หลวงพ่อทัตตชีโว

หลักธรรมใดที่จะทำให้ครอบครัวและตระกูลตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงชั่วลูกชั่วหลาน

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ อยากกราบเรียนถามว่าจะมีหลักธรรมข้อใดบ้าง ที่จะทำให้ครอบครัวและตระกูลตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ไปตราบชั่วลูกชั่วหลานเจ้าคะ คำตอบ: คำถามนี้ก็เท่ากับจะถามว่า ทำอย่างไรแม้เป็นมหาเศรษฐีก็ยังล้มละลายเลย เพราะอย่างที่เราเห็นในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ช่วง IMF ทำอย่างไรเราจะไม่ไปเจอภาวะอย่างนั้นอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้เป็นหลักธรรมไว้ ๔ ประการด้วยกัน คือ             ๑. ของหายให้รีบหา             ๒. ของเสียให้รีบซ่อม             ๓. ใช้จ่ายให้รู้จักประมาณ ไม่ให้เกินฐานะ             ๔. ไม่ตั้งหัวหน้างาน ประเภทที่เรียกว่าเห็นแก่หน้า คือไม่คัดเอาคุณภาพ             ถ้าของหายไม่รีบหา นั่นคือไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สมบัติที่หามาได้ อย่างนี้เหนื่อยฟรี             ส่วนในการที่ของเสียแล้วไม่รีบซ่อม อันนี้ก็เป็นความไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินสิ่งของที่เรามีอยู่ บุคคลที่ของหายไม่รีบหา ของเสียไม่รีบซ่อม เป็นประเภทตาบอดตาใส มีตาดีแต่แกล้งทำเป็นบอด ตาบอดตาใสประเภทนี้ สมบัติมีอยู่แล้วก็ไม่สนใจ หนักเข้าก็หาสมบัติไม่เจอ เพราะฉะนั้นระมัดระวังให้ดีด้วย             ส่วนในเรื่องของการใช้จ่าย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินฐานะ อะไรไม่ควรใช้ก็อย่าใช้มัน เพราะมันมีหมดได้ ช่วง IMF เราจะเห็นว่าหลายคน ปกติมีรายได้ต่อเดือนเป็นแสนเป็นล้าน …

หลักธรรมใดที่จะทำให้ครอบครัวและตระกูลตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงชั่วลูกชั่วหลาน Read More »

ทำไมวัดพระธรรมกายถึงไม่มีการเดินจงกรม

คำถาม: กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าค่ะ ลูกเคยชวนเพื่อนมานั่งสมาธิที่วัด เขาสงสัยว่าทำไมวัดเราไม่มีการสอนให้เดินจงกรม และทำไมเวลานั่งสมาธิต้องมีเสียงนำนั่งด้วย แทนที่จะนั่งกันเงียบๆ เจ้าค่ะ คำตอบ: ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “จงกรม” เสียก่อน คำว่าจงกรม จริงๆ แล้วก็คือการเดินทำสมาธินั่นเอง ซึ่งก็มีวิธีในการเดินจงกรมอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยทั่วไปแล้วในการฝึกสมาธิ ผู้ที่ฝึกสมาธิใหม่ๆ ดีที่สุดคือการฝึกสมาธิในท่านั่ง ถ้าฝึกในท่าอื่น มือใหม่จะแย่หน่อย เดี๋ยวใจไม่ค่อยจะรวม             สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกสมาธิ เมื่อนั่งใหม่ๆ ก็นั่งไม่ค่อยได้นาน เมื่อนั่งไม่ได้นานแล้ว พระอาจารย์ก็เกรงว่าจะเบื่อเสียก่อน ก็เลยฝึกให้เดินจงกรมไปด้วย คือทำสมาธิสลับกันไประหว่างการนั่งและการเดิน โดยทั่วๆ ไปก็มีทำกันอย่างนี้สำหรับมือใหม่ ส่วนมือเก่าบางท่านที่นั่งชำนาญแล้ว รวดเดียว ๕ ชั่วโมง แน่นอน พอเลิกนั่งก็เมื่อย ก็เลยต้องเดินบ้าง เดินจงกรมหรือเดินทำสมาธิไป มืออาชีพเขาทำอย่างนี้             สำหรับที่วัดพระธรรมกายเราก็เหมือนกัน ที่ฝึกกันอยู่ที่วัด ตอนเช้าวัดเรา ๙ โมงครึ่งถึง ๑๑ โมง ก็นั่งกันชั่วโมงครึ่ง ชั่วโมงครึ่งสำหรับพวกเราที่มาวัดกัน มีความรู้สึกว่านั่งประเดี๋ยวเดียว เพราะฉะนั้นในระหว่างนั้นก็เลยไม่มีการลุกออกมาเดินจงกรม หรือบางครั้งที่พวกเราไปกันเป็นหมู่คณะ แล้วก็ไปทำจงกรม ไปทำสมาธิกัน …

ทำไมวัดพระธรรมกายถึงไม่มีการเดินจงกรม Read More »

ฝึกสมาธิทำให้เสียสติจริงหรือไม่

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ มีคนจำนวนมากที่ไม่กล้าฝึกสมาธิ เพราะกลัวว่าจะทำให้เสียสติ เราควรจะอธิบายให้เขาเข้าใจอย่างไรดีเจ้าคะ คำตอบ: จำหลักให้ดีก็แล้วกัน ใครยิ่งฝึกสมาธิ ผู้นั้นสติของเขายิ่งดี เพราะสติกับสมาธิเป็นของคู่กัน แยกกันไม่ได้เลย             จะอุปมาให้ฟังว่า สมาธิกับสติคู่กันอย่างไร? เวลาเราจุดเทียน ทันทีที่ไฟติดขึ้น เราจะได้ความสว่างจากเทียนในเวลาเดียวกัน ก็ได้ความร้อนเกิดขึ้นพร้อมๆ กันด้วย ความร้อนกับแสงสว่างที่เกิดจากดวงเทียนนี้แยกกันไม่ออก ของคู่กัน ยิ่งร้อนเท่าไหร่ แสดงว่าการเผาไหม้ดีเท่านั้น เพราะฉะนั้นความสว่างของเทียนก็เพิ่มขึ้นมากเท่านั้นเป็นเงาตามตัวสมาธิกับสติก็เหมือนกัน ถ้าสมาธิคือความสว่าง สติก็เหมือนความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเทียนนั้น แยกจากกันไม่ได้             เพราะฉะนั้นใครฝึกสมาธิได้ก้าวหน้าไปเท่าไหร่ สติก็สมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน หรือถ้าใครฝึกสติได้สมบูรณ์เท่าไหร่ สมาธิก็ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปเท่านั้นอีกเหมือนกัน ที่เกิดความเข้าใจผิดกันว่าฝึกสมาธิแล้ว ทำให้เสียสติ แสดงว่าเขายังไม่เข้าใจอยู่อีกเรื่องหนึ่ง คือสมาธินั้นมีอยู่ ๒ ประเภท             ประเภทหนึ่ง เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา คือยิ่งฝึกสติยิ่งสมบูรณ์อย่างที่หลวงพ่อว่ามาก่อนนี้             แต่มีสมาธิอีกประเภทหนึ่ง ท่านเรียกว่า “มิจฉาสมาธิ” หรือสมาธิผิดๆ นั่นเอง เช่น ใครที่เคยเล่นไพ่จะรู้ดี ตอนจ้องจะจั่วเอาตัวสำคัญที่เรารออยู่นั้น ตรงนี้สมาธิดีมาก แต่ว่าเป็นสมาธิที่อยู่บนพื้นฐานของความโลภ อย่างนี้เรียกว่า …

ฝึกสมาธิทำให้เสียสติจริงหรือไม่ Read More »

สวดมนต์เป็นยาทาภาวนาเป็นยากิน หมายความว่าอย่างไร

คำถาม: ลูกอยากกราบเรียนถามว่าคำโบราณท่านพูดว่า สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน จริงๆ แล้วมีความหมายว่าอย่างไรเจ้าคะ คำตอบ: ในเรื่องของการสวดมนต์ คำว่า “สวด” เป็นกิริยาของการท่องนั่นเอง การท่องเป็นทำนอง เป็นจังหวะ “มนต์” คืออะไร? มนต์สำหรับชาวพุทธก็คือคำเทศน์ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นสวดมนต์ของชาวพุทธ ก็เป็นเรื่องของการทบทวนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สวดไปก็ได้ความรู้ความเข้าใจในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง และแน่นอนความสบายใจก็เกิดขึ้นด้วย เกิดขึ้นเพราะธรรมะที่เราสวดอย่างหนึ่ง และเกิดขึ้นเพราะว่ารำลึกถึงพระคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นพร้อมๆ กันไป             ถามว่าขณะที่สวดมนต์อยู่ ใจเป็นสมาธิไหม? ก็เป็น แต่เป็นในระดับตื้น ไม่ได้เป็นสมาธิในระดับลึก เมื่อเป็นสมาธิในระดับตื้น ก็ให้คุณประโยชน์กับใจของเราได้ในระดับตื้น คือให้ความชุ่มชื่น ให้ความเบิกบานระดับหนึ่ง แล้วก็ได้ความปลื้มปีติที่ว่าเราได้ทบทวนคำสอนธรรมะของสมเด็จพ่อของเรา ด้วยเหตุว่าการสวดมนต์นำความปลื้มใจ นำสมาธิมาให้ระดับตื้น ท่านจึงได้อุปมาว่าเหมือนยาทา แต่ว่ายาทาชนิดนี้ ทาแล้วทะลุถึงใจนะ ไม่ใช่ยาทา ยาหม่องธรรมดา             ส่วนคำว่า “ภาวนา” หมายถึง การทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นการทำสมาธิอย่างต่อเนื่องกันเป็นชั่วโมง เป็นวัน บางทีทำต่อเนื่องกันเป็นเดือน เป็นปี นักทำสมาธิโดยทั่วๆ ไป …

สวดมนต์เป็นยาทาภาวนาเป็นยากิน หมายความว่าอย่างไร Read More »

คนพาลมีลักษณะอย่างไร

คำถาม: กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ มงคลชีวิตข้อแรก สอนให้เราไม่คบคนพาล ก่อนอื่นอยากกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า คนพาลมีลักษณะอย่างไร คบแล้วมีผลเสียอย่างไรเจ้าค่ะ คำตอบ:  การจะดูว่า ใครเป็นคนพาลหรือคนดีนั้น ยากพอสมควร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้มาตรฐานในการวัดมาตรฐานคนไว้ คือเอากรรมหรือการกระทำเป็นตัววัด คือคนทำกรรมดีก็เรียกว่าคนดี คนทำกรรมชั่วก็เรียกว่าคนชั่ว             คนพาลคือ คนที่มีนิสัยคิดและทำความชั่วเป็นปกติ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเป็นปกติ ไม่ใช่นานๆ ครั้ง ไม่ใช่พลั้งเผลอ แต่เป็นอาชีพ เป็นอาจิณเลย             ตั้งแต่คิดโลภ พยาบาท เอาเปรียบ อิจฉาตาร้อน เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่าคิดชั่ว             พูดชั่ว โกหก พูดคำหยาบ ใส่ความเขา นินทาเขาเป็นประจำ             ทำชั่วเป็นปกติ ตั้งแต่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ขโมย คอรัปชั่น ใต้โต๊ะ บนโต๊ะแล้วก็ประพฤติผิดในกามเป็นประจำ             คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เป็นประจำอย่างนี้ ท่านเรียกว่าคนพาล คือชั่วจนกระทั่งเป็นนิสัยประจำของเขา ทางพระเรียกว่าคนพาล ชาวบ้านเรียกว่าคนชั่ว  …

คนพาลมีลักษณะอย่างไร Read More »

นิสัยของคนเกิดขึ้นได้อย่างไร

คำถาม:  หลวงพ่อเจ้าขา คนเรานั้นมีนิสัยแตกต่างกัน บางคนก็นิสัยดี บางคนก็นิสัยไม่ดี อยากกราบเรียนถามว่า นิสัยของคนเราทั้งดีและไม่ดี เกิดขี้นมาได้อย่างไรเจ้าคะ คำตอบ:  เจริญพร นิสัยไม่ว่าดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจากการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำของตัวเอง นิสัยใครก็ขึ้นอยู่กับการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำของผู้นั้น             ถ้าในขณะที่ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ มีทัศนคติและวิธีการในการย้ำนั้นในทางที่ถูกที่ควร ก็จะได้นิสัยดีๆ ถ้าย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเรื่องไม่ดี ทัศนคติไม่ดี ก็จะได้นิสัยไม่ดีติดตัว มีเรื่องใหญ่ๆ ที่มนุษย์ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ตลอดชีวิตอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย หนีไม่พ้น             เรื่องที่ 1. เรื่องของปัจจัย 4 คือเรื่องเกี่ยวกับการหล่อเลี้ยงชีวิตของตัวเอง 4 อย่าง ตั้งแต่เรื่องอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย รวมถึงการรักษาสุขภาพของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ พระเรียกว่าปัจจัย 4             เรื่องที่ …

นิสัยของคนเกิดขึ้นได้อย่างไร Read More »

ฝึกลูกหลานอย่างไร ให้โตขึ้นมาจะเป็นคนมีระเบียบเคร่งครัด

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าขา เราจะฝึกลูกหลานของเราอย่างไร เพื่อว่าเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดเจ้าคะ คำตอบ: เจริญพร ในเรื่องของความมีระเบียบ มีวินัยที่เคร่งครัด เรื่องนี้เป็นเรื่องของนิสัย เมื่อเป็นเรื่องของนิสัย ก็จะเกิดจากการย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ เป็นประจำอีกเหมือนกัน นั่นคือเมื่อเราเห็นคุณค่าของความมีวินัย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลานเรา ของประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ตลอดจนพระศาสนาแล้ว นับเป็นสิ่งที่ดีที่คิดจะฝึกให้ลูกหลานมีวินัยตั้งแต่เล็ก ไม่ใช่ไปบังคับกันตอนโต             วินัยไม่ว่าเรื่องอะไร ล้วนต้องเริ่มจากบ้านทั้งนั้น ให้ลูกหลานของเรา ฝึกวินัยกับตัวเองเสียก่อน จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนกระทั่งถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่วินัยในเรื่องของการกิน การนอน การใช้เสื้อผ้า การปัดกวาดเช็ดถูบ้าน กระทั่งวินัยในการใช้ห้องน้ำสารพัด เราต้องฝึกจากตรงนี้ก่อน เมื่อเราฝึกวินัยจากน้อยไปหาใหญ่ให้เขาได้ ลูกหลานเราจะมีวินัยเคร่งครัดเมื่อโต หลวงพ่อจะยกตัวอย่างให้ฟัง             ในกรณีที่ 1. เราฝึกลูกหลานของเรา ให้เป็นคนนอนตรงเวลา นอนหัวค่ำ ไม่ให้เกิน 4 ทุ่ม แล้วก็ตื่นแต่เช้ามืด ประเภทนอนเที่ยงคืนแล้วตื่นสาย ตรงนั้นพลาดแล้ว นั่นคือไม่มีวินัย เพราะถ้านอนดึก ตอนเช้ามันไม่อยากตื่น ถึงเวลาจะตื่น มันก็รู้ตัว …

ฝึกลูกหลานอย่างไร ให้โตขึ้นมาจะเป็นคนมีระเบียบเคร่งครัด Read More »

ทำอย่างไรจะให้คนในชาติมีความสามัคคี

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าขา ในสังคมมีการกระทบกระทั่งกันมาก ทำให้แตกความสามัคคีจะทำอย่างไรดี ให้คนในชาติของเรามีความสามัคคีกันเจ้าคะ คำตอบ: เรื่องของความสามัคคีของคนในชาติ เราร้องหากันมานาน แต่ว่ามีแต่ผู้ร้องหา ไม่มีร้องเรียกให้มาช่วยกันทำ เพราะเราไม่พยายามเจาะเข้าไปว่า ที่ขาดความสามัคคีมันมาจากอะไรกัน?             ข้อที่ 1. เรื่องผลประโยชน์ ในโลกนี้มนุษย์ส่วนมากคิดแต่จะเอา ไม่ค่อยคิดจะให้ เมื่อคิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้ มันก็ไม่ต่างกับนกกาเท่าไหร่ นกกาตื่นเช้ามันก็ร้องตามเสียงสำเนียงมัน มันชวนกันไปหากิน คือชวนกันไปเพื่อเอา ไม่ใช่ชวนกันไปเพื่อให้ นี่คือเรื่องที่หนึ่ง ที่มนุษย์ถ้าไม่ระวังตัว พฤติกรรมของมนุษย์ก็ตกลงไปเช่นเดียวกับสัตว์อีกเหมือนกัน             เรื่องที่ 2. มนุษย์ส่วนมากมักจะไม่มีวินัย คือเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ นิสัยไม่ดี นิสัยเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่นิสัยรักวินัยเคร่งครัดต่อวินัย มันก็เลยเป็นที่มาแห่งการกระทบกระทั่งกันอย่างมาก             เรื่องที่ 3. ที่มนุษย์เสียหายมาก ทำให้เกิดความแตกแยกคือ ขาดความเคารพเกรงใจกัน มีแต่คอยจะจับผิดกัน จับถูกนี่หายาก มีแต่จับผิดกันตั้งแต่เช้า ตื่นขึ้นมาก็จะได้เห็นแต่การจับผิดกัน เช่น เช้าขึ้นมาถ้าเปิดวิทยุ ก็จะมีเสียงวิจารณ์จับผิดกัน จับผิดใครต่อใครตั้งแต่เช้ามืด นั่นคือเสียงไม่เป็นมงคลมาแล้ว เสียง ภาพที่ได้ยินได้เห็น มันไม่ค่อยจะช่วยให้มนุษย์คิดถึงความดีของกันและกัน …

ทำอย่างไรจะให้คนในชาติมีความสามัคคี Read More »

เมื่อจำเป็นต้องสมาคมกับคนพาน ควรวางตัวอย่างไร

คำถาม:  หลวงพ่อเจ้าคะ ถ้าเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคมทำงาน ที่ต้องเจอะเจอกับคนพาลที่ชอบชักนำไปในทางไม่ดี เช่น ชวนไปสังสรรค์ดื่มเหล้า เราควรจะวางตัวอย่างไรดีเจ้าคะ คำตอบ:  ในสังคมเราหนีคนพาลไม่พ้น แต่ว่าเราก็ต้องแยกออกว่า คนพาลก็มีอยู่ 2 พวก คือ             1. พาลแบบถาวร คือคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เป็นปกติอย่างที่ว่ามา             2. พาลชั่วครั้งชั่วคราว พาลเพราะว่าเผลอไผล สติแตก คือบางครั้งก็คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เมื่ออารมณ์ไม่ค่อยดี แต่ว่าพออารมณ์ดีขึ้นมา ก็คิดดี พูดดี ทำดีเป็น อย่างนี้เป็นพาลชั่วคราว ซึ่งว่าไปแล้วแม้เราเองก็อยู่สังกัดประเภทนี้ ภาษาพระมีคำพูดเพราะๆ อยู่คำหนึ่ง ซึ่งใช้คำว่ากัลยาณพาล พาลพอทนกันได้ พาลพองาม ความจริงพาลแล้วมันไม่งามหรอกแต่ว่า คือพาลพอทนกันได้ พาลพอแก้ไขได้             ในที่ทำงานเรานั้นมีทั้ง 2 ประเภทอยู่ด้วยกัน มีทั้งพาลถาวร และพาลชั่วคราว ตรงนี้ก็วางตัวลำบากหน่อย แต่ก็ต้องหาทางเอาตัวให้รอดจากบาป นรก รอดจากการที่จะกลายเป็นคนพาลถาวรตามเขา เพราะเชื้อพาลเราก็พอมีอยู่แล้ว             ในขั้นต้นดูที่พาลชั่วคราวก่อน …

เมื่อจำเป็นต้องสมาคมกับคนพาน ควรวางตัวอย่างไร Read More »

บัณฑิตมีลักษณะอย่างไร

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไม่ให้เราคบคนพาล ให้คบแต่บัณฑิต แล้วบัณฑิตแบบไหน ที่เราควรจะคบหาด้วย ถ้าคบแล้วดีอย่างไรเจ้าคะ คำตอบ: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้ไว้ว่า บัณฑิตคือคนที่คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ คือไม่ใช่คิดดี พูดดี ทำดีเป็นครั้งคราว เพราะว่าท่านรู้ดี ถ้าพูดให้ลึก คือท่านเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิตเป็นอย่างดี หรือท่านมีความเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างแรงกล้า             จากความที่ท่านเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างแรงกล้าคือ เข้าใจโลกและชีวิตอย่างจริงจัง ทำให้ท่านรู้ไปถึงเรื่องว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิดถูก อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป อะไรควรไม่ควร เลยไปจนกระทั่งทำกรรมอะไรจึงจะไปนรก ทำกรรมอะไรจึงจะไปสวรรค์ ความที่ท่านรู้ดีอย่างนี้ เข้าใจถูกอย่างนี้ ทำให้ท่านคิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติ ท่านกลัวบาป กลัวนรกยิ่งนัก ใครมาบังคับให้ท่านทำความชั่ว ท่านไม่ยอมทำ ฆ่าท่านให้ตายท่านก็ยอม ตายไปท่านก็มั่นใจว่าท่านไม่ตกนรก เพราะท่านคิดดี พูดดี ทำดีมาตลอดชีวิต นี่คือลักษณะของบัณฑิตที่เด่นชัด             เพราะฉะนั้นบุคคลประเภทนี้ ที่คิดดี พูดดี ทำดีด้วยปานนี้ จิตใจของท่านแข็งแกร่งและผ่องใสตลอด และบุคคลอย่างนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีใบปริญญา อาจจะอ่านหนังสือไม่ออกก็ได้ เหมือนคุณยายอาจารย์ของเรา …

บัณฑิตมีลักษณะอย่างไร Read More »

ให้กำลังใจคนป่วยหนักอย่างไรดี

คำถาม: กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าค่ะ ลูกมีปัญหาอยากเรียนถามหลวงพ่อค่ะ หากเราต้องไปเยี่ยมหรือไปดูแลญาติที่ป่วยหนัก ควรจะดูแลหรือให้กำลังใจเขาอย่างไรดีเจ้าคะ คำตอบ: หลวงพ่อขอตอบรวมทั้งป่วยหนัก และไม่หนักนะ ผู้ป่วยเราคงแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณีด้วยกัน คือ             ๑. ผู้ป่วยไม่สนใจธรรมะเลย             ๒. ผู้ป่วยที่สนใจธรรมะ เข้าวัดปฏิบัติธรรม ตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ภาวนาเรื่อยมา             กรณีแรก เขาไม่สนใจธรรมะ ตรงนี้ในฐานะที่คุณโยมบอกว่าป่วยหนัก ถ้าเขาป่วยหนักอย่างนี้ จะได้กลับบ้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ ในฐานะที่เขากับเราก็สนิทกัน อาจเป็นญาติกันด้วยซ้ำ ในกรณีนี้ถ้าเขาป่วยหนักอย่างนั้น แล้วโอกาสจะกลับบ้านอีกครั้งหนึ่งมีหรือไม่ก็ไม่รู้ หากปล่อยเขาไป ถ้าต้องเสียชีวิตไปในครั้งนี้ เขาคงไปไม่ค่อยดี เพราะเมื่อไม่สนใจธรรมะมา บุญก็ไม่ทำ บาปกรรมก็อาจจะสร้างขึ้นมาด้วย ซึ่งพุทธองค์ตรัสไว้ชัด ใครที่ละโลกไปด้วยใจที่ขุ่นมัวมักจะไปไม่ดี ถ้าเป็นญาติกันแล้วปล่อยให้ไปไม่ดี มันก็ดูใจร้ายเกินไป             เพราะฉะนั้น ต้องหาทางให้เขาหันมาสนใจธรรมะให้ได้ การที่จะทำให้ใครสนใจธรรมะได้ เราก็จะต้องมีธรรมะในใจพอสมควร สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ ให้กำลังใจก่อน ให้กำลังใจในที่นี้ไม่ใช่การปลอบใจ แต่ให้เขานึกถึงความดี เพราะไม่ว่าคนเราจะสนใจธรรมะหรือไม่ คนเราต้องมีความดีอะไรมาบ้าง พูดถึงความดีที่เขาเคยทำไว้ให้ใจเขาฟูเสียก่อน             เมื่อใจฟูแล้ว …

ให้กำลังใจคนป่วยหนักอย่างไรดี Read More »

เมื่อมีความทุกข์ ทำไมบุญถึงยังไม่ส่งผลสักที

คำถาม:  กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ ลูกมีปัญหาอยากจะเรียนถามหลวงพ่อนะคะ ผู้ที่ประสบความทุกข์ในชีวิต มักจะมีความคิดว่าทำไมบุญที่เคยทำไว้ถึงไม่ช่วย จะอธิบายเขาอย่างไรดีเจ้าคะ คำตอบ: สำหรับท่านที่บ่นอย่างนี้ พอประสบความทุกข์แล้วรู้สึกว่าบุญไม่ช่วย เรื่องที่น่าคิดก็คือ เขาควรจะต้องสำรวจก่อนว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ถ้ามันเกิดขึ้นเพราะความประมาทพลาดพลั้ง เพราะไปทำสิ่งที่ไม่ควรทำ มันก็สมควรที่เขาจะต้องเจอทุกข์อย่างนั้น เพราะเขาทำผิดจริงในกรณีนี้ อย่าใช้คำว่าบุญไม่ช่วย ต้องบอกว่าเขาไม่ระมัดระวัง หรือเขาทำลายตัวเอง แล้วจะเอาบุญที่ไหนมาช่วย นี่เป็นกรณีที่ ๑             กรณีที่ ๒ เขาไม่ได้ทำผิดคิดร้ายอะไรเลย ตั้งหน้าตั้งตาประกอบแต่คุณงามความดีมาตลอด แต่พอถึงเวลาเข้า ก็ยังมาประสบเคราะห์ร้าย ประสบความทุกข์อย่างที่ไม่น่าจะเป็น             ถ้าในกรณีอย่างนี้ ก็คงจะต้องมาพิจารณากันว่า เคราะห์หามยามร้ายต่างๆ ทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ที่มนุษย์เจอ มันมีอยู่ ๒ สาเหตุใหญ่ๆ             เหตุที่ ๑ เป็นเหตุข้ามภพข้ามชาติ คือพูดง่ายๆ เคยก่อกรรมทำเข็ญ เคยทำความชั่ว ความร้ายกาจมาก่อนในอดีต อาจจะตั้งแต่ชาติที่แล้วๆ มา แล้วบาปนั้นเพิ่งจะมีโอกาสตามมาส่งผล หรือว่าชาตินี้เมื่อยังวัยรุ่นวัยคะนอง ไปก่อกรรมทำเข็ญเอาไว้ แล้วตัวเองมาเป็นเสือกลับใจเอาเมื่ออายุมากขึ้น ก็มาตั้งหน้าตั้งตาทำความดี …

เมื่อมีความทุกข์ ทำไมบุญถึงยังไม่ส่งผลสักที Read More »

วิธีใช้ชีวิตให้มีความสุข

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ สังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก ผู้คนมุ่งแต่ทำมาหากินจนหารอยยิ้มไม่ค่อยเจอ อยากขอความเมตตาจากหลวงพ่อชี้แนะวิธีใช้ชีวิตให้มีความสุขในสังคมยุคนี้เจ้าค่ะ คำตอบ:  ความจริงแล้วไม่ว่ายุคนี้หรือยุคไหน ถ้าเรามุ่งแต่เรื่องการทำมาหากินแล้ว ก็ยากที่จะหาความสุขได้ เพราะว่าในชีวิตของคนเหล่านั้น แค่มีเงินใช้ มีทรัพย์สินเงินทองเหลือเฟือ หรือเป็นมหาเศรษฐี ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวเองจะเป็นสุขได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้สติเอาไว้ว่า ความสุขในชีวิตแบบทางโลกนั้น ท่านให้ไว้ ๔ ข้อด้วยกันคือ             ข้อที่ ๑. ต้องมีทรัพย์ ต้องมีงานทำ มีรายได้             ข้อที่ ๒. ต้องใช้ทรัพย์เป็น ถึงได้มามากแต่ถ้าใช้ไม่เป็น ทรัพย์ที่ได้มานั้นอาจไม่พอใช้ และมันอาจจะถูกใช้ไปในทางที่ไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสเดือดร้อนได้ ตรงนี้เองที่คนมองโลกได้ตรงความจริง จะรู้สึกว่าในยุคนี้การดำเนินชีวิตนั้นเป็นไปได้ยากยิ่ง             ตรงนี้คือความผิดพลาดของเราในเรื่องของการใช้ทรัพย์เป็น สิ่งที่ต้องระวังอยู่นิดหนึ่งก็คือ อย่าบริหารทรัพย์เฉพาะบัญชีรายรับรายจ่ายเท่านั้น ต้องบริหารด้วยส่วนที่เหลือด้วย             ถ้าเก็บเอาไว้แล้วไม่ค่อยได้ใช้ เก็บไว้จนรวยเลย มันอาจจะกลายเป็นขี้เหนียวก็ได้ แม้จะป่วยไข้ ก็ยังไม่อยากเอามาใช้ พ่อแม่ซึ่งเลี้ยงดูเรามา ก็ไม่อยากจะให้ท่านเป็นการตอบแทนพระคุณ อย่างนี้ใช้ทรัพย์ไม่เป็น ได้มาก็เดือดร้อน เดือดร้อนในการเก็บรักษา ถ้าใช้ในทางไม่ถูกไปใช้ในเรื่องอบายมุข ก็ยิ่งเสียหายหนัก คนในยุคนี้ จบปริญญา …

วิธีใช้ชีวิตให้มีความสุข Read More »

คนอนุโมทนาบุญกับอนุโมทนาบาปจะมีผลต่างกันอย่างไร

คำถาม:  กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ คนที่ชอบอนุโมทนาบุญกับคนที่ชอบอนุโมทนาบาป อยากทราบว่าจะมีผลอย่างไรเจ้าคะ คำตอบ:  อนุโมทนาบุญก็ได้บุญ อนุโมทนาบาปก็ได้บาป อนุโมทนาคือดีใจด้วย ยินดีด้วย สนับสนุน เห็นชอบตาม เราเห็นใครทำบุญ เราก็อนุโมทนาบุญด้วย ดีใจด้วย ซึ่งเป็นทั้งความชื่นใจที่เกิดกับตัวเอง แล้วก็เป็นการให้กำลังใจกับคนที่เขาทำบุญหรือทำความดีนั้น ให้มีกำลังใจทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป ตรงนี้ดีแน่             ส่วนโมทนาบาป หรืออนุโมทนาบาป คือดีใจด้วยในการที่คนอื่นทำความชั่ว คนที่เราไม่ค่อยจะรักเขา ไม่ค่อยชอบหน้าเขาอยู่ด้วย พอเขาตกทุกข์ได้ยาก เขาถูกคนอื่นรังแก แล้วเราไปดีใจด้วย ไปสมน้ำหน้าด้วย เป็นการโมทนาบาปเข้าไปเต็มที่เลย เขาก็มีโอกาสได้บาปไปกับเขาด้วย             การที่ใครคนใดคนหนึ่งเห็นเขาทำความชั่ว เห็นเขาได้รับความเดือดร้อนก็ตาม แล้วไปโมทนา เช่นพวกที่ค้ายาเสพย์ติด โดยกฎหมายก็มีโทษว่าต้องประหารชีวิตด้วย พอประกาศทางหน้าหนังสือพิมพ์ขึ้นมา ว่าราชายาเสพย์ติดคนนี้ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตให้ยิงเป้า เพราะทำความเดือดร้อนให้กับสังคมมาก ถ้าปล่อยให้มีชีวิตอยู่ต่อไป ก็จะต้องมีคนติดยาเสพย์ติดเดือดร้อนกันทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะฉะนั้นต้องประหารชีวิต หลายคนก็เลย สาธุ ดีแล้ว สมน้ำหน้า สมควรตาย             ชาวโลกส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า การโมทนาบาป ที่คนสาธุกันทั่วเมือง หารู้ไม่ว่า ได้โมทนาบาปเข้าไป ยินดีต่อการที่จะมีคนถูกฆ่า …

คนอนุโมทนาบุญกับอนุโมทนาบาปจะมีผลต่างกันอย่างไร Read More »

บริจาคโลหิตกับอุทิษร่างกายหลังตายแล้ว ได้บุญต่างกันอย่างไร

คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ ถ้าการบริจาคโลหิตได้บุญมาก ถ้าอย่างนั้นการอุทิศร่างกายให้แก่โรงพยาบาลหลังจากที่เราตายไปแล้ว ก็น่าจะได้อานิสงส์มากยิ่งกว่า ใช่หรือไม่เจ้าคะ คำตอบ: การบริจาคโลหิตกับการบริจาคร่างกายหลังจากตาย อย่างไหนบุญมากกว่ากัน คำถามนี้ต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อน การจะได้บุญนั้นมันอยู่ที่ ต้องทำตอนที่เรามีชีวิตอยู่ ไม่ใช่ทำเอาตอนที่ตาย เพราะบุญเกิดขึ้นจากเจตนาอันเป็นกุศล ต้องชัดเจนตรงนี้ก่อน ฉะนั้นการที่เราบริจาคโลหิตทำให้ได้บุญมากนั้น เป็นเพราะ             ๑. เรามีเจตนาที่จะให้เป็นบุญกุศลจริงๆ ในเจตนาของเรามัน แฝงด้วยความเมตตากรุณาเอาไว้ ถึงได้ให้เขาไป เจตนาของเราในการเสียสละ ครั้งนี้ เป็นเรื่องความมีเมตตากรุณา             ๒. ต้องใช้กำลังใจสูง เพราะเลือดในตัวเรามันไม่ใช่ของเหลือเฟือ ไม่มีใครมีเลือดเกินเลยสักคนเดียว อย่างมากก็มีแค่พอดี             เพราะฉะนั้นเวลาเราบริจาคเลือดเมื่อไหร่ มันเป็นเรื่องของการตัดใจให้ เรายังจำเป็นต้องใช้เลือด สักหยดหนึ่งก็ไม่น่าให้ใครทั้งนั้น แต่ก็ มากด้วยความเมตตากรุณา ก็เลยตัดใจให้             เมื่อตัดใจให้ไปอย่างนี้ มันเป็นการฝึกให้มีกำลังใจในการตัด ความโลภ ความตระหนี่ที่ฝังลึกอยู่ในใจด้วยกันทุกคน ลึกๆ ในใจของเรามีเชื้อตระหนี่ และความโลภอยู่ เพราะฉะนั้นของอะไรต่างๆ ของเรา มันอดที่จะหวงและเสียดายไม่ได้             แต่ว่าวันนี้เห็นแก่ความทุกข์ยากของสัตว์โลก เพื่อนร่วมโลกจึงเกิดความเมตตากรุณาอย่างเปี่ยมล้น ก็เลยตัดใจ …

บริจาคโลหิตกับอุทิษร่างกายหลังตายแล้ว ได้บุญต่างกันอย่างไร Read More »