หนังสือ ง่ายแต่ลึก ๓

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก นึกได้ก็เห็นได้

ที่สุดหยุดไว้ ตรงกลางแล้ว จักพบหนทาง พ่อชี้ลูก นิ่งสนิทจิตพร่าง พราวสว่างรัก ถูกธรรมตามนี้ หลีกลี้กิเลสมารตะวันธรรม           เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่วมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะ ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้ายมือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆค่อนลูก พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะ          ทำใจของเราให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลดปล่อย วาง ทำใจให้ว่างๆ แล้วก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้นปราศจากอวัยวะ สมมติว่าไม่มีปอด ตับ ม้าม ไตหัวใจ เป็นต้น ให้เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ ทางเดินของใจ ๗ …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก นึกได้ก็เห็นได้ Read More »

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก หยาบให้ตรึก ละเอียดให้แตะ

จงเป็นมิตรกับความคิดทุกๆ อย่างคิดดีบ้างเกือบดีบ้างช่างหัวมันแล้วเลือกสรรความคิดดีใส่ใจเราเดี๋ยวเข้าเป้าเข้ากลางสว่างเล้ยตะวันธรรม           เมื่อเราได้บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่วมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆคนนะ ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูก พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าบีบเปลือกตาอย่ากดลูกนัยน์ตานะ          แล้วก็ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ปล่อยวาง ทำใจให้ว่างๆ          คราวนี้เราก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้นปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น สมมติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ กลวงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ     …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก หยาบให้ตรึก ละเอียดให้แตะ Read More »

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก ต้องสบายทุกขั้นตอน

ทะเลค่อยลาดลึก ลงไปธรรมะพระบรมไตร เช่นนั้นเริ่มง่ายค่อยยากไซร้ ตามลำดับจากหยุดได้สู่ขั้น ละเอียดชั้นต่อไปตะวันธรรม           (เมื่อเราได้จุดเทียนใจไฟนิรันดร์อนันตชัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปเราก็นั่งหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ…….)          …ตอนนี้เราก็ฝึกน้อมใจหยุดนิ่งเบาๆ สบายๆ อย่าไปตั้งใจเกินไป อย่าเอาลูกนัยน์ตากดลงไปดู เพราะไม่เกี่ยวกับลูกนัยน์ตา          ให้เรานิ่งเฉยๆ และต้องสบาย หรือนิ่งเบาสบาย ไม่ตึงไม่เกร็ง ไม่เครียด ไม่ฟุ้ง นิ่งๆ เบาๆ ถ้าถูกส่วนตัวจะขยายถ้ายังไม่ถูกส่วนมันนิ่งแต่ทึบ ตื้อๆ ยังไม่สบาย แต่ก็ไม่ทุกข์ไม่กลุ้มอะไร ยกเว้นเราจะไปดึงความกลุ้มเข้ามาเองว่า          ‘เอ นิ่งอย่างนี้ ฟุ้งก็ไม่ฟุ้ง ไม่คิดเรื่องอื่นแต่ทำไมไม่ขยาย ไม่มีแสงสว่าง ไม่เห็นภาพอะไรใหม่ๆ มาให้เราดูเลย’         นั่นเราแส่ไปหาทุกข์ เหมือนแกว่งเท้าหาเสี้ยน แกว่งใจหาทุกข์ …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก ต้องสบายทุกขั้นตอน Read More »

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก อย่ากดลูกนัยน์ตา

ใดอื่นกี่หมื่นฟ้า พรรณนาบ่ เทียบหนึ่งเมล็ดงา ลูกไซร้หยุดเพียงแค่กะพริบตา พ่อชื่นเหมือนยื่นสุขให้พ่อไว้ หยุดได้หัวใจเขษมตะวันธรรม          (เมื่อเราสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ…….)          …ในตอนนี้ก็ให้ตรึกหรือนึกถึงดวงใส หรือนึกถึงองค์พระใสๆ เอาใจหยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ เอาใจหยุดเข้าไปในกลางองค์พระใสๆ อย่าให้ใจซัดส่ายไปที่อื่น อย่าให้ฟุ้งกระจายไปจิตจะไม่มีพลัง หยุดนิ่งๆ ให้ใจใสๆ          จะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหังประกอบไปด้วยก็ได้ หรือถ้าหากเรามีความรู้สึกว่าไม่ภาวนาแล้วสบายใจกว่า เราก็ไม่ต้องภาวนา วางใจเบาๆ หยุดเบาๆนิ่งเบาๆ สบายๆ อย่ากดลูกนัยน์ตา อย่าเหลือบตาลงต่ำ           ลูกนัยน์ตาเราอยู่ในระดับองศาเดิม ที่เดิมไม่ต้องเหลือบลงต่ำไปดู ไว้ที่เดิม ให้ทำเหมือนเราแอบๆ มองดูดวง ดูองค์พระนิดๆ เหมือนไม่ได้ตั้งใจจะดู นั่นแหละคือวิธีดูที่ถูกวิธี ถ้าจะดูเข้าไปในกลางกายซึ่งเราไม่ค่อยคุ้นเคย ถ้าขืนเหลือบตาลงไปดูก็เท่ากับกดลูกนัยน์ตา อย่างนี้ผิดวิธี อย่างนี้ปวดกระบอกตา เมื่อย …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก อย่ากดลูกนัยน์ตา Read More »

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ

ตื่นนอนต้องนิ่งไว้ กลางกายมั่นศึกษ์วิชช์ธรรมกาย ใฝ่รู้ยิ่งกว่าท่านกำทราย ให้ได้จึงจักกรำศึกสู้ ขุดเหง้ารากดำตะวันธรรม ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ หลับตาของเราเบาๆ พอสบายๆ ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส แล้วก็เอาใจหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างสบายๆ จะตรึกนึกถึงดวงใส หรือองค์พระใสๆ ก็ได้ หรือจะวางใจเฉยๆ ก็ได้ ให้นิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม ให้หยุดในหยุด นิ่งในนิ่งลงไปตรงกลางเบาๆ นะ สบายๆ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ฝึกบ่อยๆ ทำบ่อยๆ แล้วอีกหน่อยเราจะคล่อง จะชำนาญแล้วใจจะอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นส่วนใหญ่ทีเดียว ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอะไรก็ตาม ใจจะไม่ค่อยห่างจากศูนย์กลางกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ ถ้าคนทำเป็นแล้ว เขาเข้าถึงดวงธรรม ถึงกายภายในหรือองค์พระ ทั้งหลับตาลืมตาเขาก็จะเห็นได้ชัดเจนพอๆ กัน ใหม่ๆ บางท่านลืมตาชัดกว่าหลับตา บางท่านหลับตาชัดกว่าลืมตา ฝึกบ่อยๆ มันก็จะชัดทั้งหลับตาและลืมตา คล้ายๆ กับว่าเรื่องของลูกนัยน์ตาไม่ได้มีปัญหาหรือเป็นอุปสรรคต่อการหยุดใจในกลางกาย แล้วยิ่งเข้าถึงพระธรรมกายก็จะชัดใสสว่าง ก็ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่มีใครเก่งมาก่อน ฝึกเอาทั้งนั้น แต่บางคนทำได้ง่ายกว่าบางคน …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ Read More »

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม

ทุกๆ สิ่งมีอยู่แล้วในกลางกายแม้อารมณ์สบายที่กำลังแสวงหาแค่ทำใจหยุดนิ่งนิ่งเดี๋ยวก็มาเชื่อเถิดหนามันเหลือเชื่อแต่เป็นจริงตะวันธรรม (เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่วมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกคนนะ…………)…ถ้าใครคุ้นเคยกับภาพองค์พระแก้วขาวใส เราจะนึกถึงพระแก้วขาวใสแทนดวงใสๆ ก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้ใจหยุดใจนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ประคองใจกันไปอย่างนี้ ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ แต่อย่ากดลูกนัยน์ตาไปดู ถ้าเริ่มรู้สึกว่าหัวคิ้วจะย่น ตึงหน้าผาก ศีรษะ ก็ให้รีบเผยอเปลือกตาขึ้นมาสักนิดหนึ่ง ปรือๆ ตา แล้วก็รักษาเปลือกตาในระดับนั้น แล้วเริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ อุปสรรคหลัก ๒ ประการ ส่วนมากจะมีอุปสรรคหลักอยู่ ๒ ประการ คือ ฟุ้ง กับตั้งใจมากเกินไป สองอย่างนี้จะเป็นหลักมากกว่าการหลับ หรือความลังเลสงสัย อะไรต่างๆ เหล่านั้น ฟุ้ง เพราะใจเราคุ้นเคยกับการคิด คิดในสิ่งที่เราคุ้นคุ้นจนเคยจนชิน เพราะฉะนั้นใจมักจะไปสู่สิ่งนั้นเรื่อยๆ วิธีแก้ฟุ้ง คือ เราต้องบริกรรมภาวนา สัมมาอะระหัง เรื่อยไป หรือเผยอเปลือกตาขึ้นมาสักนิดหนึ่ง พอหายฟุ้งเราก็เริ่มต้นใหม่           อุปสรรคอีกอย่างคือ ตั้งใจมากเกินไป คือพอรู้ว่าเห็นธรรมะแล้วดี มีความสุข …

วิธีนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม Read More »