หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหา

DMC.TV ที่นี่

ทำอย่างไรจึงจะฝึกตนให้เป็นคนมีเหตุผล

คำถาม: ทำอย่างไรจึงจะฝึกตนให้เป็นคนมีเหตุผล คำตอบ:       คนมีเหตุผล คือผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ เนื่องจากมีความเห็นถูกตามมาตรฐานของผู้รู้จริง คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เองความเห็นถูก ภาษาพระเรียกว่า สัมมาทิฐิ หมายถึง ความเห็นถูกหรือความเข้าใจถูกในเรื่องของกรรม      หลักเหตุและผลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ที่มีผลบังคับต่อทุกสรรพชีวิตในโลก ไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่รู้กฎนี้ก็ตามพระพุทธองค์ทรงค้นพบกฎนี้ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อรู้แล้วก็นำมาเปิดเผยให้ชาวโลกทราบความจริงเรื่องนี้ เพราะทรงมีมหากรุณาจะช่วยชาวโลก แม้ว่ายังต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมก็ต ามแต่ทรงต้องการให้รู้เท่าทันจะได้เลือกดำเนินชีวิตแต่ในส่วนที่เป็นกรรมดี เวลาที่กฏแห่งกรรมส่งผล ก็จะได้ส่งผลในทางที่ดี ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต      พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชาวโลกเป็นผู้มองการณ์ไกล เพราะชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปอีกยาวนาน จากชาตินี้ภพนี้สู่ชาติหน้าภพหน้า สู่ชาติต่อ ๆ ไป จนกว่าจะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สำเร็จ      ดังนั้น ทุกจังหวะของชีวิต จะตัดสินใจทำอะไร ไม่ทำอะไร จะดำเนินชีวิตไปสู่จุดไหน จำเป็นต้องคิดและชั่วน้ำหนักให้ดีถึงผลดีผลเสียของการกระทำ      ในคราวใดที่ได้รับผลร้ายของการกระทำที่ทำผิดพลาดไว้ในอดีต จะต้องไม่มัวแต่หาคนผิดเพราะเรานั่นเองคือผู้รับผิดชอบการกระทำของตัวเรา สิ่งที่ควรจะทำคือยอมรับและแก้ไข คือทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม อย่าให้ผิดพลาดอีก เราจึงจะเป็นผู้ที่ลิขิตชีวิตที่ดีให้แก่ตนเองได้      สิ่งสำคัญของผู้ที่จะเข้าใจกฎแห่งกรรมได้ดีจริงๆ คือ คนๆ นั้นจะต้องได้ทำความดีมาจนคุ้นในระดับหนึ่งเพราะถ้าไม่เคยทำความดีมาก่อน …

ทำอย่างไรจึงจะฝึกตนให้เป็นคนมีเหตุผล Read More »

ทำอย่างไรจึงจะใช้งานคนอื่นได้ง่าย

คำถาม: มีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้สามเณรหรือเด็กวัดที่เราต้องการจะใช้สอย ทำโน่นทำนี่ให้ตามความต้องการของเรา โดยที่เราเองไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส และไม่ได้รับมอบหมายอำนาจสั่งการแทน แต่อยากจะให้วัดดูเป็นระเบียบ? คำตอบ: วิธีการที่จะให้สามเณรในวัดทำอะไรต่ออะไรตามคำสั่ง โดยที่เราเองไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส ก็มีอยู่วิธีเดียวคือ เราลงไปทำงานนั้นกับเณรด้วย จะให้เณรกวาดวัด ถูกุฏิของส่วนกลาง เราก็ไปถูกับเณร อย่างนี้จะใช้อะไรก็ใช้ง่าย แต่ถ้าชี้นิ้วใช้ เณรไปกวาดซิ เณรไปถูซิ เณรจะนึกในใจ “เป็นพ่อกูเมื่อไหร่ล่ะ ก็โตไล่กันมา รอยเท้าไล่กันมาทุกวันๆ เมื่อไหร่พ่อบวชเป็นพระบ้างละก็…ฮึ่ม!” ก็จะเกิดอาการอย่างนั้น แต่ว่าถ้าบอกว่า “เณรมาช่วยหลวงพี่หน่อย” แล้วก็กวาดก็ถูเรื่อยไป เณรมา เณรก็ช่วย ถ้าอย่างนี้คุยกันได้ จำไว้ว่า จะใช้งานใครก็ตาม จะให้ง่ายต้อง         1) ทำให้ดู แล้วก็ช่วยทำด้วย         2) มีอะไรก็แบ่งปันกันกินกันใช้ มีอะไรฉันก็แบ่งให้ฉัน มีอะไรใช้ ก็แบ่งให้เณรใช้บ้างนะ         อย่าทำให้เณรคิดแย้งในใจว่า “ทีงานละก็โยนโครมๆ ให้เณรทำ ทีเวลาฉันละก็ฉันคนเดียวเงียบเชียว” อย่างนี้น่าทำงานให้ไหมเณร? ไม่น่าเลยนะ ถ้าเจ้าอาวาส พระลูกวัด เด็กวัดมีอะไรฉันก็ฉันก็กินเหมือนๆ กัน ข้าวหุงมาจากหม้อเดียวกัน กับข้าวก็จากกระทะเดียวกัน พระก็ฉัน เด็กวัดก็กิน …

ทำอย่างไรจึงจะใช้งานคนอื่นได้ง่าย Read More »

มีวิธีอย่างไรที่จะทำให้มีความตื่นตัวรักความก้าวหน้าในการพัฒนาวัด

คำถาม: คือที่วัดของผมมีโยมอยู่ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งอยากจะพัฒนา อีกฝ่ายไม่อยากจะพัฒนาทำอย่างไรดีครับ? (พระเรียนถามมา) คำตอบ: สำหรับเรื่องนี้  ถ้าหลวงพ่อหรือเจ้าอาวาสของวัด หรือพระอุปัชฌาย์ของเรา ท่านไม่ค่อยจะตื่นตัว เราไปทำอะไรท่านไม่ได้หรอกครับ แต่มีวิธีอยู่อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้วัดของเรา ตัวของเราก้าวหน้า คือ         1) กุฏิที่เราอยู่เองต้องทำให้ดี ให้สะอาดเรียบร้อย         2) ตัวเราเองต้องตั้งใจศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยไป         ทำอย่างนี้ รอเวลาไว้ แล้วระหว่างนั้นก็อบรมญาติโยม อบรมสามเณร อบรมเด็กวัด ทำอะไรได้ก็ทำกันไป เอาให้เต็มที่อย่าไปท้อ ที่ท่านถามมานี่ ผมขอถามท่านคำเดียวว่า ถ้าเขาให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวันนี้ ท่าจะสามารถพัฒนาวัดได้จริงหรือเปล่า ไม่ง่ายนะครับ เพราะพอลงมือทำงานเมื่อไร คนของเราเองนั่นแหละ จะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เห็นด้วย ไม่ต้องมาก ลองให้สามเณรที่มีอยู่แล้วไปทำความสะอาดวัด ทำง่ายๆ ให้ไปกวาดใบไม้ ท่านจะพบว่าสามเณรฝ่ายหนึ่งก็คงจะเห็นด้วยว่าดี แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็อาจจะนึกว่า แหม…หลอกใช้งานเราอีกแล้ว         ยกตัวอย่างนะ ทำอะไรขึ้นมาแล้ว ที่จะได้รับคำชมอย่างเดียวไม่มี ถูกด่าอย่างเดียวก็ไม่มี ขนาดโจรยังมีคนชมเลย ใครชม? …

มีวิธีอย่างไรที่จะทำให้มีความตื่นตัวรักความก้าวหน้าในการพัฒนาวัด Read More »

การพัฒนาวัดให้สำเร็จตามเป้าหมาย

คำถาม: วัดในท้องถิ่นยากจน มีโอกาสพัฒนาได้ยาก เพราะประชาชนในเขตนั้น ไม่ค่อยมีปัจจัยช่วย ในกรณีที่ท่านมีความจำเป็นต้องใช้ปัจจัยในการพัฒนาวัด หากท่านเป็นพระสังฆาธิการจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร การพัฒนา วัดจึงจะสำเร็จสมความตามเป้าหมาย? คำตอบ: เวลาจะทำอะไรก็ตาม คนส่วนมากในโลกนี้ มักจะนึกถึงเงินทุนก่อน จะทำกิจการจะตั้งบริษัท เขาก็นึกถึงเงินก่อน พระจะพัฒนาวัดก็นึกถึงเงินก่อน ลูกเศรษฐีจะสร้างฐานะ ก็แบมือขอเงินพ่อ จะเอาเท่านั้นล้านเท่านี้ล้าน พ่อก็ใจดีให้ไป ให้ไปแล้วแทนที่จะได้ผลงอกเงย เปล่าหรอก ไม่กี่วันทำเจ๊งเสียอีกแล้ว เงินที่ให้ไปก็หมด         หลวงพ่อ หลวงพี่ทั้งหลายพอจะพัฒนาวัด ก็คิดหางบหาเงินจากที่โน่นที่นี่มาพัฒนาวัดโดยไม่ได้ดูตัวเอง ไม่ได้ดูลูกวัดบ้างว่า ในวัดโดยไล่ตั้งแต่ตัวพระสังฆาธิการเอง มีความรู้ ความสามารถพอแล้วหรือยัง ไปบอกบุญกับญาติโยมเอาเงินมา พอได้มาแล้ว ก็ทำไม่สำเร็จ         เพราะความสำเร็จทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ที่บุคคลที่ฝึกดีแล้ว ถ้าไม่ฝึกลองดูสิครับ ดูง่ายๆ ไปเจอขอทาน แหม..สงสารขอทานเหลือเกิน ส่งเงินให้ล้านหนึ่ง รับรองเจ้าขอทานคนนั้นเดินไปไม่พ้น 10 ก้าว ก็โดนเหยียบตาย อย่าว่าเป็นล้านเลย ให้ไปแค่แสนเดียว หมื่นเดียวเดี๋ยวก็ไปโดนเหยียบตาย ไม่สามารถจะเอาเงินนั้นไปใช้ประโยชน์เพราะคุณภาพของคนในสังคมยังใช้ไม่ได้         เมื่อเราเริ่มสร้างวัดพระธรรมกาย เมื่อ 27 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2512) …

การพัฒนาวัดให้สำเร็จตามเป้าหมาย Read More »

ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง

     คำถาม : จีวรของพระสงค์จะต้องเป็นสีเหลือง หรือสีกรักเสมอไปหรือไม่ ..เพราะว่ามีชาวต่างชาติสงสัยถามว่าทำไม พระสงฆ์ถึงต้องห่มตัวสีเหลืองด้วย      คำตอบ : ถ้าว่าไปแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล สีจีวรของพระโดยทั่วไป จะไม่ค่อยสม่ำเสมอ สาเหตุที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะว่า ตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น การย้อมสีจีวรพระท่านจะใช้พวกแก่นไม้ ยางไม้มาย้อม เมื่อใช้ยางจากผลไม้ จากแก่นไม้มาย้อม สีจึงไม่สม่ำเสมอ อย่าว่าแต่เป็นแก่นไม้ต่างประเภทกันเลย แม้แต่แก่นไม้ชนีดเดียวกัน สีก็ไม่สม่ำเสมอ        ตั้งแต่เด็ก ๆ สมัยประถม มัธยม อยู่ต่างจังหวัด หลวงพ่อเคยไปช่วยรุ่นน้า รุ่นอา เขาย้อม จีวรกัน สมัยโน้นเขาใช้แก่นขนุนมาย้อม พวกแก่นขนุนสีมันจะออกเข้ม ๆ แต่ว่าบางต้น บางพันธุ์ แม้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันก็มีสีเข้มจัดจนกระทั่งคล้ำ ในขณะที่ขนุนบางต้น บางพันธุ์ สีจะออก เหลือง ๆ คล้าย ๆ ดอกจำปา ความสม่ำเสมอของสีจากแก่นไม้มันไม่มี      เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลท่านจึงใช้คำว่าย้อมฝาด คือ ย้อมแล้วเป็นการรักษาคุณภาพของผ้าด้วย คือ …

ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง Read More »

เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?

คำถาม: เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ? คำตอบ:       มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ต่างก็ประสบกับชะตากรรมเหมือนกัน คือต้องประสบทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก และทุกข์นานาประการร่วมกัน      การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะช่วยกันจรรโลงรักษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไปสู่ใจชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งผองให้พวกเขาได้อาศัยธรรมะเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นที่เกาะเกี่ยวของใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้อยู่ในครรลองที่ก่อประโยชน์สุขให้แก่ตนเองและผู้อื่น ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความเดือดร้อน ไม่ก่อทุกข์ ไม่ก่อบาป เป็นหนทางที่จะสลัดตนออกจากกองทุกข์ เข้าถึงบรมสุขคือนิพพานในภพชาติสุดท้ายได้ในที่สุด      ถ้าเราช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการจรรโลงโลกไว้ให้เป็นสถานที่ที่มนุษย์มีโอกาสสร้างความสุขความเจริญให้แก่ชีวิตตนต่อไปได้      การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น คือการที่พุทธบริษัททั้ง ๔ ได้ดำเนินตามรอยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ คือ มีพระพุทธประสงค์ให้พุทธสาวกประกาศพระศาสนาออกไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย เพราะผู้มีธุลีน้อยในดวงตา (กิเลสเบาบาง) ยังมีอยู่เมื่อไดฟังพระสัทธรรมแล้วจะสามารถเข้าใจตามทันได้      ชาวพุทธทุกคนเมื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมแล้ว ควรจะทำหน้าที่เป็นนักเผยแผ่ต่อไปด้วยถ้าได้ฝึกฝนฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมให้ดีก็จะทำหน้าที่ในด้านการเผยแผ่นี้ได้อย่างมีคุณภาพ และที่สำคัญเป็นการสั่งสมบุญใหญ่ของตนเอาไว้ จะได้บุญมาก เป็นบุญละเอียดบุญประณีต ในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาแต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะได้ผลดีเพียงใดนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของนักเผยแผ่” ด้วย คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของนักเผยแผ่ที่ดีมีอยู่ ๓ ประการ           ๑. มีความรับผิดชอบตัวเอง   …

เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ? Read More »

เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?

คำถาม: เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ? คำตอบ:      ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงมอบหน้าที่สำคัญยิ่งให้แก่ชาวพุทธไว้ ๔ ประการ โดยตรัสเรื่องนี้กับพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก เพื่อให้นำไปประกาศให้ชาวพุทธรับรู้รับทราบและปฏิบัติตามกันอย่างทั่วถึง      ประการที่ ๑ คือ หน้าที่ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า      การศึกษาธรรมะของชาวพุทธ หากใครมีสติปัญญาอ่านออกเขียนได้ ก็ให้ศึกษาไปให้ถึงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา เพราะพระไตรปิฎกเกิดขึ้นจากพระอรหันตสาวกรวบรวมพระธรรมและพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนประกาศศาสนาไว้ตลอด ๔๕ พรรษา มารวมเป็นหมวดหมู่ไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้คนรุ่นหลังค้นคว้าได้สะดวกยิ่งขึ้น      การศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นเรื่องสำคัญเพราะเราจะได้ศึกษาไปให้ถึงต้นตอของคำสอนในพระพุทธศาสนา หากจะอาศัยเพียงการฟังเทศน์ ฟังคำบอกเล่า หรือเพียงการทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีตั้งแต่โบราณมาเกรงว่าจะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะอาจมีการตกหล่นไปบ้าง      คนรุ่นก่อนที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ มีวิธีศึกษาจดจำธรรมะของพระพุทธองค์โดยการฟังพระสวดมนต์แล้วก็จำเอาไว้ในใจปู่ย่าตายายท่านจึงสวดมนต์กันได้คล่องเลยเพราะว่าท่านอาศัยความจำของท่าน อาศัยที่ใจท่านไม่คิดวุ่นวายเมื่อใจไม่วุ่นวาย ใจจดจ่ออยู่กับการฟังเทศน์ อยู่กับการสวดมนต์ ฉะนั้นแม้ท่านอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ว่าท่านก็สวดมนต์ได้ เวลาพระเทศน์ท่านก็จำได้ เพราะใจจดจ่อจดจำ จึงจำได้ขึ้นใจ      ประการที่ ๒ คือ หน้าที่ลงมือปฏิบัติตามธรรมะที่ได้ศึกษามาอย่างจริงจัง      ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้นั้นลงมือปฏิบัติ เพราะโลกนี้เป็นเรื่องของเหตุและผล ผลจะเกิดต่อเมื่อได้ทำเหตุไว้ก่อน …

เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ? Read More »

เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

คำถาม: เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง คำตอบ:      การงานใด ๆ ไม่มีคำว่าเล็กหรือใหญ่ไป เพราะทุกงานที่ทำมีผลโดยตรงต่อชีวิตของเราและส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเสมอ ทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการทำงานจะนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต      หลวงพ่อเคยเล่าให้พวกเราบางกลุ่มฟังแล้ว วันนี้จะขอฉายซ้ำ เมื่อสร้างวัดได้ประมาณ  ๗ ปี ๘ ปี ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา ตอนนั้นหลวงพ่อมีคนงานปลูกต้นไม้อยู่ประมาณ ๓๐ คน วันหนึ่งประมาณบ่าย ๒ โมง ขณะที่เด็กคนงานปลูกต้นไม้กันอยู่ มีทั้งเด็กผู้หญิง ผู้ชาย พวกเขาทำงานไปก็คุยกันไป เสียงอาจจะดังรบกวนเข้าไปถึงกุฏิคุณยาย ท่านเลยเดินออกมา      มาถึงท่านก็ถามเด็ก ตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ด้วย ท่านถามด้วยคำถามอย่างนี้ “ไอ้หนูเอ๊ย เอ็งปลูกต้นไม้ เอ็งคิดอะไรกันบ้างไหม”      ท่านไล่ถามทีละคน หลวงพ่อยืนฟังอยู่ ยังจำได้ คนที่ตอบทุกคน แบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่ม      กลุ่มที่ ๑ เป็นพวกเด็กใหม่ บอกว่าเวลาปลูกต้นไม้ไม่ได้คิดอะไร ได้แต่นึกอย่างเดียว  ‘เจ้าประคุณ ต้นไม้ต้นกล้าอย่าตายนะ …

เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง Read More »

เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม?

คำถาม: เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม?” คำตอบ:     ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่างๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ     กายที่ไม่บริสุทธิ์เกิดจากใจที่ไม่บริสุทธิ์ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ เป็นธาตุละเอียด มีที่อยู่ภายในกาย ทำหน้าที่เห็น จำ คิด รู้ ถูกกิเลสซึ่งเป็นธาตุละเอียดที่สกปรกแทรกอยู่ในใจ ทำให้ใจไม่บริสุทธิ์ การเห็น จำ คิด รู้ของใจจึงไม่ชัดแจ่ม จึงไม่ถูกต้องไปตามความเป็นจริง เพราะถูกกิเลสบดบัง     เมื่อใจตกอยู่ในอำนาจกิเลส ใจจึงคิดผิด สั่งให้กายพูดผิด ๆ และทำผิด ๆ กายจึงไม่บริสุทธิ์ไปตามใจที่ไม่บริสุทธิ์     มนุษย์เราสามารถที่จะแก้ไขใจที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยกิเลส ให้กลับคืนมาบริสุทธิ์และหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ด้วย “ธรรม” ซึ่งมีอยู่แล้วภายในกายของมนุษย์ทุกคน     “ธรรม” เป็นธรรมชาติที่สะอาด บริสุทธิ์ สว่าง มีอยู่ในตัวเราทุกคน เมื่อใดที่ใจของเรา เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมเหมือนไข่แดงรวมอยู่ในกลางไข่ขาว ธรรมอันบริสุทธิ์จะ กลั่นกรองใจให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นเป็นลำดับ ๆ …

เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ
ให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม?
Read More »

ถ้าเราอยากฝึกสมาธิจนถึงขั้นระลึกชาติได้ในภพชาติต่อไป เราควรสั่งสมบุญบารมีอย่างไรตั้งแต่ในวันนี้?

คำถาม: ถ้าเราอยากฝึกสมาธิจนถึงขั้นระลึกชาติได้ในภพชาติต่อไป เราควรสั่งสมบุญบารมีอย่างไรตั้งแต่ในวันนี้?” คำตอบ:      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนชาวโลกไว้ว่า พวกเธอเกิดมาพร้อมกับอวิชชา คือ ความไม่รู้จักตัวเอง ถ้ายังปล่อยให้เป็นสภาพนี้ต่อไปเธอทั้งหลายก็ยังต้องเวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จบถ้าจะเลิกเวียนเกิดเวียนตาย เธอจะต้องรีบฝึกตัวเองให้รู้จักตนเองให้ได้ว่า เราเป็นใคร ก่อนเกิดมาจากไหน เกิดมาทำไม อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ตายแล้วจะไปไหน และจะดับทุกข์ดับกิเลสได้อย่างไร      การที่นักสร้างบารมีหรือผู้ที่รักในการทำความดีทั้งหลายมักจะปรารภการสร้างบุญสร้างบารมีสร้างความดีของตัวเองเป็นประจำนัน้ เพราะเขาตระหนกั ถึงความจริงที่ว่ามนุษย์ต่างเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้จักตัวเอง      ก่อนเกิดเรามาจากไหน เกิดมาทำไมเกิดมาทำอะไรก็ไม่รู้ อะไรควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าเกิดมาแล้วต้องตาย แต่ตายแล้วจะไปไหนก็ยิ่งไม่รู้      เมื่อไม่รู้อะไรเลย มนุษย์จะทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควรย่อมเป็นไปไม่ได้ ยิ่งไม่รู้มากเท่าไร โอกาสที่จะทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดก็มีมากขึ้นเท่านั้น นี่เป็นอันตรายใหญ่หลวงของชีวิตมนุษย์ความไม่รู้จักตัวเองคือเรื่องที่ต้องแก้ให้ได้ เพราะว่าต้องการจะรู้คำตอบนี้ จึงต้องตั้งใจเข้าวัดปฏิบัติธรรม เพื่อศึกษาธรรมะตามที่บรรพบุรุษของเราทำตามกันมา ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้สติเอาไว้      การหาคำตอบเพื่อขจัดความไม่รู้จักตัวเองนั้น จะได้จากการประพฤติปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งใจหยุดใจนิ่ง ใจใสมากพอ ส่วนวิธีการอื่นใดที่นอกเหนือจากการประพฤติปฏิบัตินี้ไม่มี ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ว่า การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ นั้น เป็นเส้นทางสายเดียวที่จะกำจัดอวิชชา เพื่อจะไปรู้ความจริงเกี่ยวกับชีวิตของเราได้      บางท่านได้ฟังแบบนี้แล้วก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย ซึ่งเรื่องนี้ถ้าหากในยุคนี้พวกเราไม่ได้พบกับคุณยายอาจารย์ฯ …

ถ้าเราอยากฝึกสมาธิจนถึงขั้นระลึกชาติได้ในภพชาติต่อไป
เราควรสั่งสมบุญบารมีอย่างไรตั้งแต่ในวันนี้?
Read More »

ในพระไตรปิฎกมีหลักฐานบันทึกไว้มากมายว่า นรก-สวรรค์มีจริง แต่ทำไมคนจำนวนไม่น้อยยังสงสัยว่านรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่?

คำถาม: ในพระไตรปิฎกมีหลักฐานบันทึกไว้มากมายว่า นรก-สวรรค์มีจริง แต่ทำไมคนจำนวนไม่น้อยยังสงสัยว่านรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่? คำตอบ:       เมื่อสมัยก่อนที่หลวงพ่อจะบวช ความสงสัยเรื่องนรก-สวรรค์ว่ามีจริงหรือไม่ ก็เคยเกิดขึ้นกับหลวงพ่อเหมือนกัน เพราะว่าการหาครูบาอาจารย์ในทางธรรมที่กล้ายืนยันว่านรก-สวรรค์มีจริง นับวันจะหาได้น้อยเต็มที      ยิ่งในยุคนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีเจริญเต็มที่ ถ้าหากมีพระอาจารย์รูปใดยืนยันว่ามีจริง ก็มักจะถูกผู้ที่ไม่เชื่อออกมากล่าวโจมตีว่า เอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ ซึ่งทำให้ ประชาชนทั่วไป แม้แต่ชาวพุทธก็ชักลังเลว่านรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่มีจริง ทั้งๆ ที่เรื่องสวรรค์และนรกนี้เป็นเรื่องราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมไว้มากมาย แล้วก็มีการบันทึกเป็นหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกมาเป็นพัน ๆ ปี      เมื่อสมัยหลวงพ่อยังเรียนอยู่ชั้นประถมต้น ก็เชื่อว่านรก-สวรรค์มีจริง เพราะผู้ใหญ่บอกไว้ตั้งแต่จำความได้ แต่พออยู่ประมาณชั้น ป.๔ ก็เริ่มไม่แน่ใจ เพราะมีผู้ใหญ่บางคนที่ไม่เชื่อมาพูดให้ได้ยินว่านรก-สวรรค์ไม่มีจริง      เมื่อความเห็นของผู้ใหญ่แบ่งเป็น ๒ กลุ่มแบบนี้ หลวงพ่อเองแม้เป็นเด็กแต่ก็ต้องการคำยืนยันจากผู้ใหญ่ แต่ก็ปรากฏว่าหาผู้ที่กล้ายืนยันแบบชัด ๆ ไม่ค่อยได้      หลวงพ่อนำคำถามนี้ไปถามพระ ถามครูถามลุงป้าน้าอา เพื่อต้องการคำยืนยันว่าสวรรค์-นรกมีจริงหรือไม่มีจริง แล้วก็พบว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะตอบแบบก้ำกึ่งว่ามันน่าจะมีเพราะว่าในพระไตรปิฎกมีบันทึกไว้มาก แต่ว่าท่านเองก็ไม่เคยเห็นด้วยตัวเอง      การที่ท่านเชื่อว่าน่าจะมี ก็เพราะว่าพระไตรปิฎกนั้นเป็นบันทึกของพระอรหันต์ไม่ใช่บันทึกของชาวบ้านปุถุชน แล้วในการที่คัดลอกต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ บรรพบุรุษของเราในยุคโน้นก็ไม่มีเหตุผลว่าจะโกหกเราไปทำไม เพราะท่านก็ไม่ได้อะไรจากการที่คัดลอกพระไตรปิฎกไว้เป็นมรดกให้แก่ลูกหลาน …

ในพระไตรปิฎกมีหลักฐานบันทึกไว้มากมายว่า นรก-สวรรค์มีจริง แต่ทำไมคนจำนวนไม่น้อยยังสงสัยว่านรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่? Read More »

วิธีสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข

คำถาม: วิธีสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข คำตอบ:       สมเด็จพระบรมศาสดาทรงให้หลักที่พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้มั่นคงเอาไว้ และหลักนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเอามาใช้ในการสร้างสรรค์สังคมให้ประเทศชาติบ้านเมืองของเราร่มเย็นเป็นสุขด้วยแต่ก่อนจะสร้างสรรค์สังคม เราต้องเข้าใจหลักการสำคัญก่อนว่า ใจของคนเป็นอย่างไร สังคมก็เป็นอย่างนั้น ใจขุ่นมัว สังคมก็ขุ่นมัว ใจใสสะอาด สังคมก็ร่มเย็น      พิษร้ายของความสกปรกขุ่นมัว มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด ก้อนทราย ฝูงปลา ฉันใดเมื่อจิตใจของคนเราขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น      อานุภาพของความใสสะอาดก็มีกล่าวไว้เช่นกัน ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อน้ำ  ไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด ก้อนทราย และฝูงปลาฉันใด เมื่อจิตใจไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านชัดเจน ฉันนั้น      ถ้าแต่ละคนในบ้านในเมืองใจใส ก็จะเห็นประโยชน์ของตัวเอง เห็นประโยชน์ของหมู่คณะเห็นประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง ไม่ว่ากี่ฝ่ายก็จะเห็นตรงกันว่า ประเทศชาติบ้านเมืองจะก้าวหน้า วัดวาอาราม พระศาสนาจะก้าวหน้า จะต้องทำอย่างไรบ้าง      พอใจใสแล้วจะเห็นตรงกัน เหมือนกับในยามเที่ยงวันที่ดวงอาทิตย์สว่างไสวอยู่กลางท้องฟ้าอะไรต่อมิอะไรก็จะปรากฏชัดเจนเห็นตรงกัน ถ้าใจของคนเราใสแล้ว ดี-ชั่ว ผิด-ถูก …

วิธีสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข Read More »

ของจริงต้องคู่กับคนจริงนั้นเป็นอย่างไร

คำถาม:     ข้อความที่ว่า “ของจริงต้องคู่กับคนจริง” นั้นเป็นอย่างไร? ทำไมบางคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม สวดมนต์นั่งสมาธิ(Meditation)ไม่เคยขาด แต่ยังไม่เข้าถึงพระธรรมกายบางคนกว่าจะชวนเข้าวัดได้ก็แสนยาก แต่พอมานั่งสมาธิกลับเข้าถึงพระธรรมกายได้ง่าย ๆ คำตอบ: เรามาทบทวนกันก่อนว่า เราปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร ระดับแรกคือเพื่อฝึกให้ใจหยุดนิ่งระดับที่สองคือเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายในตัว และระดับที่สามคือด้วยธรรมจักขุของพระธรรมกายจึงเห็นอริยสัจ ๔ นั่นคือเห็นและกำจัดกิเลสได้     จากเส้นทางการปฏิบัตินี้ จึงทำให้เรามองออกว่า อริยสัจ ๔ ไม่ใช่เรื่องห่างไกลจากตัวเราเลย    เพราะเป้าหมายชีวิตจริง ๆ ของพวกเรา คือการปฏิบัติธรรมเพื่อจะเข้าถึงธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว เข้าถึงแล้ว ไปเห็นมาแล้ว ซึ่งก็คือการตรัสรู้อริยสัจ ๔    อริยสัจ ๔ เป็นความประเสริฐอันแสนวิเศษ เพราะใครที่ได้รู้เรื่องความจริงนี้ แม้เพียงรู้จักจากคำบอกเล่าของพระพุทธองค์ ก็จะเริ่มค้นหาทางออกจากทุกข์ที่วนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร เมื่อหาทางออกเจอแล้ว ก็จะพ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามารได้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ สรุปได้ว่า          ๑. ชีวิตนี้เป็นทุกข์          ๒. …

ของจริงต้องคู่กับคนจริงนั้นเป็นอย่างไร Read More »

ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน

คำถาม: ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน คำตอบ: เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นที่ใจของเรา จับหลักคิดให้ได้ก่อนว่า ในการทำการงานสิ่งใด ๆ นั้นเรามีเป้าหมายเพื่ออะไร เมื่อเป้าหมายชัดจะมีกำลังใจทำการงานนั้นๆ      การทำงานทุกอย่าง ความจริงแล้วไม่มีที่จะไม่เหนื่อย ก็เนื้อมนุษย์กายมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำด้วยเหล็ก จะได้ไม่เหนื่อย แต่ว่าเหนื่อยเท่าใดก็ตาม มันเหนื่อยแค่กาย กายล้ำไปบ้าง กล้ามเนื้อล้าไปบ้าง ล้ามากๆร่างกายก็ต้องการพัก แต่พักแล้วก็หาย กลับมามีเรี่ยวแรงทำต่อไปได้      กายเหนื่อยก็เหนื่อยไป แต่ไม่เหนื่อยใจ ไม่หน่ายที่จะทำต่อไป มีแต่จะกระตือรือร้นทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะได้หลักในการทำงานจับหลักคิดได้ว่า การงานทุกอย่างนั้นทำเพื่อตัวของเราเอง  เพื่อบุญบารมีของเราเอง เลยไม่เหนื่อยหน่ายในการที่จะสร้างบุญสร้างบารมีของตนเอง      ตัวอย่างเช่น หอฉันของวัดพระธรรมกายคุณยายสร้างเอาไว้ให้ อาสนะที่นั่งของพระในหอฉันก็เป็นตามแบบที่คุณยายท่านสั่งให้ทำเอาไว้         เมื่อเราจะสร้างหอฉัน ก็เข้าที่ประชุมกันว่า ในเวลาพระฉันภัตตาหาร จะให้ปูเสื่อฉันกันสบายๆหรือจะให้นั่งเก้าอี้ซึ่งสะดวกดี หรือจะให้มีอาสนะทำเป็นตั่งเป็นแท่นนั่งอย่างที่พระนั่งกันในหอฉันปัจจุบันนี้ ก็ถกเถียงกันไปว่าจะเลือกอย่างไรดี เถียงกันไปเถียงกันมา ถกกันไปถกกันมา คุณยายฟันธงเลยว่า หลวงปู่ วัดปากน้ำทำต้นแบบไว้ดีแล้ว คือยกเป็นแท่นเป็นอาสนะขึ้นมาอย่างนี้ ไม่เอานั่งเก้าอี้ และไม่เอานั่งกับพื้น         ถ้านั่งกับพื้นก็เท่าๆกับญาติโยม เวลาจะเข้ามาประเคนก็ลำบาก แล้วก็ไม่เรียบร้อย …

ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน Read More »

ค้าขายอย่างไรให้สำเร็จสมความตั้งใจ ?

คำถาม: ผมเป็นเจ้าของกิจการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งใจดำเนินกิจการอยู่บนความถูกต้อง ผมจะทำอย่างไรให้สำเร็จสมความตั้งใจ? คำตอบ: “ความถูกต้อง” ที่คุณยึดเป็นหลักในการทำงานของคุณนั้น มาจากคำว่า “สัจจะ” ซึ่งแปลว่าความซื่อตรง ซื่อสัตย์ นั่นก็หมายความว่า ต้องทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง     เมื่อครั้งพุทธกาล เคยมีหัวหน้ายักษ์เป็นผู้ตั้งคำถามถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ทำอย่างไรให้มีชีวิตอยู่ก็เป็นสุข ตายแล้วก็ไปสวรรค์” พระองค์ตรัสตอบว่า “ผู้มีศรัทธา เชื่อในคำสอนของพระอริยเจ้า แล้วมีความประพฤติ ๔ ข้อ คือ ๑. มีสัจจะ ๒. มีทมะ ๓. มีขันติ ๔. มีจาคะ ผู้มีศรัทธาและมีธรรมครบ ๔ อย่างนี้ มีชีวิตอยู่ในโลกก็มีความสุข ตายไปก็ไปสวรรค์”      ธรรมเรื่องที่ ๑ สัจจะ เป็นธรรมที่ต้องลงมือประพฤติปฏิบัติ ถ้ารู้ความหมายเพียงแค่ “ความถูกต้อง” ยังไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจมากพอจะนำไปปฏิบัติได้ ถ้าแปลในลักษณะที่เอาไปฝึกด้วย ใช้งานด้วย สัจจะนั้นแปลว่า ความรับผิดชอบ เมื่อทำอะไรขึ้นมาแล้ว ถ้าผิดก็ต้องรับผิดถ้าถูกก็รับความดีความชอบไปบูรพาจารย์ของเราท่านแยกออกมาให้ดูว่า ความถูกต้องที่คุณจะต้องรับผิดชอบทำนั้นมีอยู่ ๕ เรื่อง …

ค้าขายอย่างไรให้สำเร็จสมความตั้งใจ ? Read More »