ธรรมะเพื่อประชาชน

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๓ ( กำเนิดพระเวสสันดร )

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๓ ( กำเนิดพระเวสสันดร ) “ธรรมกาย” เป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม เป็นหลักของพระพุทธศาสนาและของโลก ถ้าเราได้เข้าถึง เราจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่สมบูรณ์ทั้งภายนอกและภายใน จะรู้ซึ้งในคุณของ พระรัตนตรัยว่า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ จะหายสงสัยในอานุภาพอัน ไม่มีประมาณของพระรัตนตรัย อีกทั้งจะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้แจ้ง ทำให้เข้าใจโลกและชีวิต ได้อย่างถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข สร้างบารมีเพื่อมุ่งไปสู่อายตนนิพพาน ดังนั้นเราจึงควรที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกๆ คน “มีธรรมภาษิตที่พระเวสสันดรได้กล่าวไว้เป็นอมตวาจาว่า “เมื่อใด เรายังเป็นทารก มีอายุ ๘ ขวบ แต่เกิดมา เมื่อนั้น เรานั่งอยู่ในปราสาท คิดจะบริจาคทานว่า เราจะพึงให้หทัย ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย เมื่อใครมาขอเรา เราก็ยินดีมอบให้ เมื่อเราคิดถึงการบริจาคทานอันเป็น ความจริง หทัยก็ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยู่ในกาลนั้น แผ่นดินซึ่งมีเขาสิเนรุ และหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับ ก็หวั่นไหว”” ครั้งที่แล้วได้เล่าถึงปฐมเหตุของการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดกว่า เกิดจากการที่พระองค์ ทรงทำลายทิฏฐิมานะของเหล่าประยูรญาติ ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ ให้เจ้าศากยราชตระกูลได้เห็นด้วยตาเนื้อ …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๓ ( กำเนิดพระเวสสันดร ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๔ ( พระราชทานช้างมงคล )

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๔ ( พระราชทานช้างมงคล ) บุญเป็นธาตุสำเร็จ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จทุกอย่าง เปรียบประดุจแก้วสารพัดนึกที่บันดาลให้เรา ได้สมปรารถนาในทุกเรื่อง การที่ความสุขและความสำเร็จจะบังเกิดขึ้นได้นั้น ต้องเริ่มจากการสั่งสมบุญให้แก่ตัวเราเองก่อน บุญเป็นสิ่งที่ต้องทำ ใครทำคนนั้นได้ ถ้าไม่ทำบุญ จะแสวงหาความสุขอย่างไรก็ไม่พบ ดังนั้นหากอยากเข้าถึงความสุขและความเต็มเปี่ยมของชีวิต ต้องเริ่มที่การสั่งสมบุญ ด้วยการบำเพ็ญทานให้ต่อเนื่อง รักษาศีลให้บริสุทธิ์ และหมั่นนั่งสมาธิเจริญภาวนาอย่างสมํ่าเสมอ สักวันหนึ่ง ความสุข ความสำเร็จสมหวัง ย่อมจะบังเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน มีธรรมภาษิตที่พระเวสสันดรโพธิสัตว์ได้กล่าวไว้เป็น อาสภิวาจาว่า “ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยกับทรัพย์ นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์ หรือแก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นแล้ว พึงให้พาหาทั้งซ้ายขวาก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ชาวสีพีจงขับไล่หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเป็น ๗ ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาคทานเป็นอันขาด” นี่คือใจของพระโพธิสัตว์เจ้าของเรา เมื่อท่านตั้งความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทันทีที่คิดจะบริจาคทานอะไร ไม่ว่าจะเป็นสมบัติภายนอกหรือภายในก็ตาม ท่านก็ให้ได้ทุกอย่าง ความรู้สึกหวงแหนหรือห่วงกังวล ไม่มีอยู่ในจิตใจอันบริสุทธิ์ของท่านเลย อีกทั้งเมื่อคิดจะให้ทานแล้ว …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๔ ( พระราชทานช้างมงคล ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๕ ( สัตตสตกมหาทาน )

เวสสันดรชาดก ตอน ที่ ๕ ( สัตตสตกมหาทาน ) ความเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น เป็นสิ่งที่มวลมนุษยชาติควรมีไว้เป็นคุณธรรมประจำใจ โลกใบนี้คือบ้านหลังใหญ่ที่ ทุกคนต่างอาศัย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้ท้องฟ้าเดียวกัน มีผืนแผ่นดิน ทะเล สายน้ำ ลำธาร ภูเขา ป่าไม้ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวเดียวกัน อีกทั้งเราต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน เพราะฉะนั้นจึงควรอยู่รวมกันด้วยใจที่เปี่ยมด้วยกรุณา มีความปรารถนาดีต่อกัน อยากให้ทุกคนหลุดพ้นจากความทุกข์ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ คือ พระนิพพาน พระนางผุสดีราชเทวีได้กล่าวสุนทรวาจาไว้ว่า เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษ ผู้แม้พระราชาต่างแดนทั้งหลายก็เคารพบูชา มีเกียรติยศ เหตุไฉนชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด ผู้เลี้ยงดูบิดามารดา ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล ผู้เกื้อกูลแก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระ-ประยูรญาติ แก่พระสหาย และเกื้อกูลทั่วแว่นแคว้น ครั้งที่แล้ว ถึงตอนที่พระเวสสันดรโพธิสัตว์ ถูกขับไล่ออกนอกเมือง ให้เสด็จไปอยู่เขาวงกตในป่าหิมพานต์ …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๕ ( สัตตสตกมหาทาน ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๖ ( เดินทางสู่เขาวงกต )

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๖ เดินทางสู่เขาวงกต การเจริญสมาธิภาวนาเป็นทางลัดที่สุด ที่จะทำให้กายวาจา ใจ ของเราบริสุทธิ์ ถ้ากาย วาจา ใจ ของเรามีความบริสุทธิ์มาก บุญกุศลก็เกิดขึ้นมาก ถ้ามีความบริสุทธิ์น้อย บุญกุศลก็ลดหย่อนลงไป ความบริสุทธิ์เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข เป็นสิ่งที่สั่งสมได้ การเจริญภาวนาทุกวันเป็นการเพิ่มเติมความบริสุทธิ์ขึ้นทุกวัน จะทำให้เราเข้าถึงความสุขที่แท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และกำลังแสวงหากันอยู่ ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการเจริญภาวนา เพื่อให้ชีวิตของเราเข้าถึงความสุขและความบริสุทธิ์ที่แท้จริง พระเวสสันดรโพธิสัตว์ได้กล่าวธรรมภาษิตสอนพระนางมัทรีไว้ว่า ดูก่อนพระนางมัทรี พัสดุอันใดอันหนึ่งที่ฉันให้เธอ ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์ที่มีอยู่มาก และสิ่งใดที่เธอนำมาแต่พระชนกของเธอ เธอจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมด เธอจงบริจาคทานในท่านผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงอย่างอื่นยิ่งกว่าบุญกุศลย่อมไม่มี ชาวโลกส่วนใหญ่ปรารถนาจะเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ การเป็นผู้ให้นั้นยากกว่าการเป็นผู้รับ โดยเฉพาะให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ให้เพื่อยังความสุข และความสำเร็จของบุคคลอื่น ให้เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวนั้น นับเป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก ทว่าพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ต่างดำรงตนบนพื้นฐานของความเป็นผู้ให้ตลอดมา โดยทั่วไปคนส่วนมากมักมีความตระหนี่เหนียวแน่นอยู่ในใจ เหมือนยางเหนียวที่ติดเสื้อผ้าหรือวัตถุต่างๆ ยากจะขัดให้หลุดออกได้ง่ายๆ เกิดจากตัวกิเลสคือตัณหาที่ฝังติดแน่นอยู่ในกมลสันดาน น้อยคนนักที่จะหาทางขจัดความตระหนี่ให้หลุดร่อนออกไปจากใจได้ ตรงกันข้ามกับพระโพธิสัตว์ผู้ที่สามารถขจัดออกจากใจได้ทุกภพทุกชาติ บางครั้งความเป็นผู้มีใจกว้างขวางของท่าน กลับเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ซึ่งยังมีความตระหนี่อยู่มากเดือดเนื้อร้อนใจแทน เหมือนดังเรื่องของพระเวสสันดร โดยเฉพาะในช่วงที่ท่านกำลังประสบมรสุมชีวิต เพราะทรงบริจาคมงคลหัตถีแก่พราหมณ์ไป …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๖ ( เดินทางสู่เขาวงกต ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๘ ( ชีวิตนักบวช )

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๘ ( ชีวิตนักบวช ) ชีวิตในวันหนึ่งๆผ่านไปอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนหยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้า เมื่อต้องแสงอาทิตย์ในยามเช้า ย่อมเหือดแห้งหายไปโดยฉับพลัน ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย คล้ายฟองน้ำ เมื่อเวลาฝนตกหนัก ฝนหนาเม็ดเกิดเป็นฟองน้ำขึ้น แล้วแตกสลายไปในชั่วพริบตาเดียว ช่วงเวลา ของชีวิตเราสั้นนักคล้ายอย่างนั้น จึงไม่ควรประมาท พึงเร่งทำ ความเพียร เพื่อไปให้ถึง จุดหมายปลายทางของชีวิต เช่นเดียวกับ ผู้รู้หรือพระอรหันต์ทั้งหลายในกาลก่อน ครั้งหนึ่งนางอมิตตตาปนาได้กล่าวกับชูชกว่า”คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทันได้รบก็ยอมแพ้ ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ทันได้ไปขอกัณหาชาลีเลย ก็ยอมแพ้ ฉันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านไม่หาทาส และทาสีมาให้ฉัน ฉันจักไม่อยู่ในเรือนของท่าน เมื่อท่านเห็นฉันแต่งกายในงานมหรสพ ประกอบด้วยนักขัตฤกษ์ รื่นรมย์อยู่กับชายคนอื่น ความทุกข์ก็จักมีแก่ท่าน เมื่อท่านผู้ชราแล้ว พิไรครํ่าครวญอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่โก่งงอก็จักงอยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจงออกเดินทางไปขอโอรสธิดากับพระเวสสันดรเถิด” นี่เป็นถ้อยคำของนางอมิตตตาภรรยาสาวของชูชกผู้ แก่ชรา นางจะเป็นเหตุที่จะมาเติมมหาทานบารมี ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ให้แก่รอบยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อครั้งที่แล้ว หลวงพ่อได้กล่าวถึงตอนที่พระเวสสันดร เดินทางถึงภูเขาคันธมาทน์ หรือเขาวงกต …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๘ ( ชีวิตนักบวช ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๗ ( เสด็จออกบรรพชา )

เวสสันดชาดก ตอนที่ ๗ ( เสด็จออกบรรพชา ) กาลเวลากลืนกินสรรพสัตว์ เปลี่ยนแปลงสรรพสิ่ง สรรพชีวิตที่เกิดมาแล้ว ล้วนบ่ายหน้าไปสู่ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ผู้คนมากมายได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า เหตุเพราะไม่รู้จุดหมายปลายทาง ของชีวิตว่า เกิดมาจากไหน มาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต เมื่อไม่รู้ความจริงของชีวิต จึงเวียนวน ข้องเกี่ยวอยู่กับเบญจกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นเหยื่อล่อของพญามาร ทำให้ข้องอยู่ในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เวียนตายเวียนเกิดอย่างนี้มานับภพนับชาติไม่ถ้วน การทำสมาธิเจริญภาวนา หมั่นฝึกฝนใจให้สะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่ง เป็นประจำสมํ่าเสมอ เป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่จะนำพานาวาชีวิตของเรา ให้หลุดพ้นจากวังวนแห่งสังสารวัฏอันยาวไกลนี้ ก้าวไปสู่พระนิพพานแดนอันเกษมที่เป็นเอกันตบรมสุข พระเวสสันดรโพธิสัตว์ได้กล่าวอำลา เพื่อออกบวชเป็นบรรพชิตว่า ข้าแต่เสด็จแม่ ขอพระองค์ทรงอนุญาตการบวชแก่หม่อมฉันเถิด หม่อมฉันบริจาคทานในวังของตน ยังถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้เบียดเบียนทั้งตนเองและคนอื่น หม่อมฉันจะออกไปจากแคว้นของตน โดยประสงค์ของชาวสีพี หม่อมฉันจะเสวยทุกข์นั้นในป่า ที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรด และเสือเหลืองอยู่อาศัย แล้วหม่อมฉันจักบำเพ็ญบุญทั้งหลาย *ครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงตอนที่พระเวสสันดร ได้ถวาย สัตตสตกมหาทาน พร้อมทั้งสิ่งของอย่างอื่นมากมาย …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๗ ( เสด็จออกบรรพชา ) Read More »

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๙ ( ชูชกขอโอรสธิดา )

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๙ ( ชูชกขอโอรสธิดา ) ธรรมดาของสรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย มีความเสื่อมไปตามกาลเวลา ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่เคยหยุดยั้ง ได้นำความแก่ ความเจ็บ และความตายมาสู่ตัวเราตลอดเวลา เวลาไม่เคยหยุดในการทำหน้าที่ของมัน ทุกชีวิตถูกความเสื่อมครอบงำทุกอนุวินาที และกำลังก้าวไปสู่ความเสื่อมสลาย เพราะฉะนั้นเราไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต ควรมองให้เห็นโทษภัยของความเสื่อมนั้น จะได้คลายจากความยึดมั่น ถือมั่นในคน สัตว์ สิ่งของ ไม่มัวเอาใจไปข้องเกี่ยว หรือวางใจไว้กับสิ่งภายนอก ซึ่งไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริง ควรแสวงหา ที่พึ่งภายใน คือ พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งสูงสุดอันเกษมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีธรรมภาษิตใน ปฐมภิกขุสูตร ว่า บุคคลไม่อาจให้สิ่ง ๓ อย่างเต็มได้ คือ ไฟเต็มด้วยเชื้อ มหาสมุทรเต็มด้วยน้ำ คนมีความอยากมากเต็มด้วยปัจจัย ที่ยกพระบาลีนี้ขึ้นมากล่าวอ้างเป็นอุเทศ เพราะว่ากำลังจะกล่าวถึงพราหมณ์ชูชกผู้ไม่อิ่มด้วยความอยากในเบญจกามคุณ จึงต้องออกเดินทางไปขอพระโอรสพระธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นทาสรับใช้ โดยไม่คำนึงถึงฐานะของตัวเอง พราหมณ์ชูชกนั้นมีความหลงใหลในนางอมิตตตาเป็นกำลัง เมื่อภรรยาร้องขอสิ่งใดก็จัดการหามาให้ กระทั่งให้ไปขอข้าทาสจากพระเวสสันดรซึ่งอยู่ไกลมาก อีกทั้งหนทางก็ลำบาก ยังสู้อุตส่าห์ถ่อสังขารไปจนถึงเขาวงกตในที่สุด *เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อชูชกเดินทางเข้าไปในนครเชตุดร ได้ไต่ถามประชาชนที่มาประชุมกันตามสถานที่ต่างๆ ว่า พระเวสสันดรผู้รักในการบริจาคทานเป็นชีวิตจิตใจ …

เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๙ ( ชูชกขอโอรสธิดา ) Read More »

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๑ ) – พระภิกษุผู้รักการให้ทาน

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๑ )         การสร้างบารมีเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องสร้างกันทุกๆ วัน โดยไม่ให้มีการว่างเว้น ตั้งแต่ทานบารมี ศีลบารมีเรื่อยไป จนกระทั่งถึงอุเบกขาบารมี เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพื่อการนี้ การที่มีกายมนุษย์นับว่า เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการสร้างบารมี ยิ่งเราเป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ ยิ่งสร้างบุญบารมีได้เต็มที่ เพราะเรารู้ถึงอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น เราควรทุ่มเท สร้างความดีอย่างไม่หยุดยั้ง จะได้ชื่อว่า เกิดมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ได้สร้างบารมีซึ่งเป็นงานที่แท้จริง สิ่งที่เราควรทำควบคู่ไปกับภารกิจประจำวัน คือ หมั่นทำใจหยุดใจนิ่งไปพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง คือ พระรัตนตรัยภายใน     มีวาระพระบาลีในสุธาโภชนชาดกว่า อปฺปมฺหา อปฺปกํ ทชฺชา    อนุมชฺฌโต มชฺฌกํ พหุมฺหา พหุกํ ทชฺชา         อทานํ นูปปชฺชติ บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของปานกลางให้ตามปานกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้ย่อมไม่ควร     มนุษย์ทุกคนดำรงอยู่ได้ด้วยการให้ ชีวิตของเราตั้งแต่ถือกำเนิดมาจนลมหายใจเฮือกสุดท้าย ต้องเกี่ยวพันกับการเป็นผู้ให้และผู้รับ เริ่มต้นเราได้ชีวิตจากการให้ของบิดามารดา เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับการเลี้ยงดู …

เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๑ ) – พระภิกษุผู้รักการให้ทาน Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๕ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา)

ชัยชนะครั้งที่ ๕ ( ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา ) พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ ได้ทำไม้สัณฐานกลมผูกติดไว้ ด้วยวิธีที่งดงาม คือความสงบพระทัยในท่ามกลางมหาชน ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เป็นอานุภาพที่ไม่มีประมาณ เพราะเป็นอจินไตยอยู่เหนือวิสัยของผู้ที่ใจยังไม่หยุด จะเข้าใจได้ด้วยการนึกคิดด้นเดาตามหลักตรรกวิทยา หรือศาสตร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่ได้ เพราะเป็นศาสตร์เฉพาะของผู้รู้แจ้งเท่านั้น ผู้ที่ทำจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ก็จะประสบกับอานุภาพของพระรัตนตรัยเสมอ พบแต่เรื่องอัศจรรย์จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะสิ่งอัศจรรย์จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากใจเราหยุดนิ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัย เราจะมีความบริสุทธิ์ มีอานุภาพตามท่านไปด้วย ดังนั้นเราควรปฏิบัติให้เข้าถึงพระรัตนตรัยให้ได้กันทุกคน มีบทพุทธคุณสรรเสริญพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บทที่ ๕ ว่า ” กตฺวาน กฏฺฺฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา จิญฺจาย ทุฏฺฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ ได้ทำไม้สัณฐานกลมผูกติดไว้ …

ชัยชนะครั้งที่ ๕ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๑ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๑ ชนะสัจจกนิครนถ์) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เลิศทั้งพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ จะหาบุคคลใดๆ ในภพทั้งสาม มาเสมอเหมือนหรือยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธญาณลึกซึ้งกว้างไกล ทรงรู้แจ้งโลกและแทงตลอด ทั้งนิพพาน ภพสาม โลกันต์ แม้พระพุทธเจ้าจะพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้าด้วยกัน ยังไม่อาจพรรณนาได้หมดสิ้น เพราะพระคุณของพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ เป็นอจินไตย อนันตจักรวาลก็ยังแคบเกินไปที่จะพรรณนาพระคุณของพระพุทธองค์ เราจะซาบซึ้งต่อเมื่อได้ศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างจริงจัง โดยลงมือปฏิบัติตามคำสอนให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน แล้วเราจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง มีบทสรรเสริญชัยมงคลคาถา บทที่ ๖ ว่า “สจฺจํ วิหาย มติสจฺจกวาทเกตุ วาทาภิโรปิตมนํ อติอนฺธภูตํ ปญฺญาปทีปชลิโต ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ พระจอมมุนีทรงรุ่งเรืองด้วยประทีปคือปัญญา ได้ทรงชนะสัจจก-นิครนถ์ผู้เป็นคนมืดบอด มีอัธยาศัยไม่ยอมรับความจริง มีใจคิดแต่จะยกตนข่ม ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน” เรื่องของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีชัยชนะต่อสัจจกนิครนถ์นี้ เป็นหนึ่งในพุทธชัยมงคล เพราะเป็นชัยชนะที่ประเสริฐ โดยอาศัยพุทธปัญญาที่ไม่มีใครเสมอเหมือน แม้สัจจกนิครนถ์ที่ชาวเมืองต่างนับถือว่า เป็นผู้มีปัญญามาก ยังต้องยอมรับในพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ ในเรื่องนี้ท่านกล่าวไว้ …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๑ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะสัจจกนิครนถ์) คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นสิ่งที่มีค่าเอนกอนันต์ ทุกถ้อยคำที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำสั่งสอน ชี้แนะหนทางสว่าง หากได้นำไปประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว จะส่งผลให้เรามีความสุขความสำเร็จได้ในปัจจุบัน เราจะดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยทั้งยังส่งผลต่อไปอีก คือ ให้เราได้สมบูรณ์พร้อมทั้งมนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ ชีวิตเราจะก้าวไปสู่ความเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะได้ฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น การฟังธรรมและหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จึงเป็นทางมาแห่งรัตนะอันประเสริฐ คือ พระรัตนตรัยนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในวุฏฐิสูตรว่า “วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา อวิชฺชา นิปตตํ วรา สงฺโฆ ปวชมานานํ พุทฺโธ ปวทตํ วโร บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นสิ่งที่ประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นเลิศ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นผู้ประเสริฐสุด บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุด” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเป็นเลิศกว่ามนุษย์และเทวดา เป็นผู้มีวาทศิลป์ หรือเป็นนักโต้วาที เพราะพระองค์ทรงโต้วาทะ และแก้ไขปัญหาของผู้แสดงตนว่าเป็นนักปราชญ์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เพราะทรงแทงตลอดในทุกๆ ปัญหา …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๒ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๓ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๓ ชนะสัจจกนิครนถ์) พื้นฐานชีวิตของมนุษย์ทุกคน ล้วนมีความทุกข์กันทั้งนั้น ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงบัดนี้ เราต้องพบกับความทุกข์ และส่วนใหญ่ยังไม่เคยพบความสุขที่แท้จริง เจอแต่สภาพที่ความทุกข์ลดลงไปบ้างเป็นครั้งคราว คือ อยู่ในสภาพที่พอทนได้ แต่เราก็หลงเข้าใจว่านั่นคือความสุข แต่แท้ที่จริง เป็นแค่ความทุกข์ที่ลดลงเท่านั้น แล้วก็มัวหลงเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร เพื่อให้ลืมความทุกข์กันไปชั่วขณะเท่านั้น ความสุขที่แท้จริงนั้นมีอยู่ และอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม คืออยู่ภายในตัวของเราทุกๆ คน อยู่ที่ใจของเรานี่เอง ถ้าอยากพบกับความสุขต้องหยุดใจของเราให้ดี มีวาระพระบาลีที่ท่านกล่าวไว้ใน พาเวรุชาดกว่า “ยาว นุปฺปชฺชตี พุทฺโธ ธมฺมราชา ปภงฺกโร ตาว อญฺเญ อปูเชสุ ปุถู สมณพฺราหฺมเณ ฯ ยทา จ สรสมฺปนฺโน พุทฺโธ ธมฺมํ อเทสยิ อถ ลาโภ จ สกฺกาโร ติตฺถิยานํ อหายถาติ ฯ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้ส่องแสงสว่างไสว ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๓ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(ตอนที่ ๔ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๔ ชนะสัจจกนิครนถ์) ความเห็นถูกจะเป็นต้นทางของความคิดถูก ซึ่งจะทำให้ความคิดก็เริ่มมีระบบระเบียบแบบแผนที่ดี มีความคิดในทางสร้างสรรค์ คิดที่จะพ้นทุกข์และให้พบสุขที่แท้จริง กระทั่งมีความคิดที่สมบูรณ์ที่จะมุ่งตรงไปสู่อายตนนิพพาน ซึ่งจะแตกต่างจากความคิดเดิมๆ ที่คิดอยากจะเป็นใหญ่ อยากจะครองโลก ครองสมบัติ ครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็เบียดเบียนกัน แก่งแย่งชิงดีกัน ต่อเมื่อหยุดใจไว้ตรงกลางกายฐานที่ ๗ได้แล้ว ความคิดเห็นจึงจะถูกต้องสมบูรณ์ เพราะเกิดปัญญาบริสุทธิ์คิดที่จะออกจากทุกข์ สิ่งใดที่เป็นเครื่องร้อยรัดเป็นพันธนาการของชีวิตก็จะปลดปล่อยวาง และมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน มุ่งไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง การเจริญสมาธิภาวนาด้วยการทำใจหยุดนิ่งเป็นประจำสมํ่าเสมอ จะทำให้ปัญญาสมบูรณ์ มีความคิด คำพูดและการกระทำที่สมบูรณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย เอกนิบาตว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลเอก เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุธรรม เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ เป็นการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล บุคคลเอกผู้นั้น คือพระตถาคต-อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า“ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เริ่มต้นคือเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เป็นมนุษย์ธรรมดา และเคยใช้ชีวิตครองเรือนดังชาวโลกทั่วไป แต่ที่เราเคารพนับถือพระองค์ ยึดท่านเป็นบรมครู และเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดนั้น …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(ตอนที่ ๔ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๕ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๕ ชนะสัจจกนิครนถ์) การฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตของเราทุกคน เพราะชีวิตของผู้มีใจหยุดดีแล้ว เป็นชีวิตที่ประเสริฐ มีพลัง มีความบริสุทธิ์ มีอานุภาพที่จะทำความดี เอาชนะความชั่ว ขจัดความไม่บริสุทธิ์ ทำให้เราได้เข้าถึงธรรมที่มุ่งตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน เพราะฉะนั้นใจหยุดนิ่ง จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เราเกิดมาชาตินี้ จะต้องฝึกใจให้หยุดนิ่งให้ได้ หยุดใจได้สมบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้สมปรารถนาในชีวิตที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาสร้างบารมีอย่างแท้จริง มีวาระพระบาลีที่ท่านกล่าวไว้ใน เอกบุคคล ว่า “เอกปุคฺคโล ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม อปฺปฏิภาโค อปฺปฏิปุคฺคโล อสโม อสมสโม ทิปทานํ อคฺโค กตโม เอกปุคฺคโล ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นแบบไม่เป็นที่สองรองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเลิศกว่าชนทั้งหลาย …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๕ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๖ ชนะสัจจกนิครนถ์)

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๖ ชนะสัจจกนิครนถ์ ) ความสุขหรือความทุกข์ที่ทุกคนได้รับในปัจจุบันชาติ ล้วนเป็นผลมาจากกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติ ผู้ที่สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ดี มีเพียงพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และผู้มีรู้มีญาณเท่านั้น เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีใจหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ สามารถระลึกชาติได้ มีอนาคตังสญาณ รู้ไปถึงอนาคตได้ และกฏแห่งกรรมเป็นกฏสากล สิ่งใดที่เราทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล ไม่ได้สูญหายไปไหน ต้องส่งผลอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว การนั่งสมาธิเจริญภาวนา เป็นกรรมฝ่ายกุศลที่จะส่งผลให้เราพ้นทุกข์ พ้นจากอาสวกิเลสและเข้าถึงที่พึ่งภายใน คือ พระรัตนตรัย สัจจกนิครนถ์ได้ชมเชยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งปรากฏใน มหาสัจจกสูตร ว่า “พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้ปรารภโต้ตอบวาทะกับท่านปูรณะกัสสป ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธะกัจจายนะ ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตร แม้ท่านเหล่านั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับข้าพเจ้า ก็เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย และชักนำให้พูดนอกเรื่อง ทั้งทำความขัดเคืองขุ่นมัวให้ปรากฏ ส่วนพระโคดมผู้เจริญอันข้าพเจ้ามาสนทนากระทบกระทั่ง ทั้งไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งอย่างนี้ ก็มีผิวพรรณสดใส ทั้งมีสีหน้าเปล่งปลั่ง เพราะพระองค์เปี่ยมด้วยมหากรุณา เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” นี้เป็นถ้อยคำของนักปราชญ์ผู้ถือตัว ผู้เป็นอาจารย์ของพระราชามหากษัตริย์ แต่ต้องยอมรับในพุทธปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจที่เลื่อมใสจริงๆ เพราะตนเองเคยดั้นด้นไปสอบถามเจ้าลัทธิต่างๆ พบแต่ความว่างเปล่า มีคำสอนที่หาสาระไม่ได้ ครั้นได้โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า รู้ทันทีว่าไม่มีใครจะเสมอเหมือนพระพุทธองค์ …

ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๖ ชนะสัจจกนิครนถ์) Read More »