมาหมดแล้ว แต่ท่านเหล่านั้นสามารถปฏิบัติธรรมได้ เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นงานทางใจ สามารถทำควบคู่กันไปได้กับภารกิจประจำวัน อย่าให้สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไข เป็นข้ออ้าง ที่จะทำให้เรามีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางน้อย การมีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางน้อย เท่ากับเรายืดเวลาที่จะเข้าถึงธรรมออกไปอีก เป็นเดือน เป็นหลายๆ เดือน เป็นปี หรือหลายๆ ปี เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน …

๖๔. อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข Read More »

๘๐. อย่าท้อใจ

อย่าท้อใจ วันนี้หรือวันไหนที่เรานั่งแล้วไม่เห็น อย่าได้ท้อใจ อย่าได้น้อยใจโทษตัวเองว่า บุญบารมีวาสนาของเราคงจะมีน้อย คงทำมาไม่มาก ถึงยังไม่ได้เห็นเหมือนอย่างที่คนอื่นเขาเห็น หรือบางที นึกน้อยใจว่า เราเข้าวัดมาก่อนเขาตั้งนาน ได้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรนำหมู่ญาติสนิทมิตรสหายผู้มีบุญมาปฏิบัติ แต่เขามาภายหลัง เขาวางใจได้ถูกส่วน เขาได้รู้ได้เห็นด้วยตัวของเขาเอง แต่เรากลับไม่เห็น อย่าไปมัวเสียเวลาโทษตัวเอง น้อยใจในโชคชะตาวาสนาบารมี อย่าไปเสียเวลาคิดอย่างนั้นนะลูกนะ ถ้าบุญเราน้อย เราจะไม่ได้เกิดในร่มเงาพระพุทธ-ศาสนา จะไม่ได้เกิดในยุคที่ธรรมกายเกิดขึ้น จะไม่ได้ยินคำว่า ธรรมกาย จะไม่ได้เข้ามาใกล้อยู่ในหมู่ของธรรมกาย จะไม่มีศรัทธา จะไม่มีโอกาสปฏิบัติ บุญของเรามีมากพอ เหลือเฟือที่จะเข้าถึง ขอเพียงแต่ทำให้ถูกวิธี แล้วก็มีความเพียร อย่าไปกลุ้มอกกลุ้มใจ จนกระทั่งทำให้เกิดความท้อแท้ ท้อถอย แล้วก็เลิกปฏิบัติไปในที่สุด ทำอย่างนั้นพญามารเขาก็จะหัวเราะเยาะเรา แทนที่เราจะหัวเราะเยาะพญามาร เพราะฉะนั้นหมั่นฝึกใจให้หยุด ฝึกใจให้นิ่งๆ ให้ใจใสๆ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ …

๘๐. อย่าท้อใจ Read More »

๖๕. วิธีแก้อุปสรรคการปฏิบัติธรรม

วิธีแก้อุปสรรคการปฏิบัติธรรม ถ้าเมื่อยก็ขยับ แต่อย่าให้กระเทือนคนข้างเคียง เพราะว่าเขากำลังจะใจรวมสนิท เราต้องให้โอกาสเขาเข้าถึงธรรม ต้องสนับสนุนเขา หรือขยับแล้วยังไม่หายเมื่อย ก็ลุกไปเบาๆ ค่อยๆ ย่องอย่าให้เกิดเสียงดัง ไปบริหารขันธ์ ๕ บิดเนื้อบิดตัวให้สบาย แล้วค่อยๆ ย่องกลับเข้ามานั่งใหม่อย่างเบาๆ เงียบๆ ง่วงเราก็หลับ แต่หลับในกลางนะลูกนะ ฟุ้งก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ถ้าไม่หายก็ลืมตามาดูรูปคุณยายอาจารย์ฯ ดูดวงตาของท่านที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา หรืออยู่ที่บ้านจะดูดวงแก้ว องค์พระ หรือดอกไม้ของหอมก็ดูไป พอสบายอกสบายใจเราก็หลับตาใหม่ นิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม สบายๆ ถ้าหากว่า นึกดวงแก้วไม่ออก ก็ไม่ต้องนึก เริ่มต้นนึกถึงหน้าคนที่เรารักก่อน หน้าแม่เราบ้าง ถ้าเป็นแม่ก็นึกถึงหน้าลูก แต่อย่าไปนึกถึงหน้าคนที่เราไม่ชอบนะ ให้นึกถึงคนที่เรานึกแล้วสบาย ลองทดลองดู นึกได้ไหม นึกได้ก็เปลี่ยนหน้าเป็นดวง ลองนึกเอา รัวๆ รางๆ ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆ ประคองใจไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจะสมหวังดังใจทุกคน จะต้องเข้าถึงธรรมกันอย่างแน่นอน ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย …

๖๕. วิธีแก้อุปสรรคการปฏิบัติธรรม Read More »

๖๖. ง่วงก็หลับในกลางกาย

ง่วงก็หลับในกลางกาย ถ้าง่วงก็ปล่อยให้หลับ แต่หลับอยู่ในกลางกาย อย่างสบายๆ ถ้าสดชื่นตื่นขึ้นมาแล้ว ตอนนั้นใจจะละเอียด นุ่มเนียน ละมุนละไม ก็ให้รักษาใจตรงนั้นเอาไว้ให้ดี อารมณ์ที่จะหยุดนิ่ง คล้ายๆ กับตอนใกล้จะหลับ หรือเหมือนตื่นจากหลับ ต่างแต่ว่า ถ้าหลับ ขาดสติ แต่ถ้าหยุดนิ่ง มีสติ ตอนที่ตื่นๆ ใหม่ ตรงนี้สำคัญนะ พอตื่นปั๊บ นิ่งเลย แต่ต้องมีศิลปะ ค่อยๆ ประคองใจ เหมือนเราประคองเข็มเย็บผ้า เข็มหมุด วางบนผิวน้ำ อาศัยความตึงผิวน้ำ ถ้าวางเบาๆ จะลอยได้ ต้องประคองใจตอนตื่นใหม่ๆ เพราะตอนนั้นยังไม่คิดอะไร เฉยๆ นิ่งๆ ไปเรื่อยๆ ได้แค่ไหนเราก็เอาแค่นั้นไปก่อน อย่างสบายๆ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ …

๖๖. ง่วงก็หลับในกลางกาย Read More »

๖๗. แก้ฟุ้งด้วยบริกรรมภาวนา

แก้ฟุ้งด้วยบริกรรมภาวนา ถ้าหากยังอดฟุ้งไม่ได้ ก็ให้ประกอบบริกรรมภาวนาในใจ โดยไม่ต้องใช้กำลังในการภาวนา ภาวนาในใจว่า สัมมาอะระหัง ให้เสียงดังออกมาจากจุดกึ่งกลางของดวงแก้วที่ใสๆ ที่อยู่ในกลางท้องของเรา สัมมาอะระหัง ตรึกนึกถึงดวงใส เอาใจหยุดไปที่จุดกึ่งกลางของดวงใสๆ ภาวนาอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งๆ พอใจหยุดนิ่งจะทิ้งคำภาวนาไปเอง มีอาการคล้ายๆ กับเราลืมคำภาวนา สัมมาอะระหัง แต่ใจหยุดนิ่งๆ ที่กลางดวงใสๆ โดยไม่ฟุ้งไปคิดเรื่องอะไร หรือมีอาการคล้ายๆ อยากวางใจเฉยๆ ไม่อยากจะภาวนา สัมมาอะระหัง ต่อไปอีก ถ้าเกิดอาการเช่นนี้หรือรู้สึกอย่างนี้ ก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนา สัมมาอะระหัง ใหม่ ให้เอาใจตั้งมั่นที่กลางดวงใสๆ ทำอย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆ ทำหยุด ทำนิ่ง อย่างสบายๆ ให้ใจใสๆ ใจเย็นๆ เรื่อยไปเลย แต่ถ้า ภาวนา สัมมาอะระหัง แล้ว ยังอดที่จะแวบไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้ ก็ช่างมัน ปล่อยมันไป ทำเฉยๆ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 …

๖๗. แก้ฟุ้งด้วยบริกรรมภาวนา Read More »

๖๘. อย่ากดลูกนัยน์ตา

อย่ากดลูกนัยน์ตา ถ้ามีความรู้สึกว่า เริ่มกดลูกนัยน์ตาลงไปดูแล้ว เริ่มรู้สึกตึงที่กระบอกตา หัวคิ้ว หน้าผาก กล้ามเนื้อของร่างกายเริ่มเกร็งแล้ว เราก็ปรือๆ ตา เผยอเปลือกตาขึ้นมาสักนิดหนึ่ง แต่เราทอดสายตาลงต่ำ ปรือๆ ตา พอมีความรู้สึกว่า ผ่อนคลายแล้วจากการกดลูกนัยน์ตาไปดู เราก็ค่อยๆ ปิดเปลือกตาเบาๆ ใหม่ และก็นึกไปสบายๆ ทำ soft soft นุ่มๆ เบาๆ เหมือนขนนกที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ฟ่องเบา ล่องลอยในบรรยากาศแล้วก็ตกกระทบผิวน้ำอย่างแผ่วเบา ต้องนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ ใจใสๆ เยือกเย็น ให้บริสุทธิ์ ให้เกลี้ยงเกลาจากสิ่งที่เป็นมลทินของใจ ปล่อยวางจากความผูกพัน ความคิดเรื่องคน เรื่องสัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน ทำใจสบายๆ ทำประหนึ่งว่า เรากำลังเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เฉพาะพระพักตร์ ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ประดุจว่าพระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ให้ใจใสๆ เย็นๆ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ …

๖๘. อย่ากดลูกนัยน์ตา Read More »

๖๙. นั่งเครียดไปทำไม

นั่งเครียดไปทำไม ใครพอเริ่มนั่งก็เครียดแล้ว ไม่สบาย แสดงว่าทำไม่ถูกวิธี แสดงว่ามีความตั้งใจมาก จนกระทั่งติดเป็นนิสัย อย่าฝืนทำต่อ ต้องเลิกทำเลย แล้วก็มาหายใจสบายๆ ดูนั่น ดูนี่ให้สบายใจ พอสบายใจแล้วค่อยเริ่มใหม่ ต้องหมั่นสอนตัวเองว่า เราจะนั่งเอาบุญอย่างเดียว นั่งสบายๆ เราไม่ได้หวังผลว่า เราจะเห็นอะไร การเห็นนั้นเป็นผลพลอยได้เท่านั้นเอง เราต้องการนั่งอย่างสบายๆ พอเรานึกบ่อยๆ เข้า อาการเหล่านี้จะค่อยๆ คลี่คลายไปเองในภายหลัง พอเราเริ่มหลับตา อย่าไปบีบเปลือกตาแบบคนตาหยีอย่างนั้นไม่เอานะ ต้องปิดเปลือกตาพอดีๆ แล้วอย่าไปจ้องศูนย์กลางกาย ถ้าจ้องแล้วเดี๋ยวมันดึงระบบประสาทลงมา มันจะตึง ให้นิ่งๆ เฉยๆ สบายตรงไหนก็วางใจตรงนั้น สมมติว่า ถ้าเรานิ่งๆ แล้วมันสบายข้างนอก ข้างหน้า หรือสบายในอวกาศโล่งๆ ที่ไหนก็แล้วแต่ ช่างมัน ทำอย่างนี้ไปก่อนนะ ทำอย่างนี้แล้วจะแก้ตรงนี้ได้ แล้วมันจะหายไปเลย ตอนนี้อย่าเพิ่งไปกังวลตรงนี้ ปรับให้สบายก่อน เดี๋ยวมันลงของมันเองในภายหลัง ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 …

๖๙. นั่งเครียดไปทำไม Read More »

๗๐. นั่งแล้วตึง

นั่งแล้วตึง สำหรับคนที่นั่งแล้วรู้สึกตึงเครียด ต้องฝึกสร้างอารมณ์สบายๆ นะ พยายามนึกถึงสิ่งที่ทำให้สบาย ใจจะได้คลี่คลาย เวลานั่ง อย่าไปตั้งความหวังไว้ เราจะต้องเอาให้ได้ จะต้องเอาให้เห็น จะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เดี๋ยวจะตั้งใจมาก แล้วเครียด ต้องฝึกนะ ฝึกให้สบาย คนที่เขาได้ แต่เดิมก็ไม่ได้มาก่อน ตึงมาก่อน เครียด ฟุ้ง ง่วง เมื่อย มืดมาก่อน เดี๋ยวนี้เขาได้หมดแล้ว ความสบายเป็นหัวใจ ค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่าไปรีบร้อน เร่งรีบให้ได้เดี๋ยวนี้ อย่าคิดอย่างนั้น ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เหมือนการเจริญเติบโตของต้นไม้ ค่อยๆ โตขึ้นทีละเล็กทีละน้อยเรื่อยมา ใจก็ค่อยๆ พัฒนาไปทีละนิด ทีละหน่อย ทีละน้อยๆ แล้วก็เยอะขึ้นๆ เดี๋ยวเราจะค่อยๆ เข้าใจเอง อย่าใจร้อน ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ พระธรรมเทศนา …

๗๐. นั่งแล้วตึง Read More »

๗๑. เริ่มต้นในจุดที่สบาย (แก้ตึง)

เริ่มต้นในจุดที่สบาย (แก้ตึง) ทีนี้บางคนจะเอาใจไปไว้ในท้อง รู้สึกมันยังยากอยู่ดี ถ้าอย่างนั้น เอาอย่างนี้ เราหลับตาเฉยๆ สบายตรงไหน เอาตรงนั้น คล้ายๆ กับศูนย์กลางกายขยายไปแล้ว โตเท่ากับสภาธรรมกายสากล แล้วเราเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายแล้วทั้งก้อนกาย ซึ่งความจริงตรงนั้นความรู้สึกเราอาจจะอยู่ที่ลูกนัยน์ตาก็ช่างมัน สบายตรงนั้น เราก็เอาตรงนั้นก่อน เหมือนตัวเราไปนั่งอยู่ในศูนย์กลางกายทั้งตัว ถ้านึกอย่างนี้จะไม่มึนศีรษะ จะนิ่ง เราก็ปล่อยให้มันเป็นไป Let it be บางทีแสงสว่างก็แวบเกิดขึ้นที่หางตาบ้าง หัวตาบ้าง ข้างหน้าบ้าง หรือบนศีรษะบ้าง เราก็ยังคงนิ่งอย่างเดิม ไม่ต้องไปดึงลงมาไว้ในท้อง แสงสว่างอยากอยู่ตรงไหนก็ปล่อยไปก่อน ตามใจเขาไปก่อน เดี๋ยวเขาก็จะตามใจเรา เราก็นิ่งเฉยๆ การที่แสงสว่างเกิดขึ้น แม้ไม่ถูกที่ที่เราต้องการก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แสดงว่าเราเริ่มชนะความมืดในใจไปในระดับหนึ่งแล้ว เหมือนลมที่ค่อยๆ เคลื่อนย้ายเมฆที่บดบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ไปทีละน้อย ให้นิ่งต่อไปอีกอย่างเบาสบาย ผ่อนคลาย ไม่คาดหวังว่าจะเห็นอะไร เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เราทำใจหยุดนิ่งเฉยๆ แค่นั้นเอง ยิ่งเราไม่อยากได้อะไร เราจะได้ทุกสิ่งที่ต้องการ นี่ก็เป็นเรื่องแปลก วางใจนิ่งเฉยๆ ไม่ผูกพันกับคน สัตว์ สิ่งของ เพราะว่าคนก็ดี สัตว์ก็ดี สิ่งของก็ดี เดี๋ยวก็พังกันไปทั้งนั้น …

๗๑. เริ่มต้นในจุดที่สบาย (แก้ตึง) Read More »

๕๖. อย่าให้หาย

อย่าให้หาย ภาพที่เราเห็นตอนหลับตานั่งสมาธิ พอเราได้แล้ว อย่าให้เลือนหายไป แม้ต้องทำกิจวัตรกิจกรรมอย่างอื่นในชีวิตประจำวัน เราก็แปะภาพนี้ติดไว้ ต้องหมั่นประคับประคองในทุกอิริยาบถ ฝึกให้ชำนาญในทุกกิจวัตรกิจกรรม เหมือนเราเอาภาพแปะติดเอาไว้ด้วยกาวอย่างดี ให้เราสมมติอย่างนั้น ฝึกหลับตา ลืมตา ให้เห็นชัดเท่ากัน ลืมตาก็ชัด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หลับตาก็ชัด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นั่งนอนยืนเดินก็ยังชัดเท่ากัน ทำจนกระทั่งกิจวัตรกิจกรรม หลับตาลืมตาไม่เป็นอุปสรรคต่อการตรึงภาพด้วยใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ต้องฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะจะมีเรื่องที่ทำให้ใจเราหยาบเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเลย ตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่งเข้านอน เรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน บ้านช่อง เรื่องสิ่งแวดล้อมสารพัด จากภายในตัวเราเองบ้าง ภายในบ้านบ้าง นอกบ้านบ้าง ตามถนนหนทาง ที่ทำงาน สถานที่ต่างๆ ที่เราไป หรือสถานการณ์ของสังคมบ้านเมือง โลก ดินอากาศฟ้า อะไรต่างๆ จะชวนให้ใจเราหลุดออกไป และก็หยาบ ถ้าเราประมาท ไม่ตรึกเอาไว้ ไม่แปะภาพติดไว้ก็จะหลุดไป มันจะหลุดไปทีละน้อยอย่างที่เราไม่รู้ตัว ถ้าชะล่าใจ ไม่ฝึกซ้ำๆ จะหลุดไปเยอะขึ้น ในที่สุดจะหลุดไปเลย ภาพที่เราเคยเห็นก็จะหายไปเอง จิตก็จะเข้าสู่สภาวะหยาบ …

๕๖. อย่าให้หาย Read More »

๔๑. ทำให้ถูกหลักวิชชา

ทำให้ถูกหลักวิชชา ตั้งใจปฏิบัติธรรมกันให้ดี ทำให้ถูกหลักวิชชา อย่าให้ตึงเกินไป อย่าให้หย่อนเกินไป อย่าอยากได้เกินไปจนกระทั่งทำให้เกิดความตึงเครียดที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ พลอยทำให้ท้อใจ เพราะว่านั่งแล้วไม่ได้ผล หรือง่วงนอนบ้าง ปล่อยให้เลื่อนลอย อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ ต้องทำให้ถูกหลักวิชชา ปรับใจให้หยุด ให้นิ่งๆ ให้ใจใสๆ อยู่กับองค์พระ พอใจจะฟุ้งไป ก็ให้ดึงกลับมาใหม่ ที่จริงเรื่องราวที่เราฟุ้งไปไม่ได้เกิดประโยชน์สาระแก่นสารอะไรของชีวิตเลย นึกไปในเรื่องคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของบ้าง ธุรกิจการงาน อะไรต่างๆ เหล่านี้มีวันแต่จะแตกดับกันไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลายไป มันไหลไปสู่จุดสลายตลอด ไม่คงที่ นึกถึงสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร ไม่เกิดประโยชน์อันใด เราควรจะปลด ปล่อย วาง สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวก็ทำได้เอง เดี๋ยวเราก็จะคุ้นเคยกับการตัดใจ ปลดปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่เป็นประโยชน์เลย นึกแล้วกลุ้ม มาอยู่กับองค์พระ ให้ใจใสๆ ดีกว่า ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) …

๔๑. ทำให้ถูกหลักวิชชา Read More »

๕๗. อานิสงส์การแปะภาพไว้กลางกาย

อานิสงส์การแปะภาพไว้กลางกาย ถ้าเราแปะภาพติดกลางกายได้ จะช่วยบรรเทาความหยาบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน จากกิจวัตรกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะยังมีที่ยึดแบ่งไว้ข้างใน คือที่ภาพที่เราตรึงไว้ครึ่งหนึ่ง ออกไปข้างนอกครึ่งหนึ่ง จากครึ่งหนึ่ง ข้างใน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ นี้จะเกื้อกูลให้ชีวิตประจำวันเราสมบูรณ์ขึ้นอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยจะช่วยปรับระบบความคิด คำพูด และการกระทำของเราให้มีประสิทธิภาพ มีพลังที่จะนำไปสู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการงานได้ง่ายกว่าที่ปล่อยให้มันหลุดออกไปเลย อย่างที่เราเคยเป็นมาก่อนที่เราจะฝึกเจริญสมาธิภาวนา จะมีบุญละเอียดที่เรายังมองไม่เห็นส่งกระแสไปขจัดอุปสรรคของชีวิต หนักเป็นเบา เบาเป็นหาย ร้ายกลายเป็นดี ดีเป็นดีเลิศเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ พอถึงเวลาที่เรามาหลับตาเจริญสมาธิ การเข้าไปสู่ภายในก็จะง่ายขึ้น คือจะใช้เวลาน้อยลงในการเข้าไปสู่ภายใน โดยมีจุดเริ่มต้นจากภาพภายใน ดวงใสองค์พระใสๆ ที่เราตรึงเอาไว้ แปะติดเอาไว้ มันจะดูดเข้าไปเลยและก็สงบนิ่ง นุ่ม นาน ชัดในชัด ใสในใส สว่างในสว่างเพิ่มขึ้น ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่) ที่มา https://www.dhamma01.com/book/91 ต้นฉบับ หนังสือ เล่ม 2 สิ่งที่ต้องแสวงหา คือ พระรัตนตรัยภายใน กลับสู่ …

๕๗. อานิสงส์การแปะภาพไว้กลางกาย Read More »